WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกฤษฎา จนะวจารณะส่งออกตายสนิท คลังชี้ทั้งปี ติดลบ 4% การบริโภค-ลงทุนภาคเอกชนสัญญาณฟื้นไม่ชัด

       แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า สศค.ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี อยู่ที่ 3% ต่อปี หรือยู่ในช่วง 2.5-3.5% จากเดิมคาดว่า จะขยายตัว 3.7% ต่อปีเนื่องจากภาคการส่งออก 6 เดือนที่ผ่านมา ตามกระทรวงพาณิชย์ประกาศติดลบสูงถึง 4.8% ทั้งนี้ สศค.คาดว่า ทั้งปีการส่งออก ติดลบถึง 4% ต่อปี จากคาดการณ์เดิมขยายตัวเป็นบวก 0.2% ต่อปี

       อย่างไรก็ตาม จีดีพี ทั้งปีที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3% โดยมีปัจจัยบวกที่ได้จากภาคการท่องเที่ยว ที่ในปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามา 29.9 ล้านคน จากเดิมมองว่าจะมี 29.4 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 24% นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่จะทำให้ครึ่งปีหลังดีขึ้น รวมถึงโครงการต่างๆของภาครัฐ ที่จะชัดเจนมากขึ้น เช่น โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โครงการบริหารจัดการน้ำ และโครงการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน และอาจกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้น

      ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้าโดยได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำและภาวะการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกัน จากแรงสนับสนุนของโครงการลงทุนภาครัฐ และมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น มาตรการลดภาษีเอสเอ็มอี ให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนทางภาษี เป็นต้น

      นายกฤษฎา กล่าวอีกว่า การบริโภคภาคเอกชนในเดือนมิถุนายน 2558 มีสัญญาณ ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ไตรมาส ที่ 2 ปี 2558 มีสัญญาณทรงตัว สะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในภาพรวมในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล อยู่ที่ 5.4% ต่อปี และ 4.7% ต่อเดือนตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 6 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 63.8 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลกับสถานการณ์การส่งออกและปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลกระทบซ้ำเติมราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำจากอุปสงค์ในตลาดโลก ส่วนปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมิถุนายน 2558พบว่า กลับมาขยายตัวที่ 6.5% ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูการออกขยายตัว 8.2% ต่อเดือน ทำให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 ขยายตัว 2.0% ต่อปี

      สำหรับ การลงทุนภาคเอกชนในเดือนมิถุนายน 2558 แม้มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีสัญญาณชะลอตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2558 โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจาก ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนมิถุนายน 2558 ขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาล อยู่ที่ 3.1% ต่อปี และ 0.9% ต่อเดือน ตามลำดับด้านอุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกในเดือนมิถุนายนและไตรมาสที่ 2 ปี 2558 ยังคงหดตัวต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน 2558 หดตัว-7.9% ต่อปีสำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากการขยายตัวในภาคการท่องเที่ยวโดยในเดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทย 2.28 ล้านคน ขยายตัวได้สูงถึง 53.1% ต่อปีสำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทยยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2558 มีทิศทางปรับลดลงมาอยู่ที่ -0.6% จากปัจจัยด้านอุปทานเป็นหลัก โดยเฉพาะจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับแรงกดดันด้านอุปสงค์ลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้า ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศ คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับการลดลงของราคาสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้า และคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 20.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 5.1% ของจีดีพีเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ตามการเกินดุลบริการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น

สินค้าขายไม่ได้หลังภาระหนี้-ภัยแล้งฉุดกำลังซื้อ-ผลิตภัณฑ์ส่งออกเดี้ยง SME อ่วม-อุตสาหกรรมสาหัส

