- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 07 May 2018 00:04
- Hits: 6293
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 มีหนี้สาธารณะคงค้าง 6.45 ล้านลบ. คิดเป็น 41.04% ของจีดีพี
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 มีจำนวน 6,454,168.89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.04 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 5,145,028.98 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 918,898.16 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน* (รัฐบาลค้ำประกัน) 381,046.94 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 9,194.81 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 9,522.95 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
* หนี้รัฐบาล จำนวน 5,145,028.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 9,945.30 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหนี้รัฐบาล ดังนี้
• เงินกู้ภายใต้แผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 และการบริหารหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นสุทธิ 52,226.87 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ จำนวน 70,508.21 ล้านบาท การไถ่ถอนพันธบัตร 10,477.34 ล้านบาท และการลดลงของตั๋วเงินคลัง 7,804 ล้านบาท
• เงินกู้เพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 4,291.61 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 920.19 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจำนวน 304.81 ล้านบาท สายสีน้ำเงินจำนวน 382.59 ล้านบาท และ สายสีเขียวจำนวน 232.79 ล้านบาท (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 3,371.42 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ จำนวน 1,600 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม – ชุมพร จำนวน 646.50 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 573.79 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 452.67 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 98.46 ล้านบาท
• การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
• การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 2,059.14 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
• เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ลดลง 44,800 ล้านบาท เนื่องจากได้นำไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ที่ครบกำหนดในวันที่ 13 มีนาคม 2561
• หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 85.96 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
* หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 918,898.16 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 16,893.64 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
• หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 4,183.31 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
• หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ลดลงสุทธิ 12,710.33 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่ลดลงของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
* หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 381,046.94 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 2,523.65 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
* หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 9,194.81 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 50.96 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจากหนี้ที่ลดลงของสำนักงานธนานุเคราะห์
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 จำนวน 6,454,168.89 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 6,184,166.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.82 และหนี้ต่างประเทศ 270,002.37 ล้านบาท (ประมาณ 8,421.46 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 4.18 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,824,318.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.24 และหนี้ระยะสั้น 629,850.16 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.76 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขอรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 ดังนี้
ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 มีจำนวน 6,454,168.89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.04 ของ GDP เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 9,522.95 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้รัฐบาล 5,145,028.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 9,945.30 ล้านบาท
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ 918,898.16 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 16,893.64 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน* (รัฐบาลค้ำประกัน) 381,046.94 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 2,523.65 ล้านบาท
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ 9,194.81 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 50.96 ล้านบาท
ทั้งนี้ สัดส่วนและรายละเอียดของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2561 ปรากฏตามแผนภาพที่ 1 และตารางที่ 1 ตามลำดับ
1. หนี้รัฐบาล
1.1 หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นสุทธิ 56,804.44 ล้านบาท เนื่องจาก
1.1.1 หนี้ต่างประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 85.96 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายและชำระคืนเงินกู้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
1.1.2 หนี้ในประเทศ เพิ่มขึ้นสุทธิ 56,718.48 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก
- เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 52,226.87 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เงินกู้ระยะสั้น ลดลงสุทธิ 7,804 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของตั๋วเงินคลัง
- เงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้นสุทธิ 60,030.87 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 70,508.21 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 69,292 ล้านบาท และพันธบัตรออมทรัพย์ 1,216.21 ล้านบาท และการไถ่ถอนพันธบัตร 10,477.34 ล้านบาท
- เงินกู้ให้กู้ต่อเพิ่มขึ้น 4,291.61 ล้านบาท เนื่องจาก
- การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 920.19 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มจำนวน 304.81 ล้านบาท สายสีน้ำเงินจำนวน 382.59 ล้านบาท และ สายสีเขียวจำนวน 232.79 ล้านบาท
- การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 3,371.42 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ จำนวน 1,600 ล้านบาท โครงการการก่อสร้างทางคู่ ช่วงนครปฐม – ชุมพร จำนวน 646.50 ล้านบาท โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 573.79 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 452.67 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 98.46 ล้านบาท
• เงินกู้บาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
1.2 หนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 2,059.14 ล้านบาท จากการชำระหนี้ที่กู้มาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
1.3 หนี้เงินกู้ล่วงหน้าเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 44,800 ล้านบาท เนื่องจากได้นำไปชำระคืนหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการบริหารหนี้ที่ครบกำหนดในวันที่ 13 มีนาคม 2561
2. หนี้รัฐวิสาหกิจ
2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน
2.1.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลง 1,094.31 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนหนี้สกุลเงินเยน และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
2.1.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 3,089 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไถ่ถอนพันธบัตร 3,000 ล้านบาท
2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน
2.2.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลง 4,596.87 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระหนี้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 4
2.2.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 8,113.46 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชำระคืนต้นเงินกู้ 6,644.08 ล้านบาท
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน)
3.1 หนี้ต่างประเทศ ลดลง 58.65 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการชำระคืนต้นเงินกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ดังรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 5
3.2 หนี้ในประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงสุทธิ 2,465 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรชำระคืนต้นเงินกู้ทั้งจำนวน
4. หนี้หน่วยงานของรัฐ ลดลงสุทธิ 50.96 ล้านบาท จากเดือนก่อนหน้า โดยการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสำนักงานธนานุเคราะห์เบิกจ่ายเงินกู้ 1.04 ล้านบาท และชำระคืนต้นเงินกู้ 52 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 6,454,168.89 ล้านบาท สามารถแบ่งประเภทเป็น หนี้ต่างประเทศ-หนี้ในประเทศ และหนี้ระยะยาว-หนี้ระยะสั้นได้ ดังนี้
หนี้ต่างประเทศและหนี้ในประเทศ แบ่งออกเป็น หนี้ต่างประเทศ 270,002.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.18 และหนี้ในประเทศ 6,184,166.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.82 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6
หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุของเครื่องมือการกู้เงิน) แบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 6,276,169.63 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.24 และหนี้ระยะสั้น 177,999.26 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.76 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 7
- หนี้ระยะยาวและหนี้ระยะสั้น (แบ่งตามอายุคงเหลือ) แบ่งออกเป็น หนี้ระยะยาว 5,824,318.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.24 และหนี้ระยะสั้น 629,850.16 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.76 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 8
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520