- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Tuesday, 28 November 2017 11:27
- Hits: 2554
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์-ซึมเล็กน้อย รอความคืบหน้าแผนปฏิรูปภาษีสหรัฐฯ-ประชุมกลุ่มโอเปก
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์-ซึมเล็กน้อย โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ก็ติดลบ เนื่องจากต่างรอดูปัจจัยจากนอกประเทศ ในเรื่องแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯที่วุฒิสภาจะพิจารณาและโหวตเสียงในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ซึ่งถ้าแผนผ่านได้ก็จะทำให้ตลาดฯปรับตัวขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากผลออกมายืดระยะเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมัน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดฯปรับตัวขึ้นได้ไม่มาก เพราะตลาดฯได้ตอบรับไปแล้ว และเมื่อคืนที่ผ่านมาราคาน้ำมันก็เริ่มลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ตลาดบ้านเราน่าจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยในประเทศจากที่เริ่มมีแรงซื้อจากองทุน LTF, RMF ทำให้เชื่อว่าตลาดฯคงจะปรับตัวลงลึก และในวันที่ 30 พ.ย.นี้ MSCI จะมีการปรับน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยด้วย ก็น่าจะช่วยหนุตลาดฯได้บ้าง นอกนั้นก็ยังไม่เห็นปัจจัยใหม่อะไรเข้ามา
พร้อมให้แนวรับ 1,687 จุด ส่วนแนวต้าน 1,704 จุด
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายย่อย บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์-ซึมเล็กน้อย โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ก็ติดลบ เนื่องจากต่างรอดูปัจจัยจากนอกประเทศ ในเรื่องแผนปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯที่วุฒิสภาจะพิจารณาและโหวตเสียงในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ซึ่งถ้าแผนผ่านได้ก็จะทำให้ตลาดฯปรับตัวขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก)ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากผลออกมายืดระยะเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมัน เชื่อว่าจะทำให้ตลาดฯปรับตัวขึ้นได้ไม่มาก เพราะตลาดฯได้ตอบรับไปแล้ว และเมื่อคืนที่ผ่านมาราคาน้ำมันก็เริ่มลงเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ตลาดบ้านเราน่าจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยในประเทศจากที่เริ่มมีแรงซื้อจากองทุน LTF, RMF ทำให้เชื่อว่าตลาดฯคงจะปรับตัวลงลึก และในวันที่ 30 พ.ย.นี้ MSCI จะมีการปรับน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยด้วย ก็น่าจะช่วยหนุตลาดฯได้บ้าง นอกนั้นก็ยังไม่เห็นปัจจัยใหม่อะไรเข้ามา
พร้อมให้แนวรับ 1,687 จุด ส่วนแนวต้าน 1,704 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (27 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,580.78 จุด เพิ่มขึ้น 22.79 จุด (+0.10%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,601.42 จุด ลดลง 1.00 จุด (-0.04%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,878.52 จุด ลดลง 10.64 จุด (-0.15%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 21.25 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.00 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 77.55 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 17.37 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 4.71 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 0.65 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.74 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (27 พ.ย.60) 1,695.67 จุด ลดลง 0.17 จุด (-0.01%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,207.02 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ม.ค.61 ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (27 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 58.11 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 84 เซนต์ หรือ 1.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (27 พ.ย.60) ที่ 7.16 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.61 แนวโน้มอ่อนค่าหลังดอลล์แข็ง นลท.จับตาวุฒิสภาลงมติร่าง กม.ปฏิรูปภาษีสหรัฐ
