WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ยุ่นยกระดับไทยมีเสถียรภาพ

     บ้านเมือง : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยโดยบริษัท Japan Credit Rating Agency, Ltd. (JCR) เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ว่า JCR ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ และสกุลเงินบาท ที่ระดับ A-และ A ตามลำดับ และปรับสถานะมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจากลบ เป็นมีเสถียรภาพ

      โดยเหตุผลในการจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวมาจาก 1.พัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศ รวมถึงเสถียรภาพของระบบธนาคาร การรักษาสถานะภาคการคลังให้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดยเปรียบเทียบและดุลภาคต่างประเทศที่เข้มแข็ง ขณะที่มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป อาทิ จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง และการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง อันเนื่องมาจากอุปทานด้านแรงงานที่ตึงตัวและการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน ทั้งนี้การที่รัฐบาลปัจจุบันที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ก.ย.57 ได้ดำเนินการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมส่งต่ออำนาจให้รัฐบาลพลเรือน JCR จะจับตามองพัฒนาการของการปฏิรูปทางการเมืองในอนาคตและการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงต้นปี 59 รวมถึงจับตามองว่า รัฐบาลจะสามารถจัดการกับปัญหาโครงสร้างประชากรและหลีกเลี่ยงจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางอย่างไรภายใต้ความยากลำบากด้านสถานการณ์ทางการเมือง

     2.เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นในระดับหนึ่งตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 57 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพมากขึ้นและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐบาลปัจจุบัน 3.การเกินดุลการค้าของประเทศขยายตัวมากขึ้นในปี 57 เนื่องจากการนำเข้าที่ลดลงอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ซึ่งชดเชยกับการขาดดุลบัญชีรายได้ เป็นผลให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 4.ฐานะทางการคลังของประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งจากการที่รัฐบาลปฏิบัติตามกรอบวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 58 จะขาดดุลงบประมาณที่ 2% ของ GDP ถึงแม้ว่าหนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่อง แต่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือน ก.ย.57 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ 5.ภาคการธนาคารของประเทศไทยยังคงมีเสถียรภาพตลอดช่วงที่เกิดความไม่สงบทางการเมือง

ปรับเครดิตไทย'มีเสถียรภาพ'กกร.หั่นส่งออกโตไม่เกิน1%ถก'อุ๋ย'9เม.ย.ดันเศรษฐกิจ

     ไทยโพสต์ * บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือญี่ปุ่นปรับมุมมองเครดิตประเทศไทยจาก 'ลบ' เป็น 'มีเสถียรภาพ' หลังเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น กกร.หั่นเป้าส่งออกปี 2558 เหลือโตไม่เกิน 1% แต่ยังคงจีดีพีไว้ที่ 3.5% เช่นเดิม หวังเม็ดเงินลงทุนภาครัฐเข้าระบบช่วงไตรมาส 3-4 ท่องเที่ยวฟื้น ตบเท้าถก "อุ๋ย" หามาตรการเร่งเครื่องเศรษฐกิจ

     สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย โดยบริษัท Japan Credit Rating Agency (JCR) ซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เม.ย.2558 โดย JCR ได้ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลระยะยาว สกุลเงินต่างประเทศ ที่ระดับ A- และสกุลเงินบาท ที่ระดับ A และปรับสถานะมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยจากลบ (Negative Outlook) เป็นมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

    ทั้งนี้ JCR ชี้แจงเหตุผลในการปรับมุมมองความน่าเชื่อถือ สะท้อนจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ได้รับแรงสนับสนุนจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศ รวมถึงเสถียรภาพของระบบธนาคาร การรักษาสถานะภาคการคลังให้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และดุลภาคต่างประเทศที่เข้มแข็ง ขณะที่มีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป เช่น จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลง และการเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง อันเนื่องมาจากอุปทานด้านแรงงานที่ตึงตัวและการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงาน

   โดยการที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการปฏิรูปประ เทศในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมส่งต่ออำนาจให้รัฐบาลพลเรือนนั้น JCR จะจับตามองพัฒนาการของการปฏิรูปทางการเมืองในอนาคต และการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงต้นปี 2559 รวมถึงจับตามองว่า รัฐบาลจะสามารถจัดการกับปัญหาโครงสร้างประชากรและหลีกเลี่ยงจากการเป็นประ เทศที่มีรายได้ระดับปานกลางภายใต้ความยากลำบากด้านสถานการณ์ทางการเมืองอย่างไร

    ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงภายหลังการเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร.ได้คงเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2558 ที่ระดับ 3.5% แต่ปรับลดการส่งออกทั้งปีเหลือโตไม่เกิน 1% จากเดิมที่คาดว่าจะโต 3.5% ทั้งนี้ แม้ว่าการส่งออกจะลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอ แต่พบว่างบประมาณการลงทุนภาครัฐจะเห็นผลช่วงไตรมาส 3-4 ขณะที่การท่องเที่ยวที่จะโต 29% จะเป็นปัจจัยหลักฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย

    อย่างไรก็ตาม วันที่ 9 เม.ย. นี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้อง ไปหารือถึงแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจและการผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งขณะนี้ กกร.ได้ร่วมกันผลักดันเพื่อคัดเลือกกลุ่ม หรือ Cluster อุตสาหกรรมที่มีอนาคตและมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้

      นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม ประเมินว่าแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ช่วงปลายเดือน เม.ย.2558 จะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น เป็นผลดีมาจากเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการเร่งรัดต่างๆ ของรัฐบาล สะท้อนจากภาพรวมของธุรกิจก่อสร้างที่มีสัญญาณที่ดีขึ้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!