WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง บ่ยั่นหนี้เน่าแบงก์รัฐทำใจไร้รัฐบาลฉุด ศก.ดิ่งเหวลากยาวปีหน้า

    บ้านเมือง : คลังกุมขมับ ไร้รัฐบาลบริหารประเทศ งบประมาณปี 58 ไม่มี ส่งออก-ท่องเที่ยว-บริโภค-ลงทุนทรุด หวั่นปีหน้างเผาจริงงถึงขั้นย่อมเสี่ยงใช้ธนาคารเฉพาะกิจปล่อยสินเชื่ออันฉีดเศรษฐกิจอีก 3 แสนล้านบาท กรณีเศรษฐกิจหดตัวติด ต่อกัน 2 ไตรมาส แม้จะมีเอ็นพีแอลบานแตะ 5% ขณะที่แบงก์เอกชนหุบร่มปฏิเสธปล่อยสินเชื่อ

    นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง (ไม่นับรวมธนาคารกรุงไทย) ประกอบด้วย ธนาคารออมสินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนา คารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 นี้ นอกจากจะมีการเสนอแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีแล้ว กระทรวงการคลังยังต้องการให้ธนาคารเฉพาะกิจแต่ละแห่งกำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ภายหลังจากเอ็นพีแอลในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา พุ่งขึ้นมาแตะประมาณ 200,000 ล้านบาทหรือ 5.34% ของยอดสินเชื่อรวมธนาคารเฉพาะกิจ

   "ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ จะมีการประชุมร่วมระหว่างคลังกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐทั้ง 8 แห่ง โดยจะมีการเสนอแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีแล้ว กระทรวงการคลังยังต้องการให้ธนาคารเฉพาะกิจแต่ละแห่งกำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ด้วย" นายสมชัย กล่าว

     ทั้งนี้ ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ธนาคารเฉพาะกิจทั้ง 8 แห่ง มียอดสินเชื่อคงค้างประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท แต่มีเอ็นพีแอลอยู่ที่ 5.34% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูงมาก เมื่อเปรียบกับธนาคารพาณิชย์ที่กำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งล่าสุดในไตรมาสแรกของปีนี้ มีเอ็นพีแอลทั้งระบบประมาณ 2.3% จากยอดสินเชื่อ 10 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งหากนับรวมเอ็นพีแอลทั้งในฝั่งของธนาคารเฉพาะกิจและธนาคารพาณิชย์แล้ว ยอดเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งระบบจะพุ่งเกินกว่า ประมาณ 400,000 ล้านบาท นับเป็นจำนวนเม็ดเงินที่สูงมาก

    นายสมชัย กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะไม่มีมาตรการใหม่ในการเข้าไปสนับสนุนให้ธนาคารเฉพาะกิจเร่งปล่อยสินเชื่อในช่วงนี้ แต่จะให้นโยบายในเรื่องของการควบคุมหนี้ที่ค้างจ่ายไม่เกิน 3 เดือน ไม่ให้เป็นเอ็นพีแอล ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และขอให้ธนาคารเฉพาะกิจที่มีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีและประชาชนอยู่แล้ว ขอให้ขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ เหล่านี้ อย่างเต็มที่

   "ภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ ยังไม่น่าเป็นห่วง เพราะแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศภาครัฐและเอกชนยังมีแรงเหวี่ยง สามารถประคับประคองเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่ในปีหน้า คิดว่าเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับสิ่งที่เรียกว่า "เผาจริง" เพราะในปีนี้ การส่งออกไม่ดีอย่างที่กระทรวงพาณิชย์คาดไว้ที่ 5% การท่องเที่ยวหลังจากหมดเทศกาลสงกรานต์ก็กลับมาเงียบเหงาเหมือนเดิม การอุปโภคบริโภคและการลงทุนใน

   ประเทศก็หดตัว จากยอดขายรถยนต์และจักรยานยนต์ที่ลดลง ยิ่งไปกว่านั้น งบประมาณรายจ่ายปี 2558 ที่คาดว่า จะนำมาใช้ได้ในเดือน มี.ค.58 หรือล่าช้าไปถึง 6 เดือน หากมีการเลือกตั้งในเดือน ก.ค.57 แต่หากไม่มีการเลือกตั้งในช่วงดังกล่าว งบปี 2558 งบลงทุนใหม่ๆ ก็อาจจะไม่มี หรือมีงบลงทุนแต่ก็ใช้ได้ไม่ทันในเดือน ก.ย.58"

    นายสมชัย กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินต่อไปหน้า ด้วยการใช้ธนาคารเฉพาะกิจเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและประชาชน ภายหลังจากธนาคารพาณิชย์ที่มีการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงไปประมาณ 17,000 ล้านบาท ในช่วงสิ้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 30 ปี ขณะที่ธนาคารเฉพาะกิจในปีนี้ ตั้งเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อใหม่ประมาณ 1.29 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30% แต่จนถึงขณะนี้ อนุมัติสินเชื่อได้เพียงประมาณ 69,000 ล้านบาท (ไม่นับรวม ธ.ก.ส.และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)

    อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เข้าสู่ภาวะถดถอยโดยเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส กระทรวงการคลังจะเสนอให้ธนาคารเฉพาะกิจ (นับรวมธนาคารกรุงไทย) เพิ่มเป้าหมายสินเชื่อเป็นประมาณ 300,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เร่งเพิ่มยอดค้ำประกัน ซึ่งปัจจุบัน บสย.ค้ำประกันไปแล้วประมาณ 177,000 ล้านบาท และยังสามารถค้ำประกันได้อีกประมาณ 287,000 ล้านบาท

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!