WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง(สศค. หรือ GFS)ไตรมาสที่ 3 (เมษายน – มิถุนายน 2557) และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557

    ฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง (สศค. หรือ GFS)ไตรมาสที่ 3 (เมษายน – มิถุนายน 2557) และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557

    “การใช้จ่ายของภาคสาธารณะเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ”

    นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบ สศค. (รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และรัฐวิสาหกิจ) ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557 ว่า ภาคสาธารณะเกินดุลการคลัง 149,516 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของ GDP) เกินดุลต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,357 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการเกินดุลของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 - มิถุนายน 2557) ภาคสาธารณะมีรายได้ 5,549,149 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 38,106 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ สำหรับผลการเบิกจ่ายมีทั้งสิ้น 5,793,961 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 217,129 ล้านบาท  หรือร้อยละ 3.9 โดยเป็นผลจากทั้งรัฐบาล อปท. และรัฐวิสาหกิจมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลการคลังภาคสาธารณะขาดดุล 244,812 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP) ขาดดุลสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 179,023 ล้านบาท หรือร้อยละ 272.1 ทั้งนี้ ดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและทิศทางของนโยบาย การคลังอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายจ่ายชำระหนี้) ขาดดุล 87,878 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP)

   นายกฤษฎาฯ สรุปว่า “การขาดดุลการคลังของภาคสาธารณะในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามนโยบายการคลังของรัฐบาลที่จัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ”

   1. ฐานะการคลังภาคสาธารณะในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557 (เมษายน - มิถุนายน 2557) มีรายได้ 1,970,371 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 13,846 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 และมีผลการเบิกจ่าย ทั้งสิ้น 1,820,855 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 76,203 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 ส่งผลให้ดุลการคลัง

    ภาคสาธารณะเกินดุล 149,516 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของ GDP เกินดุลต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 62,357 ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึง ผลการดำเนินงานและทิศทางของนโยบายการคลังอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายจ่ายชำระหนี้) เกินดุล 208,393 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของ GDP (รายละเอียดตามตารางที่ 1) ดังนี้

    1.1  ฐานะการคลังรัฐบาล  รัฐบาลมีรายได้รวม 762,281 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 59,370  ล้านบาท หรือร้อยละ 7.2 ประกอบด้วยรายได้รัฐบาล 656,442 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 49,394 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 โดยมีสาเหตุหลักจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวลง ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของภาคเอกชน นอกจากนี้ อุปสงค์รถยนต์ภายในประเทศมีการชะลอตัว ทำให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับรายได้ ของกองทุนนอกงบประมาณมีจำนวน 105,839 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 9,976 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.6 เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้ภาษีลดลง 14,268 ล้านบาท จากการปรับลดอัตราเงินนำส่ง และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้รับเงินอุดหนุนลดลง 5,980 ล้านบาท ในขณะที่กองทุนประกันสังคมได้รับเงินสมทบเพื่อสังคมเพิ่มขึ้น 7,499 ล้านบาท

    ด้านรายจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 603,561 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 21,670 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 ประกอบด้วย

    - รายจ่ายรัฐบาล 536,588 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 19,205 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.5 โดยมีรายจ่ายรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ และรายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น

    - รายจ่ายจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 1,712 ล้านบาทโดยเป็นการเบิกจ่ายสำหรับโครงการปรับปรุงทางรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 977 ล้านบาท และการเบิกจ่ายในโครงการพัฒนาด้านสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน 518 ล้านบาท รายจ่าย เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ 1,318 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายของโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงชนบท จำนวน 748 ล้านบาท รายจ่ายตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (TKK) 218 ล้านบาท และรายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 1,278 ล้านบาท

    - รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ 62,447 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,641 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 เป็นผลจากกองทุนประกันสังคมและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น

    ดุลการคลังของรัฐบาลในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557 เกินดุล 158,720 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.3 ของ GDP) เกินดุลต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 37,700 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.2

    1.2  ฐานะการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อปท. จำนวน 7,853 แห่ง มีรายได้ 107,055  ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 37,276 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.8 เป็นผลจากการที่ อปท. ได้รับการจัดสรรภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บและแบ่งให้ และเงินอุดหนุนลดลง 39,745 ล้านบาท ในด้านรายจ่าย คาดว่า อปท. มีรายจ่ายรวม 129,473 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8,033 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 จากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลัง อปท. ขาดดุล 22,418 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วเกินดุล 22,891 ล้านบาท

