- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Thursday, 23 November 2017 10:41
- Hits: 3773
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งแคบ บรรยากาศลงทุนดีขึ้นหลังต่างชาติกลับมาซื้อ,มอง Downside จำกัด
นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งแคบหลังจากที่เมื่อวานนี้ขึ้นทดสอบแนว 1,720 จุดแล้วยังไม่ผ่าน แต่บรรยากาศการลงทุนดีขึ้นหลังจากที่นักลงทุนต่างชาติได้กลับมาซื้อ อันเป็นผลจากได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้เชื่อว่าเม็ดเงิน Long Term จะเข้ามาแต่ก็น่าจะเป็นลักษณะของการสะสม ส่งผลให้เห็นว่า Downside จำกัด
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อย โดยให้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศหลัก และติดตามแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่คาดว่าจะมีขึ้นในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนหน้า ด้านราคาน้ำมันถือว่ายังบวกได้ดีอยู่
พร้อมแนะนำหุ้นกลุ่มแบงก์, ค้าปลีก และท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะ Turnaround โดยให้แนวรับ 1,706 จุด ส่วนแนวต้าน 1,720-1,730 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (22 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,526.18 จุด ลดลง 64.65 จุด (-0.27%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,597.08 จุด ลดลง 1.95 จุด (-0.08%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,867.36 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด (+0.07%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 5.45 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 29.69 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 1.83 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 9.02 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.12 จุด
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (22 พ.ย.60) 1,713.13 จุด เพิ่มขึ้น 2.65 จุด (+0.15%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 870.70 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ม.ค.61 ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (22 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 58.02 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.19 ดอลลาร์ หรือ 2.1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (22 พ.ย.60) ที่ 7.46 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.70 หลายปัจจัยยังกดดันให้เงินบาทแข็งค่าต่อ มองกรอบ 32.65-32.75
- พาณิชย์เผยส่งออก 10 เดือน โต 9.7% สูงสุดรอบ 6 ปีแรงบวกสินค้าอุตสาหกรรม ฟื้นลุ้นทั้งปีขยายตัว 9-10% ห่วงสินค้าเกษตร หลุด 20 อันดับ ด้าน "สมคิด" ประเมินปีนี้ มีโอกาสโต 10% ขณะ สรท.ฟันธงทะลุ 8% การส่งออกยังคงเป็นภาคหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขส่งออกเดือน ต.ค.พบว่ายังคงโตต่อเนื่อง ดันส่งออก 10 เดือนโตสูงสุดรอบ 6 ปี
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ เผยนักลงทุนต่างชาติหันซื้อบอนด์สั้น หลังเทขายบอนด์ยาวช่วงต้นเดือนพ.ย. ชี้ 3 วันทำการ ซื้อสุทธิเฉียด 3 หมื่นล้าน คาดพักเงิน รอดูสถานการณ์เรื่องมาตรการภาษีสหรัฐ ขณะเงินบาททยอยแข็งค่า หลังตัวเลขเศรษฐกิจ-ส่งออกเติบโตดี นักบริหารเงินห่วงค่าบาทแข็งมากเกินไป หวั่นปัญหาภาษีสหรัฐคลี่คลาย ฉุดเงินบาทพลิกอ่อนค่า
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุมูลค่าส่งออกสินค้าไทยในเดือน ต.ค.2560 อยู่ที่ 20,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.1 YoY รักษาโมเมนตัมการเติบโตได้จากเดือนก่อนหน้า หนุนให้มูลค่าส่งออกไทยในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2560 เติบโตร้อยละ 9.7 YoY จากการขยายตัวสูงของการส่งออกสินค้าในหมวดยานยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสินค้าที่ราคาเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน
- หลังจากนี้คลังจะเร่งดำเนินการใน 2 เรื่องหลักที่สำคัญ คือ เรื่องการส่งสัญญาณทำงบประมาณเข้าสู่สมดุลในระยะปานกลางและระยะยาวหรือระยะ 5-10 ปี ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ตลาดได้รับรู้ว่า เมื่อเอกชนสามารถกลับมาเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ภาครัฐก็ควรกลับมาสนับสนุนเศรษฐกิจอยู่ข้างหลังอีก ซึ่งการทำงบประมาณสมดุลต้องดูทั้งเรื่องการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและการจัดเก็บรายได้ควบคู่กัน
- ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนกันยายน ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ขณะที่ปรับเพิ่มประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี 60 ให้สูงขึ้นจากเป้าเดิมอีก 20,000 คัน มาเป็น 1.95 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปี 59 จำนวน 5,583 คัน หรือเพิ่มขึ้น 0.29% หลังเพิ่มยอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 20,000 คัน เป็น 850,000 คัน ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออก ยังคงเป้าเดิมที่ 1.1 ล้านคัน
นายธีรวุฒิ กานต์นิภากุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งแคบหลังจากที่เมื่อวานนี้ขึ้นทดสอบแนว 1,720 จุดแล้วยังไม่ผ่าน แต่บรรยากาศการลงทุนดีขึ้นหลังจากที่นักลงทุนต่างชาติได้กลับมาซื้อ อันเป็นผลจากได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ทำให้เชื่อว่าเม็ดเงิน Long Term จะเข้ามาแต่ก็น่าจะเป็นลักษณะของการสะสม ส่งผลให้เห็นว่า Downside จำกัด
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อย โดยให้ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศหลัก และติดตามแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯที่คาดว่าจะมีขึ้นในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนหน้า ด้านราคาน้ำมันถือว่ายังบวกได้ดีอยู่
พร้อมแนะนำหุ้นกลุ่มแบงก์, ค้าปลีก และท่องเที่ยว ที่คาดว่าจะ Turnaround โดยให้แนวรับ 1,706 จุด ส่วนแนวต้าน 1,720-1,730 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (22 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,526.18 จุด ลดลง 64.65 จุด (-0.27%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,597.08 จุด ลดลง 1.95 จุด (-0.08%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,867.36 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด (+0.07%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 5.45 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 29.69 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 1.83 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 9.02 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.12 จุด
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (22 พ.ย.60) 1,713.13 จุด เพิ่มขึ้น 2.65 จุด (+0.15%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 870.70 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ม.ค.61 ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (22 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 58.02 ดอลลาร์/บาร์เรล พุ่งขึ้น 1.19 ดอลลาร์ หรือ 2.1%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (22 พ.ย.60) ที่ 7.46 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 32.70 หลายปัจจัยยังกดดันให้เงินบาทแข็งค่าต่อ มองกรอบ 32.65-32.75
- พาณิชย์เผยส่งออก 10 เดือน โต 9.7% สูงสุดรอบ 6 ปีแรงบวกสินค้าอุตสาหกรรม ฟื้นลุ้นทั้งปีขยายตัว 9-10% ห่วงสินค้าเกษตร หลุด 20 อันดับ ด้าน "สมคิด" ประเมินปีนี้ มีโอกาสโต 10% ขณะ สรท.ฟันธงทะลุ 8% การส่งออกยังคงเป็นภาคหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขส่งออกเดือน ต.ค.พบว่ายังคงโตต่อเนื่อง ดันส่งออก 10 เดือนโตสูงสุดรอบ 6 ปี
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ เผยนักลงทุนต่างชาติหันซื้อบอนด์สั้น หลังเทขายบอนด์ยาวช่วงต้นเดือนพ.ย. ชี้ 3 วันทำการ ซื้อสุทธิเฉียด 3 หมื่นล้าน คาดพักเงิน รอดูสถานการณ์เรื่องมาตรการภาษีสหรัฐ ขณะเงินบาททยอยแข็งค่า หลังตัวเลขเศรษฐกิจ-ส่งออกเติบโตดี นักบริหารเงินห่วงค่าบาทแข็งมากเกินไป หวั่นปัญหาภาษีสหรัฐคลี่คลาย ฉุดเงินบาทพลิกอ่อนค่า
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุมูลค่าส่งออกสินค้าไทยในเดือน ต.ค.2560 อยู่ที่ 20,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.1 YoY รักษาโมเมนตัมการเติบโตได้จากเดือนก่อนหน้า หนุนให้มูลค่าส่งออกไทยในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปี 2560 เติบโตร้อยละ 9.7 YoY จากการขยายตัวสูงของการส่งออกสินค้าในหมวดยานยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสินค้าที่ราคาเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน
