- Details
- Category: คลัง
- Published: Friday, 20 June 2014 22:25
- Hits: 3563
กรมบัญชีกลาง ปิดงบปี 56 เรียบร้อยแล้ว ระบุ มีเงินเงินคงคลัง มากกว่า 6 แสนลบ. เพิ่มขึ้น 8%จากปีก่อน
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่ากรมบัญชีกลางได้มีนโยบายเร่งรัดการจัดทำงบการเงินแผ่นดินให้รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ซึ่งเดิมการจัดทำงบการเงินแผ่นดินยังมีความล่าช้าและไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันปีต่อปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕6 กรมบัญชีกลางสามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ พ.ศ.2552 และ 2553 ส่ง สตง. แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ พ.ศ.2554 2555 และ 2556 ส่ง สตง. ได้ทันต่อเวลา งบการเงินของแผ่นดินจะแสดงข้อมูลฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมา การมีงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจที่เป็นปัจจุบัน จะแสดงความโปร่งใสทางการคลัง (Fiscal Transparency) และเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เนื่องจากข้อมูลงบการเงินแผ่นดินจะเป็นข้อมูลให้องค์กรระหว่างประเทศในการจัดลำดับความเชื่อมั่นด้าน Financial Accountability หรือ ความรับผิดชอบทางการเงินของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้ให้กู้ ส่งผลให้รัฐบาลมีศักยภาพในการระดมทุนได้มากขึ้นด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
งบการเงินแผ่นดินแสดงฐานะการคลังที่เข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 รัฐบาลมีเงินสดหมุนเวียนหรือเงินคงคลัง มากกว่า 6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึงร้อยละ 105.53 แสดงถึงสภาพคล่องของประเทศที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 โดยส่วนใหญ่เป็นที่ราชพัสดุ (59%) และ เงินลงทุนในรัฐวิสาหกิจ (28%) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต นอกจากนี้งบการเงินแผ่นดินแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายภาครัฐที่ใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมีมากถึง 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีก่อน และรายจ่ายดังกล่าวจะมีผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การเก็บรายได้ภาครัฐมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27 แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มีการขยายตัว ส่งผลให้เสถียรภาพทางการคลังเข้มเข็งขึ้น ในด้านหนี้สินรัฐบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ร้อยละ 7 แล้ว อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) ดีขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กรมบัญชีกลางปิดงบการเงินแผ่นดินปี 2556 แล้ว ยืนยันฐานะการคลังมั่นคง
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้มีนโยบายเร่งรัดการจัดทำงบการเงินแผ่นดินให้รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ซึ่งเดิมการจัดทำงบการเงินแผ่นดินยังมีความล่าช้าและไม่สามารถปิดบัญชีได้ทันปีต่อปี โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 กรมบัญชีกลางสามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ พ.ศ.2552 และ 2553 ส่ง สตง. แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สามารถปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินแผ่นดินของปีงบประมาณ พ.ศ.2554, 2555 และ 2556 ส่ง สตง.ได้ทันต่อเวลา
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 รัฐบาลมีเงินสดหมุนเวียนหรือเงินคงคลัง มากกว่า 6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 8 และเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึงร้อยละ 105.53 แสดงถึงสภาพคล่องของประเทศที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐบาลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7 โดยส่วนใหญ่เป็นที่ราชพัสดุ (59%) และเงินลงทุนในรัฐวิสาหกิจ (28%) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ซึ่งงบการเงินแผ่นดินแสดงฐานะการคลังที่เข้มแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ งบการเงินแผ่นดินแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายภาครัฐที่ใช้ในการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจมีมากถึง 2.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากปีก่อน และรายจ่ายดังกล่าวจะมีผลต่อการสร้างเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การเก็บรายได้ภาครัฐมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27 แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 มีการขยายตัว ส่งผลให้เสถียรภาพทางการคลังเข้มเข็งขึ้น ในด้านหนี้สินรัฐบาลมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ร้อยละ 7 แล้ว อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์(Debt Ratio) ดีขึ้น
งบการเงินของแผ่นดินจะแสดงข้อมูลฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบปีที่ผ่านมา การมีงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีอำนาจที่เป็นปัจจุบัน จะแสดงความโปร่งใสทางการคลัง (Fiscal Transparency) และเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล เนื่องจากข้อมูลงบการเงินแผ่นดินจะเป็นข้อมูลให้องค์กรระหว่างประเทศในการจัดลำดับความเชื่อมั่นด้าน Financial Accountability หรือ ความรับผิดชอบทางการเงินของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนและผู้ให้กู้ ส่งผลให้รัฐบาลมีศักยภาพในการระดมทุนได้มากขึ้นด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
อินโฟเควสท์