- หอการค้าสงขลา เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวัง บูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6% ชงครม. วันนี้ ด้าน สศช.เสนอโครงการพัฒนาภาคใต้-ชายแดนภาคใต้ ดันท่องเที่ยวมาตรฐานสากล พร้อมสร้างฐานผลิตเชื่อมโยงอาเซียน
- พลังงานเร่งคลอด PDP ฉบับใหม่ ลุ้นคาดความต้องการใช้ไฟฟ้าจ่อลดลงหลังนำปัจจัยผลิตไฟฟ้าใช้เองมาประกอบการพิจารณา มั่นใจกลางปี 61 ประกาศใช้จริงได้
- ปตท.เลื่อนโอนทรัพย์สินธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกให้ PTTOR จาก ธ.ค.60 เป็นปี 61 แจงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนยังไม่แล้วเสร็จ เผยเร่งเดินหน้าหาพันธมิตร บัดเจทโฮเทล พร้อมเปิดโครงการพลังซื้อข้าวจากชาวนา" ปีที่ 2 เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายข้าวให้แก่ชาวนาไทย
- หน.ผู้ตรวจคลังทำแผนตรวจเข้ารีดภาษีปีหน้า 2.61 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสรรพากร 1.9 ล้านล้าน สรรพสามิต 6 แสนล้าน และศุลกากร 1.1 แสนล้าน เผยเดือนต.ค.เก็บได้เกินเป้าแล้ว เชื่อทำได้ไม่มีปัญหาแม้ยังออกกฎหมายเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซไม่ได้ก็ตาม
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (27 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,580.78 จุด เพิ่มขึ้น 22.79 จุด (+0.10%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,601.42 จุด ลดลง 1.00 จุด (-0.04%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,878.52 จุด ลดลง 10.64 จุด (-0.15%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 21.25 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 11.00 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 77.55 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 17.37 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 4.71 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 0.65 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 3.74 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (27 พ.ย.60) 1,695.67 จุด ลดลง 0.17 จุด (-0.01%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,207.02 ล้านบาท เมื่อวันที่ 27 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ม.ค.61 ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (27 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 58.11 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 84 เซนต์ หรือ 1.4%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (27 พ.ย.60) ที่ 7.16 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.61 แนวโน้มอ่อนค่าหลังดอลล์แข็ง นลท.จับตาวุฒิสภาลงมติร่าง กม.ปฏิรูปภาษีสหรัฐ
- หอการค้าสงขลา เผยเอกชนเสนอรัฐบาลดันเมกะโปรเจคภาคใต้ 5 ปี 14 โครงการ มูลค่า 5 แสนล้าน หวัง บูมเศรษฐกิจภาคใต้โตไม่ต่ำกว่า 6% ชงครม. วันนี้ ด้าน สศช.เสนอโครงการพัฒนาภาคใต้-ชายแดนภาคใต้ ดันท่องเที่ยวมาตรฐานสากล พร้อมสร้างฐานผลิตเชื่อมโยงอาเซียน
- พลังงานเร่งคลอด PDP ฉบับใหม่ ลุ้นคาดความต้องการใช้ไฟฟ้าจ่อลดลงหลังนำปัจจัยผลิตไฟฟ้าใช้เองมาประกอบการพิจารณา มั่นใจกลางปี 61 ประกาศใช้จริงได้
- ปตท.เลื่อนโอนทรัพย์สินธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกให้ PTTOR จาก ธ.ค.60 เป็นปี 61 แจงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนยังไม่แล้วเสร็จ เผยเร่งเดินหน้าหาพันธมิตร บัดเจทโฮเทล พร้อมเปิดโครงการพลังซื้อข้าวจากชาวนา" ปีที่ 2 เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายข้าวให้แก่ชาวนาไทย
- หน.ผู้ตรวจคลังทำแผนตรวจเข้ารีดภาษีปีหน้า 2.61 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสรรพากร 1.9 ล้านล้าน สรรพสามิต 6 แสนล้าน และศุลกากร 1.1 แสนล้าน เผยเดือนต.ค.เก็บได้เกินเป้าแล้ว เชื่อทำได้ไม่มีปัญหาแม้ยังออกกฎหมายเก็บภาษีอีคอมเมิร์ซไม่ได้ก็ตาม
*หุ้นเด่นวันนี้