- หลังจากนี้คลังจะเร่งดำเนินการใน 2 เรื่องหลักที่สำคัญ คือ เรื่องการส่งสัญญาณทำงบประมาณเข้าสู่สมดุลในระยะปานกลางและระยะยาวหรือระยะ 5-10 ปี ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ตลาดได้รับรู้ว่า เมื่อเอกชนสามารถกลับมาเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ภาครัฐก็ควรกลับมาสนับสนุนเศรษฐกิจอยู่ข้างหลังอีก ซึ่งการทำงบประมาณสมดุลต้องดูทั้งเรื่องการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและการจัดเก็บรายได้ควบคู่กัน
- ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 85.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.7 ในเดือนกันยายน ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ขณะที่ปรับเพิ่มประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี 60 ให้สูงขึ้นจากเป้าเดิมอีก 20,000 คัน มาเป็น 1.95 ล้านคัน ซึ่งมากกว่าปี 59 จำนวน 5,583 คัน หรือเพิ่มขึ้น 0.29% หลังเพิ่มยอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 20,000 คัน เป็น 850,000 คัน ขณะที่การผลิตเพื่อส่งออก ยังคงเป้าเดิมที่ 1.1 ล้านคัน
*หุ้นเด่นวันนี้
- THMUI (บมจ.ไทยมุ้ย คอร์ปอเรชั่น) เทรดวันนี้วันแรก ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยมีราคาขาย IPO ที่ 2.55 บาท/หุ้น บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินราคาเหมาะสมปี 2561 โดยอิง PE เฉลี่ยของกลุ่มที่ 20 เท่าได้เท่ากับ 3.10 บาท
บริษัทฯเป็นผู้จัดจำหน่ายลวดสลิงและอุปกรณ์ยกหิ้วให้กับตราสินค้าชั้นนำระดับโลก และมีบริการหลังการขาย รวมถึงทดสอบ + ตรวจสอบ ลวดสลิงและอุปกรณ์ คาดกำไรสุทธิปีนี้ +73% Y-Y และโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 36% ในปี 2561-2562 จากการลงทุนของภาครัฐฯและเอกชน การเพิ่มสินค้าลวดสลิงขนาดใหญ่ การขยายธุรกิจไปจำหน่ายท่อปะปา HDPE และการเพิ่มทีมบริการทดสอบและตรวจสอบที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง
- PORT (บมจ.สหไทย เทอร์มินอล) เทรดวันนี้วันแรก ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยมีราคาขาย IPO ที่ 4.50 บาท/หุ้น บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะ"ทยอย"สะสม"หุ้น PORT ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท/หุ้น ด้วย PER เฉลี่ยของกลุ่มที่ 25.6 เท่า คาดกำไรปี 2561 เติบโตโดดเด่นกว่า 129% ที่ 108 ล้านบาท สนับสนุนจากท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ท่าสหไทย, BBT และธุรกิจรอบด้านที่ขยายตัว (ขนส่งตู้ทางบก-ซ่อมบำรุง – warehouse- Freight fowarder) ในขณะที่คาด Net margin (%) จะค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 8.9%
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจท่าเทียบเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการจัดการและบริหารตู้สินค้าคอนเทนเนอร์แก่สายเดินเรือขนส่งสินค้าใน-ต่างประเทศอย่างครบวงจร ซึ่งฐานลูกค้าค่อนข้างมีชื่อเสียงเช่น MAERSK, NYK LINE เป็นต้น ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของท่าเรือเอกชน (รวม 4 แสนตู้/ปี)
- ORI (กสิกรไทย) "ซื้อ" เป้า 24.70 บาท บริษัทประกาศเป้าหมายปี 2561 อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 65% เป็น 25.0 พันล้านบาท ทำให้เป้าหมายยอดขายจะเพิ่มขึ้น 28% เป็น 18.0 พันล้านบาท ขณะที่รายได้ตั้งเป้าเติบโต 55% เป็น 14.0 พันล้านบาท โดยโครงการใหม่ที่มีแผนก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มเติม 15.1 พันล้านบาทในปี 2561 จาก 13.2 พันล้านบาท ในปีนี้จะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญ โดยปีหน้านอกเหนือจากโครงการพาร์ค ทองหล่อ (มูลค่า 11.0 พันล้านบาท) แล้ว ORI จะมีการเปิดตัวโครงการแนวราบมากขึ้นกว่าปีนี้ โดยจะเพิ่มทาวน์โฮมเข้ามาในพอร์ตการพัฒนาจากปีนี้ที่มีบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดแล้ว นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้ประจำ ทั้งโรงแรม รีเทลและศึกษาการพัฒนาคลังสินค้าอีกด้วย ซึ่งจะทำให้กลุ่มธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้น โดยยังคงมุมมองเชิงบวกต่อพัฒนาการของบริษัท
- WHAUP (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 9 บาท ผลกำไรยังเติบโตทั้งไตรมาส 4 และปีหน้ารับรู้ผลกำไรจาการลงทุนเต็มปี แนวโน้มธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่องทั้งน้ำและไฟฟ้า พร้อมคาดแนวโน้มไตรมาส 4 จะดีขึ้นจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มผลประกอบการดีต่อเนื่อง ปีหน้ารับรู้ผลกำไรจาการลงทุนเต็มปี และหาโอกาสเติบโตใน CLMV ใช้ Synergy WHA Group รวมถึงมีธุรกิจต่อยอด (1) Private Solar rooftop (2) IE Gas Pipe Distribution (3) Waste-to-Industrial Water
ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,425.01 จุด ลดลง 5.45 จุด, -0.16% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,033.18 จุด เพิ่มขึ้น 29.69 จุด, +0.10% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,837.61 จุด เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, +0.14% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,542.34 จุด เพิ่มขึ้น 1.83 จุด, +0.07% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,439.04 จุด เพิ่มขึ้น 9.02 จุด, +0.26% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,723.42 จุด ลดลง 0.12 จุด, -0.01%
*ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้เนื่องในวันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน
รายงานการประชุมของเฟดระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ครั้งต่อไปในเดือนธ.ค.นั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม หากข้อมูลที่เฟดได้รับมานั้นบ่งชี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลางยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยกรรมการเฟดเชื่อว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะใกล้นี้ พร้อมระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจากพายุเฮอร์ริเคน
อย่างไรก็ตาม มีกรรมการเฟดบางส่วนให้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กรรมการเฟดอีกส่วนหนึ่งมองว่า การประวิงเวลานานเกินไปในการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน หรือถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินช้าเกินไป อาจจะสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต
บริษัทฯเป็นผู้จัดจำหน่ายลวดสลิงและอุปกรณ์ยกหิ้วให้กับตราสินค้าชั้นนำระดับโลก และมีบริการหลังการขาย รวมถึงทดสอบ + ตรวจสอบ ลวดสลิงและอุปกรณ์ คาดกำไรสุทธิปีนี้ +73% Y-Y และโตต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 36% ในปี 2561-2562 จากการลงทุนของภาครัฐฯและเอกชน การเพิ่มสินค้าลวดสลิงขนาดใหญ่ การขยายธุรกิจไปจำหน่ายท่อปะปา HDPE และการเพิ่มทีมบริการทดสอบและตรวจสอบที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง
- PORT (บมจ.สหไทย เทอร์มินอล) เทรดวันนี้วันแรก ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยมีราคาขาย IPO ที่ 4.50 บาท/หุ้น บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะ"ทยอย"สะสม"หุ้น PORT ราคาเป้าหมาย 6.00 บาท/หุ้น ด้วย PER เฉลี่ยของกลุ่มที่ 25.6 เท่า คาดกำไรปี 2561 เติบโตโดดเด่นกว่า 129% ที่ 108 ล้านบาท สนับสนุนจากท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ท่าสหไทย, BBT และธุรกิจรอบด้านที่ขยายตัว (ขนส่งตู้ทางบก-ซ่อมบำรุง – warehouse- Freight fowarder) ในขณะที่คาด Net margin (%) จะค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 8.9%
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจท่าเทียบเรือบนแม่น้ำเจ้าพระยา ให้บริการจัดการและบริหารตู้สินค้าคอนเทนเนอร์แก่สายเดินเรือขนส่งสินค้าใน-ต่างประเทศอย่างครบวงจร ซึ่งฐานลูกค้าค่อนข้างมีชื่อเสียงเช่น MAERSK, NYK LINE เป็นต้น ปัจจุบันมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ของท่าเรือเอกชน (รวม 4 แสนตู้/ปี)
- ORI (กสิกรไทย) "ซื้อ" เป้า 24.70 บาท บริษัทประกาศเป้าหมายปี 2561 อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้าเปิดโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 65% เป็น 25.0 พันล้านบาท ทำให้เป้าหมายยอดขายจะเพิ่มขึ้น 28% เป็น 18.0 พันล้านบาท ขณะที่รายได้ตั้งเป้าเติบโต 55% เป็น 14.0 พันล้านบาท โดยโครงการใหม่ที่มีแผนก่อสร้างแล้วเสร็จเพิ่มเติม 15.1 พันล้านบาทในปี 2561 จาก 13.2 พันล้านบาท ในปีนี้จะเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญ โดยปีหน้านอกเหนือจากโครงการพาร์ค ทองหล่อ (มูลค่า 11.0 พันล้านบาท) แล้ว ORI จะมีการเปิดตัวโครงการแนวราบมากขึ้นกว่าปีนี้ โดยจะเพิ่มทาวน์โฮมเข้ามาในพอร์ตการพัฒนาจากปีนี้ที่มีบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดแล้ว นอกจากนี้ยังจะมีการพัฒนาโครงการที่สร้างรายได้ประจำ ทั้งโรงแรม รีเทลและศึกษาการพัฒนาคลังสินค้าอีกด้วย ซึ่งจะทำให้กลุ่มธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้น โดยยังคงมุมมองเชิงบวกต่อพัฒนาการของบริษัท
