WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:27 น. ข่าวสดออนไลน์

เตรียมปรับโครงสร้างภาษี - ห้ามหิ้วสินค้าเกินหมื่นบาทเข้าประเทศ
      สรรพากรเตรียมปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เล็งลดหย่อนอัตราเงินได้ จากอัตราสูงสุดปัจจุบันที่ 37 % เหลือ 35 % เพื่อจูงใจให้ผู้มีเงินได้เข้าสู่ฐานการเสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยเตรียมเสนอคสช.นำเข้าโรดแม็ปเศรษฐกิจที่จะประกาศใช้ ขณะที่กรมศุลกากรประกาศเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษี เข้มงวดนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้นำมาใช้ส่วนตัว 

      เมื่อวันที่ 1 ก.ค.นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยเข้มงวดการนำสินค้าที่ไม่ได้นำมาใช้ส่วนตัวของผู้โดยสารและลูกเรือที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เพราะหากไม่ใช่สินค้าส่วนตัว แต่นำมาเพื่อการค้าจะมีภาระภาษีที่ต้องเสีย และหากผู้นำเข้าไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
 
      รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวต่อว่า กรมศุลกากรได้ขึ้นป้ายรายละเอียดชัดเจนที่สนามบินทุกแห่งว่า ของใช้ส่วนตัวหมายถึงของนำที่มาใช้กับร่างกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า กระเป๋า โดยมีลักษณะไม่เกินกว่าการใช้เอง มีราคารวมกันไม่เกิน 1 หมื่นบาท โดยต้องไม่มีลักษณะการค้า หากของใช้ส่วนตัวนำมาเกินกว่าใช้เอง ต้องชำระภาษี โดยต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเข้าเครื่องตรวจเอกซเรย์ มิเช่นนั้นจะมีความผิดทางกฎหมาย
 
       นอกจากนี้ เสบียง อาหาร อาหารเสริม และเครื่องสำอาง ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี และต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ส่วนบุหรี่ยาสูบ ได้รับการยกเว้นภาษี 200 มวน สุรา ไวน์ ได้รับการยกเว้นภาษี 1 ลิตร
 
       ขณะเดียวกัน กรมศุลกากรยังแจ้งข้อควรทราบว่า ของฝากญาติ ของได้รับบริจาค ของสะสม ของมือสอง ของฝากเจ้านาย ของเอามาใช้เอง กล่องเปล่านาฬิกา หรือกระเป๋าแบรนด์เนม ไม่ถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ผู้โดยสารและลูกเรือต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบและเสียภาษีให้ถูกต้อง โดยกรมศุลกากรยังยกตัวอย่างของมีราคา เช่น กระเป๋า นาฬิกาแบรนด์เนม หากมีราคาเกิน 1 หมื่นบาท ต้องชำระภาษี
 
        รองอธิบดีกรมศุลกากร กล่าวอีกว่า การตรวจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ดุลพินิจ เพื่อไม่ให้ผู้เดินทางเข้าประเทศได้รับความเดือดร้อนหรือไม่สะดวก เช่น กระเป๋าแบรนด์เนมหากมีราคาเป็นแสนหรือเป็นล้านบาท แต่เป็นการซื้อมาใช้ส่วนตัว ถือว่าไม่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ใช่นำเข้ามาหลายใบ เช่น นำเข้ามาทีเดียว 3-4 ใบ ซึ่งมีเจตนาว่าจะเข้ามาเพื่อการพาณิชย์มากกว่าใช้ส่วนตัว กรณีอย่างนี้ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง
 
       ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ว่าจะต้องพิจารณาบนหลักการที่ว่าการปรับเปลี่ยนภาษีทำให้การจ่ายภาษีของประชาชนเกิดความเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งวัดได้จากสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลคืนกลับมาให้ประชาชน เช่น สวัสดิการในการรักษาโรค การรักษาฟรี เพราะเงินที่รัฐบาลนำมาใช้ดำเนินมาตรการต่างๆ เป็นเงินที่เก็บมาจากภาษีของประชาทุกคน  ส่วนความคืบหน้าการลดหย่อนอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา ลดลงจากอัตราสูงสุด ปัจจุบันที่ 37 % นั้นมีความเป็นไปได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียด เพราะจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน และต้องไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนและประเทศ ส่วนการยื่นแบบภาษีต้องไม่เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเดิม รวมทั้งการจัดเก็บต้องกระจายไปทุกกลุ่ม ไม่ใช่ออกมาตรการมาแล้วทำให้คนรวยได้เปรียบคนจน ต่อจากนี้กรมจะต้องทำให้สังคมเป็นธรรมด้วยการเก็บภาษีด้วย
 
