WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1 ผลการประชุม

พัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 ให้คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการเงินและเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน

ผลการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงิน ครั้งที่ 1/2566

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงิน ครั้งที่ 1 /2566 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐทั้งด้านการเงิน ด้านการศึกษา และด้านสังคม หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ

และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวม 17 หน่วยงาน ร่วมประชุมเพื่อติดตามและพิจารณาการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 – 2570 (แผนปฏิบัติการฯ) ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 19 แผนงาน และให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป ซึ่งการดำเนินงานในปี 2565 เป็นการวางรากฐานและเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการเพื่อสร้างระบบนิเวศด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินที่ยั่งยืน โดยมีแผนงานดำเนินการแล้วเสร็จ 7 แผนงาน ดำเนินการเป็นไปตามแผน 11 แผนงาน

และต้องผลักดันต่อ 1 แผนงาน ซึ่งในปี 2565 หน่วยงานตามแผนปฏิบัติการฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะทางการเงินให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตลอดช่วงชีวิต ทั้ง 9 กลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มอุดมศึกษา กลุ่มผู้มีงานทำ กลุ่มภาครัฐ กลุ่มประชาชนระดับฐานราก/องค์กรการเงินชุมชน กลุ่มผู้สูงวัย/ผู้เกษียณอายุ กลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้ถ่ายทอดความรู้และทักษะทางการเงิน และกลุ่มเปราะบางทางการเงินสูง) จำนวนทั้งสิ้น 59 โครงการ

โดยเป็นกิจกรรมการให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางการเงิน การออม การลงทุน การประกันภัย การคุ้มครองเงินฝาก การระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการ การจัดทำแผนธุรกิจ การเงินดิจิทัล และการเตือนภัยทางการเงิน ทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 3.59 ล้านคน มีจำนวนการเข้าถึงทางออนไลน์ 43.62 ล้านครั้ง และสร้างผู้ถ่ายทอดความรู้ทางการเงิน (Trainer) ได้ประมาณ 20,000 คน

นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พัฒนาโครงการเพิ่มเติมเพื่อให้แผนปฏิบัติการฯ สามารถขับเคลื่อนโดยลดข้อจำกัดในการดำเนินการให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานทางการเงิน รู้เท่าทันภัยกลโกง และการเงินดิจิทัล โดยดำเนินการให้หลักสูตรความรู้ทางการเงินเป็นหลักสูตรภาคบังคับ เช่น คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้มีมติเห็นชอบหลักการและแผนการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการกำหนดให้การเข้ารับการอบรมและผ่านแบบทดสอบการพัฒนาทักษะทางการเงินเป็นเงื่อนไขของการได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ เป็นต้น  

2. ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการพัฒนาทักษะทางการเงินที่หน่วยงานตามแผนปฏิบัติการฯ ขอเสนอเพิ่มเติมในแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 (ม.ค. – ธ.ค. 2566) จำนวน 10 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนาระบบคลังความรู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และโครงการจัดการเรียนรู้ระดับพื้นที่สำหรับโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อรวมกับ 8 โครงการที่ได้รับความเห็นชอบให้เพิ่มเติมในแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 ในคราวการประชุมคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงิน ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565 แล้ว ทำให้มีโครงการเพิ่มเติมในแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ประจำปี 2566 เป็น 18 โครงการ ซึ่งกระทรวงการคลังจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

ทั้งนี้ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ให้คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการการเงินและเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งมีความรู้และทักษะทางการเงินเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตต่อไป

                กองนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3656

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100CKPower 720x100MTL 720x100TU720x100sme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!