WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังอาเซียนร่วมกำหนดแผนรองรับ AEC

      แนวหน้า : นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 12 ก.พ. 2558 ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการเงินการคลัง ครั้งที่ 1/2558 ร่วมกับผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในที่ประชุมได้พิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคม

      อาเซียน(AEC)พ.ศ. 2557-2560 ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 13 กลยุทธ์ 34 มาตรการ โดยยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน เช่น การอำนวยความสะดวกด้านการค้า เช่น การพัฒนาระบบขนส่งผ่านแดนภายใต้ พิธีสารฉบับที่ 5 ว่าด้วยระบบการประกันภัยทางรถยนต์ภาคบังคับอาเซียน พิธีสารฉบับที่ 7 ว่า ด้วยระบบศุลกากรผ่านแดนในขณะเดียวกันยังจัดตั้งการให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านศุลกากรของประเทศในการอำนวยความสะดวก ทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งในส่วนของไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานที่

     ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ National Single Window (NSW) ของไทยแล้วจำนวน 26 หน่วยงาน จากทั้งหมด 36 หน่วยงาน รวมถึงร่างพิธีสารว่าด้วยกรอบกฎหมายเพื่อดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนนอกจากนั้นยังพูดถึง การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน เช่น มาตรการภาษีด้านตลาดทุนเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายการลงทุน กรมสรรพากรได้ออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนในอาเซียน (ASEANLinkage) โดยยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ให้กับนักลงทุนที่ซื้อขายหลักทรัพย์ข้ามประเทศในตลาดหลักทรัพย์อาเซียน และให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศที่มีหุ้นจดทะเบียนใน 2 ตลาดหลักทรัพย์ สามารถเลือกหักภาษี 10% ณ ที่จ่ายได้โดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

   ส่วนเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการเงิน นั้นจะประกอบด้วย การพัฒนาระบบชำระเงิน ได้มีการเชื่อมโยงระบบ ATM ของไทยกับของประเทศมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เพื่อให้บริการเบิกถอนเงินสดระหว่างประเทศแล้ว การดำเนินการต่อไปจะพิจารณาแนวทางการโอนเงินกลับของแรงงานต่างด้าวผ่านช่องทางที่ได้รับอนุญาตระหว่างไทย กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเมียนมาร์ รวมทั้งหาแนวทางการใช้สกุลเงินท้องถิ่นชำระค่าสินค้าและบริการ โดยเริ่มจากศึกษาการชำระสินค้า กรณีสกุลเงินบาท-มาเลเซียริงกิตและบาท-อินโดนีเซียรูเปียห์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!