WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวสทธ ศรสพรรณรมช.คลัง เผยมี.ค.นี้ จะชงพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ เข้าสนช. ยันใช้ทันปี 62 มั่นใจหนุนรายได้รัฐอีก 1 หมื่นลบ.ใน 4 ปีแรก

      รมช.คลัง เผยมี.ค.นี้ จะเสนอร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ วาระ 2-3 เข้าสนช. ยันปี 62 มีผลบังคับใช้แน่นอน คาด 4 ปีแรก รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่ม 10,000 ลบ. พร้อมระบุภาษีใหม่เป็นธรรม ลดดุลยพินิจเจ้าหน้าที่

      นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการ “รวมประเด็นสำคัญ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ล่าสุด”ว่า ในเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าจะสามารถนำร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณาในวาระ 2-3 ได้อย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ยังยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีผลบังคับใช้ในปี 2562 อย่างแน่นอน

     สำหรับ ในเบื้องต้นนั้น คาดว่า ในช่วง 4 ปีแรกของการจัดเก็บภาษีใหม่นั้น คาดว่ารัฐบาลจะจัดเก็บภาษีได้เพิ่ม 10,000 ล้านบาท หรือ เฉลี่ยปีละ 2,500 ล้านบาท จากปัจจุบันรัฐบาลจัดเก็บภาษีรวมบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรียนรวม 30,000 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมีการยกเว้นภาษี หรือ ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้น การบรรเทาภาระภาษี เช่น ที่อยู่อาศัยหลักที่เจ้าของได้รับมรดกก่อนกฎหมายใช้บังคับ ทรัพย์สินของสถานศึกษาเอกชน หรือ ที่ดินที่กฎหมายห้ามทำประโยชน์บางอย่าง เช่น ห้ามสร้างอาคารขนาดใหญ่ แต่ให้ปลูกบ้านอาศัย หรือ ทำการเกษตร เป็นต้น

       “ตอนนี้ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯอยู่ในชั้นกรรมธิการ ซึ่งในเดือนมีนาคมนี้จะเสนอให้สนช.พิจารณาวาระ 2-3 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับว่า ภาษีดังกล่าวจะต้องกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด ดังนั้นที่ผ่านมาจึงพิจารณากันอย่างรอบคอบ และรับฟังความเห็นหลายครั้ง โดยยืนยันว่า การจัดเก็บภาษีนั้น จะทำให้กฎหมายมีความชัดเจน ลดการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน และลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ด้วย”นายวิสุทธิ์ กล่าว

คลัง ยันภาษีที่ดินฉบับใหม่ มีหน่วยงานตรวจสอบที่ดินเป็นระบบ แก้ปัญหาใช้ดุลยพินิจเจ้าหน้าที่ ไม่กระทบเกษตกร-ประชาชน

       คลัง เผยอยู่ระหว่างทำกฎหมายลูกพรบ.ภาษีที่ดิน กว่า 30 ฉบับ เชื่อเสร็จทันก่อนมีผลบังคับใช้ก่อนปี 62 ชี้ พรบ.ฉบับใหม่ไม่กระทบเกษตรตัวจริงและประชาชนทั่วไป เหตุมีข้อยกเว้นและแผนบรรเทาภาระภาษี รวมถึงตั้งหน่วยงานตรวจสอบมูลค่าที่ดินจริงดำเนินการเป็นระบบ แก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีตามดุลพินิจเจ้าหน้าที่

        นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างพิจารณากฎหมายลูกร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 30 กว่าฉบับ ซึ่งยืนยันว่า จะแล้วเสร็จก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปี 2562 อย่างแน่นอน โดยกฎหมายลำดับรอง หรือ กฎหมายลูก จะช่วยลดปัญหาความไม่ชัดเจน รวมถึงสร้างความชัดเจนเกี่ยวกับการตีความของทรัพย์สินด้วยว่าจะเป็นประเภทใด

      สำหรับ แนวทางในการจัดเก็บภาษีในระยะต่อไป จะมีการลงพื้นที่สำรวจจริง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะแต่งตั้งพนักงานตรวจสอบ และประกาศให้เจ้าของที่ดินทราบ โดยจะประเมินภาษีจากราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมธนารักษ์ ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการประเมินมีความชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น

     “ยืนยันว่า เกษตรกรตัวจริงและประชาชนทั่วไปไม่ต้องกังวลว่าจะมีภาระภาษี หรือ แบกรับภาระมากเกินกว่าปัจจุบัน เพราะมีการยกเว้นภาษีให้เจ้าของบ้านและเจ้าของที่ดินที่มีมูลค่าไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ยังมีการบรรเทาภาระภาษี กรณีที่มีภาระภาษีมากกว่าเดิม เช่น บ้านอยู่อาศัยหลักได้รับมรดก ก่อนกฎหมายบังคับใช้ ทรัพย์สินสถานศึกษาเอกชน ที่ดินกฎหมายห้ามทำประโยชน์ หรือทรัพย์สินที่เป็น NPA ของธนาคาร”นายพรชัย กล่าว

      ในอดีตสภาพปัญหาของภาษีบำรุงท้องที่ มีอัตราภาษีที่ซับซ้อนถึง 34 อัตรา ราคาปานกลางไม่มีการปรับมานาน อัตราภาษีถดถอย มีการยกเว้นลดหย่อนจำนวนมาก ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดินมีปัญหาเรื่องฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ อัตราภาษีสูงถึง และการประเมินภาษีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ หลักการแก้ไขคือ สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น

       ทั้งนี้ เมื่อ มี.ค. 60 คณะรัฐมนตรีมีมติการกำหนดเพดานภาษีใหม่แล้ว แต่พบว่ามีข้อขัดแย้ง และข้อเสนอแนะในหลายจุด ซึ่งปลายปี 60 ที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงมีการปรับเพดานของอัตราภาษีใหม่ โดยที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม เพดานภาษี ไม่เกิน 0.15% จากเดิม 0.2%

        หากเป็นบุคคลธรรมดาเจ้าของที่ดินได้รับยกเว้นจาก อปท. หากมีมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนบ้านพักอาศัยอัตราเพดานภาษี 0.3% จากเดิม 0.5% โดยหากเป็นบ้านหลังหลักจะได้ยกเว้นหากมูลค่าบ้านและที่ดินไม่เกิน 20 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของบ้านต้องมีชื่อในโฉนด หรือหากไม่มีชื่อในโฉนดแต่เป็นเจ้าของบ้าน และมีชื่อในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นหากมีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

      ส่วนที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และอื่นๆ เพดานภาษี 1.2% จากเดิม 2% โดยหากที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะบวกเพิ่มอีก 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราเพดานภาษีจะสูงสุดจะไม่เกิน 3%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!