WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จี้ซูเปอร์บอร์ดวางทิศทางแบงก์รัฐ

  ไทยโพสต์ : ราชประสงค์ * 'บัณฑูร'แนะใช้แบงก์รัฐช่วยสินเชื่อรายย่อย ด้าน'ธีรชัย' ยื่นซูเปอร์บอร์ดกำ หนดหน้าที่ธนาคารของรัฐให้ชัด

   นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557 ของธนา คารแห่งประเทศไทย ในหัวข้อภาคการเงินกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย ว่า ภาค ธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อยใน ระดับไมโครไฟแนนซ์ แต่การ ดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ ไม่สามารถให้บริการในส่วนดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากยังมีข้อจำกัดหลายด้าน อีกทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องประกอบกิจการที่สร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งการเข้าไปลงทุนในไมโครไฟแนนซ์โดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะยิ่งเป็นภาระต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง

    ทั้งนี้ ภาครัฐควรต้องเข้ามามีบทบาทในการวางนโยบาย และให้ธนาคารรัฐเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้เป็นหลัก เชื่อว่าจะเข้าถึงประชาชนระดับล่างได้มากกว่า

    นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง กล่าวถึงการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมยื่นหนังสือให้กับคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือซูเปอร์บอร์ด

   สถาบันการเงินของรัฐทำหน้าที่ผิดวัตถุประสงค์มาโดยตลอด ดังนั้น เพื่อให้การเป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาลอย่างแท้จริง จึงยื่น หนังสือเปิดผนึกให้คณะกรรม การนโยบายและกำกับดูแลรัฐ วิสาหกิจ (ซูเปอร์บอร์ด) กำหนดทิศทางการทำงานของสถาบันการเงินของรัฐใหม่ อาทิ จะต้องกำหนดให้ปล่อยสินเชื่อได้ไม่เกิน 3-5 ล้านบาทต่อราย เพื่อให้กลับมาทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนในระดับฐานรากอย่างแท้จริง จะทำให้การขับเคลื่อนภาค การเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น.

บัณฑูร ระบุแบงก์พาณิชย์ ไม่เหมาะเป็นแกนหนุนสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์รากหญ้า

    นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวในงาน BOT Symposium 2014 เรื่อง“มิติใหม่ของภาคการเงินเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน"ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)มีการสนับสนุนสินเชื่อไมโครไฟแนนซ์นั้น มองว่าธนาคารพาณิชย์คงไม่สามารถที่จะเข้าไปสนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรในชนบทได้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงพฤติกรรมและวัฏจักรของการดำเนินอาชีพของประชาชนในระดับรากหญ้าได้เป็นอย่างดี

     ประกอบกับ โครงสร้างของธนาคารพาณิชย์ไม่เอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนไมโครไฟแนนซ์ ดังนั้น ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐจึงเป็นส่วนสำคัญจะต้องช่วยสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ประชาชนรากหญ้าต่อไป แต่ควรมีนโยบายการปล่อยสินเชื่อที่ชัดเจน เพื่อไม่ก่อให้เกิดเป็นหนี้เสียจำนวนมาก

      นายบัณฑูร กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 58 คาดว่าจะเติบโตราว 4-5% จากผลการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อกระตุ้นการลงทุน รวมถึงการกระตุ้นภาคการส่งออกให้ฟื้นตัวดีขึ้น ปัจจัยที่ยังกังวลเป็นเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกลดลง และกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจในทั่วโลก

     "ปีหน้าเศรษฐกิจโต 4-5% ผมก็ดีใจแล้ว ก็หวังว่าจะมีการลงทุนเกิดขึ้น ที่ส่งผลให้ไปกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชนมากขึ้น การส่งออกที่ภาครัฐกระตุ้นก็จะเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่ก็ยังเป็นห่วงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา ทำให้ทุกคนได้รับผลกระทบกันหมด"นายบัณฑูร กล่าว

     ด้านภาคการเงินของประเทศไทยในปีหน้า คาดว่าสถาบันการเงินในประเทศจะมีการเติบโต 5% เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเติบโตได้ในระดับปานกลาง และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนในระดับปานกลางเช่นกัน

