WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกลศงบลงทุนปี 59 กว่า 1.33 แสน ล.ระดมผ่านโครงการใหญ่สร้างรถไฟฟ้า-ถนน-บริหารน้ำ

      บ้านเมือง : ปีงบประมาณ 2559 ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะมีงบลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ อาทิ โครงการรถไฟฟ้า,ถนนและบริหารจัดการน้ำ รวมเป็นเม็ดเงินลงทุนกว่า 1.33 แสนล้านบาท ประเมิน การเบิกจ่ายงบลงทุนของปี 58 สิ้นสุดปลายกันยายนนี้ เบิกจ่ายได้ราว 85% ของงบลงทุน 4.49 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 87%

     ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ได้แก่ โครงการลงทุนขยายเครือข่ายรถไฟฟ้าในเขต กทม.และปริมณฑล 4 สาย คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, สายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี,สายสีชมพู ช่วง แคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว-สำโรง โดยกำหนดงบเพื่อการเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า รวม 2.74 พันล้านบาท

    โครงการก่อสร้างถนนโครงข่าย 11 สายทาง กำหนดวงเงินงบประมาณก่อสร้างที่ใช้ในปี 2559 ไว้ 2.93 พันล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบทางเชื่อม ของทางยกระดับอุตรภิมุข และศรีรัชวงแหวน วงเงิน 30 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างถนนเข้าพื้นที่เกษตร 735 สายทาง และสะพานอีก 157 แห่ง ของกรมทางหลวงชนบท เป็นงบก่อสร้างรวม 7.64 พันล้านบาท

    สำหรับ โครงการบริหารจัดการน้ำ ที่จะมีการลงทุนในปีงบประมาณ 2559 นั้น กรมชลประทานกำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทาน อีก 3.90 แสนไร่, บริหารจัดการน้ำพื้นที่การเกษตร 24.78 ล้านไร่, หาแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน 2 หมื่นบ่อ, ติดตั้งและพัฒนาระบบเตือนภัยทางน้ำ 4.78 พัน

    หมู่บ้าน, พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล 1.83 พันบ่อ ขุดร่องน้ำ 20 ร่องน้ำ และขยายระบบประปา 228 แห่ง รวมเป็นวงเงินงบประมาณที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำ 7 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมที่จะกู้เงินเพื่อลงทุนในแผนบริหารจัดการน้ำ โดยในปีงบประมาณ 2016 คาดว่าจะขอกู้ราว 4-5 หมื่นล้านบาท

     นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การวางแผนเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ 2559 นั้น รัฐบาลกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ จะต้องเตรียมวางแผน ที่จะจัดซื้อจัดจ้าง ก่อนที่กฎหมายงบประมาณประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา โดยให้หน่วยราชการ สามารถทำประกาศเชิญชวน จัดซื้อจัดจ้างได้ ตั้งแต่ 27 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่าง พ.ร.บ.งบ 2559 ผ่านวาระ 2 และ 3 แล้ว และอยู่ในระหว่างรอทูลเกล้าฯ และลงราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามระเบียบพัสดุของสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น สามารถให้หน่วยราชการดำเนินการได้ ในกรณีที่ทราบกรอบวงเงินงบประมาณในโครงการนั้นๆ ที่แน่นอนแล้ว

    โดยเชื่อว่า กรณีที่ รัฐบาล ได้ออกกฎหมายโอนงบประมาณลงทุน ที่ไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ทันภายใน 31 ก.ค.นี้ มาเป็นงบกลางสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็นนั้น จะเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้หน่วยราชการ ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน เพราะมิฉะนั้น อาจถูกตัดงบประมาณของหน่วยงานตัวเองได้

    ทั้งนี้ รัฐบาลคาดหวังว่า การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณ 2559 โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ หรือไตรมาสที่สี่ของปีปฏิทิน คือ ช่วง ตุลาคมถึง ธันวาคม จะสามารถเข้ามามีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้ได้ โดยกำหนดไว้ว่า ในไตรมาสที่สี่ของปีปฏิทิน อาจจะมีงบลงทุนเบิกจ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของงบลงทุน ซึ่งปีงบประมาณ 2558 ทำได้ในอัตรา 9%

    สำหรับ การเบิกจ่ายงบลงทุนของปีงบประมาณ 2558 ที่จะสิ้นสุดในปลายเดือนกันยายนนี้นั้น คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ราว 85% ของงบลงทุน 4.49 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 87% ทั้งนี้ เพราะมีการโอนงบลงทุน ไปเป็นงบกลาง ราว 1 หมื่นล้านบาท หรือ คิดเป็นประมาณ 2% ของงบลงทุน อย่างไรก็ตาม สำหรับ 10 หน่วยงานที่มีงบลงทุนสูงสุดของรัฐบาล คือมีงบลงทุนรวมกัน 2.50 แสนล้านบาท ณ 10 ก.ค.นี้ ทำสัญญาแล้วรวม 2.20 แสนล้านบาท หรือ 87.98% คาดว่าจนถึงสิ้น ก.ค.นี้ จะสามารถทำสัญญาได้เกือบหมดทุกโครงการ

    สำหรับ งบประมาณปี 2560 นั้น ยังคงเป็นงบขาดดุลงบประมาณ ต่อเนื่องจากปี 2559 โดยงบประมาณปี 2559 ตั้งงบรายจ่ายไว้ 2.72 ล้านล้านบาท เป็นงบขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท หรือราว 2.9% ของ GDP

   อย่างไรก็ตาม ตามแผนเดิมนั้นกำหนดให้งบปี 2560 มีการขาดดุลลดลงจากปีก่อนหน้า ราว 10 -20% ของวงเงินขาดดุลในงบประมาณปีก่อนหน้า ส่วนการกำหนดให้งบประมาณสมดุลเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่า จะเร่งรัดโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีผลต่อรายจ่ายของรัฐบาล ทำให้แผนการจัดทำงบสมดุล ต้องเลื่อนออกไปจากเป้าหมายที่เคยตั้งไว้ในปี 2560

