WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CGDญาณ แสงศรจนทรกรมบัญชีกลาง ยืนยันการคำนวณเงินบำนาญให้กับผู้รับบำนาญใช้สูตรเดิม

        นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลังภาครัฐ ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า เนื่องจากมีข่าวเผยแพร่ตามสื่อออนไลน์ ว่าข้าราชการเกษียณ ยื่นขอบำเหน็จบำนาญออนไลน์ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้รับร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญใหม่ เป็นตัวหารด้วย 30 หากรับราชการมากกว่า 30 ปี ก็ต้องคูณด้วย 30 ปี เท่านั้น และหากร่าง พรบ. ดังกล่าวผ่านเป็นกฎหมาย ก็จะมีผลดีกับข้าราชการที่มีชีวิตอยู่ รวมทั้งข้าราชการบำนาญ จะมีเงินเดือนขึ้น 5% ทุกปี และได้สรุปการแก้ไข โดยมีเนื้อหา ดังนี้

               1.การคำนวณอัตราเงินบำนาญ โดยปรับเป็นใช้อัตราเงินเดือนเดือนสุดท้าย หารด้วย 30 และคูณด้วย

               อายุราชการ (ไม่เกิน 30 ปี)

               2.เพิ่มค่าครองชีพให้กับข้าราชการและผู้รับบำนาญทุกปี ปีล่ะไม่เกิน 5%

               3.มีผลบังคับใช้กับข้าราชการในปัจจุบันและข้าราชการบำนาญที่มีชีวิตอยู่

               4.ร่าง พ.ร.บ.นี้ ขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาและเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างส่งเรื่องให้ผู้เสนอทำตามรัฐธรรมนูญ และต้องมีผู้เห็นด้วย 10,000 คน

     โฆษกกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางไม่มีการเสนอเรื่องการคำนวณบำนาญดังกล่าวแต่อย่างใด และยังคงคำนวณบำนาญตามสูตรเดิม ซึ่งคำนวณตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ หาร 50 (ไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย) และตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 (สมาชิก กบข.) = เงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ หาร 50 (ไม่เกิน70%ของเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย) ดังนั้น ข้อความที่มีการเผยแพร่ข้างต้นไม่เป็นความจริง

    สำหรับเงินเพิ่มจากอัตราบำนาญคือเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) รัฐบาลมิได้มีนโยบายให้ดำเนินการใดๆ เช่นเดียวกัน

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!