WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa KRSI Dec 2019

ดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) 

    ดัชนี RSI เดือนพฤศจิกายน 2562 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล”

     นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังและนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 ว่า “การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเกษตรและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการของ กทม. และปริมณฑล”

     ดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ระดับ 65.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยใน 6 เดือนข้างหน้าจะได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากการขยายตัวของผลผลิต การเกษตรทั้งพืชผล ปศุสัตว์ และประมง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจากความต้องการของตลาดและการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและมีการยกระดับมาตรฐานการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวประกอบกับเข้าสู่ฤดูท่องเที่ยว สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 65.6 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัวโดยเฉพาะในภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ประกอบกับปริมาณผลผลิตภาคเกษตรอื่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว

     รวมทั้งภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนภาคเกษตรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคบริการ ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศส่งผลให้กิจการด้านการบริการขยายตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ที่ 63.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ SME

      อย่างไรก็ดี ยังมีหลายจังหวัดในภูมิภาคที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะหดตัวลงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ส่วนภาคบริการจะขยายตัวจากภาคธุรกิจด้านการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสนับสนุนการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และการจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งก็ได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ และจากการเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออก ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 60.8 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดยแนวโน้มธุรกิจภาคอุตสาหกรรมดีขึ้น เนื่องจากมาตรการการกระตุ้นของภาครัฐที่ส่งเสริมการค้าการลงทุน และปัจจัยบวกในเรื่องของ EEC ที่มีการเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาลงทุน อย่างไรก็ดี ยังคงมีหลายจังหวัดที่คาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะชะลอลง

       และมีความกังวลจากผลกระทบของสงครามการค้าที่ต่อเนื่องจากปีนี้ ประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานลดลงเนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนมีการปรับใช้เทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้ อยู่ที่ระดับ 59.5 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการและภาคเกษตรเป็นหลัก ในส่วนของภาคบริการเนื่องจากเป็นช่วง High Season โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลและเกาะต่างๆ ประกอบกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเชิงรุกเพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยว

       รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ในส่วนของการเกษตร เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรโดยการประกันราคา มีการเพิ่มกำลังการบริโภคน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อดูดซับผลผลิตออกจากระบบ เช่น นำน้ำมันปาล์มไปผลิตไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซล และสนับสนุนการสร้างถนนที่มีส่วนผสมของยางพารา เป็นต้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง อยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 56.1 สะท้อนการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการและภาคการจ้างงาน จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.0 โดยควรติดตามสถานการณ์ด้านการบริการ

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562

      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจในปี 2562 มีการเจริญเติบโตและขยายผลอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประชาชน เกษตรกรรายย่อย ผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่

     1.1 โครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยจัดสรรเงินให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับการประเมินอยู่ในระดับ A B และ C จำนวน 71,742 แห่ง แห่งละไม่เกิน 200,000 บาท ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติภายใต้วงเงินรวม 14,348.4 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเงินทุนในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กในชุมชน สนับสนุนผู้ประกอบการ และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน เครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น หรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมศักยภาพในการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ในชุมชนให้ดีขึ้น

     1.2 โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงินประชาชน สถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เพื่อเป็นค่าลงทุนในการดำเนินกิจการและเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยตามปกติของ ธ.ก.ส. ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

     1.3 โครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ โดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพักชำระหนี้หรือลดภาระหนี้เงินกู้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้กับสมาชิกที่มีความเดือดร้อนตามแนวทางที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด เพื่อให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้ผ่อนคลายภาระการชำระหนี้ที่มีกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง และสามารถนำเงินส่วนดังกล่าวมาประกอบอาชีพสร้างรายได้ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนและหนี้นอกระบบ

  1.       มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผ่านโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น โดยเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตรจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท

        นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมในโครงการโดยสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 พร้อมทั้งขยายระยะเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกรจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2563 เนื่องจากมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตรมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

  1.         มาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการ “บ้านดีมีดาวน์” เพื่อเป็นการลดภาระและสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) จำนวน 50,000 บาท ต่อราย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน หรือไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากร จำนวน 100,000 ราย และผ่านเกณฑ์ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 62 – 31 มีนาคม 2563

        กระทรวงการคลังคาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 เติบโตอย่างต่อเนื่อง และสร้างแรงส่ง (Momentum)ให้เศรษฐกิจในปี 2563 ขยายตัวอย่างมีศักยภาพ

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!