      แนวหน้า : แบงก์ทหารไทยเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ช่วงไตรมาส 2 ผลปรากฏตัวเลขร่วงต่ำลงอีก ซ้ำดัชนี 3 เดือนข้างหน้า ก็ยังลดลงอีกด้วยเหตุผลหลักจากเศรษฐกิจในประเทศไม่ฟื้น ปัญหาภัยแล้ง ฉุดกำลังซื้อดิ่งเหว โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกไม่ได้ เม็ดเงินหายจากระบบกว่า 3 หมื่นล้านขณะที่ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมก็ยังแย่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ เหล็ก อาการหนัก กอดคอกันลดกำลังผลิต หลังคำสั่งซื้อหดหาย

       นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี ไตรมาส 2/2558 พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ที่ 38.7 ปรับลงจากระดับ 43.7 หรือลดลง 11.4% จากไตรมาสก่อนหน้านี้ เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า รายได้ในปัจจุบันมีความไม่แน่นอน เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่วนความเชื่อมั่นของธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าพบว่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 53.8 ปรับลงจากระดับ 59.3 ในไตรมาส 1 คิดเป็นการปรับตัวลดลง 9.3% ซึ่งลดลงค่อนข้างมากเนื่องมาจาก SMEs มองว่ารายได้ของธุรกิจจะแย่ลงในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง จากปัญหาภัยแล้ง ทำให้เกษตรกรต้องหยุดหรือเลื่อนการเพาะปลูก กระทบต่อผลผลิตนาปีของทั้ง 3 ภาคลดลงเหลือ 21.5 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.3 ล้านตัน ประเมินมูลค่าเม็ดเงินที่หายไปจากครอบครัวเกษตรกรประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท

        สำหรับ ปัจจัยที่ธุรกิจ SMEs กำลังกังวล กว่า 60%คือเรื่องเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งถือเป็นระดับความกังวลสูงในรอบ 3 ปี ตั้งแต่เริ่มสำรวจความคิดเห็น สาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อในพื้นที่ลดลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นด้านรายได้ที่ปรับตัวลดลง ส่วนสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งดำเนินการคือ มาตรการระยะยาว เช่น โรดแมปสินค้าเกษตรรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า และแผนยุทธศาสตร์ข้าว

      นายเบญจรงค์กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. อาจต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้ง หากภาคการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาด ทำให้ตัวเลขการส่งออกปีนี้ติดลบมากกว่า 1.7% และส่งผลให้จีดีพีโตต่ำกว่า 3%

       ขณะเดียกัน นายณัฐพล รังสิตพล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมิถุนายน 2558 ว่า หดตัว 8.0% อุตสาหกรรม สำคัญที่ลดลง เช่น HDD โทรทัศน์ รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเบียร์ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อตอบสนองในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่า 30%) เพิ่มขึ้น 3.4% โดยเพิ่มขึ้นจากการกลั่นน้ำมันเป็นหลัก การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) เดือนมิถุนายน 2558 หดตัว 6.8% ตามการลดลงของการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการ อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ภาพรวมครึ่งปีแรก 2558 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) หดตัว 3.0% ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัว 2.7% สินค้าวัตถุดิบ(ไม่รวมทองคำ) ขยายตัว 1.6% อย่างไรก็ตาม ภาพรวมครึ่งปีแรก 2558 การนำเข้าสินค้าทุน และสินค้าวัตถุดิบ(ไม่รวมทองคำ) ยังคงหดตัว

       สำหรับ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตรถยนต์ มีจำนวน 151,698 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.11% การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ มีจำนวน 60,322 คัน ลดลง 18.26% และการส่งออกรถยนต์ มีจำนวน 76,774 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.14% โดยการส่งออกรถกระบะ 1 ตันและ PPV มีจำนวน 37,238 คัน ลดลง 41.71% ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการบางรายอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรุ่นของรถยนต์ โดยเป็นการลดลงในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และเอเชีย

      ในส่วนของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลง 17.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ปรับตัวลดลง 18.84% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กในตลาดโลกลดลงส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปรับตัวลดลง 11.40% กลุ่ม

     เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง เช่น คอมเพรสเซอร์ กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว และเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลงจึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว (ยุโรป และญี่ปุ่น) สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐานการผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน

    ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การบริโภคเหล็กของไทยเดือนมิถุนายนปี 2558 มีปริมาณ 1.29 ล้านตัน ลดลง 5.15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตมีปริมาณ 0.48 ล้านตัน ลดลง 14.29% การส่งออกมีมูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 8.89% สำหรับการนำเข้า 570 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.70% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงทุกชนิดเช่น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง เนื่องจากผู้ผลิตรายหนึ่ง มีการหยุดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร สำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็นลดลง เนื่องจากการบริหารสินค้าคงคลังโดยลดการผลิตและระบายสต๊อกแทน แต่ในส่วนของเหล็กแผ่นรีดร้อน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเป็นเหตุผลทางด้านจิตวิทยาจากการที่มีข่าวว่า ผู้ผลิตในประเทศขอให้ภาครัฐดำเนินการใช้มาตรการ Surcharge สินค้าเหล็ก ซึ่งมีผลทำให้ผู้นำเข้าชะลอการนำเข้า

     สำหรับ เหล็กทรงยาว การผลิตลดลงทุกตัว เนื่องจากสภาพตลาดในประเทศที่ยังคงทรงตัวอยู่ นอกจากนี้จากข้อมูลเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ข้อมูลจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเดือนพฤษภาคม 2558 มีทิศทางที่ลดลง ส่วนการส่งออกในเดือนมิถุนายน ปี 2558 มีทิศทางที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์เหล็กโลกที่ยัง over supply อยู่ จากการที่ประเทศจีนยังคงขยายการผลิตอยู่ ทั้งๆ ที่ความต้องการใช้ในประเทศชะลอตัวซึ่งถึงแม้ว่าหลายประเทศจะทำหนังสือเพื่อขอให้รัฐบาลจีนควบคุมปริมาณการผลิต แต่ยังไม่มีความคืบหน้าอื่นใดส่วนอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.6% เนื่องจากการผลิตน้ำตาล และปศุสัตว์ (ไก่และสัตว์ปีก) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่การผลิตสินค้าหลักอื่นๆ ยังมีทิศทางลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกในภาพรวมลดลงจากปีก่อน 2.0% จากผลกระทบเศรษฐกิจของประเทศนำเข้ายังคงชะลอตัวระดับราคาสินค้าในตลาดโลกยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยเฉพาะผลกระทบจากการตัดสิทธิ์ GSP และภาวะเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปที่ขยายตัวไปยังเศรษฐกิจประเทศอื่น ส่วนภาวะการใช้จ่ายในประเทศที่ยังทรงตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังได้รับผลกระทบจากอำนาจซื้อในประเทศชะลอตัวลง

ดัชนีอุตฯดิ่งสุดรอบ 15 เดือนธุรกิจญี่ปุ่นหวังภาครัฐดันครึ่งปีหลังฟื้น

     ไทยโพสต์-ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย.หดตัว 8% ไหลลงทำจุดต่ำสุดรอบ 15 เดือน สศอ.เล็งทบทวนจีดีพีในเดือน ส.ค.นี้ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ขณะที่ TMB แจงความเชื่อมั่นเอสเอ็มอีโงหัวไม่ขึ้น สาเหตุหลักคนไม่มั่นใจรายได้ในอนาคต หอการค้าญี่ปุ่นหวังครึ่งปีหลังธุรกิจฟื้น

    นายณัฐพล รังสิตพล รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มิ.ย.2558 หดตัวลง 8% ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน โดยลดจาก 158.86 ของเดือนก่อนมาอยู่ที่ 155.29 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตดีขึ้นเล็กน้อย จาก 56.94% มาอยู่ที่ 57% สาเหตุหลักมาจากการผลิตในอุตสาหกรรมที่สำคัญลดลง เช่น อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ โทรทัศน์ รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเบียร์ เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

