WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศอภิศักดิ์ ชี้ภาษีรถยนต์ใหม่เหมาะสม

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * 'อภิศักดิ์'ยันเดินหน้าใช้โครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ เหมาะสม-ถูกต้องสุดแล้ว ปัดปลดล็อกโครงการรถคันแรกแจง ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% เป็น การถาวร เสริมขีดความสามารถแข่งขัน

       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง ยืนยันว่าการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ โดยมีการกำหนดระดับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) เป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ซึ่งส่งผลให้ราคาขายรถยนต์มีทั้งส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นและลดลงนั้น จะไม่มีการปรับโครงสร้างใหม่ แต่อย่างใด ทุกอย่างจะไม่มีการ เปลี่ยนแปลง เนื่องจากกระบวน การได้เดินหน้าไปหมดแล้ว และการคำนวณภาษีจากการปล่อยก๊าซดังกล่าวก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุด และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2559

     นอกจากนี้ ยืนยันอีกว่าจะไม่มีการปรับหรือปลดล็อกการถือครองรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรก จาก 5 ปี เหลือ 3 ปีอย่างแน่นอน ดังนั้นใครที่อยากจะซื้อรถแนะนำให้ซื้อรถยนต์ใหม่ได้เลย

       นายอภิศักดิ์กล่าวถึงกรณีที่ปรับลดอัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่ระดับ 20% เป็นมาตรการถาวรนั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สามารถแข่งขันกับในตลาดโลกได้ และการปรับลดครั้งนี้ก็เพื่อเป็นไปตามอัตราของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและมาเลเซียที่จัดเก็บ 25% เวียดนามจัดเก็บ 22% และสิงคโปร์จัดเก็บ 17%

       "การกำหนดให้อัตราภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ระดับ 20% เป็นมาตรการถาวรนั้น เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นและคลายความกังวลให้กับผู้ประกอบการและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันกับตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพราะหากเปิดเออีซีแล้วภาษีเราสูงกว่าก็จะมีปัญหา นักลงทุนจะตัดสินใจไปลงทุนประเทศอื่นแทน แล้วส่งของมาขายบ้านเรา ดังนั้น เราจึงต้องปรับลดอัตราลงมาให้ใกล้เคียงกัน ซึ่งก็จะช่วยดึงดูดความสนใจในการลงทุนของต่างชาติได้เป็นอย่างดี" นายอภิศักดิ์กล่าว

    สำหรับ ความคืบหน้าคดีทุจริตจำนำข้าวนั้น ขณะนี้ได้มีการขอเลื่อนการพิจารณาออกไปอีก 30 วัน คือสิ้นสุดเดือน ต.ค.นี้ จากเดิมสิ้นสุดเดือน ก.ย.2558 เนื่องจากอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการข้อเท็จจริง และกำหนดค่าเสียหายสอบพยานเพิ่ม เติม

รถแรงจ่ายภาษีก่อมลพิษสูง อัตราสรรพสามิตใหม่ใช้ปีหน้ารถยนต์คันแรกยังคง 5 ปี

   บ้านเมือง : กระทรวงการคลัง ยืนยันภาษีสรรพสามิตรถยนต์บังคับใช้ 1 ม.ค.59 จัดเก็บตามการปล่อยมลภาวะไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีการปรับหรือปลดล็อกการถือครองรถยนต์ ในโครงการรถยนต์คันแรกจาก 5 ปี เหลือ 3 ปี ด้าน ส.อ.ท.ชี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ หนุนความเชื่อมั่นการลงทุน เชื่อปีหน้าราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้น

   นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตจะใช้โครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ที่จัดเก็บจากการใช้เชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.59 ซึ่งส่งผลให้ราคาขายรถยนต์มีทั้งที่ปรับเพิ่มขึ้นและลดลง ทุกอย่างจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากกระบวนการได้เดินหน้าไปหมดแล้ว และการคำนวณภาษีจากการปล่อยก๊าซดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมและถูกต้องที่สุด ทั้งนี้ยืนยันว่าจะไม่มีการปรับหรือปลดล็อกการถือครองรถยนต์ในโครงการรถยนต์คันแรกจาก 5 ปีเหลือ 3 ปีอย่างแน่นอน ดังนั้นใครที่อยากจะซื้อรถแนะนำให้ซื้อรถยนต์ใหม่ได้เลย