- WHAUP (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 9 บาท ผลกำไรยังเติบโตทั้งไตรมาส 4 และปีหน้ารับรู้ผลกำไรจาการลงทุนเต็มปี แนวโน้มธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่องทั้งน้ำและไฟฟ้า พร้อมคาดแนวโน้มไตรมาส 4 จะดีขึ้นจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มผลประกอบการดีต่อเนื่อง ปีหน้ารับรู้ผลกำไรจาการลงทุนเต็มปี และหาโอกาสเติบโตใน CLMV ใช้ Synergy WHA Group รวมถึงมีธุรกิจต่อยอด (1) Private Solar rooftop (2) IE Gas Pipe Distribution (3) Waste-to-Industrial Water
ตลาดหุ้นเอเชียผันผวนเช้านี้ หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวอย่างผันผวนในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,425.01 จุด ลดลง 5.45 จุด, -0.16% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 30,033.18 จุด เพิ่มขึ้น 29.69 จุด, +0.10% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,837.61 จุด เพิ่มขึ้น 15.02 จุด, +0.14% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,542.34 จุด เพิ่มขึ้น 1.83 จุด, +0.07% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,439.04 จุด เพิ่มขึ้น 9.02 จุด, +0.26% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,723.42 จุด ลดลง 0.12 จุด, -0.01%
*ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้เนื่องในวันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน
รายงานการประชุมของเฟดระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ครั้งต่อไปในเดือนธ.ค.นั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม หากข้อมูลที่เฟดได้รับมานั้นบ่งชี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลางยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยกรรมการเฟดเชื่อว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะใกล้นี้ พร้อมระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจากพายุเฮอร์ริเคน
อย่างไรก็ตาม มีกรรมการเฟดบางส่วนให้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กรรมการเฟดอีกส่วนหนึ่งมองว่า การประวิงเวลานานเกินไปในการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน หรือถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินช้าเกินไป อาจจะสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: หุ้นกลุ่มสร้างบ้านร่วง สกัดฟุตซี่ปิดบวกเพียง 7.68 จุด
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนบวกติดต่อกัน 3 วันทำการเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) ด้วยแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นทั้งกระดาน อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ปิดบวกในกรอบจำกัดจากแรงเทขายในหุ้นกลุ่มสร้างบ้าน หลังรัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ของสหราชอาณาจักร
ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 7.68 จุด หรือ +0.10% ปิดที่ 7,419.02 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้ ได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายหลังจากนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดของร่างงบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีการบรรจุแผนส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยที่ประชาชนจะหาซื้อได้
หุ้นบาร์ราตต์ เดเวลลอปเมนต์ส ดิ่งลง 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิงส์ ร่วง 2.6% หุ้นเพอร์ซิมมอน ลดลง 1.9% และหุ้นเทย์เลอร์ วิมปีย์ ลดลง 1.8%
ค่าเงินสกุลปอนด์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1.3214 ดอลลาร์ หลังนายแฮมมอนด์เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณของสหราชอาณาจักรได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษในปีนี้ เหลือโตเพียง 1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2% นอกจากนี้อังกฤษยังหั่นคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปีหน้าเหลือ 1.4% จากระดับ 1.6%
