- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 10 November 2014 23:27
- Hits: 3337
คลังรับลูก‘บิ๊กตู่’สั่งธนาคารรัฐร่วม ล้าง‘หนี้นอกระบบ’ธค.นี้
แนวหน้า : นายกฯสั่ง'คลัง' เร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้บัตรเครดิต–หนี้นอกระบบ คาดดันมาตรการใหม่ ต้นเดือนหน้านี้
นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง แก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ เพื่อดูแลประชาชนในประเทศ โดยอยู่ระหว่างหารือร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ(แบงก์รัฐ) เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการต่างๆ คาดว่าจะสามารถประกาศได้ช่วงต้นเดือน ธ.ค. 2557 นี้
ด้านแหล่งข่าวจาก กระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงการคลัง เตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อเสนอให้ นายสมหมาย พิจารณาแล้ว โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ที่ใช้แนวทางการศึกษาของ สศค. อาทิ การปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย (สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์) เบื้องต้นหลักการต้องจัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย(บย.) โดยเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาทำ จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และแบ่งเขตชัดเจนแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน และกรมสรรพากร มาช่วยเหลือและตรวจสอบ
ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จะเข้ามาเพิ่มเติมจากโครงการสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ดำเนินการด้วยแบงก์รัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น เพราะสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จะปล่อยสินเชื่อวงเงินที่ต่ำ 100,000-120,000 บาทต่อราย กำหนดอัตราดอกเบี้ย 36% ที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงการคลัง โดยในส่วนของแบงก์รัฐได้มีธนาคารออมสินและ ธ.ก.ส.ให้ความสนใจในการปล่อยสินเชื่อนี้อีกด้วย
“การใช้สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ วงเงินรายละไม่เกิน 100,000-120,000 บาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ เนื่องจากจะช่วยแก้ไขปัญหากรณีที่สถาบันการเงิน ไม่ต้องการให้สินเชื่อกับรายย่อย เพราะไม่คุ้มค่าต่อต้นทุนในการบริหารความเสี่ยง ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้น”รายงานข่าว ระบุ
สำหรับ บุคคลที่ต้องการขอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์นี้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่จะมีหรือไม่มีหลักประกันในการกู้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ บย. เพราะมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น แต่จะถูกชดเชยโดยการอนุญาตให้บริษัทสินเชื่อรายย่อย คิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงขึ้น เบื้องต้นเอกสารที่ใช้จะเหมือนกับการกู้จากสถาบันการเงินทั่วไป ทั้งสัญญาเงินกู้ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาเงินเดือน ที่จะตรวจสอบถึงความสามารถในการชำระ เป็นต้น
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังได้ประสานกระทรวงมหาดไทย ศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละจังหวัด เพื่อให้ช่วยตรวจสอบและปรับปรุงฐานข้อมูลประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันมากที่สุด และช่วยให้รับรู้ว่าข้อมูลล่าสุดที่ประชาชนเป็นหนี้นอกระบบมีสัดส่วนอยู่เท่าไร เพื่อง่ายต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำรวจทัศนะของประชาชนต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยระบุว่า ณ วันที่ 16 ต.ค. 2557 ประชาชนเป็นหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 220,000 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 5-6% จากยอดมูลค่าหนี้รวมของครัวเรือนที่ได้สำรวจในเดือน ก.ค.2557 ซึ่งอยู่ที่ 210,000 บาท โดยกลุ่มที่เป็นหนี้ส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน อาทิ เกษตรกร ชาวนา กลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดี โดยจำนวนเงินหนี้สินของครัวเรือนที่เป็นหนี้นอกระบบ มีปริมาณสูงถึง 50.4% ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่จำนวนหนี้นอกระบบ สูงกว่าหนี้ในระบบ
คลังรับลูกนายกฯเข็นนาโนไฟแนนซ์แก้หนี้นอกระบบ
ไทยโพสต์ : พระรามหก * คลังเด้งรับนโยบาย'ประยุทธ์' เดินเครื่องมาตรการแก้หนี้ครัวเรือน-บัตรเครดิต-หนี้นอกระบบ คาดประ กาศใช้ได้ ธ.ค.นี้
นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่ง ชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระ ทรวงการคลังเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน หนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบ เพื่อดูแลประชาชนในประเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสถาบันเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการต่างๆ คาดว่าจะสามารถประกาศได้ทันภายในต้นเดือน ธ.ค.นี้
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการต่างๆ เสนอให้นายสมหมายพิจารณา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ที่ใช้แนวทางการศึกษาของ สศค.ด้วยการปล่อยสินเชื่อให้รายย่อย (สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์) เบื้องต้นหลักการต้องจัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย (บย.) โดยเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาทำ จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท และแบ่งเขตชัดเจนแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งมีธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนา คารออมสิน และกรมสรรพากร มาช่วยเหลือและตรวจสอบ
ทั้งนี้ โครงการสินเชื่อนา โนไฟแนนซ์จะเข้ามาเพิ่มเติมจากโครงการสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์ที่ดำเนินการด้วยแบงก์รัฐ ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น เพราะสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์จะปล่อยสินเชื่อวงเงินที่ต่ำ 1-1.2 แสนบาทต่อราย กำ หนดอัตราดอกเบี้ย 36% ที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
"การใช้สินเชื่อนาโนไฟ แนนซ์จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอา ชีพ ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ เพราะทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายขึ้น"รายงานข่าวระบุ
สำหรับ บุคคลที่ต้องการขอสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์นี้ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่จะมีหรือไม่มีหลักประกันในการกู้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ บย. เพราะมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้น แต่จะถูกชดเชยโดยการอนุญาตให้ บย.คิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้ประสานกระทรวงมหาดไทย ศูนย์ดำรงธรรมทุกจังหวัด ช่วยตรวจสอบและปรับปรุงฐานข้อมูลประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบทั่วประเทศ ซึ่ง จะทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันมากที่สุด.