WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สคร.เผย อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจ ตั้ง 3 คณะอนุกรรมการ เน้นโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) จัดงานสัมมนาเรื่อง Corporate Governance Reform for State Owned Enterprises in Thailand เป็นความร่วมมือระหว่าง สคร. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทย และซึ่งให้ความสำคัญและมุ่งยกระดับมาตรฐานบรรษัทภิบาลในบริษัทจดทะเบียน และ ธนาคารโลก ในฐานะผู้ที่มีองค์ความรู้ และได้คลุกคลีกับประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการรวบรวมข้อมูล และประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประกอบการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อการปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจต่อไป 

    ทั้งนี้ สคร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร. หรือ Super Board) อยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการปฏิรูป'ระบบรัฐวิสาหกิจ'ซึ่งจะเป็นการปฏิรูป ไม่ใช่เฉพาะเพียงตัวรัฐวิสาหกิจ แต่จะปฏิรูปทั้งบริบทแวดล้อมต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจด้วย ตามคำแถลงของนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นโยบายข้อ ๑๐ “การส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ” แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ และความเร่งด่วนในการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลในหน่วยงานของรัฐ ให้มีความโปร่งใส สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว คนร. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา ๓ ชุด ได้แก่

                 1. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ

                 2. คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ

                 3. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจ

     คณะอนุกรรมการทั้ง ๓ ชุด มีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายหลักเดียวกันคือ ศึกษาและนำเสนอ แนวทางในการปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ คนร. ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายได้อย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้การปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจสามารถเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สคร. จึงมีแนวคิดในการร่างกฎหมายขึ้นมา เพื่อกำหนดโครงสร้างในการกำกับดูแลระบบรัฐวิสาหกิจ หรือ Super Structure โดยจะมีการแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วย การตั้งองค์กรกำกับ การแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ การจัดทำความคาดหวังของภาครัฐ การติดตามและประเมินผล การรายงานผลและการเปิดเผยข้อมูล การตรวจสอบ และการแทรกแซงกรณีที่เกิดปัญหาในการดำเนินงาน โดยในแต่ละประเด็นจะมีการนำแนวปฏิบัติที่ดี และระบบบรรษัทภิบาลมาเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนด แนวปฏิบัติต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

   อย่างไรก็ดี การปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจเป็นกระบวนการระยะยาว ที่ต้องใช้เวลาในการศึกษาและดำเนินการ เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง สคร.จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ เพื่อพัฒนา และปรับปรุงให้ระบบการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเท่าเทียมกับต่างประเทศต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!