- Details
- Category: คลัง
- Published: Sunday, 26 August 2018 17:26
- Hits: 1816
กรมบัญชีกลาง แจงเหตุไม่มีผลขาดทุนจำนำข้าว 5.36 แสนลบ.ในรายงานการเงินแผ่นดิน เพราะเป็นการจัดทำบัญชีแบบผสม
กรมบัญชีกลางชี้แจงข้อสังเกตจากรายงานการเงินแผ่นดินเรื่องผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ชี้เหตุไม่มีผลขาดทุน 5.36 แสนลบ.ในปี 57 เพราะเป็นหลักการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินแผ่นดินตามเกณฑ์คงค้างแบบผสม
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงกรณีที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ มีข้อสังเกตจากรายงานการเงินแผ่นดินเรื่องผลขาดทุนจากโครงการ รับจำนำข้าว ในกรณี สนช.ได้มีวาระประชุมรับทราบรายงานการเงินแผ่นดินสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2558 และ 2557 เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยมีการเปิดเผยเอกสารประกอบการพิจารณาไว้ด้วย ซึ่งรายงานการเงินแผ่นดินดังกล่าว ตรวจสอบรับรองโดย สตง.แล้ว และ ครม.มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ตามที่ รมว.คลังเสนอ ซึ่งในรายงานแสดงไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ณ วันที่ 30 ก.ย. 2557 จำนวน 536,908.30 ล้านบาทรวมอยู่ด้วยแต่อย่างใด ทั้งนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง คดีแดงที่ อม. 211/2560 เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2560 หรือคดีโครงการรับจำนำข้าว ปรากฏว่าได้ระบุถึงผลขาดทุนจำนวน 536,908.30 ล้านบาท แต่ตามข้อมูลที่ ครม.เสนอ สนช. มีเพียงตัวเลขค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ 301,100.79 ล้านบาท โดยไม่มีเรื่องผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวปรากฏอยู่ในเอกสารแต่อย่างใดเลย จึงมีข้อสังเกตว่าผลขาดทุนจำนวน 536,908.30 ล้านบาทที่ถูกนำไปกล่าวอ้างในคดีนั้นไม่มีอยู่จริงใช่หรือไม่
ทั้งนี้กรมบัญชีกลางขอชี้แจงกรณีที่มีการกล่าวอ้างดังนี้
1. หลักการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินแผ่นดินในปัจจุบันเป็นหลักการที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบการปรับเปลี่ยนหลักการจัดทำรายงานการเงินของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ให้จัดทำตามเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) โดยมีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
1.1 กรมบัญชีกลางทำบัญชีชุดรัฐบาลโดยบันทึกข้อมูลการรับจ่ายเงินคงคลังของรัฐบาลเป็นหลักด้วยเกณฑ์เงินสด (Cash Basis) ซึ่งประกอบด้วย รายการเงินรายได้แผ่นดิน เงินงบประมาณรายจ่าย และเงินนอกงบประมาณที่ส่วนราชการฝากไว้กับกระทรวงการคลังและจะปรับปรุงบัญชีค้างรับค้างจ่ายตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
1.2 กรมบัญชีกลางรวบรวมข้อมูลที่มีสาระสำคัญเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินของรัฐบาลจากส่วนราชการที่ทำหน้าที่บริหารจัดการแทนรัฐบาล ได้แก่ ข้อมูลที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ ข้อมูลเงินลงทุนจากสำนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้อมูลหนี้สาธารณะจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามลำดับ มาปรับปรุงบัญชีชุดรัฐบาล
1.3 กรมบัญชีกลางนำข้อมูลบัญชีตามข้อ 1.1 และ 1.2 แสดงในรายงานการเงินแผ่นดินส่งให้ สตง.ตรวจสอบและรับรอง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เป็นต้นมา
2. โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ใช้เงินของ ธกส.ดำเนินการไปก่อนแล้วรัฐบาลจึงตั้งงบประมาณชดใช้คืนเป็นรายปีจนกว่าจะครบวงเงิน ดังนั้น ธกส. จึงเป็นผู้ทำบัญชีโครงการนี้เพื่อแสดงต่อรัฐบาลประกอบการขอตั้งงบประมาณ ธกส.จึงไม่ต้องส่งข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่ต้องนำมาทำบัญชีในชุดรัฐบาล อย่างไรก็ดี กรมบัญชีกลางจะรับรู้รายการนี้และลงบัญชีเฉพาะการจ่ายเงินงบประมาณใช้คืนให้ ธกส.โดยลงบัญชีเป็นรายจ่ายตามงบประมาณตามปกติในปีที่ ธกส. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
3. จากหลักการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินแผ่นดินตามเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) ดังกล่าว จึงไม่มีหรือไม่สามารถมีรายการผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง จำนวน 536,908.30 ล้านบาท ที่ดำเนินการโดย ธกส.เป็นรายการบัญชีค่าใช้จ่ายแยกต่างหากในรายงานการเงินแผ่นดินที่กรมบัญชีกลางจัดทำสำหรับปีสิ้นสุด 30 กันยายน 2558และ 2557 ได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ได้เสนอ ครม.รับทราบ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
