- Details
- Category: คลัง
- Published: Friday, 01 November 2019 09:24
- Hits: 3514
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2562
เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ยังคงขยายตัวในภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ดี ควรติดตามการจับจ่ายใช้สอยของภาคเหนือและภาคใต้ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน และในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ยังคงขยายตัวในภาคกลาง และภาคตะวันออก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ดี ควรติดตามการจับจ่ายใช้สอยของภาคเหนือและภาคใต้ สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุกภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี” โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
ภาคกลาง เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจ สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 21.3 และ 22.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 10.4 และ 27.9 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวในหลายจังหวัด โดยเฉพาะอ่างทอง และสระบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการและเงินลงทุนที่เริ่มประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 อยู่ที่ 81,113 และ 69,853.4 ล้านบาท จากการลงทุนในโรงงานประกอบแบบโครงสร้างสะพานและโครงสร้างอาคารจากโลหะในจังหวัดสระบุรี และโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นสำคัญ สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนของผู้รายได้ปานกลางและสูง
สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี ตามการขยายตัวในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี และชัยนาท เป็นต้น ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดอ่างทองและสระบุรี เป็นต้น สำหรับด้านอุปทาน ด้านภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่ารายได้จากการเยี่ยมเยือนของคนต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี แต่รายได้จากเยี่ยมเยือนของคนไทยปรับตัวลดลง ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออก เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวของคนต่างประเทศ อย่างไรก็ดีการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากยอดรถปิคอัพและรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 13.2 และ 19.1 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 4.2 และ 16.8 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวในจังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี และนครนายก เป็นต้น สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 อยู่ที่ 8,515 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี และชลบุรี เป็นต้น
ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับตัวลดลง ทั้งจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ และยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ อย่างไรก็ดียอดรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 12.0 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกจังหวัด ยกเว้นสระแก้ว สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่ารายได้จากการเยี่ยมเยือนของคนต่างประเทศขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี แต่รายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยลดลงที่ร้อยละ -2.3 ต่อปี ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ในเดือนกันยายน 2562 ที่ยังคงอยู่เหนือระดับ 100 เป็นเดือนที่ 23 ติดต่อกัน ที่ระดับ 111.3 ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจขยายตัว การปรับตัวเพิ่มขึ้นของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แต่การท่องเที่ยวปรับตัวลดลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ จากการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.6 และ 2.2 ต่อปี ตามลำดับ ตามการขยายตัวในจังหวัดหนองคาย ขอนแก่น และบึงกาฬ เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากเงินลงทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 อยู่ที่ 6,310 ล้านบาท จากการลงทุนผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดสกลนคร เป็นต้น เช่นเดียวกันกับยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี สำหรับด้านอุปทานภาคการท่องเที่ยวปรับตัวลดลง สะท้อนจากรายได้จากการเยี่ยมเยือน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.1 ต่อปี ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคและลงทุนที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.7 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคตะวันตก เศรษฐกิจขยายตัว จากการขยายตัวของการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชน แต่ภาคการท่องเที่ยวปรับตัวชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.9 และ 1.7 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 4.4 และ 1.9 ต่อปี ตามลำดับ จากขยายตัวในจังหวัดราชบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น
สะท้อนจากยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ในเดือนกันยายน ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้น สอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 อยู่ที่ 5,068 ล้านบาท จากการลงทุนในโรงงานผลิตขนมปังกรอบหรือขนมอบแห้งในจังหวัดราชบุรี และโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นสำคัญ สำหรับด้านอุปทานภาคการท่องเที่ยวปรับตัวชะลอลง สะท้อนจากรายได้จากการเยี่ยมเยือนในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.02 ต่อปี ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
กทม.และปริมณฑล เศรษฐกิจขยายตัว การขยายตัวของการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชน และ แต่ภาคการท่องเที่ยวขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 5.6 และ 0.8 ต่อปี ตามลำดับ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 9.5 และ 0.2 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวในจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรปราการ เป็นต้น อย่างไรก็ดีการจัดเก็บภาษีมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ -4.4 ต่อปี จากปัจจัยฐานคำนวณที่สูงจากปีก่อน ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี จากการขยายตัวในปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เช่นเดียวกันกับเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 อยู่ที่ 13,626 ล้านบาท จากการลงทุนในจังหวัดสมุทรสาคร นนทบุรี และสมุทรปราการ เป็นต้น สำหรับด้านอุปทาน โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่ารายได้จากการเยี่ยมเยือนของคนต่างประเทศขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี ในขณะที่รายได้จากนักท่องเที่ยวคนไทยลดลงร้อยละ -4.1 ต่อปี ส่วนด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคเหนือ เศรษฐกิจทรงตัว จากการขยายตัวการลงทุนภาคเอกชน แต่การท่องเที่ยวปรับตัวชะลอลง สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากสอดคล้องกับเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการในเดือนกันยายน ปี 2562 อยู่ที่ 2,479 ล้านบาท ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 25562 มีเงินลงทุนอยู่ที่ 10,393 ล้านบาท จากการลงทุนในโรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ และโรงงานผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครสวรรค์เป็นสำคัญ สอดคล้องกับยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อุทัยธานี และอุตรดิตถ์ เป็นต้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย
สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในเดือนกันยายน 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี จากการขยายตัวในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ และเชียงราย สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี แต่ยอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลง สำหรับด้านอุปทาน ด้านภาคการท่องเที่ยวไตรมาสที่ 3 ปี 2562 พบว่ารายได้จากการเยี่ยมเยือนขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ในขณะที่ด้านเสถียรภาพภายในยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเบื้องต้น ในเดือนกันยายน 2562 อยู่ในระดับที่เอื้อต่อการบริโภคและลงทุนที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี และอัตราการว่างงาน ในเดือนสิงหาคม 2562 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวมของภูมิภาค
ภาคใต้ เศรษฐกิจทรงตัว ตามการลดลงของการลงทุนภาคเอกชน แต่การท่องเที่ยวชาวต่างประเทศขยายตัว สะท้อนจากเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินลงทุนในโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ และเงินลงทุนในโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อน เนื่องจากมีการเร่งจดทะเบียนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ดี ยอดรถปิคอัพจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 14.9 ต่อปี ตามการขยายตัวในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร เป็นต้น สอดคล้องกับการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากยอดรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.1 และ 6.6 ต่อปี ตามลำดับ จากการขยายตัวในจังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น แต่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.7 ต่อปี สำหรับ
เศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง มีแนวโน้มจะขยายตัวได้ดีกว่าในครึ่งปีแรก
รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แจ้งเพิ่มเติมว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปี 62 น่าจะขยายตัวกลับมาเป็นบวกได้มากกว่าครึ่งปีแรก โดยไตรมาสสามตัวเลขเศรษฐกิจเติบโตได้ 2.9% เป็นแนวโน้มที่เป็นบวก หลังจากที่ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ2.8 ในไตรมาสแรกและขยายตัวร้อยละ2.3 ในไตรมาส 2
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายโดยเฉพาะจากผลกระทบเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดีหากเศรษฐกิจไตรมาสสี่ยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องจากไตรมาสสาม ก็ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2.8
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web