WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศ'สมคิด'สั่งเดินหน้าโครงการอีเพย์เม้นท์ทั้งระบบแล้วเสร็จภายใน 1 ปีครึ่ง ใช้บัตรปชช.-เบอร์มือถือชำระ-จ่าย-โอนได้ไม่เกิน ก.ย. นี้

  'สมคิด'สั่งเดินหน้าโครงการอีเพย์เม้นท์ทั้งระบบแล้วเสร็จภายใน 1 ปีครึ่ง ใช้บัตรปชช.-เบอร์มือถือชำระ-จ่าย-โอนได้ไม่เกิน ก.ย. นี้ ฟากคลัง เผยใช้งบภาครัฐรวม 3,000 ลบ. เอกชนร่วมใส่ 500 ลบ.ในช่วง 3-4 ปีนี้ ด้านเอกชนขานรับมั่นใจช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับธนาคารได้

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน Nationnal e-Payment ว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้สั่งการให้เดินหน้าระบบ e-Payment ทั้งระบบให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีครึ่ง โดยแยกเป็น 5 โครงการ ประกอบด้วย โครงการแรกที่จะเดินหน้าก่อน คือ โครงการระบบการชำระเงินแบบใช้หมายเลขใดก็ได้ หรือ Any ID โดยเบื้องต้นจะใช้เลขที่บัตรประชาชน หรือ หมายเลขโทรศัพท์ในการโอน จ่าย ชำระเงิน ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

   อย่างไรก็ตามในส่วนของโครงการแรกนั้นคาดว่าจะเริ่มให้ประชาชนลงทะเบียนในการใช้หมายเลขได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ และธนาคารจะเริ่มปรับระบบและมีความพร้อมในการให้บริการภายในเดือนกันยายน 2559 ส่วนโครงการที่สอง คือ การขยายการใช้บัตร โดยจะทำให้ร้านค้าต่างๆทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มีเครื่องรูดบัตร หรือ อีดีซี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนเข้าถึงการใช้ได้ง่านและครอบคลุมทั่วประเทศ 

                 “ในโครงการแรกและโครงการที่สองนั้น ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการชุดเล็กขึ้นมา โดยมีนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เป็นประธานในการขับเคลื่อนดังกล่าว ซึ่งคาดว่าทั้งสองโครงการจะใช้เงินลงทุนจากภาคเอกชนรวมทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนของมูลค่าการชำระเงินขั้นต่ำ คือ 20 บาทนายอภิศักดิ์ กล่าว

   นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนโครงการที่สาม คือ ในส่วนของระบบภาษีของสรรพากร โดยภาคเอกชนที่ขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็สามารถนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรได้โดยไม่ต้องส่งเป็นเอกสารเช่นเดียวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายของภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น โดยจะมีอธิบดีกรมสรรพากรในการดูแลในเรื่องดังกล่าว

  ส่วนโครงการที่สี่ คือ โครงการอีเพย์เม้นท์ภาครัฐ  แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เมื่อภาครัฐจะจ่ายเงิน หรือรับเงิน จะเปลี่ยนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ส่วนที่สอง คือ การบูรณาการสวัสดิการ จะทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อย สามารถรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยกระทรวงการคลังจะเร่งเดินหน้าในส่วนดังกล่าวต่อ โดยในเรื่องนี้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแล

   ด้านโครงการที่ห้า คือ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ โดยจะ ให้สิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ใช้ในช่วงเริ่มต้น ที่จะทำให้เกิดความสนใจในการใช้บริการดังกล่าว โดยจะมีเป้าหมาย เป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน ให้มีประสิทธิภาพ และลดการหลีกเลี่ยงภาษี โดยคาดว่าการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

       การให้สวัสดิการทางสังคมให้ผู้ตรงจุดจริงๆ จากปัจจุบันให้กันทั่วไป รถเมล์ฟรี คนที่มีรายได้ขึ้นฟรี ต่อไปจะเฉพาะคนมากขึ้น เฉพาะที่มีรายได้น้อยจริง อันที่สี่ ที่เป็นประโยชน์ ทุกคนจะเข้าถึงการบริการทางการเงินได้มากขึ้น ดีขึ้น การเงินเข้าสู่ประชาชนทุกคนและรากหญ้าได้ และหวังว่าระบบเดินหน้าได้คล่อง การใช้เงินสดจะน้อยลง เราหวังไปถึงอนาคตใช้เงินสดน้อยลงซึ่งเป็นต้นทุนสูงนายอภิศักดิ์ กล่าว

 นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้ภายใน 6 เดือน โครงการแรกน่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งที่ผ่านมาได้เดินหน้ามาแล้ว และมีการประสานงานกับธนาคาร และสมาคมธนาคารไทย และผู้ว่าการธนาคาร ส่วนโครงการที่จะขยายเครื่องนั้น ตั้งเป้าขยายเครื่องรับบัตร e-payment 2 ล้านเครื่อง จากปัจจุบันมีเครื่องรับบัตร อยู่ที่ 100,000 เครื่อง

   นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC  กล่าวว่า ภาคเอกชนคาดว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินให้กับธนาคารได้ ซึ่งภาพรวม มีต้นทุนทางการเงินปีละ 70,000 ล้านบาท หากดำเนินการได้จะเป็นผลดีต่อประเทศ

    สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!