- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 13 October 2014 20:15
- Hits: 2503
รมว.คลังเดินสายสร้างความเชื่อมั่นในเวทีโลก ระหว่างการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้ว่าการของธนาคารโลกได้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และใช้โอกาสนี้เข้าหารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศชั้นนำต่างๆ อาทิ Standard Chartered Bank Barclays Bank และ HSBC รวมทั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ อาทิ Fitch Moody’s และ S&P
สำหรับ การประชุมร่วมของผู้ว่าการของประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 เพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค ผลการดำเนินงานของกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยมีประเด็นที่ได้หารือ ได้แก่ การปรับบทบาทของธนาคารโลก โดยกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจนและเหมาะสมในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากทั่วโลก โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้ของธนาคารโลกให้สอดรับกับความต้องการของประเทศสมาชิก(Global Practice) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ (Twin Goals) ของธนาคารโลกในการขจัดความยากจนและสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน
และบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับการทำหน้าที่สอดส่องดูแลเศรษฐกิจ (Surveillance) ซึ่งพบว่า เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังประสบปัจจัยความเสี่ยงระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมถึง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการไหลออกของเงินทุนจากประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เสนอแนวนโยบายที่จะรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ นโยบายการคลังที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายสถาบันการเงินที่กำกับดูแลการให้สินเชื่อและจัดการเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ให้มีความมั่นคง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 แห่ง โดยได้ชี้แจงถึงนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และนโยบายในการเตรียมวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ยั่งยืนในระยะยาว เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปภาษีให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวได้ยืนยันว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน แต่เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และฐานะการคลังของไทยที่เข้มแข็ง
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รมว.คลังเดินสายสร้างความเชื่อมั่นในเวทีโลก แจงนโยบายรัฐกระตุ้นศก.ช่วงสั้น
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมด้วยผู้ว่าการของธนาคารโลก ได้นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยใช้โอกาสนี้เข้าหารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสถาบันการเงินระหว่างประเทศชั้นนำต่างๆ เช่น Standard Chartered Bank Barclays Bank และ HSBC รวมทั้งสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ อาทิ Fitch Moody’s และ S&P สำหรับการประชุมร่วมของผู้ว่าการของประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ต.ค.57 เพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค ผลการดำเนินงานของกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยมีประเด็นที่ได้หารือ ได้แก่ การปรับบทบาทของธนาคารโลก โดยกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจนและเหมาะสมในการช่วยเหลือประเทศสมาชิก การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากทั่วโลก โดยใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้ของธนาคารโลกให้สอดรับกับความต้องการของประเทศสมาชิก(Global Practice) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ประการ (Twin Goals) ของธนาคารโลกในการขจัดความยากจนและสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน และบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับการทำหน้าที่สอดส่องดูแลเศรษฐกิจ (Surveillance)
ซึ่งพบว่าเศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ยังประสบปัจจัยความเสี่ยงระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมถึง ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการไหลออกของเงินทุนจากประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เปราะบาง ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เสนอแนวนโยบายที่จะรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น นโยบายการคลังที่เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายสถาบันการเงินที่กำกับดูแลการให้สินเชื่อและจัดการเงินทุนในรูปแบบต่างๆ ให้มีความมั่นคง
รมว.คลังได้หารือทวิภาคีกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 3 แห่ง โดยได้ชี้แจงถึงนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ และนโยบายในการเตรียมวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ยั่งยืนในระยะยาว เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปภาษีให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว
ทั้งนี้ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวได้ยืนยันว่า ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน แต่เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และฐานะการคลังของไทยที่เข้มแข็ง
อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2557 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สำนักงานใหญ่ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา รมว.คลังได้ร่วมในพิธีลงนามในความตกลงเพื่อการจัดตั้งสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ให้เป็นองค์การระหว่างประเทศ ซึ่ง รมว.คลังได้รับมอบอำนาจเต็มจากรัฐบาลเพื่อลงนามในความตกลงฯ ในนามของประเทศไทย
สำหรับ ความตกลงฉบับนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ได้แก่ ประเทศกลุ่มอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับ AMRO จากสถานะบริษัทจำกัดขึ้นเป็นองค์การระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในการติดตาม ประเมิน และรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของแต่ละประเทศสมาชิกและของภูมิภาคอาเซียน+3 ประเมินความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาค และเสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ที่สำคัญ AMRO จะมีบทบาทหลักในการสนับสนุนการดำเนินงานของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ซึ่งเป็นกลไกทางการเงินที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน+3 ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กันและกันในกรณีที่สมาชิกประสบวิกฤตหรือกำลังจะประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความช่วยเหลือที่เสริมเพิ่มเติมจากความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF)
การยกระดับ AMRO เป็นองค์การระหว่างประเทศนี้ จะส่งผลดีต่อทั้งประเทศไทยและต่อภูมิภาคอาเซียน+3 โดยจะเป็นการสร้างความมั่นใจว่าประเทศสมาชิกอาเซียน+3 จะมีองค์กรถาวรในการเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีสถานะและความสำคัญเท่าเทียมกับองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศอื่นๆ รวมทั้งยังสามารถดึงดูดให้บุคลากรที่มีคุณภาพสูงมาทำงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และติดตามภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกและของภูมิภาค
อินโฟเควสท์