      "การปรับภาษีคงไม่ใช่จะได้ประโยชน์ขาเดียว ต้องดูว่ามีอะไรบ้างจะกระทบ โดยอาจต้องพิจารณามาตรการภาษีทางอ้อมเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ประเทศต่างๆ ไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน ปรับลดภาษีส่งออกและนำเข้าเหลือ 0% แต่เมื่อส่งสินค้าเข้าไปกลับมีการออกกฎหมายเป็นภาษีท้องถิ่นเพื่อกีดกันสินค้าเรา ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไทยต้องนำมาพิจารณาด้วย" นายประสงค์กล่าว 
 
       ผู้สื่อข่าวถามว่าหนักใจหรือไม่ที่คสช. มีนโยบายให้กรมสรรพากรเข้าตรวจความถูกต้องของการเสียภาษีของกลุ่มบุคคลที่ไม่มารายงานตัวกับคสช. อธิบดีกรมสรรพากรคนใหม่ กล่าวว่า ไม่รู้สึกหนักใจ เพราะตนยึดหลักความเป็นธรรม หากตรวจพบว่ากระทำความผิด มีการหลบ หรือเลี่ยงภาษี กรมจำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เสียภาษีให้ถูกต้อง แต่หากไม่ได้ทำผิดจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังแน่นอน โดยคนที่มีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก รายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหนก็ต้องได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน
 
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมสรรพากรและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กำลังศึกษาโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และเพื่อจูงใจให้ผู้มีรายได้เข้าสู่ฐานภาษีมากขึ้น โดยระยะสั้นคาดว่าจะเสนอให้ยืดอายุมาตรการลดการจัดเก็บจากอัตราสูงสุดที่ 37 % เหลือ 35 % ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งเรื่องนี้ทั้ง 2 หน่วยงานได้หารือร่วมกับคสช.แล้ว คาดว่าจะบรรจุอยู่ในแผนโรดแม็ปเศรษฐกิจที่คสช.จะประกาศใช้
 
      ก่อนหน้านี้ นายสุทธิชัย สังขมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมสรรพากร กำหนดแนวทางปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเห็นว่าที่อัตรา 35% ยังไม่จูงใจ สะท้อนได้จากมีผู้เสียภาษีเพียง 2 ล้านราย จากฐานภาษีทั้งหมด 10 ล้านราย และเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ที่ยังเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ดังนั้นควรจะปรับลดอัตราลงมาอีก เพื่อให้คนเสียภาษีมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้
 
       ด้านวันที่ 1 ก.ค. นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรณีที่ด่านศุลกากรสุวรรณภูมิ มีการนำป้ายเตือนผู้โดยสารและลูกเรือที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ไม่ให้หิ้วสินค้าที่มีราคาเกิน 10,000 บาท ในลักษณะทางการค้า ไม่เช่นนั้นจะต้องเสียภาษีนั้น ยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวเป็นระเบียบที่มีอยู่แล้ว ว่า หากการนำสินค้าเข้ามาในลักษณะทางการค้าก็จะต้องเสียภาษี ซึ่งทางกรมศุลกากรก็ต้องพิจารณาดูจากสิ่งแวดล้อมด้วย
 
       "อย่างกระเป๋าแบรนด์เนม ราคาเกิน 10,000 บาท ถ้านำเข้ามาทีนึง 10 ใบ ก็เข้าข่าย แต่คนไทยบางทีก็มีเรื่องของฝากด้วย แต่พวกเหล้าที่จะยกเว้นให้ 1 ลิตร บุหรี่ให้ 1 แท่ง หรือ 200 มวน พวกนี้ก็เป็นแนวปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางทีก็ต้องยืดหยุ่น หากดูแล้วซื้อมาใช้เองจริง ๆ ซึ่งบางทีเจ้าหน้าที่ไปตรวจ ก็ถูกต่อว่าจนหน้าชา" นายยุทธนากล่าว
 
       นายยุทธนา กล่าวว่า ป้ายเตือนดังกล่าวปกติจะติดไว้ฝั่งผู้โดยสารขาเข้า แต่ได้สอบถามนายด่านศุลกากรสุวรรณภูมิ ชี้แจงว่า ต้องการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยที่ปัจจุบันเดินทางเข้าออกประเทศกันมากได้รับทราบ จึงมีการนำป้ายมาติดที่ฝั่งขาออก จึงทำให้ผู้โดยสารตกใจ
 