- MTLS (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 48 บาท ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2560 และปี 2561 ขึ้น 5% และ 2% เป็น 2.4 พันลบ. (+67% Y-Y) และ 3.4 พันลบ. (+40% Y-Y) ตามลำดับ ในระยะสั้นคาดว่าราคาหุ้นยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มกำไร Q4/60 ที่คาดว่าจะทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 680-700 ลบ. +5-8% Q-Q และ +40-45% Y-Y ตามฤดูกาลที่ดีของการปล่อยสินเชื่อ เพราะเป็นฤดูเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรและจับจ่ายใช้สอยปลายปี ส่วนปี 2018 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญต่อความต้องการสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่ผ่อนคลายลงจะหนุนความสามารถในการก่อหนี้และชำระหนี้ได้ดีขึ้น
- NDR (ฟินันเซีย ไซรัส) ผลงาน Q2-Q3/60 ทรุดหนักจาก ราคายางที่เป็นต้นทุนหลักทรงตัวในระดับสูงราว 60-70 บาท/กก. และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้ส่งออกไปมาเลเซียที่เป็นลูกค้ารายสำคัญ แต่ด้วยแรงกดดันทั้งคู่ที่เริ่มผ่อนคลายลง โดยเฉพาะต้นทุนยางที่อ่อนตัวเหลือเพียง 50 บาท/กก. ทำให้คาดว่ากำไร Q4/60 จะกลับเข้าสู่ระดับปกติที่ 10-15 ลบ./ไตรมาส ขณะที่ การเข้าซื้อ FKRMM ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในมาเลเซีย 100% โดยการเพิ่มทุนแล้ว swap หุ้นบางส่วนที่ราคา 4 บาท จะทำให้ยอดขายในมาเลเซียเร่งตัวขึ้นไปชดเชยตลาดอินเดียที่ชะลอ ถือเป็นหุ้น Turnaround อีกตัวที่น่าจับตา ซึ่งถ้าสมมติให้กำไรปีหน้ากลับไปเท่าไป 2559 ที่ไม่มีแรงกดดันด้านต้นทุนราว 50-55 ลบ. PE2561 คิดเป็น 15 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของตัวเองที่ 18 เท่า
- MALEE (ไอร่า) เป้า 48.50 บาท คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว คาดดีขึ้นตามลำดับใน 4Q/60 และแข็งแกร่งในปี 61 โดยมีปัจจัยสำคัญจากสินค้าส่งออกแบรนด์ “MALEE" ที่เติบโตแข็งแกร่งมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรับจ้างผลิตน้ำมะพร้าวที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งคาดว่าจะสามารถกลับมาเติบโตตามตลาดน้ำมะพร้าวโลกได้ รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในธุรกิจรับจ้างผลิต จะช่วยผลักดันยอดขายของธุรกิจ CMG ในประเทศได้ คาดกำไรสุทธิปี 61 เพิ่มขึ้น 52% อยู่ที่ 543 ล้านบาท
- RATCH (กสิกรไทย) "ซื้อ"เป้า 58.25 บาท ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560-2562 ขึ้นเล็กน้อยเช่นกันที่ 4%/2%/2% เป็น 7.8พันลบ./6.9พันลบ./7.5พันลบ. เพื่อสะท้อนค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าแท้จริง (Effective availability factor: EAF) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามที่ฝ่ายจัดการชี้แจง ในขณะนี้เชื่อว่า RATCH มีอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงในระดับที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจาก RATCH มีการซื้อขายที่ PER/PBV ปี 2561 ณ 11.2เท่า/1.2เท่า เทียบกับหุ้นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าอีก 7 ตัว ที่วิเคราะห์อยู่ ณ 24.5เท่า/2เท่า และ ณ ราคาปัจจุบัน RATCH ให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมถึงประมาณ 11% (upside 5.9% และ dividend yield 4.9%) ในขณะที่หุ้นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าอีก 7 ตัวมี upside จำกัด
- NDR (ฟินันเซีย ไซรัส) ผลงาน Q2-Q3/60 ทรุดหนักจาก ราคายางที่เป็นต้นทุนหลักทรงตัวในระดับสูงราว 60-70 บาท/กก. และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้ส่งออกไปมาเลเซียที่เป็นลูกค้ารายสำคัญ แต่ด้วยแรงกดดันทั้งคู่ที่เริ่มผ่อนคลายลง โดยเฉพาะต้นทุนยางที่อ่อนตัวเหลือเพียง 50 บาท/กก. ทำให้คาดว่ากำไร Q4/60 จะกลับเข้าสู่ระดับปกติที่ 10-15 ลบ./ไตรมาส ขณะที่ การเข้าซื้อ FKRMM ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในมาเลเซีย 100% โดยการเพิ่มทุนแล้ว swap หุ้นบางส่วนที่ราคา 4 บาท จะทำให้ยอดขายในมาเลเซียเร่งตัวขึ้นไปชดเชยตลาดอินเดียที่ชะลอ ถือเป็นหุ้น Turnaround อีกตัวที่น่าจับตา ซึ่งถ้าสมมติให้กำไรปีหน้ากลับไปเท่าไป 2559 ที่ไม่มีแรงกดดันด้านต้นทุนราว 50-55 ลบ. PE2561 คิดเป็น 15 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวของตัวเองที่ 18 เท่า