    1.3  ฐานะการคลังรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน มีรายได้จำนวน 1,196,011 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 73,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.5 โดยมีสาเหตุหลักจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีรายได้เพิ่มขึ้นจำนวน 52,136 ล้านบาท ในด้านรายจ่าย รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีการเบิกจ่ายรวม 1,182,797 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 52,648 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 โดยมีสาเหตุสำคัญจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น 35,034 8,338 และ 7,614 ล้านบาท ตามลำดับ จากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจเกินดุลทั้งสิ้น 13,214 ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 7,438 ล้านบาท

    2. ฐานะการคลังภาคสาธารณะในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 - มิถุนายน 2557) มีรายได้ 5,549,149 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 38,106 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 เป็นผลจาก อปท. และรัฐวิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับผลการเบิกจ่ายมีทั้งสิ้น 5,793,961 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 217,129 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 เนื่องจากรัฐบาล อปท. และรัฐวิสาหกิจมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลการคลัง ภาคสาธารณะขาดดุล 244,812 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP โดยขาดดุลสูงกว่าจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 179,023 ล้านบาท หรือร้อยละ 272.1 ทั้งนี้ ดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ซึ่งเป็น ดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงาน และทิศทางของนโยบายการคลังอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายจ่ายชำระหนี้) ขาดดุล 87,878 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 ของ GDP (รายละเอียดตามตารางที่ 2) ดังนี้

    2.1  ฐานะการคลังรัฐบาล  รัฐบาลมีรายได้รวม 1,997,252 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 109,922 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 ประกอบด้วยรายได้รัฐบาล 1,655,499 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 58,477 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่เก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศชะลอตัว รวมถึงปีที่แล้วมีการนำส่งรายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz สำหรับรายได้ของกองทุนนอกงบประมาณมีจำนวน 341,753 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 51,445 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.1 เนื่องจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีรายได้จากเงินอุดหนุนลดลงเป็นสำคัญ

    ด้านรายจ่ายมีจำนวนทั้งสิ้น 2,289,639 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 34,721 ล้านบาท  หรือร้อยละ 1.5 ประกอบด้วย

   - รายจ่ายรัฐบาล 1,954,616 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 24,246 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3

   - รายจ่ายเงินกู้ ได้แก่ 1) รายจ่ายจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 5,630 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายสำหรับโครงการปรับปรุงทางรถไฟของการรถไฟ แห่งประเทศไทยจำนวน 1,988 ล้านบาท 2) รายจ่ายเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ 5,420 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายของโครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวงชนบทและกรมทางหลวงเป็นสำคัญ โดยมีการเบิกจ่ายสูงถึง 2,768 ล้านบาท และ 2,026 ล้านบาท ตามลำดับ 3) รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 1,897 ล้านบาท และ 4) รายจ่าย ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง (TKK) 1,325 ล้านบาท

   - รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ 320,751 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 22,882 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.7 เนื่องจากกองทุนประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มหนี้สินประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพเพิ่มขึ้น

   ดุลการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 ขาดดุล 292,387 ล้านบาท(คิดเป็นร้อยละ 2.4 ของ GDP) ขาดดุลสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 144,643 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.9

    2.2  ฐานะการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อปท. จำนวน 7,853 แห่ง มีรายได้ 438,810 ล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 16,758 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 มีสาเหตุสำคัญจากการได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้น 11,488 ล้านบาท ในด้านรายจ่าย คาดว่า อปท. มีรายจ่ายรวม 370,772 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 40,627 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 จากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลัง อปท. เกินดุล 68,038 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.6 ของ GDP) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 23,869 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.0

    2.3  ฐานะการคลังรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน มีรายได้จำนวน 3,564,121 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 81,678 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.3 เนื่องจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีรายได้เพิ่มขึ้น 85,524 ล้านบาท ในด้านการเบิกจ่าย มีจำนวนทั้งสิ้น 3,584,584 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 92,189 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 ทั้งนี้ โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มีรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้น 80,719 ล้านบาท ซึ่งจากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจขาดดุลทั้งสิ้น 20,463 ล้านบาท ขาดดุลสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10,511 ล้านบาท

                        กระทรวงการคลัง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!