สคร.เล็งหารือสบน.-สภาพัฒน์จัดทำงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 59 ให้มีประสิทธิภาพ

    นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจว่า สคร.จะหารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในการจัดทำงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2559 เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้รัฐวิสาหกิจสามารถใช้งบลงทุนได้อย่างแท้จริง

    ในระหว่างการประชุมวันนี้ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ได้ให้นโยบายที่สำคัญสำหรับผู้แทนกระทรวงคลังที่นั่งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และให้มีการเร่งและติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายด้วย เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีรัฐวิสาหกิจจำนวนมากที่เบิกจ่ายงบลงทุนไม่ทันและมาขอลดงบลงทุน ซึ่งส่งผลกระทบถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

     สำหรับ ในปีงบประมาณ 2558 มีการตั้งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไว้ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในส่วนนี้แบ่งเป็น รัฐวิสาหกิจ 35 แห่ง ที่มีดำเนินงานตามปีปฏิทิน สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 4.3 หมื่นล้านบาท หรือ 31% จากงบประมาณทั้งสิ้น 1.41 แสนล้านบาท และอีก 11 รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานตามปีงบประมาณ สามารถเบิกจ่ายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือ 30% จากงบประมาณ 2.07 แสนล้านบาท

คลังคุมเข้มวงเงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ หลังเบิกจ่ายต่ำขอปรับลดปลายปี

     แนวหน้า : นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ได้เชิญผู้แทนกระทรวงการคลังที่เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ 50-60 ราย และมอบนโยบายดูแลให้คำนึงถึงบทบาทตัวแทนของรัฐที่กระทรวงการคลังเข้าถือหุ้นอยู่เกือบทุกแห่ง ให้การดำเนินเนินงานเป็นไปตามนโยบาย รวมถึงให้มีดูแลงบลงทุนให้มีความคุ้มค่ากับการลงทุน

     หลังจากนี้ จะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในฐานะที่ดูแลเรื่องการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) ที่ดูเรื่องการกู้เงิน เพื่อกำหนดเป็นมาตรการตั้งแต่ต้นปี 2559 โดยจะคุมเข้มในส่วนของงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่ให้มีการปรับลด หากไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งต้องมีความรัดกุมในการตั้งเป้าหมายการลงทุนมากขึ้น

   ทั้งนี้ ได้มีความเป็นห่วงรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินตามปีงบประมาณทั้ง 11 แห่ง เนื่องจากผลการเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มีการเบิกจ่ายเพียง 6.3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 30% ของวงเงิน 2.7 แสนล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจอีก 35 แห่งที่ดำเนินงานตามปีปฏิทิน มีการเบิกจ่าย 4.3 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 31% ของวงเงิน 1.4 แสนล้านบาท ส่งผลให้ 6 เดือนที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายงบลงทุนเพียง 30% เท่านั้น จากวงเงินรวมทั้งสิ้น 3.5 แสนล้านบาท

    "จะมีการหารือกับ สศช.และสบน.ให้ดูความสามารถในการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในการตั้งเป้าเบิกจ่ายงบลงทุน ไม่ใช่ต้นปีตั้งมา 100% แต่คาดว่าจะทำได้เพียง 10% และก็มาขอปรับลดปลายปี ทำให้อีก 90% ก็หายไป โดยจะต้องคุมเข้ามากขึ้น ปรับลดอีกไม่ได้" นายกุลิศ กล่าว

    นายกุลิศ กล่าวว่า ในที่ประชุมยังหารือกันถึงเรื่องแนวทางการจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ หรือบริษัทโฮลดิ้ง ที่จะเข้ามากำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ควบคู่กับ สคร.ที่ดูแลรัฐวิสาหกิจจัดตั้ง ที่จะออกมาเป็นกฎหมายเร็วๆนี้

     นอกจากนี้ ยังจะกำหนดการแต่งตั้งกรรมการในรัฐวิสาหกิจว่า ต้องมาจากการสรรหาเท่านั้น และผู้ที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องเป็นผู้มีความรู้กิจการในองค์กรหรือรัฐวิสาหกิจนั้นๆ และยังเร่งรัดกระบวนการสรรหาผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจต่างๆให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

สคร.เล็งหารือ สบน.-สภาพัฒน์ จัดทำงบลงทุนรัฐวิสาหกิจปี 59 ให้มีประสิทธิภาพ

     นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจว่า สคร.จะหารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในการจัดทำงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2559 เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้รัฐวิสาหกิจสามารถใช้งบลงทุนได้อย่างแท้จริง

    ในระหว่างการประชุมวันนี้ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ได้ให้นโยบายที่สำคัญสำหรับผู้แทนกระทรวงคลังที่นั่งเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจต้องดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และให้มีการเร่งและติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายด้วย เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีรัฐวิสาหกิจจำนวนมากที่เบิกจ่ายงบลงทุนไม่ทันและมาขอลดงบลงทุน ซึ่งส่งผลกระทบถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย

    สำหรับ ในปีงบประมาณ 2558 มีการตั้งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไว้ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในส่วนนี้แบ่งเป็น รัฐวิสาหกิจ 35 แห่ง ที่มีดำเนินงานตามปีปฏิทิน สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 4.3 หมื่นล้านบาท หรือ 31% จากงบประมาณทั้งสิ้น 1.41 แสนล้านบาท และอีก 11 รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานตามปีงบประมาณ สามารถเบิกจ่ายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท หรือ 30% จากงบประมาณ 2.07 แสนล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!