WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AA1ฐานะการคลัง

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2562

     เศรษฐกิจไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 ได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยการบริโภคภายในประเทศที่สะท้อนจากการขยายตัวต่อเนื่องของยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่บนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ และเศรษฐกิจด้านอุปทานจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจภายนอกประเทศส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าชะลอตัว ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี”

      นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่า “เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยการบริโภคภายในประเทศที่สะท้อนจากการขยายตัวต่อเนื่องของยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ บนฐานการใช้จ่ายภายในประเทศ

      และเศรษฐกิจด้านอุปทานจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจภายนอกประเทศส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าชะลอตัว ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้

      เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมยังคงขยายตัว โดยสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ บนฐานการใช้จ่ายในประเทศขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.7 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี นอกจากนี้ รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -6.8 ต่อปี ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งชะลอตัวร้อยละ -16.4 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 57.9 เป็นผลมาจากการการชะลอตัวของการส่งออกสินค้าของไทย และความกังวล

      จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณชะลอตัว โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรสะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุนชะลอตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ชะลอตัวที่ร้อยละ -16.1 ต่อปี ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังชะลอตัว โดยยอดการจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวร้อยละ -6.3 ต่อปี เช่นเดียวกับปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ชะลอตัวที่ร้อยละ -2.2 ต่อปี ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างชะลอตัวที่ร้อยละ -3.1 ต่อปี โดยมีสาเหตุมาจากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กปรับตัวลดลง

      เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวที่ร้อยละ -7.4 ต่อปี เป็นผลจากการชะลอตัวของการส่งออกในหมวดสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ทองคำ ข้าว ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป อย่างไรก็ตาม สินค้าในกลุ่ม ผัก ผลไม้ สด แช่แข็งและแปรรูป น้ำตาลทราย เครื่องดื่ม ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่รวมทองคำ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์รักษาผิว ยังคงขยายตัวได้ และตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน และตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค พบว่า หลายประเทศก็มีการส่งออกที่ชะลอตัว เช่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเลเซีย ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ชะลอตัวร้อยละ -13.8 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนพฤศจิกายน 2562 เกินดุล 548.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

     เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน พบว่า ภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมยังส่งสัญญาณชะลอตัว โดยภาคการท่องเที่ยวสะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2562 มีจำนวน 3.36 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นหลัก โดยขยายตัวร้อยละ 18.3 ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นที่ขยายตัวได้ดี อาทิ นักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน อินเดีย และรัสเซีย โดยสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นจำนวนเงิน 166,897 ล้านบาท ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.0 ต่อปี

     ขณะที่ ภาคการเกษตรสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรชะลอตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวร้อยละ -8.3 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากผู้ประกอบการมีการเร่งผลิตเพื่อชดเชยวันทำงานที่น้อยลงเนื่องจากวันหยุดเทศกาลในเดือนธันวาคม รวมทั้งมียอดคำสั่งซื้อและยอดขายเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงาน สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 41.0 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ในระดับสูงที่ 221.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน 2562

     เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวได้ในภาคตะวันออก และภาคตะวันตก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด รวมถึงการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ ที่ขยายตัวในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ดี ควรติดตามการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนในภาคกลางและภาคเหนือ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี”

      นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤศจิกายน ปี 2562 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวได้ในภาคตะวันออก และภาคตะวันตก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งสะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด รวมถึงการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ ที่ขยายตัวในหลายภูมิภาค อย่างไรก็ดี ควรติดตามการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนในภาคกลางและภาคเหนือ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

      ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ 7,277 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 181.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในโรงงานผลิตกรดอะมิโนสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตอาหาร เครื่องสำอางค์ และเภสัชกรรม ในจังหวัดระยองเป็นสำคัญ สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ อยู่ที่ 4,267 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 24.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เป็นต้น  ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน จากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวลงที่ร้อยละ -22.1 และ -11.7 ตามลำดับ

     อย่างไรก็ดี การบริโภคสินค้าทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 11.7 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัดโดยเฉพาะชลบุรี และจันทบุรี เป็นต้น  สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี แต่ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ที่ยังคงอยู่เหนือระดับ 100 เป็นเดือนที่ 25 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 112.9 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

      ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

      ภาคตะวันตก เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ อยู่ที่ 794.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 75.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในโรงงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในจังหวัดเพชรบุรี สอดคล้องกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวในจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และสมุทรสงคราม  ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน จากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวลงที่ร้อยละ -7.1 และ -12.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ

      อย่างไรก็ดี การบริโภคสินค้าทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์ดี  ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 37.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวในจังหวัดราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 อย่างไรก็ดีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ 6,366 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 1,123.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในการผลิตน้ำตาล น้ำตาลทรายดิบ ในจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นสำคัญ สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ อยู่ที่ 4,095 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 425.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในโรงงานโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า ในจังหวัดหนองคาย และการลงทุนโรงงานผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนสำหรับกล้องถ่ายรูป ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

      ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน จากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวลงที่ร้อยละ -11.6 และ -13.9 ตามลำดับ ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 อย่างไรก็ดีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

      กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มกิจการ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ 5,058 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 92.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำหมักขยะมูลฝอยในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ อยู่ที่ 7,479 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 88.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลงทุนในหลายจังหวัด อาทิ นครปฐม สมุทรสาคร และ ปทุมธานี เป็นต้น 

      ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน จากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวลงที่ร้อยละ -9.6 และ -1.3 ตามลำดับ ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

     ภาคใต้ เศรษฐกิจทรงตัว จากการขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชน แต่การลงทุนภาคเอกชนและการท่องเที่ยวชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะด้านการบริโภคภาคเอกชน จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวร้อยละ7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวในหลายจังหวัด อาทิ ภูเก็ต กระบี่ และชุมพร สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนของผู้มีรายได้ระดับฐานราก สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวในหลายจังหวัด เช่น พังงา นราธิวาส และปัตตานี เป็นต้น  

      อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนเช่นกัน สะท้อนจากจำนวนรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -0.8 และ -5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในเดือนพฤศจิกายน 2562 หดตัวร้อยละ -85.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ขณะที่ผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562 อยู่ที่ 0.0 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค

      ภาคกลาง เศรษฐกิจชะลอตัว จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ดีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยปรับตัวลดลง สำหรับเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ พบว่าการลงทุนภาคเอกชนมีปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน สะท้อนจากจำนวนรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ในเดือนพฤศจิกายน 2562 หดตัวร้อยละ -5.1 และ –9.8 ต่อปี

       อย่างไรก็ดี เงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการซึ่งขยายตัวต่อเนื่องในระดับสูงที่ร้อยละ 752 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยมูลค่า 4,787 ล้านบาท จากการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนทรงตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในจังหวัด ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวในจังหวัดสระบุรี สิงห์บุรี และพระนครศรีอยุธยา แต่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวลงที่ร้อยละ -20.2 และ -11.9 ตามลำดับ ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนพฤศจิกายน 2562

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)  ประจำเดือนธันวาคม 2562

     “ดัชนี RSI เดือนธันวาคม 2562 ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกโดยมีภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการเกษตรของภาคกลาง”

      นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2562 ว่า “การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) ชี้แนวโน้มอนาคตเศรษฐกิจที่ขยายตัว โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก โดยมีภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการเป็นปัจจัยสนับสนุน แต่ควรติดตามสถานการณ์ด้านการเกษตรของภาคกลาง”

     ดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 66.7 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยใน 6 เดือนข้างหน้าจะมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคบริการ เนื่องจากปริมาณผลผลิตมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น อาทิ ปริมาณยางพาราและสับปะรดที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเข้าสู่ฤดูการผลิต ในส่วนของภาคบริการ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นเมืองท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขนส่งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศส่งผลให้กิจการด้านการบริการขยายตัวสูงขึ้น

      สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 65.9 แสดงถึงการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เนื่องจากนโยบายการสนับสนุน EEC ของรัฐบาล ในส่วนของภาคบริการ ได้รับอานิสงส์จากแนวโน้มภาคบริการที่ยังคงขยายตัว เนื่องจากการมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และมีการจัดทำโครงการสนับสนุนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  

    สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ที่ 61.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวจากผลผลิตภาคเกษตรออกสู่ตลาดเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยวทำให้มีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ส่วนภาคบริการจะขยายตัวจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐ และการจัดกิจกรรมสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งก็ได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการ ชิม ช้อป ใช้

    สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 58.3 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากแนวโน้มของภาคเกษตรและภาคการบริการ โดยภาครัฐเข้าให้การช่วยเหลือสนับสนุนทำให้ราคาปาล์มน้ำมันและยางพาราปรับตัวเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคการบริการ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว คาดว่าภาคบริการการท่องเที่ยวจะดีขึ้นจากนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นการกระจายการเดินทางของนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดเมืองรอง เพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวด้วยสินค้ามูลค่าสูงหรือประสบการณ์ท่องเที่ยว และเพิ่มความเชื่อมั่นด้วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเมืองชายแดนใต้

      อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาทที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลัก สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันตก อยู่ที่ระดับ 58.1 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเป็นหลัก เนื่องจากมีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเอกชนมากขึ้น ในส่วนของภาคบริการ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และมีการยกระดับมาตรฐานการบริการและมาตรฐานความปลอดภัยด้านต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยว

สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล อยู่ในเกณฑ์ดีที่ระดับ 56.6 สะท้อนถึงการคาดการณ์เศรษฐกิจที่จะขยายตัว โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ ภาคกลาง ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.5 โดยควรติดตามสถานการณ์ด้านการเกษตร เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับภัยแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า

ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2562 (ณ เดือนธันวาคม 2562)

กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก

เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก

ภาพรวม         

  ดัชนีความเชื่อมั่น

  อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 56.6 65.9 66.7 58.3 50.5 61.8 58.1

ดัชนีแนวโน้มรายภาค      

  1) ภาคเกษตร 64.6 58.2 71.0 62.9 43.5 55.8 60.2

  2) ภาคอุตสาหกรรม 59.8 85.2 66.4 49.7 46.3 64.0 63.1

  3) ภาคบริการ 58.4 66.1 70.4 67.4 57.5 69.4 60.5

  4) ภาคการจ้างงาน 52.3 58.9 63.3 53.9 51.7 58.1 53.4

  5) ภาคการลงทุน 47.8 61.4 62.5 57.5 53.4 61.5 53.4

      สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 หรือ 3223

ฐานะการคลังภาครัฐบาลตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาวิเคราะห์นโยบายการคลัง (สศค. หรือ GFS) ปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 - กันยายน 2562)

       ปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) ภาครัฐบาล (รัฐบาล กองทุนนอกงบประมาณ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มีรายได้ 3,522,825 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 71,169 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.1 เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล (ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ) และรายได้ของกองทุนนอกงบประมาณที่เพิ่มขึ้น 51,285 และ 15,556 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับด้านรายจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 3,609,521 ล้านบาท สูงกว่า ปีที่แล้ว 168,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ จากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุล 86,696 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP และดุลการคลังเบื้องต้นของภาครัฐบาล (Primary Balance) เกินดุล 62,921 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของ GDP

General Government Fiscal Balance Report (GFS Basis)  : The Fiscal Year 2019

      In the fiscal year 2019 (October 2018 – September 2019), general government revenue was 3,522,825 million Baht, which was 71,169 million Baht (2.1 percent) higher from the previous year. The increase was mainly due to the increases in the revenue from central government (especially corporate income tax and petroleum tax) and extra-budgetary funds by 51,285 and 15,556 million Baht, respectively. Meanwhile, general government expenditure in the fiscal year 2019 was 3,609,521 million Baht, which was 168,813 million Baht (4.9 percent) higher than the previous year. Subsequently, general government balance at the end of 2019 was in deficit of 86,696 million Baht, which accounted for 0.5 percent of GDP. On the other hand, the consolidated general government primary balance, which excludes interest payment to reflect the substantive performance and the direction of fiscal policy, was in surplus of 62,921 million Baht, or 0.4 percent of GDP.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!