- Details
- Category: คลัง
- Published: Sunday, 16 September 2018 20:50
- Hits: 4030
สบน.เผยปีงบ 62 จะออกพันธบัตรรัฐบาล 6 แสนลบ.- Bond Switching 1 แสนลบ.
สบน. เผยแผนระดมทุนปีงบ 62 คาดความต้องการระดมทุนวงเงินรวม 1.16 ล้านลบ. ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล 6 แสนลบ.- Bond Switching อีก 1 แสนลบ.
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แถลงผลการประชุม Annual PDMO Market Dialogue ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ต.ค.61-ก.ย.62) ผ่านเอกสารเผยแพร่ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะตลาดตราสารหนี้ ความต้องการลงทุนของนักลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในอนาคต เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนการระดมทุนของรัฐบาลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะตลาด โดยมีผู้ร่วมตลาดให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD) และนักลงทุนสถาบันกว่า 100 ราย โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
แผนการระดมทุนและแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
1. ประมาณการความต้องการระดมทุนในประเทศของรัฐบาลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 วงเงินรวม 1,163,668 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.1. การกู้เงินใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 592,353 ล้านบาท
(ก) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 450,000 ล้านบาท
(ข) การกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ 92,353 ล้านบาท
(ค) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 50,000 ล้านบาท
1.2 การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม (Rollover) 571,315 ล้านบาท
(ก) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ/ 346,436 ล้านบาท เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และการบริหารหนี้ หนี้เงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ และหนี้เงินกู้ พ.ร.ก. ไทยเข้มแข็งฯ
(ข) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 167,532 ล้านบาท
(ค) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ 57,347 ล้านบาท
2. แผนการระดมทุนของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
2.1 การออกพันธบัตร Benchmark
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สบน. วางแผนที่จะระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรุ่นเดิมในตลาด (Re-open) และมีรุ่นใหม่ (New-Issue) 1 รุ่น ได้แก่ พันธบัตรอายุ 20 ปี (LB386A) โดยมีวงเงินรวมของพันธบัตร (Bond Supply) จำนวน 600,000 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน
สบน. ได้มุ่งเน้นการออก Benchmark Bond ให้ครบทุกช่วงอายุอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมนักลงทุนทุกกลุ่ม สร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate) ให้กับตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และช่วยส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรอง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ สบน. ได้กำหนดให้พันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปี เป็นรุ่น Exclusivity และมี Greenshoe Option โดยให้สิทธิเฉพาะแก่ MOF Outright PDs เท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการประมูลพันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปี ได้ รวมทั้งให้สิทธิในการซื้อพันธบัตร Benchmark ดังกล่าวเพิ่มเติมในอัตราถัวเฉลี่ยรับ (Average Accepted Yield: AAY) เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 20 ของพันธบัตรที่ได้รับจัดสรร โดยให้ใช้สิทธิดังกล่าวระหว่างเวลา 11.00 – 11.30 น. ของวันประมูล
ทั้งนี้ สบน. สามารถพิจารณาจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติม (Overallotment) ให้แก่ผู้เสนอประมูลตามอัตราร้อยละที่ผู้ประมูลเสนอ โดยจะสามารถจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติมในสัดส่วนที่กำหนด หากสภาวะตลาดเอื้ออำนวย
2.2 การออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond)
สบน. มีแผนที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งลงทุนที่มีคุณภาพ และส่งเสริมภาคการออมให้กับประชาชน อีกทั้ง เพื่อเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการระดมทุน เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 2 ครั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยจะประกาศระยะเวลา เงื่อนไข อายุ และอัตราดอกเบี้ยให้ทราบต่อไป
2.3 การออกตราสารหนี้ระยะสั้น
