WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง เผยหนี้สาธารณะ เดือนเม.ย.57 อยู่ที่ 46.56% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนมี.ค.57 อยู่ที่ 46.07%

     นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2557 มีจำนวน 5,583,828.29 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.56 ของ GDP เพิ่มขึ้น จากเดือนมี.ค.57 อยู่ที่ 46.07% โดยเป็นหนี้ของรัฐบาล 3,957,385.61 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,088,382.58 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 532,210.31 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ 5,849.79 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 33,387.23 ล้านบาท โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 37,987.33 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ ลดลง 3,515.90 ล้านบาท 19.78 และ 1,064.42ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ นั้นไม่มีหนี้คงค้าง ทั้งนี้ รายละเอียดและสัดส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2557

    1. หนี้ของรัฐบาล

    1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 38,770.01 ล้านบาท เนื่องจาก

    1.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 80.48 ล้านบาท โดยผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 54.11 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ ทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลงสุทธิ 26.37 ล้านบาท

    1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 38,850.49 ล้านบาท โดยมีรายการสำคัญเกิดจาก

-   การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 25,000 ล้านบาท

-   การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังสุทธิ 20,000 ล้านบาท

-   การเบิกจ่ายเงินกู้ 500 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 15,393 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ภายใต้ พ.ร.ก. บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศฯ

-   การเบิกจ่ายเงินกู้ 570 ล้านบาท จากสัญญาเงินกู้วงเงิน 3,000 ล้านบาท ที่ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นการกู้เงินบาททดแทนเงินกู้จากธนาคารโลกเพื่อใช้ในโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)

-    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 1,223.61 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้

-    การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จำนวน 30.91 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 427.43ล้านบาท

-    การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง จำนวน 765.27 ล้านบาท

-    การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ต่อ จำนวน 73.54 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สาย

-    การชำระคืนหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 จำนวน 8,000 ล้านบาท

-   การชำระหนี้เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 516.66 ล้านบาท

     1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 782.68 ล้านบาท เกิดจากการชำระหนี้ภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระยะที่สองฯ (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ได้รับจากการโอนสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี

      1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า

      2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน

      2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน

     2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 329.61 ล้านบาท โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 37.11 ล้านบาท ประกอบกับการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินเยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในสกุลเงินบาทลดลงสุทธิ 292.51 ล้านบาท

       2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น จำนวน 42 ล้านบาท เนื่องจาก

-   องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพออกพันธบัตร 3,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 2,000 ล้านบาท พร้อมทั้งชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 440 ล้านบาท

-   การรถไฟแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 2,000 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 1,000 ล้านบาท พร้อมทั้งชำระคืนต้นเงินตามสัญญาเงินกู้ 1,000 ล้านบาท

-   การทางพิเศษแห่งประเทศไทยออกพันธบัตร 1,700 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนด 2,218 ล้านบาท

      2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน

      2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 954.45 ล้านบาท การลดลงที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ

      2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,273.84 ล้านบาท เนื่องจาก

-   การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไถ่ถอนพันธบัตร 1,093 ล้านบาท

-   รัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 1,180.84 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 176.17 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 1,357.01 ล้านบาท

       3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)

          3.1 หนี้ต่างประเทศ

    หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2.48 ล้านบาท  โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินบาทลดลง 2.48 ล้านบาท

          3.2 หนี้ในประเทศ

    หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 17.30 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 17.30 ล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายเงินกู้ 4,462 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 4,479.30 ล้านบาท

    ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินบาท หนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) หลังทำการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ

               4.หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

    หนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง จำนวน 1,064.42 ล้านบาท เนื่องจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายชำระคืนต้นเงินกู้ 1,064.42  ล้านบาท

    หนี้สาธารณะคงค้าง จำนวน 5,583,828.29 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 382,051.28 ล้านบาท  หรือร้อยละ 6.84 และหนี้ในประเทศ 5,201,777.01 ล้านบาท หรือร้อยละ 93.16 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง  และเป็นหนี้ระยะยาว 5,442,164.94 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.46 และหนี้ระยะสั้น 141,663.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.54 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!