- Details
- Category: คลัง
- Published: Sunday, 06 March 2016 19:22
- Hits: 2780
หนี้ครัวเรือน ยังเอาอยู่เอกชนผวาคนไทยเที่ยวเมืองนอกปีละ 6 ล้านคน
พ์บ้านเมือง : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้รายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนและลดภาระหนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบให้ที่ประชุม ครม.รับทราบ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 81.1 ถือว่าอยู่ในระดับทรงตัวหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นหนี้ครัวเรือนมาจากนโยบายรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก และการใช้บัตรเครดิต แบ่งเป็นหนี้ซื้อที่อยู่อาศัยร้อยละ 27.1 เป็นเอ็นพีแอลร้อยละ 3.4 หนี้ซื้อรถยนต์ร้อยละ 15.1 เป็นเอ็นพีแอลร้อยละ 1.4 ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบฐานะการเงินของสถาบันการเงิน ส่วนบัตรเครดิตอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เอ็นพีแอลร้อยละ 3.4 และหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคร้อยละ 3 เอ็นพีแอลร้อยละ 5.2 ทั้งหนี้บัตรเครดิตและอุปโภคบริโภคถือเป็นสัดส่วนที่มีความเสี่ยงต่อระบบสถาบันการเงินค่อนข้างสูง ซึ่งมั่นใจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการกำกับดูแลอยู่แล้ว
ส่วนการบริหารหนี้สาธารณะครั้งที่ 1 มีวงเงินปรับเพิ่ม 13,252.04 ล้านบาท จากเดิม 17,28170.21 ล้านบาท เป็น 17,41422.25 ล้านบาท โดยแผนดังกล่าวจะทำให้วงเงินก่อหนี้ใหม่ลดลง 25,780.03 ล้านบาท ซึ่งมาจากการปรับลด 3 ส่วน คือ ปรับลดวงเงินกู้สนับสนุนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 30,000 ล้านบาท จัดสรรวงเงินเพิ่มให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 1,753.80 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วน ประจำปีงบประมาณ 2558 (เพิ่มเติม) บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด และองค์การเภสัชกรรม ปรับเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้น 2,638 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง
นอกจากนี้ วงเงินบริหารหนี้เดิมจะเพิ่มขึ้น 39,032.07 ล้านบาท เกิดจากการปรับวงเงินบริหารหนี้สุทธิของกระทรวงการคลัง 65,000 ล้านบาท และปรับเพิ่มโครงสร้างหนี้รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รวม 92,000 ล้านบาท เพิ่มวงเงินบริหารความเสี่ยงบริษัท วิทยุการบิน จำกัด 2,075 ล้านบาท เพิ่มวงเงินบริหารความเสี่ยง บกท. 9,926 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังคาดว่าการปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะครั้งนี้จะทำให้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งที่อยู่ในแผน ประกอบด้วย รถไฟฟ้า 4 สาย รถไฟทางคู่ 3 สาย การจัดซื้อหัวรถจักร รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า และรถโดยสาร รวมถึงโครงการลงทุนสาขาไฟฟ้า ประปา และที่อยู่อาศัยสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
ขณะที่นายทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มองว่ากำลังซื้อในประเทศที่ผ่านมาทรงตัว ปีนี้ก็ยังทรงตัว คือ ไม่ตกแต่ปรับขึ้นน้อย ส่วนมาตรการกระตุ้นปลายปีที่ผ่านมาถือว่าได้ผลดีมาก คือกระตุ้นให้เกิดความคึกคักให้ตลาด ช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้นทันที แต่สุดท้ายเพียงสร้างความคึกคัก แต่รายได้ที่แท้จริงสำคัญกว่า
นายทศ กล่าวว่า ปัจจุบันโดยภาพรวมแล้วลูกค้าระดับบนยังใช้จ่ายอยู่ แต่ปัญหาคือคนไทยออกไปใช้จ่ายในต่างประเทศมากกว่าในประเทศ โดยคนไทยเดินทางไปต่างประเทศปีที่แล้ว กว่า 6 ล้านคน จากจำนวนคนไทยรวม 68 ล้านคน ใช้จ่ายต่างประเทศถึงปีละ 1.7 แสนล้านบาท เติบโตร้อยละ 10 ต่อปี ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศโตร้อยละ 2 เท่านั้น ส่วน นักท่องเที่ยวต่างชาติ แม้จะมีจำนวนมาก แต่การใช้จ่ายในประเทศโตเพียงร้อยละ 2 และคนไทยก็ใช้จ่ายโตร้อยละ 2 เช่นกัน ซึ่งแนวโน้มที่เกิดขึ้นถือว่าน่าห่วง เพราะอีก 5 ปียอดใช้จ่ายในต่างประเทศจะเพิ่มจากปีละ 1.7 แสนล้านบาท จะกลายเป็น 300,000 ล้านบาท
ขณะนี้ เศรษฐกิจโลกยังแปรปรวนมากกว่าปกติ คาดเดายาก จึงน่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะความผันผวนเหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจไทยด้วย เพราะเศรษฐกิจโลกถือเป็นตัวแปรสำคัญ โดยขณะนี้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว และยังคงมีวิกฤติราคาน้ำมันซึ่งนับเป็นเรื่องใหญ่ ที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตการเงินตามมา เนื่องจากบริษัทน้ำมันซึ่งขนาดธุรกิจที่ใหญ่โตกู้เงินมาก เมื่อราคาน้ำมันไม่ดีขึ้นอาจมีปัญหาตามมาได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนยังผันผวนรุนแรง ยิ่งคาดเดายาก จึงมีผลกระทบต่อไทยและประเทศอื่นๆ ด้วย
ส่วนประเทศไทยยังคงติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง รายได้ต่อหัวต่อปีอยู่ในระดับเพียง 5,000-6,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะที่ประเทศมาเลเซีย เกาเหลี มีรายได้ต่อคนต่อปีสูงถึง 10,000-15,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ประเทศไทยหากจะให้รายได้ต่อหัวเพิ่มเป็นปีละ 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะต้องเพิ่มรายได้ประชากรต่อคนต่อปีอีกเท่าตัว แต่ประเทศไทยเศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 2-3 เท่านั้น กว่าจะทำให้รายได้ต่อหัวต่อปีโต 2 เท่าตัว คงต้องใช้เวลานานถึง 20 ปี หากจะให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5 จึงเป็นโจทย์ที่ยาก
คลังแจง NPLหนี้ครัวเรือนต่ำไม่กระทบแบงก์ เผยรัฐบาลคสช.ใช้เงินธนาคารของรัฐแค่แสนล้าน
แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการ สำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้รายงานสถานการณ์หนี้ครัวเรือนและลดภาระหนี้ครัวเรือนและหนี้นอกระบบให้ ที่ประชุม ครม.รับทราบ โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ 81.1% ถือว่าอยู่ในระดับ ทรงตัวหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา การเพิ่มขึ้นหนี้ครัวเรือนมาจากนโยบายรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก และการใช้บัตรเครดิต แบ่งเป็นหนี้ซื้อ ที่อยู่อาศัย 27.1% เป็นเอ็นพีแอล 3.4% หนี้ซื้อรถยนต์ 15.1% เป็นเอ็นพีแอล 1.4% ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบ ฐานะการเงินของสถาบันการเงิน ส่วนบัตรเครดิตอยู่ที่ 2.5% เอ็นพีแอล 3.4% และหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค 3% เอ็นพีแอล 5.2% ทั้งหนี้บัตรเครดิตและอุปโภคบริโภคถือเป็นสัดส่วนที่มีความเสี่ยงต่อระบบสถาบันการเงินค่อนข้างสูง ซึ่งมั่นใจธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมาตรการกำกับดูแลอยู่แล้ว
ส่วนการบริหารหนี้สาธารณะครั้งที่ 1 มีวงเงินปรับเพิ่ม 13,252.04 ล้านบาท จากเดิม 1,728,170.21 ล้านบาท เป็น 1,741,422.25 ล้านบาท โดยแผนดังกล่าวจะทำให้วงเงินก่อหนี้ใหม่ลดลง 25,780.03 ล้านบาท ซึ่งมาจากการปรับลด 3 ส่วน คือ ปรับลดวงเงินกู้สนับสนุนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 30,000 ล้านบาท จัดสรรวงเงิน เพิ่มให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 1,753.80 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะ เร่งด่วน ประจำปีงบประมาณ 2558 (เพิ่มเติม) บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด และองค์กรเภสัชกรรม ปรับเพิ่มวงเงินกู้ ระยะสั้น 2,638 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่อง
ทั้งนี้กระทรวงการคลังคาดว่าการปรับแผนบริหาร หนี้สาธารณะครั้งนี้จะทำให้โครงการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานคมนาคมขนส่งที่อยู่ในแผน ประกอบด้วย รถไฟฟ้า 4 สาย รถไฟทางคู่ 3 สาย การจัดซื้อหัวรถจักร รถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า และรถโดยสาร รวมถึงโครงการลงทุนสาขาไฟฟ้า ประปา และที่อยู่อาศัยสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วนของ กปภ.จะช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเติบโต โดย สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มั่นใจว่าถ้าดำเนินการ ตามแผนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปีนี้จะไม่เกิน 45% ต่อจีดีพี
นายกฤษฎายังได้กล่าวถึงกรณีที่สถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) มียอดปล่อยสินเชื่อคงค้าง กว่า 789,736 ล้านบาท ว่าตัวเลขที่เกิดขึ้นเป็นการรวบรวมข้อมูลการดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลที่แยกบัญชี หรือ (พีเอสเอ) ตั้งแต่ปี'52 แบ่งเป็นที่เกิด ก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหาร 691,286 ล้านบาท โดยเป็นจำนำข้าวกว่า 500,000 ล้านบาท และที่เพิ่มขึ้นหลัง คสช.เข้ามาบริหารเพียง 98,450 ล้านบาท แต่ยังไม่รวมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) วงเงิน 150,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การจัดเก็บตัวเลขดังกล่าว ถือเป็นการสร้างความโปร่งใสทางการคลัง เพื่อให้สาธารณชนสามารถเข้ามาตรวจสอบการใช้เงินงบประมาณจากนโยบายของรัฐบาล โดยยอดปล่อยสินเชื่อคงค้างกว่า 789,736 ล้านบาทนั้น ส่งผลให้เกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ที่ 10,483 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมีทั้งที่กระทรวงการคลังต้องชดเชยและไม่ต้องชดเชย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา ต่างๆ ทั้งเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น