สำหรับ แผนการระดมทุนผ่านตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) และสัญญาเงินกู้ (Term Loan) เป็นต้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการระดมทุน บริหารต้นทุนให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน ลดความเสี่ยงในการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มขีดความสามารถในการกู้เงินในสภาวะที่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความผันผวนได้ โดย สบน. จะติดตามปัจจัยต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณากู้เงินผ่านตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลสูงสุด
3. แผนการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
การดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในวงเงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาท โดยจะดำเนินการทั้งรูปแบบผ่านตัวกลาง (Syndication) ซึ่ง สบน. จะมีการประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้จัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Arranger) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 และบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Switching: E-Switching) ที่ สบน. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ร่วมกันพัฒนาเพื่อให้เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน และเพิ่มจำนวนผู้เล่นในการเข้าทำธุรกรรม โดย สบน. จะประกาศรูปแบบ วงเงินรุ่นพันธบัตรที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยน และช่วงเวลาให้ทราบต่อไป
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กางแผน 62 กู้ 1.16 ล้านล. เอกชนเร่งออกบอนด์ รับมือดอกเบี้ยขาขึ้น
ไทยโพสต์ : พระราม 6 * สบน.เปิดแผนตั้งแท่นกู้เงินปีงบประมาณ 2562 ที่ 1.16 ล้านล้านบาท ก.ล.ต.ชี้ภาคเอกชนเร่งออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น เพื่อบริหารต้นทุนทางการเงิน รองรับดอกเบี้ยขาขึ้น
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน.ได้เปิดแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะตลาดตราสารหนี้ ความต้องการลงทุนของนักลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในอนาคต โดยมีผู้ร่วมตลาดให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และนักลงทุนสถาบันกว่า 100 ราย
ทั้งนี้ สบน.ได้ชี้แจงแผนการระดมทุนและแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 ว่ามีความต้องการระดมทุนในประเทศของรัฐบาล วงเงิน 1.16 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือการกู้เงินใหม่ 5.92 แสนล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 4.5 แสนล้านบาท การกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ 9.23 หมื่นล้านบาท
สำหรับ ในส่วนที่สอง เป็น การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม 5.71 แสนล้านบาท ประกอบการด้วยการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ 3.46 แสนล้านบาท เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และการบริหารหนี้ หนี้เงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ และหนี้เงินกู้ พ.ร.ก.ไทยเข้มแข็งฯ
นอกจากนี้ เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) 1.67 แสนล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ 5.73 หมื่นล้านบาท
"แผนการระดมทุนของรัฐ บาลมีทั้งการออกพันธบัตรอายุต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง มีวงเงินรวมของพันธบัตร 6 แสนล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน" นายภูมิศักดิ์กล่าว
อย่างไรก็ดี สบน.ยังมีแผน การดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธ บัตรในวงเงินไม่เกิน 1 แสนล้านบาท โดยจะดำเนินการทั้งรูปแบบผ่านตัวกลาง ซึ่ง สบน.จะมีการประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้จัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตรในช่วงปลายปี พ.ศ.2561
ด้าน นายรพี สุจริตกุล เลขา ธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มพบว่าภาคเอกชนเร่งออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น เพื่อบริหารต้นทุนทางการเงิน รองรับแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการออกหุ้นกู้ระยะยาวมากขึ้น จากปกติมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ปี ส่วนการออกตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ก็พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากตัวเลขไตรมาส 2 ปี 61 มียอดคงค้างอยู่ที่ 2.81 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 70.1% จากปี 59 อยู่ที่ 2.47 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 65.3%
สำหรับ การออกประกาศของ ก.ล.ต.ที่ปรับเกณฑ์การกำกับดูแลการออกและเสนอขายตราสารหนี้ที่เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่ายอดการออกตราสารหนี้ที่ไม่มีการจัดอันดับ (เรตติ้ง) สิ้นไตรมาส 2 ปี 61 ลดลง 30% จากช่วงเดียว กันของปี 60 โดยเฉพาะการออกตั๋วแลกเงิน (บีอี) จากปี 59 ที่มีสัด ส่วน 10.4% ของตราสารหนี้ทั้งระบบ หรือ 392,958 ล้านบาท ลดลงเหลือ 6.4% หรือ 266,501 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 61 ขณะเดียวกัน ยังพบว่ากลุ่มนักลงทุนยังมีความระมัดระวังมากขึ้น.
