WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gมนส แจมเวหา copyกรมบัญชีกลาง เผยเบิกจ่าย 4 เดือนแรกปีงบฯ 59 สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนส่งผลเม็ดเงินเข้าระบบต่อเนื่อง

     นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2559 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ถึงวันที่ 29 มกราคม 2559 ว่า งบประมาณภาพรวม เบิกจ่ายได้ 1,048,631 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,720,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 38.55 แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้ 960,447 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,175,646 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.15 และรายจ่ายลงทุน เบิกจ่ายได้ 88,184 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 544,354 หรือคิดเป็นร้อยละ 16.20

   โดยสามารถเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของงบประมาณปี 2558 เนื่องจากหน่วยงานราชการได้เตรียมพร้อมเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างไว้แล้ว ส่งผลให้การเบิกจ่ายภาครัฐได้ตามเป้าหมายตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

    ทั้งนี้ หากนำผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 2559 ในภาพรวม เบิกจ่ายได้ 1,048,631 ล้านบาท มารวมกับเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายได้ 102,197 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินรวม 1,150,828 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2558 เนื่องจากผลการเบิกจ่ายภาพรวมปีงบประมาณ 2558 และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี สามารถเบิกจ่ายได้เพียง 1,064,617 ล้านบาทเท่านั้น ส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

      ขณะที่ โครงการสำคัญตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบด้วย 1. มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท วงเงินรวม 36,462 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 14,526 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 2,497 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6.8 ซึ่งเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนสามารถลงนามในสัญญาได้เพียง 11,375 ล้านบาท และเบิกจ่ายได้ 1,705 ล้านบาท เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท อย่างใกล้ชิด ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด คลังเขตและคลังจังหวัด และช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ซึ่งส่งผลให้การเบิกจ่ายมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น

     2.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วงเงินรวม 3,194 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 1,950 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1,178 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 36.9

    3.โครงการช่วยเหลือเกษตรและคนยากจน โดยสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร วงเงินรวม 254 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 120 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 73 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 28.9

    4.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ วงเงินรวม 39,748 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 31,981 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 27,531 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 69.2

      "จากการที่ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามเร่งรัดการเบิกจ่าย และขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของการดำเนินงาน เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถทำงานได้อย่างคล่องตัว พร้อมทั้งกรมบัญชีกลางได้ออกหนังสือเวียนให้สำนักงานคลังจังหวัดขยายเวลาการให้บริหารแก่ส่วนราชการนั้น จึงทำให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และคาดการณ์ว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 100% ภายในมีนาคม 2559 ตามที่รัฐบาลกำหนด" นายมนัส กล่าว

                        อินโฟเควสท์

 คลังแจงฐานะการเงินแผ่นดินมีสินทรัพย์มากกว่าหนี้

     แนวหน้า : นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เร่งรัดจัดทำงบการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว โดยใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนจากวันสิ้นปีงบประมาณเท่านั้น และในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้แผ่นดิน 2.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2557 โดยมีรายได้สำคัญเพิ่มขึ้น จากการจัดเก็บรายได้ของ กรมสรรพสามิตกว่า 470,000 ล้านบาท และรายได้รัฐพาณิชย์เพิ่มขึ้น 260,000 ล้านบาท ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลสูงกว่ารายได้ 270,000 ล้านบาท รายจ่ายส่วนใหญ่กว่า 93% เป็นรายจ่ายตามงบประมาณ

    ขณะที่ บัญชีแผ่นดินประจำปี 2558 แสดงสินทรัพย์ของรัฐบาล 6.6 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย ที่ราชพัสดุพื้นที่ 10.35 ล้านไร่ มูลค่า 3.8 ล้านล้านบาท คิดเป็น 57% ของสินทรัพย์รวม รองลงมา เป็นเงินลงทุนในรัฐวิสาหกิจ 62 แห่ง มูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท คิดเป็น 26% ของสินทรัพย์รวม และเงินคงคลังจำนวน 450,000 ล้านบาท ด้านหนี้สิน ของรัฐบาลมีหนี้สินรวม 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นหนี้เงินกู้ 4.2 ล้านล้านบาท ในรูป ของพันธบัตรรัฐบาล

      "การจัดทำงบการเงินแผ่นดิน เป็นภารกิจหนึ่งที่สำคัญของกรมบัญชีกลาง เพื่อสะท้อนถึงฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานของแผ่นดิน โดยรวบรวมมาจากผลการดำเนินงานของรัฐบาลปีที่ผ่านมา ซึ่งจะแสดงความโปร่งใส ทางการคลังและเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางการคลัง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ส่งผลให้รัฐบาลมีศักยภาพในการระดมทุนได้มากขึ้นอีกด้วย" นายมนัส กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!