กรมบัญชีกลางชี้แจงข้อสังเกตจากรายงานการเงินแผ่นดินเรื่องผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว
น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตามที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ระบุมีข้อสังเกตจากรายงานการเงินแผ่นดินเรื่องผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ในกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีวาระประชุมรับทราบรายงานการเงินแผ่นดินสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2558 และ 2557 เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีการเปิดเผยเอกสารประกอบการพิจารณาไว้ด้วย ซึ่งรายงานการเงินแผ่นดินดังกล่าวตรวจสอบรับรองโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้ว และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบเมื่อวันที่ 22 พ.ค.ตามที่ รมว.คลังเสนอ ซึ่งในรายงานแสดงไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าว ณ วันที่ 30 ก.ย. 2557 จำนวน 536,908.30 ล้านบาทรวมอยู่ด้วยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง คดีแดงที่ อม. 211/2560 เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2560 หรือคดีโครงการรับจำนำข้าว ปรากฏว่าได้ระบุถึงผลขาดทุนจำนวน 536,908.30 ล้านบาท แต่ตามข้อมูลที่ ครม.เสนอ สนช. มีเพียงตัวเลขค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ 301,100.79 ล้านบาท โดยไม่มีเรื่องผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวปรากฏอยู่ในเอกสารแต่อย่างใดเลย จึงมีข้อสังเกตว่าผลขาดทุนจำนวน 536,908.30 ล้านบาทที่ถูกนำไปกล่าวอ้างในคดีนั้นไม่มีอยู่จริงใช่หรือไม่
อธิบดีกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงดังนี้ ข้อ 1. หลักการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินแผ่นดินในปัจจุบันเป็นหลักการที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบการปรับเปลี่ยนหลักการจัดทำรายงานการเงินของแผ่นดิน เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ให้จัดทำตามเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) โดยมีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
1.1 กรมบัญชีกลางทำบัญชีชุดรัฐบาลโดยบันทึกข้อมูลการรับจ่ายเงินคงคลังของรัฐบาลเป็นหลักด้วยเกณฑ์เงินสด (Cash Basis) ซึ่งประกอบด้วย รายการเงินรายได้แผ่นดิน เงินงบประมาณรายจ่าย และเงินนอกงบประมาณที่ส่วนราชการฝากไว้กับกระทรวงการคลังและจะปรับปรุงบัญชีค้างรับค้างจ่ายตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) เมื่อสิ้นปีงบประมาณ
1.2 กรมบัญชีกลางรวบรวมข้อมูลที่มีสาระสำคัญเฉพาะสินทรัพย์และหนี้สินของรัฐบาลจากส่วนราชการที่ทำหน้าที่บริหารจัดการแทนรัฐบาล ได้แก่ ข้อมูลที่ดินราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ข้อมูลเงินลงทุนจากสำนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้อมูลหนี้สาธารณะจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ตามลำดับ มาปรับปรุงบัญชีชุดรัฐบาล
1.3 กรมบัญชีกลางนำข้อมูลบัญชีตามข้อ 1.1 และ 1.2 แสดงในรายงานการเงินแผ่นดินส่งให้ สตง.ตรวจสอบและรับรอง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 เป็นต้นมา
ข้อ 2. โครงการรับจำนำข้าว เป็นโครงการที่ใช้เงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการไปก่อนแล้วรัฐบาลจึงตั้งงบประมาณชดใช้คืนเป็นรายปีจนกว่าจะครบวงเงิน ดังนั้น ธ.ก.ส. จึงเป็นผู้ทำบัญชีโครงการนี้เพื่อแสดงต่อรัฐบาลประกอบการขอตั้งงบประมาณ ธ.ก.ส.จึงไม่ต้องส่งข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง เนื่องจากเป็นรายการที่ไม่ต้องนำมาทำบัญชีในชุดรัฐบาล อย่างไรก็ดี กรมบัญชีกลางจะรับรู้รายการนี้และลงบัญชีเฉพาะการจ่ายเงินงบประมาณใช้คืนให้ ธ.ก.ส.โดยลงบัญชีเป็นรายจ่ายตามงบประมาณตามปกติในปีที่ ธ.ก.ส. ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
3. จากหลักการจัดทำบัญชีและรายงานการเงินแผ่นดินตามเกณฑ์คงค้างแบบผสม (Modified Accrual Basis) ดังกล่าว จึงไม่มีหรือไม่สามารถมีรายการผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง จำนวน 536,908.30 ล้านบาท ที่ดำเนินการโดย ธ.ก.ส.เป็นรายการบัญชีค่าใช้จ่ายแยกต่างหากในรายงานการเงินแผ่นดินที่กรมบัญชีกลางจัดทำสำหรับปีสิ้นสุด 30 กันยายน 2558และ 2557 ได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่ได้เสนอ ครม.รับทราบ
อินโฟเควสท์
คลังกุมขมับเบิกจ่ายวืดเป้า
ไทยโพสต์ : พระราม 6 * ‘บัญชีกลาง’เปิดผลงานเบิกจ่ายงบประมาณ 10 ปี งบประมาณ 2561 อยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท วืดเป้าหมาย 1.37% พร้อม ตัวเลขส่วนราชการลุยก่อหนี้รายจ่ายลงทุนแล้ว 4.31 แสนล้านบาท อานิสงส์มาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายออกฤทธิ์