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนได้ปัจจัยหนุนให้ปิดบวกจากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ หลังราคาแร่โลหะปรับตัวสูงขึ้นสืบเนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยหุ้นเฟรสนิลโล พุ่งขึ้น 4.3% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส เพิ่มขึ้น 1.4% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้น 0.7%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนบวกติดต่อกัน 3 วันทำการเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) ด้วยแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นทั้งกระดาน อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ปิดบวกในกรอบจำกัดจากแรงเทขายในหุ้นกลุ่มสร้างบ้าน หลังรัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายตลาดที่อยู่อาศัยใหม่ของสหราชอาณาจักร
ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 7.68 จุด หรือ +0.10% ปิดที่ 7,419.02 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้ ได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายหลังจากนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดของร่างงบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีการบรรจุแผนส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยที่ประชาชนจะหาซื้อได้
หุ้นบาร์ราตต์ เดเวลลอปเมนต์ส ดิ่งลง 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิงส์ ร่วง 2.6% หุ้นเพอร์ซิมมอน ลดลง 1.9% และหุ้นเทย์เลอร์ วิมปีย์ ลดลง 1.8%
ค่าเงินสกุลปอนด์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในระหว่างวันที่ 1.3214 ดอลลาร์ หลังนายแฮมมอนด์เปิดเผยว่า สำนักงบประมาณของสหราชอาณาจักรได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษในปีนี้ เหลือโตเพียง 1.5% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2% นอกจากนี้อังกฤษยังหั่นคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปีหน้าเหลือ 1.4% จากระดับ 1.6%
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นลอนดอนได้ปัจจัยหนุนให้ปิดบวกจากแรงซื้อในหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ หลังราคาแร่โลหะปรับตัวสูงขึ้นสืบเนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยหุ้นเฟรสนิลโล พุ่งขึ้น 4.3% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส เพิ่มขึ้น 1.4% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้น 0.7%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ หลังหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว-ธุรกิจสร้างบ้านร่วง
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจสร้างบ้าน อย่าไงรก็ตาม การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้น ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวขึ้นตามทิศทางราคาโลหะในตลาดโลก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.3% ปิด 387.06 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,352.76 จุด ลดลง 13.39 จุด หรือ -0.25% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,015.04 จุด ลดลง 152.50 จุด หรือ -1.16% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,419.02 จุด เพิ่มขึ้น 7.68 จุด หรือ +0.10%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านร่วงลง นำโดยหุ้นบาร์ราตต์ เดเวลลอปเมนต์ส ดิ่งลง 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิงส์ ร่วง 2.6% หุ้นเพอร์ซิมมอน ลดลง 1.9% และหุ้นเทย์เลอร์ วิมปีย์ ลดลง 1.8%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านของอังกฤษได้รับปัจจัยกดดันหลังจากนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดของร่างงบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีการบรรจุแผนส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยที่ประชาชนจะหาซื้อได้
หุ้นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวร่วงลงเช่นกัน นำโดยหุ้นโธมัน คุ๊ก ดิ่งลง 8.4% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรในปีงบการเงิน 2560 เนื่องจากการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดสเปน
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคาโลหะในตลาดโลก โดยโดยหุ้นเฟรสนิลโล พุ่งขึ้น 4.3% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส เพิ่มขึ้น 1.4% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้น 0.7%
ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันเช่นกัน โดยหุ้นทุลโลว์ ออยล์ พุ่งขึ้น 4.6% หุ้นโททาล ปรับขึ้น 0.7% และหุ้นเรพซอล ขยับขึ้น 0.7% เช่นกัน
สำหรับความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปนั้น สำนักงานเพื่อความรับผิดชอบด้านงบประมาณ (OBR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัว 1.5% ในปีนี้ โดยลดลงจากระดับ 2.0% ที่มีการคาดการณ์ในเดือนมี.ค.
ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) โดยได้รับปัจจัยกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจสร้างบ้าน อย่าไงรก็ตาม การพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้น ขณะที่หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวขึ้นตามทิศทางราคาโลหะในตลาดโลก
ดัชนี Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.3% ปิด 387.06 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,352.76 จุด ลดลง 13.39 จุด หรือ -0.25% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,015.04 จุด ลดลง 152.50 จุด หรือ -1.16% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,419.02 จุด เพิ่มขึ้น 7.68 จุด หรือ +0.10%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านร่วงลง นำโดยหุ้นบาร์ราตต์ เดเวลลอปเมนต์ส ดิ่งลง 3.7% หุ้นเบิร์กลีย์ กรุ๊ป โฮลดิงส์ ร่วง 2.6% หุ้นเพอร์ซิมมอน ลดลง 1.9% และหุ้นเทย์เลอร์ วิมปีย์ ลดลง 1.8%
หุ้นกลุ่มธุรกิจสร้างบ้านของอังกฤษได้รับปัจจัยกดดันหลังจากนายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษได้เปิดเผยรายละเอียดของร่างงบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีการบรรจุแผนส่งเสริมให้เพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยที่ประชาชนจะหาซื้อได้
หุ้นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวร่วงลงเช่นกัน นำโดยหุ้นโธมัน คุ๊ก ดิ่งลง 8.4% หลังจากบริษัทปรับลดคาดการณ์ผลกำไรในปีงบการเงิน 2560 เนื่องจากการแข่งขันอันดุเดือดในตลาดสเปน
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคาโลหะในตลาดโลก โดยโดยหุ้นเฟรสนิลโล พุ่งขึ้น 4.3% หุ้นแรนด์โกลด์ รีซอสเซส เพิ่มขึ้น 1.4% และหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ขยับขึ้น 0.7%
ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันเช่นกัน โดยหุ้นทุลโลว์ ออยล์ พุ่งขึ้น 4.6% หุ้นโททาล ปรับขึ้น 0.7% และหุ้นเรพซอล ขยับขึ้น 0.7% เช่นกัน
สำหรับความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปนั้น สำนักงานเพื่อความรับผิดชอบด้านงบประมาณ (OBR) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัว 1.5% ในปีนี้ โดยลดลงจากระดับ 2.0% ที่มีการคาดการณ์ในเดือนมี.ค.
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดลบ 64.65 จุด หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเดือนธ.ค.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐหดตัวลงในเดือนต.ค. อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดทำนิวไฮ เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,526.18 จุด ลดลง 64.65 จุด หรือ -0.27% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,867.36 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด หรือ +0.07% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,597.08 จุด ลดลง 1.95 จุด หรือ -0.08%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดอ่อนแรงลงหลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า กรรการเฟดส่วนใหญ่มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ครั้งต่อไปในเดือนธ.ค.นั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม หากข้อมูลที่เฟดได้รับมานั้นบ่งชี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลางยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยกรรมการเฟดเชื่อว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะใกล้นี้ พร้อมระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจากพายุเฮอร์ริเคน
อย่างไรก็ตาม มีกรรมการเฟดบางส่วนให้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กรรมการเฟดอีกส่วนหนึ่งมองว่า การประวิงเวลานานเกินไปในการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน หรือถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินช้าเกินไป อาจจะสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลง 1.2% ในเดือนต.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนก.ย. โดยการร่วงลงของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนต.ค.นั้น ได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์
นักวิเคราะห์จากฟอร์ท พิทท์ แคปิตอล กล่าวว่า วอลุ่มการซื้อขายเมื่อคืนนี้เบาบางมาก เนื่องจากนักลงทุนได้ชะลอการซื้อขายก่อนที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กจะปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 พ.ย. เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
หุ้นฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซ ร่วงลง 7.2% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ หลังจากมีรายงานว่า นางเม็ก วิทแมน ซีอีโอของฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังในช่วงครึ่งปีแรก
ส่วนหุ้นเอชพี อิงค์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ในฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซด้วยนั้น ร่วงลง 5% อันเนื่องมาจากรายงานดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดในแดนบวกและทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยได้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นเวอไรซอน พุ่งขึ้น 2% ขณะที่หุ้นเอทีแอนด์ที ดีดตัวขึ้น 1.6%
