- Details
- Category: คลัง
- Published: Tuesday, 19 January 2016 22:39
- Hits: 4096
สั่งคลังจว.ช่วยจัดซื้อจัดจ้างคล่องตัว
แนวหน้า : นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรมได้ตรวจดูผลการก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายเงินในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) และระบบการเบิกจ่ายเงิน (GFMIS) ของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลตำบลละ 5 ล้านบาทปรากฏว่าผลการก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายมาก ณ วันที่ 8 มกราคม 2559 ก่อหนี้ผูกพันแล้วเป็นเงิน 6,691 ล้านบาท (ข้อมูลจากระบบ e-GP) และเบิกจ่าย 612 ล้านบาท
กรมจึงได้ทำการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด คลังเขตและคลังจังหวัด สรุปว่าปัญหาเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนหนึ่งพบว่า อำเภอมีบุคลากร เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสิทธิในการเข้าใช้ระบบงานต่างๆ จำกัด อำเภอจึงได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว หรือออกใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือทำสัญญาแล้ว แต่เป็นการดำเนินการนอกระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) โดยจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งในการเบิกจ่ายเงินจำเป็นจะต้องทำในระบบจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) ก่อนและเชื่อมโยงไปในระบบ GFMIS
ดังนั้น เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงสั่งการไปยังคลังจังหวัดให้จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานให้กับจังหวัดและอำเภอที่มาขอใช้บริการที่สำนักงานคลังจังหวัด
พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบแต่ละอำเภอและช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในระบบจัดซื้อจัดจ้าง และระบบการเบิกจ่ายเงินจากคลังตามปริมาณของงานคาดว่าคลังจังหวัดจะจัดเจ้าหน้าที่เพื่อการนี้จังหวัดละประมาณ 4-5 คน รวมทั้งให้ขยายเวลาให้บริการไปจนถึง 20.00 น. และให้เปิดทำการในวันหยุดราชการ ตั้งแต่ 08.30-16.30 น.
นายมนัส ย้ำว่า การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สัญญา ซึ่งได้มีการลงนามเอกสารแล้ว ถูกบันทึกลงในระบบจัดซื้อจัดจ้างเพื่อเตรียมไปสู่การเบิกจ่ายเงินต่อไป
อนึ่งจากการสำรวจของกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 11 มกราคม 2559 พบว่า มีใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือสัญญา 25,566 สัญญา เป็นเงิน 7,727 ล้านบาท ที่ทำนอกระบบ ซึ่งการดำเนินดังกล่าวจะทำให้สามารถ เบิกจ่ายได้โดยเร็วต่อไป
กรมบัญชีกลางเร่งช่วยจังหวัดและอำเภอ ดันเบิกจ่ายตำบลละได้ 5 ลบ.เร็วขึ้น
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ตรวจดูผลการก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายเงินในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) และระบบการเบิกจ่ายเงิน (GFMIS) ของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล ตำบลละ 5 ล้านบาท ปรากฏว่าผลการก่อหนี้ผูกพันและการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายมาก ณ วันที่ 8 มกราคม 2559 ก่อหนี้ผูกพันแล้วเป็นเงิน 6,691 ล้านบาท (ข้อมูลจากระบบ e-GP) และเบิกจ่าย 612 ล้านบาท
อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า กรมบัญชีกลางจึงได้ทำการตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัด คลังเขต และคลังจังหวัด สรุปว่าปัญหาเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ส่วนหนึ่งพบว่า อำเภอมีบุคลากร เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนสิทธิในการเข้าใช้ระบบงานต่างๆ จำกัด อำเภอจึงได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว หรือออกใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือทำสัญญาแล้ว แต่เป็นการดำเนินการนอกระบบการจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) โดยจัดทำเป็นเอกสาร ซึ่งในการเบิกจ่ายเงินจำเป็นจะต้องทำในระบบจัดซื้อจัดจ้าง (e-GP) ก่อนและเชื่อมโยงไปในระบบ GFMIS
สำหรับ การแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรมจึงได้สั่งการไปยังคลังจังหวัดให้ดำเนินการดังนี้
1. ให้คลังจังหวัดจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานให้กับจังหวัดและอำเภอที่มาขอใช้บริการที่สำนักงานคลังจังหวัด
2. ให้คลังจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคลังจังหวัดรับผิดชอบแต่ละอำเภอและช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในระบบจัดซื้อจัดจ้าง และระบบการเบิกจ่ายเงินจากคลังตามปริมาณของงาน คาดว่าคลังจังหวัดจะจัดเจ้าหน้าที่เพื่อการนี้ จังหวัดละประมาณ 4-5 คน
3. ให้ขยายเวลาให้บริการของสำนักงานคลังจังหวัดหลังเวลาราชการจนถึง 20:00 น. ของทุกวันในวันราชการ และให้สำนักงานคลังจังหวัดเปิดทำการในวันหยุดราชการตั้งแต่ 08:30 น. -16.30 น.
"การดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สัญญา ซึ่งได้มีการลงนามเอกสารแล้ว ถูกบันทึกลงในระบบจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเตรียมไปสู่การเบิกจ่ายเงินต่อไป" อธิบดีกรมบัญชีกลางระบุ
อนึ่ง จากการสำรวจของกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 11 มกราคม 2559 พบว่า มีใบสั่งซื้อสั่งจ้างหรือสัญญา 25,566 สัญญา เป็นเงิน 7,727 ล้านบาทที่ทำนอกระบบ ซึ่งการดำเนินดังกล่าวจะทำให้สามารถเบิกจ่ายได้โดยเร็วต่อไป
อินโฟเควสท์