- MALEE (ไอร่า) เป้า 48.50 บาท คาดผลการดำเนินงานผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว คาดดีขึ้นตามลำดับใน 4Q/60 และแข็งแกร่งในปี 61 โดยมีปัจจัยสำคัญจากสินค้าส่งออกแบรนด์ “MALEE" ที่เติบโตแข็งแกร่งมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการรับจ้างผลิตน้ำมะพร้าวที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งคาดว่าจะสามารถกลับมาเติบโตตามตลาดน้ำมะพร้าวโลกได้ รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในธุรกิจรับจ้างผลิต จะช่วยผลักดันยอดขายของธุรกิจ CMG ในประเทศได้ คาดกำไรสุทธิปี 61 เพิ่มขึ้น 52% อยู่ที่ 543 ล้านบาท
- RATCH (กสิกรไทย) "ซื้อ"เป้า 58.25 บาท ปรับเพิ่มคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560-2562 ขึ้นเล็กน้อยเช่นกันที่ 4%/2%/2% เป็น 7.8พันลบ./6.9พันลบ./7.5พันลบ. เพื่อสะท้อนค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าแท้จริง (Effective availability factor: EAF) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสาที่ปรับตัวสูงขึ้นตามที่ฝ่ายจัดการชี้แจง ในขณะนี้เชื่อว่า RATCH มีอัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงในระดับที่น่าสนใจมากขึ้น เนื่องจาก RATCH มีการซื้อขายที่ PER/PBV ปี 2561 ณ 11.2เท่า/1.2เท่า เทียบกับหุ้นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าอีก 7 ตัว ที่วิเคราะห์อยู่ ณ 24.5เท่า/2เท่า และ ณ ราคาปัจจุบัน RATCH ให้อัตราผลตอบแทนโดยรวมถึงประมาณ 11% (upside 5.9% และ dividend yield 4.9%) ในขณะที่หุ้นกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าอีก 7 ตัวมี upside จำกัด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ นักลงทุนวิตกจีนออกมาตรการคุมความเสี่ยงการเงิน
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการควบคุมความเสี่ยงทางการเงินของรัฐบาลจีน
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,474.74 จุด ลดลง 21.25 จุด, -0.09% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,311.23 จุด ลดลง 11.00 จุด, -0.33% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 29,608.64 จุด ลดลง 77.55 จุด, -0.26% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,733.56 จุด ลดลง 17.37 จุด, -0.16% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,512.52 จุด เพิ่มขึ้น 4.71 จุด, +0.19% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,435.71 จุด ลดลง 0.65 จุด, -0.02% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,716.12 จุด ลดลง 3.74 จุด, -0.22%
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารของจีนได้ออกร่างมาตรการเพื่อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์บริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย และกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทำการทดสอบภาวะวิกฤต (stress tests) ของอัตราดอกเบี้ย พร้อมทั้งประเมินภาวะความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางจีนได้เปิดเผยร่างมาตรการ ซึ่งรวมถึงการควบคุมธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ของบรรดาสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาคธนาคารเงาของจีนขยายตัวขึ้น
นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่วุฒิสภาจะลงมติต่อร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้การอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันที่ 16 พ.ย. แต่มีเนื้อหาแตกต่างจากฉบับของวุฒิสภาในหลายประเด็น
หากวุฒิสภาให้การอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากนั้น วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องนำร่างกฎหมายของทั้ง 2 สภามาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน ก่อนที่จะส่งต่อให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลงนามรับรองให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 25.74 จุด จากแรงฉุดหุ้นเหมืองแร่