หุ้นควอลคอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพสำหรับสมาร์ทโฟน พุ่งขึ้น 2.2% หลังจากมีรายงานว่า บรอดคอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพในธุรกิจสื่อสาร เตรียมเพิ่มข้อเสนอเพื่อรุกซื้อกิจการของบริษัทควอลคอม
หุ้นเดียร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ พุ่งขึ้น 4.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 3 ที่ระดับ 1.57 ดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.47 ดอลลาร์ ขณะที่ยอดขายอยู่ที่ระดับ 7.09 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 6.99 พันล้านดอลลาร์
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต
--อินโฟเควสท์
OO2704
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประจำวันที่ 31 ต.ค.-1 พ.ย.ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่สนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค. นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐหดตัวลงในเดือนต.ค. อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ยังคงปิดทำนิวไฮ เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,526.18 จุด ลดลง 64.65 จุด หรือ -0.27% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,867.36 จุด เพิ่มขึ้น 4.88 จุด หรือ +0.07% และดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,597.08 จุด ลดลง 1.95 จุด หรือ -0.08%
ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดอ่อนแรงลงหลังจากรายงานการประชุมของเฟดระบุว่า กรรการเฟดส่วนใหญ่มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (federal funds rate) ครั้งต่อไปในเดือนธ.ค.นั้น ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม หากข้อมูลที่เฟดได้รับมานั้นบ่งชี้ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะกลางยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยกรรมการเฟดเชื่อว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคและภาคเอกชนจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะใกล้นี้ พร้อมระบุว่า ตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ได้รับผลกระทบในระดับหนึ่งจากพายุเฮอร์ริเคน
อย่างไรก็ตาม มีกรรมการเฟดบางส่วนให้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ พร้อมกับแนะนำให้เฟดดำเนินนโยบายคุมเข้มทางการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่กรรมการเฟดอีกส่วนหนึ่งมองว่า การประวิงเวลานานเกินไปในการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน หรือถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินช้าเกินไป อาจจะสร้างความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินภายในประเทศ
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลง 1.2% ในเดือนต.ค. หลังจากพุ่งขึ้น 2.2% ในเดือนก.ย. โดยการร่วงลงของยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนต.ค.นั้น ได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์
นักวิเคราะห์จากฟอร์ท พิทท์ แคปิตอล กล่าวว่า วอลุ่มการซื้อขายเมื่อคืนนี้เบาบางมาก เนื่องจากนักลงทุนได้ชะลอการซื้อขายก่อนที่ตลาดหุ้นนิวยอร์กจะปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 23 พ.ย. เนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
หุ้นฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซ ร่วงลง 7.2% ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดดัชนี S&P500 ปิดในแดนลบ หลังจากมีรายงานว่า นางเม็ก วิทแมน ซีอีโอของฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซ ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ ทางบริษัทยังได้เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังในช่วงครึ่งปีแรก
ส่วนหุ้นเอชพี อิงค์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ในฮิวเล็ต แพคการ์ด เอนเตอร์ไพร์ซด้วยนั้น ร่วงลง 5% อันเนื่องมาจากรายงานดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดในแดนบวกและทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยได้ปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยหุ้นเวอไรซอน พุ่งขึ้น 2% ขณะที่หุ้นเอทีแอนด์ที ดีดตัวขึ้น 1.6%
หุ้นควอลคอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพสำหรับสมาร์ทโฟน พุ่งขึ้น 2.2% หลังจากมีรายงานว่า บรอดคอม ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิพในธุรกิจสื่อสาร เตรียมเพิ่มข้อเสนอเพื่อรุกซื้อกิจการของบริษัทควอลคอม
หุ้นเดียร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถแทรกเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐ พุ่งขึ้น 4.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาส 3 ที่ระดับ 1.57 ดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 1.47 ดอลลาร์ ขณะที่ยอดขายอยู่ที่ระดับ 7.09 พันล้านดอลลาร์ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 6.99 พันล้านดอลลาร์
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย.จากมาร์กิต
--อินโฟเควสท์
OO2704