      สำหรับ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ การผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 5.11% การจำหน่ายรถยนต์ในประเทศลดลง 18.26% และการส่งออกรถยนต์ลดลง 26.14% อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลดลง 17.51% ส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้า ลดลง 11.40% ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ลดลง 5.15% จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ส่วนอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 6.6% เป็นต้น

      นายอิทธิชัย ยศศรี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สศอ. กล่าวว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่สะท้อนการผลิตในอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ดังนั้น สศอ.เตรียมปรับฐานข้อมูลดัชนีใหม่ โดยเพิ่มอุตสาหกรรมศักยภาพใหม่ๆ เข้าไปด้วย เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตรถมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร และสุรา เป็นต้น ขณะเดียวกัน จะมีการตัดอุตสาหกรรมบางรายสาขาออกไป เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทจอโทรทัศน์รุ่นเก่าที่นำออกจากสายการผลิตแล้ว

      นอกจากนี้ สศอ.เตรียมทบทวนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และจีดีพีอุตสาหกรรมของปีนี้อีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจมีหลายด้าน ทั้งการประกาศระดับการใช้แรงงานของไทยในอุตสาหกรรมประมงที่ยังคงอยู่ในเทียร์ 3 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง

      ด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี ไตรมาส 2/2558 อยู่ที่ 38.7 ปรับลดลงจากระดับ 43.7 หรือลดลง 11.4% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่า รายได้ในปัจจุบันมีความไม่แน่นอน เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องจากหลายปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

      ส่วนความเชื่อมั่นของธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 53.8 จากระดับ 59.3 ในไตรมาส 1 คิดเป็นการปรับตัวลดลง 9.3%

    นายมาซายาสุ โฮซูมิ ประธานคณะวิจัยเศรษฐกิจ หอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย กล่าวว่า ผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย ช่วงครึ่งแรกของปี 2558 พบว่า สภาพธุรกิจโดยรวมปรับตัวในทิศทางที่แย่ลง เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศชะลอตัวจากกำลังซื้อที่ลดลง ส่วนครึ่งปีหลัง มองว่าสภาพธุรกิจจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการส่งออกรถยนต์ที่มีแนวโน้มจะดีขึ้น

สศค.วาดฝันเศรษฐกิจโต 3% ลุ้นรับอานิสสงส์ท่องเที่ยว-เบิกจ่ายงบประมาณหนุน

      บ้านเมือง : สศค.ปรับเป้า GDP ปี 58 เหลือ 3% เหตุจากท่องเที่ยว-เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ส่งออกลบ 4% ขณะเศรษฐกิจโลกชะลอ มองเทียร์ 3 ไม่กระทบเพิ่ม ระบุเศรษฐกิจไตรมาส 2 มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสแรกขยายตัว 3% สภาผู้ส่งออกฯ คาดส่งออกปีนี้ลดต่ำมากกว่า 2% หลังตัวเลขทางการ มิ.ย. ส่งออกทรุดหนัก

       ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 3.5-4% แม้ว่าการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยครึ่งปีแรกการส่งออกของไทยติดลบ 5% ขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวลดลง ราคาน้ำมันทรงตัวระดับต่ำ แต่มีภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีชดเชยตัวเลขการส่งออกได้ ขณะที่การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ และมีการลงทุนในส่วนของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องก็เป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญปีนี้ นอกจากนี้ มองว่าการส่งออกครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จาก 32.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 34.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ยืนยันสบายใจในการทำงานพร้อมทำงานเต็มที่แม้จะมีกระแสข่าวปรับ ครม.

