WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aธนาคารโลก

การประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2565

       นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Plenary Session)

 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา รวมทั้งได้รับฟังถ้อยแถลงของนาย David Malpass ประธานธนาคารโลกและนาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เกี่ยวกับแนวนโยบายสนับสนุนประเทศสมาชิกของทั้งสององค์กรในการดำเนินการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา

     นาย David Malpass ประธานธนาคารโลก กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อเนื่องทั้งในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และการศึกษา โดยรายได้เฉลี่ยของประชากรทั่วโลกลดลงกว่าร้อยละ 4 ในปี 2563 นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการอ่อนค่าของสกุลเงินส่งผลในเชิงลบต่อการปรับใช้นโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนการศึกษา สุขภาพ การดำเนินการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้ของประเทศที่มีรายได้ต่ำ

ดังนั้น เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกธนาคารโลกได้จัดตั้งกองทุนตัวกลางทางการเงิน (Financial Intermediary Fund: FIF) สำหรับการป้องกัน การเตรียมพร้อม และการรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต รวมทั้งธนาคารโลกเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกประสานงานและดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตด้านอาหารโดยการเพิ่มการผลิตทั่วโลกและช่วยเหลือประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร

ในขณะที่ นาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าวว่า ความท้าทายเร่งด่วนที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของโลกในวงกว้างคืออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและมีความเห็นว่านโยบายทางการเงินควรมีความเข้มงวดขึ้น และนโยบายการคลังควรเป็นการให้ความช่วยเหลืออย่างตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ซึ่งควรนำมาปรับใช้ชั่วคราวเท่าที่จำเป็น

            นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนกับนาง Kristalina Georgieva กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งได้หารือถึงบทบาทของ IMF ที่จะสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

            อนึ่ง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับ นาย Grant Robertson รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนิวซีแลนด์ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการเงินระหว่างสองประเทศ โดยจะร่วมกันส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน นอกจากนี้ ได้หารือประเด็นความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคที่ไทยผลักดันในช่วงการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล

 

การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting : AFMGM)

      นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในห้วงการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2565 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting : AFMGM) (ที่ประชุมฯ) ซึ่งสาระสำคัญของการประชุมดังกล่าว สามารถสรุปได้ ดังนี้ 

      ประเทศกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนปี 2565 ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานความร่วมมือทางการเงินอาเซียนในปี 2565 ให้ที่ประชุมรับทราบ ประกอบด้วย การส่งเสริมการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบเชื่อมโยงอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Windows: ASW) การพัฒนาตลาดทุน การเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงิน การรวมตัวภาคการธนาคารอาเซียนและความร่วมมือด้านการเงินที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เร่งรัดให้สมาชิกดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด โดยเฉพาะแผนงานที่มีความล่าช้าสืบเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

       นอกจากนี้ กระทรวงการคลังและธนาคารกลางอินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียนปี 2566 ได้นำเสนอประเด็นความร่วมมือด้านการเงินการคลังอาเซียนในปี 2566 อาทิ (1) การส่งเสริมการฟื้นฟู การเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและทางการเงิน และการสร้างภูมิคุ้มกัน (2) ความร่วมมือด้านภาษีระหว่างประเทศ (3) การยกระดับความเชื่อมโยงด้านดิจิทัลผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (4) การพัฒนาการเชื่อมโยงการชำระเงินและการส่งเสริมความรู้ทางการเงินและการเข้าถึงบริการทางการเงินดิจิทัลเพื่อสนับสนุน

       การเติบโตทางเศรษฐกิจ และ (5) ส่งเสริมการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านเพื่อสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียว โดยที่ประชุมฯ ได้สนับสนุนข้อเสนอประเด็นความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของสมาชิกและภูมิภาคอาเซียน

      อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีการหารือทวิภาคีกับนาย Ros Seilava รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา ถึงความร่วมมือในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่าง 2 ประเทศและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปตามโครงการการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กัมพูชา ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.)

        กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3627

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!