WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง ปลื้ม!Q4 เบิกจ่าย 9 แสนล้าน แรงหนุนจีดีพีโค้งสุดท้ายชี้ 58 ไทยเจอ 4 ปัจจัยเสี่ยง

   ไทยโพสต์ * คลังสุดปลื้ม เบิกจ่ายไตรมาสแรกปีงบ 58 กว่า 9 แสนล้านบาท ฟุ้งเป็นพลังขับเคลื่อนจีดีพีโค้งสุดท้ายปลายปี 57 ลุ้นไตรมาส 2 แรงไม่ตก ศูนย์วิจัยซีไอเอ็มบีชี้เศรษฐกิจไทยปีหน้าเจอ 4 เสี่ยง! สงครามค่าเงิน วิกฤติรัสเซีย น้ำมันตกต่ำ ลงทุนภาครัฐล่าช้า

    นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.การคลัง เปิดเผยว่า การ เบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐ กิจของรัฐบาลในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2558 มีจำนวน 9 แสนล้านบาท เป็น การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 จำนวน 7.25 แสนล้าน บาท หรือ 30% ของงบประ มาณทั้งหมด ที่เหลือเป็นการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ 6.1 หมื่นล้านบาท เงินทุนหมุนเวียน 8 หมื่นล้านบาท และเงินช่วยเหลือชาวนาอีก 3.3 หมื่นล้านบาท และงบเหลื่อมปี

    "จำนวนเงินที่เบิกจ่าย ถือว่าสูงมากพอ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงสุดท้ายของปี 2557 ซึ่งการเบิกจ่ายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ หรือไตรมาสแรกปี 2558 คาดว่าจะมีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระดับเดียวกัน เนื่องจากมีโครงการที่มีการเซ็นสัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายอีกจำนวนมาก" นายวิสุทธิ์กล่าว

     นายวิสุทธิ์กล่าวว่า กระ ทรวงการคลังได้เรียกหน่วยราชการ 9 แห่ง และรัฐวิสาห กิจอีก 8 แห่ง ที่มีงบลงทุนจำ นวนมาก มาหารือถึงอุปสรรคการเบิกจ่าย เพื่อช่วยหาทางแก้ไข

     นายสมหมาย ภาษี รมว. การคลัง กล่าวว่า ได้ให้นโย บายกับหน่วยงานต่างๆ ว่า ให้คิดการแก้ปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าแบบใหม่ ต้องใช้ดิจิทัลเข้ามาแก้ปัญหาการเบิกจ่าย จะช่วยจัดการตั้งแต่การเริ่มดำเนินโครงการ ไปจนถึงเบิกจ่ายให้เป็นระบบรวดเร็วไม่ซ้ำซ้อน

     นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า เศรษฐ กิจไทยกำลังจะเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน โดยครั้งนี้จะเป็นปัจจัยจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ค่าเงิน รัสเซีย และ น้ำมัน ซึ่งไทยจะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ต้องเตรียมรับมือให้ดี

    "ปีหน้ามีความเสี่ยงว่าสงครามค่าเงินกำลังจะประทุในภูมิภาคอาเซียน และไทยเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อสงครามค่าเงิน เนื่องจากไทยเผชิญปัญหาการส่งออกหดตัว และการอ่อนค่าของเงินบาท ไม่ได้ช่วยให้ภาคการส่งออกเกิดความสามารถในการแข่งขัน และก่อนหน้านี้เงินเยนอ่อนค่าแรง จนส่งผลให้ประเทศที่ ส่งออกสินค้าคล้ายกับญี่ปุ่นเสียความสามารถในการส่งออก และหากสหรัฐมีการขึ้นดอกเบี้ย เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าได้ถึงระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงปลายปี 2558 และหาก กนง.ปรับลดดอกเบี้ย อาจได้เห็นค่าเงินบาทแตะระดับ 36.00 ต่อดอลลาร์สหรัฐได้" นายอมรเทพกล่าว

   ขณะที่เศรษฐกิจรัสเซียมีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า หลังจากที่ถูกสหภาพยุโรปใช้มาตรการคว่ำบาตร อีก ทั้งราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องทำให้รัฐบาลรัสเซียสูญเสียรายได้หลัก ขณะที่ความเสี่ยงในประเทศ เรื่องสำคัญคือความ รวดเร็วในการเบิกจ่ายงบลงทุน ภาครัฐ หากทำได้จะช่วยฟื้น เศรษฐกิจไทยได้ แต่ต้องติดตาม อย่างใกล้ชิดต่อไป

     ทำให้คาดว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 จะเติบโตช้า แม้จะมีการลงทุนภาครัฐเป็นพระ เอก แต่จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และไทยเผชิญปัญหาการบริโภคและหนี้ครัวเรือน จึงได้ปรับประมาณการจีดีพีปี 2558 มาอยู่ที่ 3.3% จากเดิมมองไว้ที่ 4.5%.

คลังเผยไตรมาสแรกปีงบ 58 รัฐเบิกจ่ายได้ราว 9 แสนลบ.ช่วยกระตุ้นศก.ช่วงท้ายปี

       นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ 9 หน่วยราชการ และ 8 รัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับความคืบหน้าในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณว่า ในไตรมาสแรกปีงบ 58 (ต.ค.-ธค.57)รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ราว 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็น งบรายจ่ายประจำ และงบลงทุนรวมอยู่ที่ 7.25 แสนล้านบาท และรวมกับการเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจ 6.1 หมื่นล้านบาท เงินทุนหมุนเวียน 8 หมื่นล้านบาท และเงินช่วยเหลือชาวนาอีก 3.3 หมื่นล้านบาท รวมถึงงบเหลื่อมปี

     "จำนวนเงินที่เบิกจ่ายดังกล่าวถือว่าสูงมากพอ ทำให้มีพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในช่วงสุดท้ายของปี 2557" รมช.คลัง กล่าว

      ขณะที่คาดว่าการเบิกจ่ายในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 58 (ม.ค.-มี.ค.58) จะมีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระดับเดียวกัน เนื่องจากมีโครงการที่มีการเซ็นสัญญาแล้วและอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายอีกจำนวนมาก

    "คลังได้เรียกหน่วยราชการ 9 แห่ง และรัฐวิสาหกิจอีก 8 แห่ง ที่มีงบลงทุนจำนวนมากมาหารือ ถึงอุปสรรคการเบิกจ่ายเพื่อช่วยหาทางแก้ไข ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการผ่อนปรนเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การเบิกจ่ายสามารถทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น" รมช.คลังกล่าว

   ขณะที่นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า การเบิกเงินใช้จ่ายของรัฐบาลไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 58 ถือว่าอยู่ในระดับที่ใช้ได้ แต่ยังมีปัญหาขั้นตอนการเบิกจ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินการเบิกจ่าย จึงได้ให้นโยบายกับหน่วยงานต่างๆ ว่า ให้คิดการแก้ปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าแบบใหม่ โดยดึงวิธีดิจิทัลเข้ามาแก้ปัญหาการเบิกจ่าย

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!