WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMS คลังเผย ณ สิ้น พ.ค.61 มีผู้ประกอบการทำพิโกไฟแนนซ์แล้ว 248 ราย ปล่อยสินเชื่อรวม 463.62 ลบ.

 คลังเผย ณ สิ้น พ.ค.61 มีผู้ยื่นขอทำพิโกไฟแนนซ์ 404 ราย มีผู้ได้รับใบอนุญาตแล้ว 357 ราย - เปิดดำเนินการแล้ว 248 ราย มียอดสินเชื่อสะสม 17,335 บัญชี เป็นเงิน 463.62 ล้านบาท เฉลี่ย 26,744 บาท/บัญชี    

   นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนพฤษภาคม 2561 โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

    สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังเปิดให้ผู้สนใจยื่นคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์เป็นต้นมา จนถึง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีนิติบุคคลยื่นคำขออนุญาตทั้งสิ้น 480 ราย ใน 66 จังหวัด

     จังหวัดที่มีผู้ยื่นคำขออนุญาตมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา 46 ราย กรุงเทพมหานคร 39 ราย และร้อยเอ็ด 30 ราย ทั้งนี้ มีจำนวนที่คืนคำขออนุญาตทั้งสิ้น 76 ราย ใน 39 จังหวัด จึงมีนิติบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตสุทธิ 404 ราย ใน 64 จังหวัด และมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจแล้ว 357 ราย ใน 63 จังหวัด ซึ่งในจำนวนนี้ ได้เปิดดำเนินการแล้ว 248 ราย ใน 59 จังหวัด และมีผู้ประกอบการที่ปล่อยสินเชื่อแล้ว 204 ราย ใน 56 จังหวัด โดยผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตสามารถปล่อยสินเชื่อได้ภายในเขตจังหวัดให้แก่ผู้มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ภายในจังหวัดนั้น ๆ วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี (Effective Rate)

  ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2561 มียอดสินเชื่ออนุมัติสะสม 17,335 บัญชี รวมเป็นเงิน 463.62 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ย 26,744.70 บาทต่อบัญชี ประกอบด้วย

   สินเชื่อแบบมีหลักประกัน 9,066 บัญชี เป็นเงิน 287.54 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.02 ของจำนวนสินเชื่อที่อนุมัติ และสินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน 8,269 บัญชี เป็นเงิน 176.08 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.98 ของจำนวนสินเชื่อที่อนุมัติ ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างรวมมีทั้งสิ้น 4,825 บัญชี คิดเป็นเงิน 148.15 ล้านบาท

   สำหรับสินเชื่อที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน มีจำนวน 298 บัญชี คิดเป็นเงิน 9.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.72 ของยอดสินเชื่อคงค้างรวม และมีสินเชื่อค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน (NPL) จำนวน 130 บัญชี คิดเป็นเงิน 4.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.08 ของสินเชื่อคงค้างรวม

         สินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้อนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินให้เป็นทางเลือกของประชาชนในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบแทนหนี้นอกระบบ รายละไม่เกิน 50,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.85 ต่อเดือน โดยได้เร่งกระจายความช่วยเหลือด้านสินเชื่อดังกล่าวแก่ประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

  ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 มีการอนุมัติสินเชื่อรวม 251,531 ราย เป็นเงิน 11,227.93 ล้านบาท จำแนกเป็นสินเชื่อที่อนุมัติแก่ประชาชนทั่วไป 235,481 ราย เป็นเงิน 10,518.42 ล้านบาท และสินเชื่อที่อนุมัติแก่ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2560 ที่มีหนี้นอกระบบ จำนวน 16,050 ราย เป็นเงิน 709.51 ล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!