                        อินโฟเควสท์

หนี้ครัวเรือนฉุดศก.ชะลอลุ้นคลังเร่งนาโนไฟแนนซ์

  ไทยโพสต์ : ราชประสงค์ * ชี้หนี้ครัวเรือนของไทยที่เพิ่มขึ้น ฉุดจีดีพี แต่ยังไม่น่าห่วง เหตุกระจุกตัวในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย คลังลุ้นนาโนไฟแนนซ์คลอดเร็ว แก้กู้นอกระบบ

   นายพชรพจน์ นันทรามาศ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยงานวิจัยเรื่อง "การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน นัยต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ" ว่า ช่วงที่ผ่านมาหนี้ครัวเรือนของไทยได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินมากนัก เนื่องจากหนี้ที่เพิ่มขึ้น กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย คือกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง

  ทั้งนี้ พบว่าหนี้ครัวเรือนมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้มาก กว่า 40% แสดงให้เห็นว่ากลุ่มครัวเรือนเหล่านี้มีความเปราะบางทางการเงิน ส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการชำระหนี้และการบริโภคของครัวเรือน ส่วนใหญ่พบในแถบอีสานตอนใต้ ภาคกลาง และภาคเหนือ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม

    นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐ กิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ได้เสนอให้นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง เห็นชอบการจัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย (บย.) เพื่อใช้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประ กอบการรายย่อย (นาโนไฟแนนซ์) จะช่วยให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยและไม่มีหลักประกัน เข้าสู่ระบบสินเชื่อ แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยจะปล่อยสินเชื่อให้เฉพาะประชาชนรายย่อย ผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน วงเงินรายละไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี หาก รมว.การคลัง เห็นชอบ คาดว่าจะออกประกาศกระทรวงมีผลบังคับใช้ได้ภายในสิ้นปีนี้.

คลังลุ้น'สนช.'ผ่านกม.ลดกู้เงินนอกระบบ ชี้หนี้ครัวเรือนฉุด'บริโภค'

    แนวหน้า : 'สศค.'โดยยกกรณีตัวอย่างชาวนา จ.ลพบุรี จุดไฟเผาตัวเองมาเร่ง 'สนช.'ช่วยผ่านพรบ. ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม จี้ “คลัง” เร่งจัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย ขณะที่วงสัมมนา “แบงก์ชาติ”ชี้ความเสี่ยงภาวะหนี้ครัวเรือนเพิ่มฉุดเศรษฐกิจ

   นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า แนวทางการดูแลปัญหาหนี้นอกระบบ สศค.อยู่ระหว่างการดำเนิน  2 แนวทาง คือ ร่างพ.ร.บ.ทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระแรกแล้ว อยู่ระหว่างชั้นคณะกรรมาธิการปรับปรุงแก้ไขให้ครอบคลุมถึงการคุ้มครองผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ข่มขู่อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดกรณีเหมือน นางสังเวียน รักษาเพ็ชร์ ชาวนา จ.ลพบุรี ที่จุดไฟเผาตัวเองจากความเครียดปัญหาหนี้สินนอกระบบกว่า 1.5 ล้านบาท

   นอกจากนี้ ได้เสนอให้นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เห็นชอบการจัดตั้งบริษัทสินเชื่อรายย่อย (บย.) เพื่อใช้ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย หรือสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยและไม่มีหลักประกันเข้าสู่ระบบสินเชื่อ แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้เฉพาะกับประชาชนรายย่อย ผู้ประกอบการรายเล็ก รายย่อย ให้นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ วงเงินรายละไม่เกิน 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 36% ต่อปี โดยหาก รมว.คลัง เห็นชอบคาดว่าจะออกประกาศกระทรวงมีผลบังคับใช้ได้ภายในสิ้นปีนี้

    สำหรับ นาโนไฟแนนซ์สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากเป็นการยกร่างประกาศกระทรวงการคลัง 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างประกาศเรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (ปว.58) และร่างประกาศเรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืมเท่านั้นโดยผู้ประกอบการเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณภาครัฐ แต่ภาครัฐจะมีบทบาทกำกับดูแลให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมกับผู้รับบริการ