       ทั้งนี้ ยืนยันว่า นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากรคนใหม่ ไม่ได้ให้นโยบายเป็นพิเศษเรื่องนี้ แต่ได้ให้นโยบายให้เพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บรายได้ในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 ให้การเก็บรายได้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเฉพาะตามแนวชายแดนที่ต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆด้วย
 
      สำหรับ ป้ายข้อความที่มีการติดประชาสัมพันธ์ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ระบุว่า แจ้งผู้โดยสาร และลูกเรือที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยว่า บุคคลสามารถนำของใช้ส่วนตัว (Personal Effect) เข้าประเทศได้ไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท โดยต้องไม่มีลักษณะทางการค้า เสบียง อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, บุหรี่/ยาสูบ/สุรา/ไวน์ นำเข้าได้ในจำนวนจำกัด ของฝากญาติ ของบริจาค ของสะสม ของมือสอง ของฝากเจ้านาย ไม่ถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว กระเป๋า-นาฬิกาแบรนด์เนมราคาเกิน 10,000 บาท ต้องชำระภาษี
 

วันที่ 02 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8617 ข่าวสดรายวัน

ห้ามหิ้วเข้าปท. สินค้าเกินหมื่น

      สรรพากรเตรียมปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เล็งลดหย่อนอัตราเงินได้ จากอัตราสูงสุดปัจจุบันที่ 37% เหลือ 35% เพื่อจูงใจให้ผู้มีเงินได้เข้าสู่ฐานการเสียภาษีเพิ่มขึ้น โดยเตรียมเสนอคสช.นำเข้าโรดแม็ปเศรษฐกิจที่จะประกาศใช้ ขณะที่กรมศุลกากรประกาศเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษี เข้มงวดนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้นำมาใช้ส่วนตัว

     เมื่อวันที่ 1 ก.ค. นายยุทธนา หยิมการุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี โดยเข้มงวดการนำสินค้าที่ไม่ได้นำมาใช้ส่วนตัวของผู้โดยสารและลูกเรือที่เดินทางเข้ามาในประเทศ เพราะหากไม่ใช่สินค้าส่วนตัว แต่นำมาเพื่อการค้าจะมีภาระภาษีที่ต้องเสีย และหากผู้นำเข้าไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบก็จะมีความผิดตามกฎหมาย

     รองอธิบดีกรมศุลกากรกล่าวต่อว่า กรมศุลกากรได้ขึ้นป้ายรายละเอียดชัดเจนที่สนามบินทุกแห่งว่า ของใช้ส่วนตัวหมายถึงของนำที่มาใช้กับร่างกาย เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ถุงเท้า กระเป๋า โดยมีลักษณะไม่เกินกว่าการใช้เอง มีราคารวมกันไม่เกิน 1 หมื่นบาท โดยต้องไม่มีลักษณะการค้า หากของใช้ส่วนตัวนำมาเกินกว่าใช้เอง ต้องชำระภาษี โดยต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนเข้าเครื่องตรวจเอกซเรย์ มิเช่นนั้นจะมีความผิดทางกฎหมาย

     นอกจากนี้ เสบียง อาหาร อาหารเสริม และเครื่องสำอาง ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี และต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ส่วนบุหรี่ยาสูบ ได้รับการยกเว้นภาษี 200 มวน สุรา ไวน์ ได้รับการยกเว้นภาษี 1 ลิตร

      ขณะเดียวกัน กรมศุลกากรยังแจ้งข้อควรทราบว่า ของฝากญาติ ของได้รับบริจาค ของสะสม ของมือสอง ของฝากเจ้านาย ของเอามาใช้เอง กล่องเปล่านาฬิกา หรือกระเป๋า แบรนด์เนม ไม่ถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ผู้โดยสารและลูกเรือต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรทราบและเสียภาษีให้ถูกต้อง โดย กรมศุลกากรยังยกตัวอย่างของมีราคา เช่น กระเป๋า นาฬิกาแบรนด์เนม หากมีราคาเกิน 1 หมื่นบาท ต้องชำระภาษี

