WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษคลังเร่งปฏิรูปภาษีปั๊มรายได้เข้ารัฐอีก 10 ปีค่าใช้จ่ายประเทศเพิ่ม 6-7 แสนล้าน

      แนวหน้า : นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายกระทรวงการคลังเสนอโครงร่างปฏิรูปภาษีให้พิจารณาภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลจะปฏิรูปภาษีให้ทันในรัฐบาลชุดนี้ โดยการปฏิรูปภาษีมีทั้งการเพิ่มลดอัตรา การพิจารณาประเภทภาษีใหม่ ในส่วนของภาษีนิติบุคคลได้มีการทำไปมากแล้วโดยการลดอัตราจาก 30% เป็น 20% เป็นการถาวร จึงจะไม่มีการปรับอะไรมากอีกในส่วนนี้

      สำหรับ ภาษีบุคคลธรรมดาจะมีการลดอัตราที่ปัจจุบันเก็บสูงสุด 35% ให้ต่ำลง แต่ยังเปิดเผยไม่ได้ว่าจะลด เป็นเท่าไร เพราะจะทำไปพร้อมกับพิจารณาค่าลดหย่อน การหักค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นอัตราที่มีความเหมาะสม ทำให้การ เสียภาษีบุคคลธรรมดาไม่คิดจะหลีกเลี่ยงภาษีนิติบุคคล เพราะจะไม่คุ้ม นอกจากนี้การปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา ต้องแน่ใจว่าจะสามารถขยายภาษีได้ ไม่ล้มเหลวเหมือนการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เป็น 20% ซึ่งไม่สามารถขยายฐานภาษีได้เลย โดยผู้เสียภาษียังเท่าเดิม ทำให้เก็บภาษีต่ำกว่าเป้า เพราะผู้ประกอบการยังทำ 2 บัญชีอยู่

      ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือแวตที่ปัจจุบันลดอัตราการจัดเก็บจากเพดาน 10% เหลือ 7% หากการดำเนินการระบบบัญชีเดียว และอีเพย์เม้นท์จะเริ่มในปีหน้า หากประสบ ความสำเร็จจะทำให้เก็บเพิ่มขึ้นปีละ 1 แสนล้านบาท ซึ่งอาจจะ ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มอัตราแวต อย่างไรก็ตามอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำมาก ยังมีช่องเพิ่มขึ้นได้ แต่จะเป็นเรื่องสุดท้ายของการปฏิรูปภาษี เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับประชาชนจำนวนมาก

      ด้านการปฏิรูปภาษีสรรพาสามิต และกรมศุลกากร ได้มีการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการ กฤษฎีกา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) จะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนสรรพสามิตจะมีการเปลี่ยนแปลงฐานราคาหน้าโรงงานมาเป็นขายปลีก และ จะมีการพิจารณาเพิ่มอัตราภาษีใหม่ที่เป็นสินค้าที่ให้โทษและบาปแก่ผู้บริโภคเพิ่มเติม ขณะที่สินค้าที่มีการเก็บภาษีไม่มากอาจจะมีการยกเลิก

    นายสมชัย กล่าวว่า การปฏิรูปภาษีครั้งนี้ ต้องขยายฐาน เก็บภาษีมากขึ้น ปัจจุบันเก็บจากฐานเงินได้ 42% ฐานบริโภค 57% และฐานทรัพย์สิน 1% เท่านั้น จึงจำเป็นต้องขยายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ซึ่งที่ผ่านมามีการเก็บภาษีมรดกไปแล้ว ต่อไปจะมีการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เสียภาษีให้ยอมรับได้เสียก่อน แล้วจึงนำมาเสนอให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา

      นายสมชัย กล่าวอีกว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง อยู่ระหว่างพิจารณาร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แต่เชื่อว่า จะต้องใช้เวลาพิจารณาอีกสักพัก โดยคาดว่าการเก็บรายได้จากภาษีที่ดินนี้ จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถเก็บภาษีได้เอง จากปัจจุบันไม่สามารถจัดเก็บภาษีเองได้ ทำให้เป็นภาระรัฐบาลที่จะต้องนำเงินงบประมาณอดหนุนปีละ 2-3 แสนล้านบาท หาก อปท.สามารถเก็บได้เอง จะทำให้รัฐบาล มีเงินงบประมาณไปใช้ประโยชน์พัฒนาประเทศชาติได้อีก

     "สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ประเมินว่า การจัดเก็บรายได้ของประเทศไทย อยู่ที่ 17% ต่อจีดีพี จากที่ ต้องจัดเก็บได้จริง 21-22% ต่อจีดีพี ซึ่งอีก 5-6% ที่หายไปนั้น เป็นผลจากโครงสร้างภาษีไม่ดี อัตราจัดเก็บไม่ถูกต้อง และเกิดการหลบเลี่ยงหนีภาษี จึงต้องมีการปรับโครงสร้างทางภาษีใหม่ และ การใช้จ่ายของประเทศในปี 2567-2568 จะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 6 แสนล้านบาท จากที่ต้องใช้เงินมาชดเชยเพื่อดูแล ผู้สูงอายุที่ไม่มีหลักประกันรายได้ในวัยเกษียณ ซึ่งถือเป็นวิกฤติการเงิน ไม่ใช่วิกฤติการคลัง" 

รัฐบาล เก็บรายได้วืดเป้า2 พันล.สะท้อนการบริโภคยังชะลอตัว คลังสั่งสศค.วิเคราะห์ศก.ใกล้ชิด

     แนวหน้า : แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัดเก็บภาษีของเดือนแรกในปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558) ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตที่ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 1,600 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4% เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีหลายตัวในเดือน ตุลาคมยังหดตัว ทั้งภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ภาษีเครื่องดื่ม และภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งสิ้น

      ทั้งนี้ การเก็บรายได้ของรัฐบาลเดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 ต่ำกว่าเป้า 2,000 ล้านบาท เนื่องจากการเก็บภาษีทั้ง 3 กรมภาษี คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย

     อย่างไรก็ตาม การบริโภคที่แท้จริงของประชาชน ยังพบว่าชะลอตัวอยู่ สะท้อนได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของกรมสรรพากรในเดือนตุลาคม 2558 ยังเป็นลบ ซึ่งการติดลบดังกล่าวเกิดจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าน้ำมันต่ำกว่าที่คาดไว้มาก ด้านภาษีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ ก็มีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    นอกจากนี้ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ติดตามวิเคราะห์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวอย่างแท้จริง และได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วหรือไม่อย่างไร เนื่องจากตอนนี้ดัชนีทางเศรษฐกิจยังมีความขัดแย้งกันอยู่ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สำรวจโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เดือนตุลาคม 2558 ปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 10 เดือน จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

      โดยก่อนหน้านี้ นายสมชัย กล่าวว่า สศค. ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้สั่งการให้ สศค. เตรียมหามาตรการรองรับ ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลกระทบ ในปีหน้า อย่างไรก็ตามรัฐบาลจะไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมากๆ เหมือนช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากจะเน้นเรื่องการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปฏิรูประบบภาษี เพื่อความมั่นคงทางการคลัง และสร้างความเป็นธรรมในระบบผู้เสียภาษี มากขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!