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (27 พ.ย.) โดยดัชนี FTSE 100 ปิดในแดนลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ ซึ่งเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มทางธุรกิจของบริษัทจีน โดยจีนเป็นผู้ซื้อโลหะรายใหญ่ เช่น แร่เหล็ก ทองแดง และทองคำ
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,383.90 จุด ลดลง 25.74 จุด หรือ -0.35%
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มทางธุรกิจของบริษัทจีน หลังจากทางการจีนประกาศควบคุมความเสี่ยงในระบบการเงิน โดยหุ้นเฟรสนิลโล ร่วงลง 2.1% หุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 3.4% และหุ้นเกลนคอร์ ลดลง 1.2%
อย่างไรก็ตาม หุ้นแกล็คโซสมิธไคลน์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ พุ่งขึ้น หลังจากนักวิเคราะห์ของยูบีเอสได้ประกาศเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว
นักลงทุนจับตารัฐสภาอังกฤษซึ่งมีกำหนดจะอภิปรายร่างกฎหมายว่าด้วยการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ในวันที่ 4 ธ.ค. โดยร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเผชิญเสียงคัดค้านในรัฐสภานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อตัดความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง การเงิน และด้านกฎหมาย กับทาง EU
นอกจากนี้ นางเมเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะพบปะกับนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธาน EC และนายมิเชล บาร์นิเยร์ หัวหน้าคณะเจรจา Brexit ฝ่าย EU ในวันที่ 4 ธ.ค
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: แรงขายหุ้นพลังงาน ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (27 พ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกร่วงลง ก่อนที่การประชุมกลุ่มโอเปกจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้ การร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคารยังเป็นอีกปัจจัยที่ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดในแดนลบ
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.5% ปิดที่ 384.87 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,000.20 จุด ลดลง 59.64 จุด หรือ -0.46% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,360.09 จุด ลดลง 30.37 จุด หรือ -0.56% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,383.90 จุด ลดลง 25.74 จุด หรือ -0.35%
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก โหยุ้นรอยัล ดัชท์ เชลล์ ดิ่งลง 1.10% หุ้นบีพี ร่วงลง 1% และหุ้น ENI SPA ปรับตัวลง 0.9%
หุ้นจูเลียส แบร์ ดิ่งลง 6.4% หลังจากมีรายงานว่า นายบอริส คอลลาร์ดี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารของจูเลียส แบร์ โดยข่าวดังกล่าวได้ฉุดดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลง 0.7%
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ร่วงลง เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มทางธุรกิจของบริษัทจีน หลังจากทางการจีนประกาศควบคุมความเสี่ยงในระบบการเงิน โดยหุ้นเฟรสนิลโล ร่วงลง 2.1% หุ้นอันโตฟากัสตา ดิ่งลง 3.4% และหุ้นเกลนคอร์ ลดลง 1.2%
อย่างไรก็ตาม หุ้นแกล็คโซสมิธไคลน์ ซึ่งเป็นบริษัทเวชภัณฑ์รายใหญ่ พุ่งขึ้น หลังจากนักวิเคราะห์ของยูบีเอสได้ประกาศเพิ่มน้ำหนักความน่าลงทุนของหุ้นดังกล่าว
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 22.79 จุด หุ้นค้าปลีกพุ่งรับยอดใช้จ่ายวันแบล็กฟรายเดย์
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (27 พ.ย.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มค้าปลีก หลังจากมีรายงานว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์ในวันแบล็กฟรายเดย์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวขึ้นในกรอบจำกัด ขณะที่ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดในแดนลบ เนื่องจากนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่วุฒิสภาจะลงมติต่อร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันพฤหัสบดีนี้
