WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copyคลัง เตรียมเสนอ ครม. ออกมาตรการช่วยผู้ประกอบการ นำรายจ่ายจากการขึ้นค่าแรงลดหย่อนภาษี 1.15 เท่า
      'สมคิด'ย้ำการปรับขึ้นค่าแรงรอบใหม่ เป็นสิ่งจำเป็น หลังไม่ได้ขึ้นมานาน พร้อมแนะแรงงาน-ผู้ประกอบการต้องพัฒนาตัวเองรองรับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ด้าน ก.คลังเตรียมเสนอครม.สัปดาห์หน้า ออกมาตรการภาษีช่วยเหลือผู้ประกอบการ ให้นำค่าใช้จ่ายจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท
      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการมอบนโยบายธนาคารออมสินว่า การดำเนินงานของธนาคารออมสิน ยอมรับว่าที่ผ่านมาทำงานได้ดี แต่หลังจากนี้ธนาคารจะต้องเน้นไปยังลูกค้า 4 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มฐานราก กลุ่มคนชั้นกลาง และเอสเอ็มอี-กลุ่ม Start up และกลุ่มผู้สูงวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้สูงอายุที่ถือเป็นปัญหาของประเทศไทยที่จะต้องเข้าไปดูแล รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอีที่ถือเป็นนโยบายของภาครัฐที่ต้องการสนับสนุน
        ด้านคนชั้นกลางต้องเร่งเข้าไปดูแลอย่างจริงจัง หาเพิ่มช่องทาง ซึ่งเช่นเดียวกับประชาชนกลุ่มฐานราก ที่ถือเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงการคลัง ที่อยู่ระหว่างการเดินหน้าโครงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ระยะที่ 2 โดยการฝึกทักษะอาชีพ แนวทางอาจให้เจ้าหน้าที่สาขาที่ประจำแต่ละจังหวัดของธนาคารลงพื้นที่ เช่นเดียวกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อสำรวจวามต้องการ หรือความจำเป็นของลูกค้า หรือแนวทางการพัฒนาและช่วยเหลือ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีภาคเกษตร หากสามารถช่วยได้จะทำให้แรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่กระจุกตัวในเมือง
        สำหรับ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะไม่ได้ปรับขึ้นมานานแล้ว เพราะที่ผ่านมา ค่าครองชีพ หรือค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการ ไม่รู้จักพัฒนาภาคการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพียงต่อการสร้างรายได้ให้สูงขึ้น ทั้งนี้หากไม่ปรับค่าแรงให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงาน อาจจะทำให้คนกลุ่มนี้มีปัญหาได้
      อย่างไรก็ตาม มองว่าในอนาคตเรื่องอัตราแรงงานเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่แรงงานคนมากขึ้น ฉะนั้นแรงงานทุกภาคส่วนเองจะต้องปรับตัวด้วยการพัฒนาตัวเองให้แข่งขันกับเทคโนโลยีให้ได้ต่อไป
       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะเศรษฐกิจดีขึ้น รายได้ของผู้ประกอบการต่างๆ ดีขึ้นแล้ว ดังนั้นการจะปรับขึ้นค่าแรงจึงเป็นสิ่งที่ควรดำเนินการ แต่กระทรวงการคลัง เตรียมออกตรการภาษี ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีภาระต้นทุนด้านค่าแรงมากขึ้น ด้วยการให้นำค่าใช้จ่ายจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั้งหมดมาหักลดหย่อนภาษีได้ 1.15 เท่า สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท ในรอบเดือนเม.ย.-ธ.ค.2561 ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการได้ 9-10 บาท ซึ่งเหมาะสมกับค่าแรงที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 5-22 บาท โดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาภายในสัปดาห์หน้า
       ขณะที่การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยระยะที่ 2 นั้น ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเปิดให้ AO (Account officer) หมอประชารัฐสุขใจ ที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของประชาชนที่มาลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 11.4 ล้านคน ซึ่งจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ธนาคาร และ นักศึกษาบางส่วน ว่ากลุ่มดังกล่าวต้องการทำอาชีพอะไร อยากพัฒนาอะไรบ้าง รวมถึงบางส่วนอาจมีความต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งในเบื้องต้นจะอบรมเจ้าหน้าที่ และใช้ระยะเวลา 3 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป และหลังจากนั้นจะเปิดให้ประชาชนที่ต้องการพัฒนาอาชีพเข้ามาลงทะเบียนได้ต่อไป
โดยผู้ที่มาลงทะเบียน และพัฒนาทักษะอาชีพนั้น ก็จะให้สิทธิประโยชน์โดยเพิ่มวงเงินในสวัสดิการ จาก 200 บาท เป็น 500 บาท และ 300 บาท เพิ่มเป็น 400 บาท โดยหวังว่าการดำเนินการดังกล่ายจะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อย ณ สิ้นปี 2561 ลดลง 25% จาก 11.4 ล้านราย
       “สำหรับ การทำ AO นั้น จะให้อยู่ในการประเมินผลงานของธนาคารออมสิน เช่นเดียววกับ ธ.ก.ส.ด้วยเช่นกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวนั้นมองว่า เป็นเรื่องที่เราต้องการทำอย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้มีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และหลุดพ้นจากเส้นความยากจน”นายอภิศักดิ์ กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!