สบน.วางแผนระดมทุนปี 62 ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล 6 แสนลบ.-Bond Switching 1 แสนลบ.-พันธบัตรออมทรัพย์
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แถลงผลการประชุม Annual PDMO Market Dialogue ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เมื่อวันที่ 12 ก.ย.61 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะตลาดตราสารหนี้ ความต้องการลงทุนของนักลงทุน และแนวทางการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ไทยในอนาคต เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนการระดมทุนของรัฐบาลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวะตลาด
โดยมีผู้ร่วมตลาดให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (MOF Outright PD) และนักลงทุนสถาบันกว่า 100 ราย
สำหรับแผนการระดมทุนและแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
1. ประมาณการความต้องการระดมทุนในประเทศของรัฐบาลสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 วงเงินรวม 1,163,668 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.1. การกู้เงินใหม่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 592,353 ล้านบาท
(ก) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 450,000 ล้านบาท
(ข) การกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ 92,353 ล้านบาท
(ค) การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 50,000 ล้านบาท
1.2 การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม (Rollover) 571,315 ล้านบาท
(ก) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ/ 346,436 ล้านบาท
เมื่อรายจ่ายสูงกว่ารายได้ และการบริหารหนี้ หนี้เงินกู้บาททดแทน
การกู้เงินตราต่างประเทศ และหนี้เงินกู้ พ.ร.ก. ไทยเข้มแข็งฯ
(ข) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 167,532 ล้านบาท
(ค) การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ 57,347 ล้านบาท
2.1 การออกพันธบัตร Benchmark
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สบน. วางแผนที่จะระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) เป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรรุ่นเดิมในตลาด (Re-open) และมีรุ่นใหม่ (New-Issue) 1 รุ่น ได้แก่ พันธบัตรอายุ 20 ปี (LB386A) โดยมีวงเงินรวมของพันธบัตร (Bond Supply) จำนวน 600,000 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน
สบน. ได้มุ่งเน้นการออก Benchmark Bond ให้ครบทุกช่วงอายุอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุม นักลงทุนทุกกลุ่ม สร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Reference Rate) ให้กับตลาดตราสารหนี้ในประเทศ และช่วยส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรอง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ สบน. ได้กำหนดให้พันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปี เป็นรุ่น Exclusivity และมี Greenshoe Option โดยให้สิทธิเฉพาะแก่ MOF Outright PDs เท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการประมูลพันธบัตร Benchmark รุ่น 5 ปี ได้ รวมทั้งให้สิทธิในการซื้อพันธบัตร Benchmark ดังกล่าวเพิ่มเติมในอัตราถัวเฉลี่ยรับ (Average Accepted Yield: AAY) เป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 20 ของพันธบัตรที่ได้รับจัดสรร โดยให้ใช้สิทธิดังกล่าวระหว่างเวลา 11.00 – 11.30 น. ของวันประมูล
ทั้งนี้ สบน. สามารถพิจารณาจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติม (Overallotment) ให้แก่ผู้เสนอประมูลตามอัตราร้อยละที่ผู้ประมูลเสนอ โดยจะสามารถจัดสรรพันธบัตรเพิ่มเติมในสัดส่วนที่กำหนด หากสภาวะตลาดเอื้ออำนวย
2.2 การออกพันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond)
สบน. มีแผนที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งลงทุนที่มีคุณภาพ และส่งเสริมภาคการออมให้กับประชาชน อีกทั้ง เพื่อเป็นการผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการระดมทุน เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์จำนวน 2 ครั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยจะประกาศระยะเวลา เงื่อนไข อายุ และอัตราดอกเบี้ยให้ทราบต่อไป
2.3 การออกตราสารหนี้ระยะสั้น
สำหรับแผนการระดมทุนผ่านตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bill) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) และสัญญาเงินกู้ (Term Loan) เป็นต้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการระดมทุน บริหารต้นทุนให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงิน ลดความเสี่ยงในการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และเพิ่มขีดความสามารถในการกู้เงินในสภาวะที่ตลาดตราสารหนี้ที่มีความผันผวนได้ โดย สบน. จะติดตามปัจจัยต่างๆ อย่างใกล้ชิดเพื่อใช้ประกอบการพิจารณากู้เงินผ่านตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลสูงสุด
3. แผนการดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching)
