WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMSรมว.คลัง ชี้ ไทยได้ใบเหลืองจาก EU เรื่องประมง กระทบส่งออกแค่เล็กน้อย คาดจีดีพีปีนี้โต 3% หากส่งออกขยายตัว 1.4% ส่วนผลงาน 6 เดือน รับสอบตกเรื่องแก้ปัญหาสลากเกินราคา

     รมว.คลัง ชี้ ไทยได้ใบเหลืองจาก EU เรื่องประมง กระทบส่งออกแค่เล็กน้อย คาดจีดีพีปีนี้โต 3% หากส่งออกขยายตัว 1.4% ส่วนผลงาน 6 เดือน (ต.ค.57-มี.ค. 58) รับสอบตกเรื่องแก้ปัญหาสลากเกินราคา แต่เก็บรายได้เข้าคลังทั้งสิ้น 9.70 แสนลบ.โต 3.9%  - เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ ทั้งสิ้น 1.46 ล้านลบ. โต 5.6% จากปีก่อน    มองศก.ไทยเริ่มฟื้น หลังการเมืองสงบ รัฐเร่งปฏิรูปประเทศ

    นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่ไทยถูกตัดสิทธิสินค้าประมงนั้น มองว่าจะกระทบต่อภาพการส่งออกเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อว่าสินค้าที่ถูกตัดสิทธิคงไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากไทยยังคงเป็นตลาดที่ดี ประกอบการถูกตัดสิทธินั้น เพราะยุโรปคงต้องการให้ไทยทำอะไรให้ถูกต้องในส่วนของที่ไม่ดี เป็นต้น ส่วนแนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพีปีนี้ คาดอยู่ที่ 3% ภายใต้การส่งออกที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค.ประเมินไว้ที่ 1.4%

     นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า การดำเนินงาน 6 เดือนที่ผ่านมาพบว่า กระทรวงคลังยังสอบตกในเรื่องการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา นั้น แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ นายกรัฐมนตรี มีแนวทางในการแก้ไขในใจ ซึ่งจะเป็นการแก้ไขทั้งกฎหมาย การบริหารจัดการต่างๆแบบทั้งระบบ เชื่อว่าจะสามารถขายสลากได้ตามราคาอย่างแน่นอน ส่วนช่วงที่เหลือของปีคาดว่าจะได้คะแนนเต็มอย่างแน่นอน นี้  ผลการดำเนินงานของกระทรวงการคลังในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม2557-มีนาคม2568) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 9.7 แสนล้านบาท เติบโต 3.9% จากปีก่อน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาลสามารถเติบโตได้ 6.8% ต่อปี สะท้อนการบริโภคภายในประเทศยังคงเติบโตต่อเนื่อง ในขณะที่รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ 1.46 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6% จากปีก่อน ทำให้สามารถอัดฉีดเงินงบประมาณสุทธิเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการขาดดุลงบประมาณทั้งสิ้น 4.91 แสนล้านบาท

      โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมากระทรวงฯมีมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาวที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดภาระหนี้และค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น เร่งรัดเบิกจ่ายเงินค้างชำระโครงการรับจำนำข้าวเปลือก การทบทวนเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี เรางรัดทำสัญญารายจ่ายลงทุนปีงบประมาณ พ.ศ.2557 และ 2558 ทบทวนและเร่งรัดเบิกจ่ายงบกลาง วงเงิน 7,800 ล้านบาท จัดสรรเงินงบไทยเข้มแข็งที่ยังเหลือ วงเงิน 15,200 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวทุกครัวเรือน วงเงิน 40,000 ล้านบาท โครงการชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง 8,000 ล้านบาท มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ประกอบด้วยโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ วงเงิน 37,603 ล้านบาท และระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วนวงเงิน 40,692 ล้านบาท

   สำหรับ มาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อวางรากฐานระยะยาว เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีศุลกากร กลุ่มวัตถุดิบ/สินค้าทุน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี ส่วนมาตรการลดความเหลื่อล้ำทางสังคมและการลดภาระหนี้และค่าครองชีพของประชาชน เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และเสริมสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจของประชาชน

    รมว.คลัง กล่าวถึงการปฏิรูปภาษี ว่าจะเดินหน้าทำงานอย่างเต็มที่ และจะพยายามทำให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยจะหาแนวทางในการอุดช่องโหว่ของภาษีต่างๆที่เกิดขึ้น โดยในส่วนภาษีมรดก และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรอยู่ระหว่างขั้นตอนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสนช. ส่วนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของกระทรวงการคลัง

       สำหรับ ขณะนี้มีร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.รวม 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1.ร่างพ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ.... 2.ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่...พ.ศ.... 3.ร่างพ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ 4.ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่...พ.ศ.... 5.ร่างพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฉบับที่...พ.ศ.... 6.ร่างพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ฉบับที่...พ.ศ....

     รมว.คลัง มองว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว เป็นเวลานาน เห็นได้จากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ครึ่งหลังปี 2557 เติบโต 1.4% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกที่ติดลบ 0.02% ซึ่งเกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว  ส่วนการจัดทำงบประมาณประจำปี 59 นั้น มองว่ายังคงขาดดุลงบประมาณอยู่

     "ที่ผ่านมารัฐบาลชุดก่อนยังละเลยการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศที่จะเป็นแรงช่วยผลักดันเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่มักใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและประชานิยมที่ทำให้เกิดภาระทางการคลังมากมาย แต่ไม่ช่วยให้ประเทศก้าวข้ามกับดักทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า Middle Income Trap" นายสมหมายกล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!