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 10 เดือน ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 (ต.ค.60-ก.ค.61) เบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมได้ 2.3 ล้านล้านบาท หรือ 79.60% ต่ำกว่าเป้าหมาย 1.37% แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ เบิกจ่ายได้จำนวน 2.01 ล้านล้านบาท หรือ 89.85% สูงกว่าเป้าหมาย 6.23% ขณะที่รายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายได้จำนวน 2.95 แสนล้านบาท หรือ 51.13% ต่ำกว่าเป้าหมาย 21.05% ส่วนผลการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายแล้วจำนวน 1.8 แสนล้านบาท หรือ 55.80% ของวง เงินงบประมาณ 3.23 แสนล้านบาท
โดยจากมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องก่อหนี้ให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ซึ่งหน่วยงานภาครัฐมีการก่อหนี้ได้เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมาจำนวน 1.35 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 2.36% โดยก่อหนี้แล้วจำนวน 4.31 แสนล้านบาท หรือ 74.74% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
"ขณะนี้ได้ปประกาศ พ.ร.บ. โอนงบประมาณ พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษาแล้วจำนวน 1.27 หมื่นล้านบาท สำหรับหน่วยงานที่ก่อหนี้ไม่ทันในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยตั้งเป็นงบกลาง 1 หมื่นล้านบาท และกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐ กิจฐานราก 2.73 พันล้านบาท" นางสาวสุทธิรัตน์กล่าว.
บัญชีกลางสั่งเร่ง ซักซ้อมหน่วยงาน ก่อหนี้-เบิกงบปี 62
ไทยโพสต์ * 'บัญชีกลาง'แจงคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ ซักซ้อมความเข้าใจให้กับหน่วยงานของรัฐเตรียมความพร้อมในการก่อหนี้ผูกพันและเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณ ปีงบ 62
นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิด เผยว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2562 อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นไปตามนโย บายเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของรัฐบาล คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุ จึงได้ซ้อมความเข้าใจและกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดจัดการหาพัสดุก่อนพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับ
ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐสามารถเริ่มกระบวนการจัดหาพัสดุตามระเบียบกระทรวงการ คลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ได้ตั้งแต่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณใน การจัดซื้อจัดจ้าง โดยหากเป็น วงเงินงบประมาณรายจ่ายประ จำปีเริ่มเมื่ออนุกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบ ประมาณรายจ่ายประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ.2562 ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 รายหน่วยงานของรัฐเป็นที่สิ้นสุดแล้วก่อนเสนอคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ หากเป็นกรณีเงินงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น หน่วยงานของรัฐได้รับการอนุมัติแล้ว หากเป็นกรณีเงินงบประมาณเบิกแทนกัน
หน่วยงานของรัฐเจ้าของ งบประมาณได้รับอนุมัติเงินประ จำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว และหน่วยงานผู้เบิกแทนได้ยื่นแบบใบแจ้งการเบิกเงินงบ ประมาณแทนกันต่อกรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด แล้วแต่กรณี และตรวจสอบราย การว่าถูกต้องและมีเงินประจำงวดเพียงพอแล้ว หากเป็นกรณีเงินงบประมาณที่ต้องดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย หน่วยงานของรัฐได้รับอนุมัติให้โอน หรือเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย หรือสำนักงบประมาณได้รับอนุมัติแล้วแต่กรณี
โดยหลังจากหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวง เงินงบประมาณแล้ว ให้จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีทั้งปี และประกาศเผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงานของรัฐ และปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น ทั้งนี้ ให้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้จนถึงขั้นตอนได้ตัวผู้ขายหรือผู้รับจ้างไว้ก่อน การลงนามจะทำได้ก็ต่อ เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับ และได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประ มาณแล้วเท่านั้น