WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังงัดมาตรการดันจีดีพีปีหน้าโต 4% ตั้งงบขาดดุล 2.5 แสนล.

    แนวหน้า : 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ คลัง-สำนักงบ-สศช.ธปท.เคาะงบประมาณปี58 แล้ว ตั้งแบบขาดดุลหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเสนอ บิ๊กตู่ในวันที่ 12 มิ.ย. ที่จะถึงก่อนให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2557 พร้อมดันโครงการใหญ่ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้ามาเป็นตัวกระตุ้น

     นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2557 ได้มีการประชุมกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 (เริ่ม 1 ต.ค.2557) โดยมี 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุม

   ทั้งนี้ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะเป็นประธานประชุมได้มีการสรุปกรอบปีงบ 2558 ที่วงเงิน 2.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ 2.35-2.4 ล้านล้านบาท งบขาดดุล 2-2.5 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนงบลงทุนที่ 17.5%

    ขั้นตอนหลังจากนี้จนถึงวันที่ 9 มิ.ย.2557 จะจัดเตรียมยุทธศาสตร์งบประมาณรายจ่าย เพื่อเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จากนั้นในวันที่ 12 มิ.ย. 2557 และจะมีการจัดทำร่าง พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 15 ก.ค. ก่อนจัดทำร่างเพื่อเสนอสภานิติบัญญัติ หรือผู้ที่มีอำนาจ หรือหากในขณะนั้นยังไม่สามารถมีสภานิติบัญญัติ ก็อาจจะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นเพื่อร่างพ.ร.บ. ในวันที่ 29 ก.ค. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ให้ทันในวันที่ 1 ต.ค. 2557

    ทั้งนี้ กรอบร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จำนวนดังกล่าว มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นจากปีงบ 2557 จำนวน 7.5 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ทำให้ในที่ประชุมได้คาดการณ์แนวโน้มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2558 ไว้ที่ 4% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2.3%

     สำนักงบประมาณ ยังต้องทำงบแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2558 เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว(จีดีพี) ได้อย่างน้อย 4% แต่ก็ยังยืนยันกรอบการทำงบประมาณรายจ่าย ที่เป็นงบแบบสมดุลภายในปี 2560 เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนายสมศักดิ์ กล่าว

    นายสมศักดิ์กล่าวว่า งบประมาณรายจ่ายปี 2558 นั้น จะเน้นรายจ่ายลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจขยายตัวได้เท่ากับที่คาดการณ์ ส่วนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และโครงการลงทุนบริหารจัดการโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท จะมีการพิจารณาอีกครั้ง โดยหากโครงการใดที่มีความจำเป็นก็อาจจะนำมาพิจารณาดำเนินการก่อน เช่น รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า ในส่วนนี้ยังต้องคงงบลงทุนไว้ ซึ่งแผนโครงการว่ารายละเอียดอะไรบ้าง จะมีการหารือในระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์งบประมาณทั้งหมดก่อนเสนอคสช.เช่นกัน

    ขณะที่ แหล่งข่าวจากสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ในที่ประชุมของ 4 หน่วยงาน การสรุปตัวเลขวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2558 นั้น ยังคงมีความเห็นที่ไม่ตรงกันนัก แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ รวมถึงตัวเลขคาดการณ์จีดีพีปีหน้าด้วย ซึ่งการคาดการณ์ไว้ที่ 4% นั้น เป็นเรื่องที่ท้าทาย ทำให้ต้องปรับตัวเลขการขาดดุลงบประมาณ เพื่อเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณเป็น 2.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่กระทรวงการคลังเสนอว่าขาดดุลที่ 2 แสนล้านบาท

     ด้าน นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจ ไทยมีสัญญาณดีขึ้น หลังจากคสช. มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเร่งรัดการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือนและสามารถเบิกจ่ายได้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2557

