WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสวชญ โรจนวานชคลังวางแผนระดมกู้ 2 แสนล.หวังลงทุนภาครัฐกระตุ้นศก.

   ไทยโพสต์ * คลังติดเครื่องกู้เงินอีก 2 แสนล้านบาท หวังกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านสารพัดโครงการลงทุน พร้อมรับลูก รมว.คลัง ล้มกฎ หมายกู้ใช้หนี้ประเทศ 7.3 แสนล้านบาท

     นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 หรือช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ กระทรวงการคลังจะกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2 แสนล้านบาท จากวงเงินกู้ที่ตั้งไว้ 3.9 แสนล้านบาทหรือมากกว่า 50% เพื่อใช้จ่ายในการลงทุนโครงการต่างๆ เนื่อง จากรัฐบาลมีมาตรการเร่งการลงทุนทั้งโครงการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก

    นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ การเก็บรายได้ของประเทศจะเข้ามาน้อย ซึ่งถือเป็นปกติของการเก็บรายได้ที่ช่วงต้นๆ จะเข้ามาน้อย แต่จะเข้ามามากในช่วงไตรมาสสองและสาม เนื่องจากเป็นช่วงการจ่ายเงินภาษีรายได้บุคคลธรรมดาและภาษีนิติบุคคล

    สำหรับ การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 5 หมื่นล้านบาท อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3% ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี มีการซื้อไปแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่ง คาดว่าภายในไม่ช้าจะมีการซื้อทั้งจำนวน ขณะที่การกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณอีก 1.5 แสนล้านบาท ในไตรมาสนี้ จะเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี ซึ่งได้มีแผน การออก และสถาบันการเงินที่จะเข้าประมูลรับทราบเป็นอย่างดีแล้ว

     "ในส่วนของการกู้เงินเพื่อ ใช้โครงการเร่งด่วนซ่อมสร้างถนนและบริหารจัดการน้ำทั่วประเทศ วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท มีการกู้เงินไปแล้ว 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการเบิกจ่ายที่ รวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเบิกจ่ายไปแล้ว 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งตามแผนในปีหน้าจะมีการกู้และเบิกจ่ายทั้งหมด 8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเป็นโครงการขนาดเล็กและการดำเนินการของโครงการไม่เกิน 1 ปี" นายสุวิชญกล่าว

     นายสุวิชญ กล่าวอีกว่า แผนการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาลปีงบประมาณ 2559 วงเงิน 1.7 ล้านล้านบาท เป็นการกู้ใหม่ 5.63 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการกู้เพื่อการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

     ส่วนการออกกฎหมายกู้เงิน 7.3 แสนล้านบาท เพื่อชดใช้หนี้จำนำข้าวประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการใช้หนี้รัฐวิสาหกิจนั้น ให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง พิจารณา ซึ่งทาง รมว.คลัง ได้ให้ทาง สบน.ระงับการดำเนินการเรื่องนี้ไว้ก่อน เพราะไม่ต้องการให้ตลาดเงินเกิดความสับสน เพราะเป็นการกู้เงินจำนวนมาก แต่เป็นการกู้เงินใหม่ไปใช้หนี้เก่าที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ รมว. คลัง ยังเป็นห่วงว่าการไปรับหนี้ จำนำข้าวจากธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะผิดหลักการทางบัญชี เพราะเป็นการรับแต่หนี้สินมาอย่างเดียว แต่ไม่มีทรัพย์สินมาด้วย

    สำหรับ การกู้เงินเพื่อไป ใช้หนี้ให้กับการรถไฟแห่งประ เทศไทย (ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ทาง รมว.คลัง เห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลก็ชดเชยหนี้ให้กับทั้ง 2 แห่งอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาการดำเนินงานได้ ซึ่งการล้างหนี้ครั้งนี้ก็ไม่มีอะไรยืนยันว่าจะมีการดำเนินการที่ดีขึ้น และไม่เป็นหนี้กลับมาให้รัฐบาลต้องใช้ให้อีก ขณะที่หนี้ของกองทุนประกันสังคมที่รัฐบาลค้างเงินสมทบ ทางกระทรวงการคลังเห็นว่าเป็น เรื่องที่ทางสำนักงบประมาณ จะต้องทยอยจัดสรรเงินให้กับกองทุนประกันสังคมจะดีกว่าการออกกฎหมายกู้เงินมาใช้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!