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,580.78 จุด เพิ่มขึ้น 22.79 จุด หรือ +0.10% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,601.42 จุด ลดลง 1.00 จุด หรือ -0.04% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,878.52 จุด ลดลง 10.64 จุด หรือ -0.15%
หุ้นกลุ่มค้าปลีกดีดตัวขึ้น โดยหุ้นอเมซอนดอทคอม ปรับตัวขึ้น 0.8% และทำสถิติปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 4 ขณะที่หุ้นอเมริกัน อีเกิล เอ้าท์ฟิทเตอร์ พุ่งขึ้น 1.8% หุ้นแก๊ป ดีดตัวขึ้น 1.2% และหุ้นดิลลาร์ด ทะยานขึ้น 4.7%
ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มค้าปลีกปรับตัวขึ้นหลังจากอะโดบี อนาลิติกส์ รายงานว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์ในวันแบล็กฟรายเดย์ หรือวันศุกร์หลังวันขอบคุณพระเจ้า ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.03 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ อะโดบี อนาลิติกส์ คดการณ์ว่า ยอดการใช้จ่ายในวันไซเบอร์ มันเดย์ จะพุ่งทำสถิติสูงสุดเช่นกัน
หุ้นไทม์ ซึ่งเป็นเจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐ ทะยานขึ้น 9.5% หลังจากเมียร์ดิธ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อทีวีของสหรัฐ ประกาศทุ่มเงิน 2.8 พันล้านดอลลาร์ ซื้อกิจการของไทม์ อิงค์
รายงานระบุว่า ไทม์ อิงค์ ประสบปัญหารายได้จากการโฆษณาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ที่แยกกิจการจากไทม์ วอร์เนอร์ในปี 2557 โดยรายได้ในไตรมาส 3 ของไทม์ร่วงลง 9.5% สู่ระดับ 679 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้บริษัทมีผลประกอบการที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์เป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังได้ปัจจัยหนุนจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐซึ่งระบุว่า ยอดขายบ้านใหม่เดือนต.ค.พุ่งขึ้น 6.2% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 685,000 ยูนิต ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 6% นอกจากนี้ ยอดขายบ้านเดือนต.ค.ยังทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2550
อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน จากการที่นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่วุฒิสภาจะลงมติต่อร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้การอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันที่ 16 พ.ย. แต่มีเนื้อหาแตกต่างจากฉบับของวุฒิสภาในหลายประเด็น
หากวุฒิสภาให้การอนุมัติร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากนั้น วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรก็จะต้องนำร่างกฎหมายของทั้ง 2 สภามาปรับปรุงแก้ไขให้เป็นร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน ก่อนที่จะส่งต่อให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ลงนามรับรองให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ขณะที่ปธน.ทรัมป์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า เขาจะมอบการปรับลดภาษีครั้งใหญ่ เป็นของขวัญสำหรับชาวอเมริกันในวันคริสต์มาสปีนี้
หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดนิวยอร์ก หลังจากมีรายงานว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐพุ่งขึ้น 15% นับตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สู่ระดับ 9.66 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ หุ้นเชฟรอน ปรับตัวลง 0.8% หุ้นมารอนธอน ออยล์ ดิ่งลง 4.3% และหุ้นเฮสส์ คอร์ป ร่วงลง 2.9%
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ราคาบ้านเดือนก.ย.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.จาก Conference Board, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3/2560, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนต.ค. , รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนต.ค., ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และ การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนต.ค.
--อินโฟเควสท์
OO2883