WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศ รมว.คลัง คาดอีก 4 ปีข้างหน้าหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงสุดที่ 48% จากปัจจุบัน 40.4% หลังลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

        นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวปาฐถาพิเศษ 'แผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไทยครึ่งปีหลัง'โดยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 61-62 รัฐบาลจะยังใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท/ปี ซึ่งรัฐเน้นการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังจะดูแลภาระหนี้ด้วย

       โดยปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 40.4% แต่ในอีก 4 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะต่อ GDP จะขึ้นไปสูงสุดที่ 48% จากการที่รัฐทยอยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังที่ไม่เกิน 60% ต่อ GDP

     รมว.คลัง ยังกล่าวถึงการจัดทำงบประมาณสมดุล โดยคาดว่าจะใช้เวลา 11 ปีข้างหน้าบนสมมติฐานที่ GDP ของไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% รวมทั้งการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการขยายฐานภาษี เพื่อดึงผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้น

      นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า จากการพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนได้จึงเป็นที่มา 'ไทยแลนด์ 4.0'โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะทำให้ GDP ของประเทศอาจเติบโตมากกว่าระดับ 4-5% ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเน้นการวางโครงสร้างดิจิทัลทางการเงิน จึงเกิด PromtPay และต่อมาก็มีระบบ QR Code รวมทั้งการลงทุนในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะเป็นส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่อได้อีก 10 ปีข้างหน้า เพราะประเทศไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

      โดยในระยะต่อไป กระทรวงการคลังจะดำเนินการเรื่อง Digital ID ที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปแสดงตนด้วยตัวเอง โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างกฎหมาย และกำลังจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติดำเนินการต่อไป

      นอกจากนี้ รัฐบาลมีโจทย์ที่จะให้ไทยเป็นประเทศที่พ้นความยากจน หรือเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง ซึ่งมีการทำแผนยุทธศาตร์ชาติ โดยมีเป้าหมายว่าประเทศไทยจะพ้นความยากจน หากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 4% คาดจะใช้เวลา 18 ปี แต่หากเศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% จะใช้เวลา 11 ปีที่จะพ้นความยากจน

        "เราต้องผลักดันให้เศรษฐกิจโตสูงสุด เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นมาสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง เราจะพ้นจากความยากจนได้เราต้องปกิรูปอย่างจริงจัง" นายอภิศักดิ์กล่าว

      พร้อมกันนี้ ยังแสดงความเห็นต่อประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนว่า ธนาคารโลก (World Bank) คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกราว 0.5% จากที่คาดการณ์ว่าปีนี้จะโต 3.5% แต่คาดว่าในส่วนของประเทศไทยจะได้รับผละทบไม่มาก

               อินโฟเควสท์

สบน. จัดสัมมนาเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กฎหมายใหม่ ให้แก่หน่วยงานกลางและหน่วยงานผู้ปฏิบัติกว่า 200 แห่ง

       สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำหนดจัดโครงการสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและถือปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐและร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างถูกต้องเคร่งครัด โดยมีนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานสัมมนา

       โครงการสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 โดยกฎหมายดังกล่าวมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหนี้สาธารณะ อีกทั้ง สบน. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติในการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารจัดการความเสี่ยง การติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ และการรายงานข้อมูลหนี้ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานการบริหารหนี้สาธารณะของหน่วยงานภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด

       ในการสัมมนาดังกล่าวจะมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะร่วมบรรยาย และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกลาง อาทิ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานผู้ปฏิบัติ อาทิ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน กองทุนที่เป็นนิติบุคคล มหาวิทยาลัยในกำกับดูแลของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐกว่า 200 แห่ง รวมจำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วม นับเป็นการบูรณาการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่งมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ กรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะ ตลอดจนการรายงานหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ ความเสี่ยงทางการคลัง และแนวทางในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงกัน

                              สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5505,5522 ที่มา: กระทรวงการคลัง

สบน.เตรียมจัดสัมมนาสร้างความเข้าใจการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กฎหมายใหม่ 24 ก.ค.นี้

       สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กำหนดจัดโครงการสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะภายใต้กฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจและถือปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ และร่างกฎหมายลำดับรองภายใต้กฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างถูกต้องเคร่งครัด โดยมีนายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานสัมมนา

               โครงการสัมมนาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการซักซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 โดยกฎหมายดังกล่าวมีหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหนี้สาธารณะ อีกทั้ง สบน. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรอง เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติในการจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารจัดการความเสี่ยง การติดตามประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ และการรายงานข้อมูลหนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานการบริหารหนี้สาธารณะของหน่วยงานภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด

               ในการสัมมนาดังกล่าว จะมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะร่วมบรรยาย และมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกลาง อาทิ กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานผู้ปฏิบัติ อาทิ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน กองทุนที่เป็นนิติบุคคล มหาวิทยาลัยในกำกับดูแลของรัฐ และหน่วยงานอื่นของรัฐกว่า 200 แห่ง รวมจำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วม นับเป็นการบูรณาการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกแห่งมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังของรัฐ กรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะ ตลอดจนการรายงานหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ ความเสี่ยงทางการคลัง และแนวทางในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงกัน

 

รมว.คลัง คาดอีก 4 ปีข้างหน้าหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงสุดที่ 48% จากปัจจุบัน 40.4% หลังลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวปาฐถาพิเศษ 'แผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไทยครึ่งปีหลัง'โดยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 61-62 รัฐบาลจะยังใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณราว 4.5 แสนล้านบาท/ปี ซึ่งรัฐเน้นการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังจะดูแลภาระหนี้ด้วย

      โดยปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 40.4% แต่ในอีก 4 ปีข้างหน้า หนี้สาธารณะต่อ GDP จะขึ้นไปสูงสุดที่ 48% จากการที่รัฐทยอยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังที่ไม่เกิน 60% ต่อ GDP

      รมว.คลัง ยังกล่าวถึงการจัดทำงบประมาณสมดุล โดยคาดว่าจะใช้เวลา 11 ปีข้างหน้าบนสมมติฐานที่ GDP ของไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 4% รวมทั้งการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังได้มีการขยายฐานภาษี เพื่อดึงผู้ที่อยู่นอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบภาษีเพิ่มขึ้น

     อินโฟเควสท์

 

สบน.ไม่กังวลบริหารหนี้สาธารณะในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น-ค่าเงินผันผวน เหตุปิดความเสี่ยงไว้แล้ว

      นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวถึงการบริหารหนี้สาธารณะท่ามกลางแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนว่า ไม่มีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากโครงสร้างหนี้สาธารณะมีสัดส่วนที่เป็นหนี้ระยะยาวถึง 90% ซึ่งในส่วนนี้ได้มีกำหนดอัตราดอกเบี้ยตายตัวไว้แล้ว ส่วนหนี้ระยะสั้นที่ใกล้จะครบกำหนดชำระเงินก็มีเพียง 10% เท่านั้น ดังนั้นจึงเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

       ในขณะที่การบริหารหนี้สาธารณะในภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างผันผวนก็ไม่มีความน่าเป็นห่วงเช่นกัน เนื่องจากได้มีการปิดความเสี่ยงไว้หมดแล้ว โดยหนี้ต่างประเทศของรัฐบาลปัจจุบันมีอยู่ไม่ถึง 1% ของหนี้รัฐบาลทั้งหมดจำนวน 5.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ โดยข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นเดือนพ.ค.61 พบว่ารัฐบาลมีหนี้ต่างประเทศ 94,484 ล้านบาท โดยจำนวนหนี้ดังกล่าวได้มีการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้แล้ว 61,194 ล้านบาท และอีก 33,289 ล้านบาทยังไม่ได้มีการบริหารความเสี่ยง

     ผู้อำนวยการ สบน. กล่าวว่า จาก พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 เม.ย.61 นี้ ได้ให้คำนิยามของคำว่า "หน่วยงานรัฐ" ที่มีความกว้างขวางขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงหน่วยงานของรัฐสภาและหน่วยงานของศาล, องค์การมหาชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รวมไปจนถึงกองทุนหมุนเวียน ซึ่งจะทำให้มีหน่วยงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายใหม่นี้เพิ่มขึ้นเป็น 2,681 แห่ง จากเดิมที่มีเพียง 159 แห่ง

       โดยในส่วนของ อปท.ทั่วประเทศนั้นจากนี้ไปหากจะมีการกู้เงินที่เป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต ก็จำเป็นต้องจัดทำแผนการกู้เงิน และบริหารหนี้ รายงานการกู้เงินและสถานะหนี้คงค้าง เพื่อให้ สบน.ได้รับทราบและจัดทำเป็นรายงานการเงินรวมของภาครัฐ ที่จากนี้ต่อไปจะมีการแยกออกเป็นรายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ, รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ และรายงานการเงินรวมของ อปท. เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 210 วันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ก่อนที่จะมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนต่อไป

    "หน่วยงานที่เพิ่มขึ้นมา 2 พันกว่าหน่วยนี้ เป็นหน้าที่ที่ สบน.จะต้องกำกับดูแลและรายงาน เพราะได้มีการขยายคำจำกัดคำว่า "หน่วยงานภาครัฐ" เพิ่มขึ้นตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งจะครอบคลุมหน่วยงานอิสระ และอปท. เดิมหน่วยงานเหล่านี้มีอำนาจกู้เงิน แต่ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายนี้ แต่ในกฎหมายใหม่นี้เขียนคลุมไว้หมด ดังนั้นพวกเขาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข และเราเองต้องขอรายงานจากเขาด้วย เช่น การกู้ที่เป็นภาระหนี้ในอนาคต ต้องชี้แจงเหตุผล ความจำเป็น ต้นทุน ประโยชน์" ผู้อำนวยการ สบน.กล่าว

     พร้อมระบุว่า ปัจจุบัน อปท.ทั่วประเทศมีหนี้คงค้างราว 29,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่ได้มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนหนี้สาธารณะโดยรวมของประเทศ แต่ในอนาคตก็มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีอำนาจในการกู้เงินได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี หาก อปท.แต่ละแห่งมีศักยภาพในการบริหารการใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ก็จะทำให้เกิดโครงการดีๆ ที่มีประโยชน์และส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละท้องถิ่นเองด้วย

                              อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!