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท มีสัดส่วนที่สูงกว่าเงินที่จัดสรรให้กับกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาทแต่ควรต่ำกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและให้มีความระมัดระวังให้สินเชื่อ เพราะเป็นเงินลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจเอง โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเฉลี่ย 36% ต่อปีนั้น ผู้ประกอบธุรกิจได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สร้างภาระกับผู้กู้มากเกินไป เพราะอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือว่าต่ำกว่าอัตราสินเชื่อนอกระบบในปัจจุบัน

   นายพชรพจน์ นันทรามาศ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)หรือ SCB เปิดเผยงานวิจัย ในงานสัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง “การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน นัยต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ” ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพี แต่ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินเท่าใดนัก เนื่องจากหนี้ที่เพิ่มขึ้น กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย คือกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง

    อย่างไรก็ตาม การเร่งตัวของหนี้ครัวเรือนส่วนหนึ่งยังมาจากกลุ่มคนรายได้น้อย และพบว่าหนี้ครัวเรือนมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้มากกว่า40% แสดงให้เห็นว่ากลุ่มครัวเรือนเหล่านี้มีความเปราะบางทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และการบริโภคของครัวเรือน ส่วนใหญ่พบในแถบอีสานตอนใต้ ภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม

   นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความกังวลใจเรื่องการเกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของครัวเรือนน้อยลง ทำให้ภาคสินค้าและบริการจะได้รับรายได้น้อยลงด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีหนี้ครัวเรือนจำนวนไม่น้อยที่เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจในการก่อหนี้ เช่น จากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ และการตกทอดของหนี้จากการเสียชีวิต รวมถึงภัยธรรมชาติ ซึ่งมองว่าผลิตภัณฑ์ทางด้านประกันภัยสามารถขจัดปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือนได้

   ด้านนายอธิภัทร มุทิตาเจริญ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)หรือ SCB เปิดเผยว่าประเทศไทยจะไม่เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยสองไตรมาสติดต่อกันหรือ Recession เนื่องจากเศรษฐกิจในไทยนั้นไม่ได้เติบโตต่ำอย่างในยุโรปที่เติบโตแค่ 1% ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปีหน้าเติบโต 4-5% แต่ยังมีความเสี่ยงคือเรื่องของการบริโภคที่ลดลงจากภาวะหนี้ครัวเรือน ซึ่งมองว่าอย่างน้อยจะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปี และหากมีการส่งสัญญาณออกมา เชื่อว่าจะมีผู้วางนโยบายการเงินจะเข้าไปดูแล

จ่อชง กม.แก้หนี้นอกระบบ คลังชู'นาโนไฟแนนซ์'มอบรัฐบาลพิจารณา

     บ้านเมือง : ขุนคลังเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ พร้อมเตรียมเสนอรัฐบาลพิจารณากฎหมายนาโนไฟแนนซ์ ด้านกรมสรรพากรเร่งติดตามบุคคลที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบผิดกฎหมาย ขณะเดียวกัน TDRI แนะรัฐใช้มาตรการระยะยาวลดความเหลื่อมล้ำ มองเก็บภาษีที่ดินมีประสิทธิภาพกว่าภาษีมรดก

    นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงปัญหาหนี้นอกระบบนั้น ทางกระทรวงการคลังได้มีสำนักเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลในเรื่องของหนี้นอกระบบ โดยทางการจะมีการนำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนาโนไฟแนนซ์ เข้าไปให้กับทางรัฐบาลพิจารณา ทั้งนี้ ในหลักการของนาโนไฟแนนซ์นั้น จะมีการเปิดให้ประชาชนที่รับความเดือดร้อนในเรื่องเงินตราได้เข้ามาจดทะเบียนเพื่อเป็นนิติบุคคล และมีการคิดดอกเบี้ยได้ปีล่ะแค่ 3% ซึ่งตามกฎหมายแล้ว ข้อกำหนดในเรื่องของดอกเบี้ยจะอยู่ไม่เกิน 16% เท่านั้น ที่ทางการให้คิดดอกเบี้ยสูง ก็เพื่อที่จะได้ไม่มีความเสี่ยง โดยจะให้มีการกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท เท่านั้น ส่วนการกู้นั้นให้กู้ได้แค่ในพื้นที่จังหวัดเดียว เพื่อที่จะได้มีการดูแลจัดสรรลูกหนี้ได้เป็นอย่างดี ในส่วนของภาครัฐจะให้ทางเอกชนเข้ามาดูแลจัดสรรในเรื่องนี้ ด้านกรมสรรพากรขณะนี้กำลังติดตามกับบุคคลที่ปล่อยเงินกู้นอกระบบผิดกฎหมาย อาทิ ใบปลิวที่ปิดตามเสาไฟ เพราะจะติดตามในเรื่องของแง่การตรวจสอบว่า เงินที่ได้จากดอกเบี้ยของเงินกู้ที่ปล่อยนั้น ได้เอาไปเสียภาษีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ดอกเบี้ยเงินกู้นั้นถือว่าเป็นการประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียภาษีธุรกิจด้วย ดังนั้น ในเรื่องของกฎหมายที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้ามาดูแลในส่วนของเรื่องการโดนข่มขู่ ทำร้ายร่างกายลูกหนี้ เป็นต้น

   นายพชรพจน์ นันทรามาศ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวถึงงานวิจัย ในงานสัมมนาวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่อง "การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือน นัยต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ" ว่า หนี้ครัวเรือนของไทยในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพี แต่ยังไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงินเท่าใดนัก เนื่องจากหนี้ที่เพิ่มขึ้น กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยคือกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง อย่างไรก็ตาม การเร่งตัวของหนี้ครัวเรือนส่วนหนึ่งยังมาจากกลุ่มคนรายได้น้อย และพบว่าหนี้ครัวเรือนมีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้มากกว่า 40% แสดงให้เห็นว่ากลุ่มครัวเรือนเหล่านี้มีความเปราะบางทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และการบริโภคของครัวเรือน ส่วนใหญ่พบในแถบอีสานตอนใต้ ภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม

   ด้านนายอธิภัทร มุทิตาเจริญ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า โดยเฉลี่ยแล้วสัดส่วนระดับหนี้ต่อรายได้นั้นอยู่ที่ 27% แต่มีบางครัวเรือนสูงกว่า 40% เช่น กลุ่มที่มีรายได้น้อยต่ำกว่า 9,000 บาทต่อเดือน ถือเป็นความเสี่ยงระยะสั้น ในส่วนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำจะมีความเสี่ยงมากกว่ากลุ่มที่มีรายได้สูง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยตลาดรวม ส่วนผลกระทบจากการบริโภคจะกระทบกับทุกกลุ่ม

   ขณะเดียวกัน นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวในงาน BOT Symposium 2014 เรื่อง "มิติใหม่ของภาคการเงินเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน" ว่า การดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลที่เป็นมาตรการระยะสั้นเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนมาตรการระยะยาวควรมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาประเทศทั้งในด้านการลดความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน ขณะที่นโยบายทางด้านภาษีนั้น มองว่าการจัดเก็บภาษีมรดกคงไม่ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับภาครัฐมากนัก แต่การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เนื่องจากสามารถกระจายเม็ดเงินจากคนรวยมาสู่ระดับล่างได้มากขึ้น ส่วนแนวคิดการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% ในปัจจุบันนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการจัดเก็บรายได้ที่ดี เนื่องจากมีฐานการจัดเก็บกว้าง แต่การจะปรับขึ้นเป็นอัตราเท่าใด ต้องขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ณ ขณะนั้น

   อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจะต้องมีแผนชัดเจนในการนำรายได้ที่จะจัดเก็บเพิ่มขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับมาตรการภาษีคนจน (Negative Income Tax) แม้อาจเข้าข่ายรูปแบบนโยบายประชานิยม และเป็นภาระงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล แต่ถือว่าใช้เม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจน้อยกว่าโครงการรับจำนำข้าวและการกระจายรายได้ด้านอื่น อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการดังกล่าวจำเป็นต้องตรวจสอบการขึ้นทะเบียนคนจนเพื่อไม่ให้เกิดการสวมสิทธิ์ขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!