     นอกจากนี้ การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ได้มีการจัดตั้งบอร์ดบีโอไอ เพื่ออนุมัติโครงการที่ขอส่งเสริมการลงทุนที่ค้างอีก 600,000 ล้านบาท จะช่วยพยุงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนให้กลับมาดีขึ้น และที่สำคัญการที่ คสช.เร่งรัดให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายเงินโครงการรับจำนำที่ยังค้างจ่าย 90,000 ล้านบาท จะช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ระดับรากหญ้าและเกษตรกร อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการกระตุ้นต่างๆ จะยังไม่ส่งผลอย่างเต็มที่ปีนี้ จึงทำให้โอกาสที่จีดีพีปีนี้จะกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ตามที่ ธปท.เคยคาดการณ์ไว้ เป็นไปได้ยาก แต่จะไปส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจปีหน้ามากกว่า

    สำหรับภาวะเศรษฐกิจเดือนเมษายน 2557 โดยรวมทรงตัวจากเดือนก่อน ส่วนภาคการส่งออกเดือนเมษายนยังฟื้นตัวได้ช้า เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและคำสั่งซื้อของจีนที่ลดลง ทำให้การส่งออกหดตัวร้อยละ 0.9 คิดเป็นมูลค่า 17,092 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน การนำเข้าหดตัวร้อยละ 13.8 คิดเป็นมูลค่า 16,533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคและการส่งออกที่ลดลง

4 หน่วยเคาะงบปี 58 ขาดดุล 2.5 แสนล้านเสนอคสช.12มิ.ย.นี้

    ไทยโพสต์ * 4 หน่วยงานเศรษฐ กิจ เคาะกรอบงบประมาณปี 2558 เสนอ คสช. 12 มิ.ย.นี้ รับขาดดุลจ่อแตะ 2.5 แสนล้านบาท หวังดันจีดีพีทะยาน 4%

     นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  เปิด เผยภายหลังการประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ  ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เพื่อจัดทำกรอบงบ ประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ว่า ที่ประชุมได้ข้อยุติเรื่องการจัด ทำงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด เพื่อเตรียมเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 12 มิ.ย.2557 และจัดทำยุทธ ศาสตร์งบประมาณรายจ่ายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ก่อนจัดทำร่างเพื่อเสนอฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ คสช. วันที่ 29 ก.ค. เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2558 มีบังคับใช้ทันวันที่ 1 ต.ค.2557

     สำหรับสมมติฐานการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ได้คาดการณ์แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2558 ที่ 4% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.3% โดยภาพรวมงบประมาณรายจ่ายยังคงใกล้เคียงปี 2557 ที่เป็นการขาดดุลในช่วง 2-2.5 แสนล้านบาท และมีสัดส่วนงบลงทุน 17.5% ของรายจ่ายเท่ากับปีก่อน

     ส่วนงบประมาณรายจ่ายภาพรวมที่คาดว่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 2.6 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ 2.4 ล้านล้านบาทตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์หรือไม่ ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้จนกว่าจะนำเสนอ คสช.

    "สำนักงบประมาณยังต้องทำงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2558 เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างน้อย 4% และยังยืนยันกรอบการทำงบประมาณรายจ่ายที่เป็นงบแบบสมดุลภายในปี 2560 เช่นเดิม" นายสมศักดิ์ กล่าว

    นายสมศักดิ์ กล่าวว่า งบประ มาณรายจ่ายปี 2558 จะเน้นไปที่รายจ่ายลงทุนเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายได้ตามสมมุติฐานที่วางไว้ ส่วนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และโครงการลงทุนบริหารจัด การโครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท จะมีการหารืออีกครั้งก่อนเสนอ คสช.

     รายงานข่าวระบุว่า ในการ หารือของ 4 หน่วยงาน ได้เสนอ สมมุติฐานตัวเลขจีดีพีที่ไม่สอด คล้องกัน แต่สุดท้ายได้ข้อสรุปร่วมกันที่ 4% ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย ส่งผลให้จำเป็นต้องปรับตัวเลขการขาดดุลงบประมาณ เพื่อเพิ่มวงเงินขาดดุลงบประมาณเป็น 2.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่กระทรวงการคลังเสนอว่าขาดดุล 2 แสนล้านบาท ขณะที่เป้าหมายการจัดเก็บรายได้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท ก็เป็นเรื่องที่ยากเกินไป ต้องมีการปรับลดลง ทำให้วงเงินขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นไปด้วย.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!