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยว่า ทาง สศค. ได้ปรับประมาณการไทยในปี 2558 เหลือประมาณ 3% จากเดิมที่คาดการณ์ว่า ขยายตัวได้ประมาณ 3.7% เนื่องจากการส่งออกของไทยคาดการณ์ว่าจะติดลบ 4% ในปีนี้ จากเดิมขยายตัวได้ที่ 0.2% โดยมีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงเหลือเพียง 6.9% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ที่ 7% โดยเป็นปัจจัยที่เป็นผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและทั่วโลก ซึ่งการส่งออกที่ชะลอตัวลงนั้นคาดการณ์ว่า ได้มีการรวบรวมปัจจัยที่ทางสหรัฐ คงสถานการณ์การค้ามนุษย์ไว้ที่ระดับเทียร์ 3 ของไทยแล้ว ซึ่ง

     ปัญหาดังกล่าวนั้นจะไม่มีผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกของไทยไปมากกว่านี้ เนื่องจากสหรัฐยังคงระดับเดิม และไม่ได้มีการปรับลดระดับของไทยลง

     ทั้งนี้ มองว่า อัตราค่าเงินจะอ่อนค่าลงเฉลี่ยอยู่ที่ 33.95 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยพยุงการส่งออกในครึ่งปีหลังได้บ้าง ขณะที่ยังมีปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยวที่จะขยายตัวได้ดี โดยคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยประมาณ 29.9 ล้านคน และการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้

    ขณะที่เศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปีนี้ มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 3% โดยภาคบริการยังเติบโตได้ดี ขยายตัว 37.6% ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมช่วง 2 เดือน ของไตรมาส 2 หดตัว 7.4% และผลผลิตภาคเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่อง 8.9% รวมถึงการใช้จ่ายภาคเอกชน และการส่งออกที่หดตัว 5% แต่การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐที่ขยายตัวได้ 10.7% ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีนี้

     ทั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ตามที่คาด กระทรวงการคลังจะยังติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการลงทุนรัฐวิสาหกิจ ว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด

     นายกฤษฎา กล่าวว่า การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มิ.ย.58 ที่เบิกจ่ายได้จำนวน 201.3 พันล้านบาท ขยายตัว 22.3% ต่อปี โดยรายจ่ายงบประมาณประจำปีปัจจุบัน สามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 186.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.8% ต่อปี แบ่งออกเป็น 1.รายจ่ายประจำ 156.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.4% ต่อปี และ 2.รายจ่ายลงทุน 29.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 59.6% ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 58 (ไตรมาสที่ 3 ปี 58) รายจ่ายรวมสามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 569.6 พันล้านบาท ขยายตัว 10.7% ต่อปี โดยรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 58 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 58) สามารถเบิกจ่ายได้ 529.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่าย 20.6% ของกรอบวงเงิน

    นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งออกฯ กล่าวว่า การส่งออกระยะสั้นปีนี้คงจะไม่กระทบหลังจากวานนี้ (27 ก.ค.) สหรัฐอเมริกาประกาศคงอันดับของไทยอยู่ในกลุ่มที่มีสถานการณ์ค้ามนุษย์ในระดับที่เลวร้าย หรือเทียร์ 3 แต่ระยะยาวหากอันดับยังไม่ดีขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของประเทศ และอาจส่งผลต่อการส่งออกระยะยาว โดยไทยถูกจับตาดูไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้แรงงานภาคประมง ปัญหาโรฮีนจา ปัญหาอุยกูร์ และอื่นๆ

      ส่วนกรณีสหรัฐถอดมาเลเซียออกจากอันดับเทียร์ 3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด สู่ระดับเทียร์ 2 ที่ต้องจับตามองนั้น นายนพพร กล่าวว่า ประเด็นที่สหรัฐประกาศส่วนหนึ่งมาจากการที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา จะพ้นตำแหน่ง จึงคงต้องการเร่งเจรจาทางการค้ากับมาเลเซียให้จบโดยเร็ว เพราะสหรัฐมีความพยายามที่จะทำให้มาเลเซียสามารถเข้าร่วมเขตการค้าเสรีตามข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือทีพีพี ซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้นำ เพราะตามกฎหมายของสหรัฐห้ามรัฐบาลไม่ให้ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศที่ถูกจัดอันดับอยู่ในเทียร์ 3

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!