    สำหรับ โครงสร้างภาษีใหม่ขนาดเครื่องยนต์ 1,200 ซีซี เสียภาษีลดลงเหลือร้อยละ 14 จากปัจจุบันร้อยละ 17 ทำให้ราคารถยนต์ลดลง 50,000 บาท, ส่วนภาษีรถยนต์ขนาด 1,500 ซีซี อัตราภาษีปัจจุบันร้อยละ 25 เพิ่มเป็นร้อยละ 35 ทำให้ราคารถเพิ่มขึ้นประมาณ 85,000 บาท ส่วนรถยนต์ขนาด 1,800 ซีซี ปัจจุบันภาษีร้อยละ 25 เพิ่มเป็น 35 ทำให้ราคารถยนต์เพิ่มขึ้น 95,000 บาท ส่วนรถยนต์ขนาด 2,000 ซีซี ปัจจุบันอัตราภาษีร้อยละ 25 เพิ่มเป็น 35 หรือราคารถยนต์เพิ่มขึ้น 1.1 แสนบาท ส่วนขนาดรถยนต์ 2,000 ซีซี ขึ้นไป เดิมภาษีร้อยละ 30 เพิ่มเป็น 40 จึงทำให้ราคาเพิ่มขึ้น 1.6 แสนบาทขึ้นไป

     ส่วนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ มีดังนี้ 1.รถยนต์นั่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำกว่า 150 กรัม/กม. เสียภาษีร้อยละ 30 รถยนต์นั่งที่ปล่อย CO2 150-200 กรัม/กม. เสียภาษีร้อยละ 35 และรถยนต์นั่งที่ปล่อย CO2 เกิน 200 กรัม/กม. เสียภาษีร้อยละ 40 รถปิกอัพที่ปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัม/กม. เสียภาษีร้อยละ 3 เท่าเดิม แต่หากปล่อยเกินก็เสียภาษีร้อยละ 5 รถอเนกประสงค์แบบพีพีวี ปัจจุบันเสียภาษีร้อยละ 20 อัตราใหม่หากปล่อย CO2 ไม่เกิน 200 กรัม/กม. เสียภาษีร้อยละ 25 แต่ถ้าเกินจะเสียในอัตราร้อยละ 30

      นายอภิศักดิ์ กล่าวต่อ ถึงกรณีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลมาที่ระดับ 20% เป็นการถาวรว่าเพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ และการปรับลดครั้งนี้ก็เพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน และมาเลเซียที่จัดเก็บ 25% เวียดนามจัดเก็บ 22% และสิงคโปร์จัดเก็บ 17%

     "การกำหนดให้อัตราภาษีนิติบุคคลอยู่ที่ระดับ 20% เป็นมาตรการถาวรนั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันกับตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจในการลงทุนของต่างชาติได้เป็นอย่างดี"

    ส่วนความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวนั้น ขณะนี้ได้มีการขอเลื่อนการพิจารณาออกไปอีก 30 วัน เนื่องจากอยู่ระหว่างรอคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าเสียหายสอบพยานเพิ่มเติม

     นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาล่าสุด จะส่งผลกระตุ้นให้ผู้บริโภคกลับมามีความมั่นใจ เกิดการบริโภคใช้จ่าย และทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะส่งผลต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมาเติบโตได้ และจะได้รับอานิสงส์จากโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐในปีหน้าด้วยเช่นกัน ซึ่งการที่ภาครัฐพยายามเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนดังนั้น การลงทุนของภาคเอกชนจะขยับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไป และแนวโน้มในปี 2559 เชื่อว่าราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวดีขึ้น และจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างช้าๆ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามปัญหาภัยธรรมชาติ และภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบด้วย

       ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์เงินบาทอ่อนค่าอยู่ที่ระดับ 36 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 6 ปี 6 เดือน ในด้านหนึ่งแม้จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยในด้านการนำเข้าวัตถุดิบหรือเครื่องจักรจากต่างประเทศ ที่ผู้ประกอบการอาจต้องใช้เงินทุนจำนวนสูงขึ้นในการสั่งซื้อเครื่องจักรและสินค้า แต่ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของไทยเพราะเงินบาทที่อ่อนค่าก็จะทำให้คู่ค้าต่างประเทศมีกำลังซื้อสินค้าไทยได้มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าตัวเลขการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องมาหลายเดือนน่าจะปรับตัวได้ดีขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!