WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ABยอาคม

ราชกิจจาฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงในเขตกทม.

     เว็บไซต์ราชกิจจาฯ ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ 15 ต.ค.63 เป็นต้นไป

  เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 15 ต.ค.63 เว็บบไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ระบุว่า

  โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุมสาธารณะ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่างๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวาย และความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรง กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐ หรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

    อีกทั้ง ยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง

  กรณีนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้มีการยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที เพื่อให้มีการปฏิบัติตามฎหมาย และรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวม อาศัยอำนาจตามความมาตรา 5 และ 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 นายกรัฐมนตรี จึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร

  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2563 เวลา 04.00 น.เป็นต้นไป

  ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2563

   ลงชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

‘อาคม เติมพิทยาไพสิฐ’ รมว.คลัง ยันประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกทม. ไม่กระทบภาคธุรกิจ

  รมว.คลัง ชี้รัฐบาลประกาศฉุกเฉินคุมพื้นที่กทม.เป็นเหตุจำเป็น เชื่อฝ่ายความมั่นคงดูแลได้ มั่นใจไม่กระทบภาคธุรกิจ พร้อมสั่งงานคปภ.ยกระดับประกันสุขภาพ-ประกันภัยพืชเกษตรกรเป็นเรื่องเร่งด่วน

  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพฯ เมื่อช่วงเวลา 04.00 น. มีผลตั้งแต่ 15 ต.ค. นี้ว่า เป็นความจำเป็นของรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องเข้าไปดูแลสถานการณ์ ซึ่งมองว่า เรื่องนี้ เป็นการประกาศเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ซึ่งส่วนของภาคธุรกิจ เชื่อว่าจะเดินหน้าต่อไปได้ปกติ และฝ่ายความมั่นคงจะดูแลเป็นอย่างดี

  ทั้งนี้จะมีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด ขณะนี้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่ขณะนี้ขอดูแลเฉพาะส่วนกระทรวงการคลังก่อน

  ขณะเดียวกันในงานมอบรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจรประจำปี 63 กระทรวงการคลังพร้อมสนับสนุนการทำประกันภัยในกลุ่มประชาชนทั่วไป และผู้มีรายได้น้อย ให้เป็นวาระแห่งชาติ รวรวมถึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้เร่งจัดทำแผนประกันประกันสุขภาพ ประกันหลังวัยเกษียณ ประกันเกี่ยวกับการขนส่งคมนาคม สำหรับกลุ่มรายย่อย โดยให้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาหลังจากนี้

  สำหรับ การยกระดับประกันสุขภาพ ยืนยันว่าเป็นมาตรการเร่งด่วน เนื่องจากปัจจุบันระบบสวัสดิการยังไม่เพียงพอ ที่จะรองรับค่าใช้จ่าย และสังคมผู้สูงอายุในอนาคต รวมถึงปัจจุบันพบว่า สัดส่วนการทำประกันยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงอยากให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพราะจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐด้วย

  นอกจากนี้ ยังอยากให้การทำประกันเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนชีวิตหลังวัยเกษียณ เพราะพบว่า คนไทยยังมีหลักประกันน้อย ขณะที่สังคมผู้สูงวัยกำลังก้าวเข้ามา

  “ปัจจบันคนไทยมีสัดส่วนการทำประกันภัยน้อย และหลักประกัน หรือสวัสดิการของรัฐในด้านสุขภาพยังมีไม่เพียงพอที่จะรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตได้ ดังนั้นจึงจะใช้ระบบประกันเข้ามาช่วย เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐในระยะต่อไป สำหรับแนวทางนั้นพร้อมที่จะใช้มาตรการทางด้านการคลังเข้ามาสนับสนุน ทั้งการขยายสิทธิประโยชน์ทางภาษีเข้ามา หรือการใช้งบประมาณรัฐเข้าไปช่วยสนับสนุน แต่รายละเอียดจะมีการศึกษาก่อน”นายอาคม กล่าว

  นายอาคม กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้คปภ.ไปพิจารณาการออกประกันพืชผลทางการเกษตรเพิ่มเติม นอกเหนือจากข้าวนาปี และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมองว่าจะเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรได้

  นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ธุรกิจประกันมีเบี้ยประกันรับโดยตรงอยู่ที่ 406,869 ล้านบาท แบ่งเป็น ธุรกิจประกันชีวิต 285,402 ล้านบาท ธุรกิจประกันวินาศภัย 121,467 ล้านบาท โดยธุรกิจประกันภัยมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 4.61 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อจีดีพีอยู่ที่ 5.3% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูง

 สำหรับ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมประกันภัยไทยจึงมีบทบาทในการช่วยพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นธุรกิจประกันจึงต้องปรับตัว เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้มากขึ้น ขณะเดียวกันในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัย คปภ.ได้บูรณาการร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัยในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด-19 เช่น การสนับสนุนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง การนำเทคโนโลยีมาเป็นช่องทางในการเข้าถึงประกันมากขึ้น

  “พร้อมจะนำแนวทางที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายไปดำเนินการ โดยจะต้องหารือร่วมกับอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อจัดทำแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยมาเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งที่ผ่านมา คปภ.ได้มีการส่งเสริมอยู่แล้ว เช่นการจัดทำประกันภัยเฉพาะโรค ที่มีเบี้ยราคาถูกหลักร้อยบาทให้ประชาชนได้ซื้อ”นายสุทธิพล กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!