การดำเนินธุรกรรม Bond Switching ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในวงเงินไม่เกิน 100,000 ล้านบาท โดยจะดำเนินการทั้งรูปแบบผ่านตัวกลาง (Syndication) ซึ่ง สบน. จะมีการประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกผู้จัดการการแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Arranger) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 และบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Switching:E-Switching) ที่ สบน. และ ธปท.ได้ร่วมกันพัฒนาเพื่อให้เป็นอีกช่องทางที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน และเพิ่มจำนวนผู้เล่นในการเข้าทำธุรกรรม โดย สบน. จะประกาศรูปแบบวงเงินรุ่นพันธบัตรที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยน และช่วงเวลาให้ทราบต่อไป
อินโฟเควสท์
คลัง เผยหนี้สาธารณะคงค้างสิ้น ก.ค. 61 อยู่ที่ 40.88% ของ GDP
นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีจำนวน 6,557,290.60 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40.88% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 5,251,290.17 ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจ 922,047.84 ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 375,133.92 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 8,818.67 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้รัฐบาล จำนวน 5,251,290.17 ล้านบาท มีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหนี้รัฐบาล ดังนี้
- การกู้เงินภายใต้แผนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 เพิ่มขึ้น 23,200 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
- การชำระคืนหนี้เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ จำนวน 10,383 ล้านบาท
- การชำระคืนหนี้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จำนวน 1,381 ล้านบาท
- การกู้เพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้น 2,205.79 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,205.10 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายสีเขียว และสายสีน้ำเงิน (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 945.12 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิต โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ โครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงนครปฐม – ชุมพร และโครงการก่อสร้างทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ และ (3) การเคหะแห่งชาติเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 55.57 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการอาคารพักอาศัยแปลง G ตามแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง
ทั้งนี้ เมื่อโครงการต่างๆ แล้วเสร็จคาดการณ์ว่าจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ
โครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่อยู่ระหว่างการเบิกจ่าย เมื่อแล้วเสร็จจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 15.72 % ของมูลค่าการลงทุนของโครงการ จากการเพิ่มประสิทธิภาพ ของการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดอุบุติเหตุบนท้องถนน และเป็นทางเลือกใหม่ในการเดินทางของประชาชน
โครงการลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เมื่อแล้วเสร็จจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 15.13 % ของมูลค่าการลงทุนของโครงการ และประโยชน์ที่สังคมได้รับ ได้แก่ การประหยัดค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ประหยัดเวลาของผู้ใช้ยานพาหนะ ลดความเสียหายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
- หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,233.83 ล้านบาท จากการเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลต่างๆ การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 922,047.84 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 28.15 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,131.22 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 375,133.92 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,272.85 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 8,818.67 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 19.34 ล้านบาท เนื่องจากหนี้ที่ลดลงของสำนักงานธนานุเคราะห์
สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 6,557,290.60 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,300,573.04 ล้านบาท หรือ 96.09% และหนี้ต่างประเทศ 256,717.56 ล้านบาท (ประมาณ 7,719.46 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 3.91% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะ คงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,672,526.27 ล้านบาท หรือ 86.51% และหนี้ระยะสั้น 884,764.33 ล้านบาท หรือ 13.49% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
อินโฟเควสท์