      รองอธิบดีกรมศุลกากรกล่าวอีกว่า การตรวจของเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้ดุลพินิจ เพื่อไม่ให้ผู้เดินทางเข้าประเทศได้รับความเดือดร้อนหรือไม่สะดวก เช่น กระเป๋าแบรนด์เนมหากมีราคาเป็นแสนหรือเป็นล้านบาท แต่เป็นการซื้อมาใช้ส่วนตัว ถือว่าไม่ต้องเสียภาษี แต่ไม่ใช่นำเข้ามาหลายใบ เช่น นำเข้ามาทีเดียว 3-4 ใบ ซึ่งมีเจตนาว่าจะเข้ามาเพื่อการพาณิชย์มากกว่าใช้ส่วนตัว กรณีอย่างนี้ต้องเสียภาษีให้ถูกต้อง

      ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ว่าจะต้องพิจารณาบนหลักการที่ว่าการปรับเปลี่ยนภาษีทำให้การจ่ายภาษีของประชาชนเกิดความเป็นธรรมหรือไม่ ซึ่งวัดได้จากสิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลคืนกลับมาให้ประชาชน เช่น สวัสดิการในการรักษาโรค การรักษาฟรี เพราะเงินที่รัฐบาลนำมาใช้ดำเนินมาตรการต่างๆ เป็นเงินที่เก็บมาจากภาษีของประชาทุกคน ส่วนความคืบหน้าการลดหย่อนอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา ลดลงจากอัตราสูงสุด ปัจจุบันที่ 37% นั้นมีความเป็นไปได้ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนศึกษารายละเอียด เพราะจะต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน และต้องไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนและประเทศ ส่วนการยื่นแบบภาษีต้องไม่เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าเดิม รวมทั้งการจัดเก็บต้องกระจายไปทุกกลุ่ม ไม่ใช่ออกมาตรการมาแล้วทำให้คนรวยได้เปรียบคนจน ต่อจากนี้กรมจะต้องทำให้สังคมเป็นธรรมด้วยการเก็บภาษีด้วย

      "การปรับภาษีคงไม่ใช่จะได้ประโยชน์ขาเดียว ต้องดูว่ามีอะไรบ้างจะกระทบ โดยอาจต้องพิจารณามาตรการภาษีทางอ้อมเพิ่มเติมด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ประเทศต่างๆ ไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน ปรับลดภาษีส่งออกและนำเข้าเหลือ 0% แต่เมื่อส่งสินค้าเข้าไปกลับมีการออกกฎหมายเป็นภาษีท้องถิ่นเพื่อกีดกันสินค้าเรา ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไทยต้องนำมาพิจารณาด้วย" นายประสงค์กล่าว 

    ผู้สื่อข่าวถามว่า หนักใจหรือไม่ที่คสช.มีนโยบายให้กรมสรรพากรเข้าตรวจความถูกต้องของการเสียภาษีของกลุ่มบุคคลที่ไม่มารายงานตัวกับคสช. อธิบดีกรมสรรพากรคนใหม่ กล่าวว่า ไม่รู้สึกหนักใจ เพราะตนยึดหลักความเป็นธรรม หากตรวจพบว่ากระทำความผิด มีการหลบ หรือเลี่ยงภาษี กรมจำเป็นต้องชี้แจงเพื่อให้เสียภาษีให้ถูกต้อง แต่หากไม่ได้ทำผิดจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังแน่นอน โดยคนที่มีรายได้มากก็ต้องเสียภาษีมาก รายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหนก็ต้องได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมสรรพากรและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กำลังศึกษาโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ที่จะทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และเพื่อจูงใจให้ผู้มีรายได้เข้าสู่ฐานภาษีมากขึ้น โดยระยะสั้นคาดว่าจะเสนอให้ยืดอายุมาตรการลดการจัดเก็บจากอัตราสูงสุดที่ 37 % เหลือ 35 % ออกไปอีก 1 ปี ซึ่งเรื่องนี้ทั้ง 2 หน่วยงานได้หารือร่วมกับคสช.แล้ว คาดว่าจะบรรจุอยู่ในแผนโรดแม็ปเศรษฐกิจที่คสช.จะประกาศใช้

      ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ นายสุทธิชัย สังขมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง อดีตอธิบดีกรมสรรพากร กำหนดแนวทางปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเห็นว่าที่อัตรา 35% ยังไม่จูงใจ สะท้อนได้จากมีผู้เสียภาษีเพียง 2 ล้านราย จากฐานภาษีทั้งหมด 10 ล้านราย และเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ที่ยังเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ดังนั้นควรจะปรับลดอัตราลงมาอีก เพื่อให้คนเสียภาษีมากขึ้น และสามารถแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!