WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

18ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งตัว หลังราคาน้ำมันนิ่ง-ติดตามประชุมกนง.วันนี้,ลุ้นกลุ่มค้าปลีกฟื้นรับมาตรการช็อปช่วยชาต
นายภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบ 1,710-1,720 จุด เนื่องจากราคาน้ำมันค่อนข้างนิ่ง หลังจากที่ปรับขึ้นมาหลายวันทำให้หุ้นในกลุ่มพลังงานคงเคลื่อนไหวแกว่งไซด์เวย์ เช่นเดียวกับกลุ่มแบงก์ ยกเว้น SCB ที่อาจจะปรับขึ้นได้ดีกว่ากลุ่มฯ หลังจากที่ PACE ได้เซ็น MOU กับ SIRI เพื่อการเจรจาซื้อขายโครงการนิมิตหลังสวน (ทั้งโครงการ) และห้องชุดที่พักอาศัยในโครงการเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก ส่วนที่เหลือทั้งหมด (จำนวน 53 ห้องชุด) ในโครงการอาคารชุดมหานคร ซึ่งก็จะทำให้ PACE ได้เงินมาชำระหนี้ให้กับ SCB ทำให้ SCB ความเสี่ยงลดลง
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ก็ให้ติดตามดู โดยคาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% แต่ให้ติดตามความเห็นหลังการประชุมเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจ ซึ่งก็มองเป็นบวก และคาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP) ของไทยงวดไตรมาส 3/60 จะเติบโต 4% สำหรับมาตรการช็อปช่วยชาติ ที่จะมีในวันที่ 11 พ.ย.-3 ธ.ค.นี้ คาดว่าจะช่วยทำให้กลุ่มค้าปลีก และห้างสรรพสินค้า ฟื้นตัวได้
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะติดลบเล็กน้อย เป็นแค่ Take profit โดยต่างก็รอดูการมาเยือนเอเชียของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ และต้องจับตาปฏิกริยาของเกาหลีเหนือที่จะมีต่อกรณีนี้ด้วย
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (7 พ.ย.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,557.23 จุด เพิ่มขึ้น 8.81 จุด (+0.04%), ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,590.64 จุด ลดลง 0.49 จุด (-0.02%), ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,767.78 จุด ลดลง 18.65 จุด (-0.27%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 87.69 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 4.43 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 43.84 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 0.90 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 10.96 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 3.77 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 4.06 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 3.23 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (7 พ.ย.60) 1,712.75 จุด เพิ่มขึ้น 1.01 จุด (+0.06%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 244.18 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 พ.ย.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ธ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (7 พ.ย.60) ปิดที่ระดับ 57.20 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 15 เซนต์ หรือ 0.3%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (7 พ.ย.60) ที่ 7.08 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 33.14 แนวโน้มทรงตัว รอกนง.บ่ายนี้ คาดกรอบเคลื่อนไหว 33.10-33.20
- ครม.ไฟเขียวมาตรการช็อปช่วยชาติ 23 วัน เริ่ม 11 พ.ย.-3 ธ.ค.นี้ นำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้ามูลค่าไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท หักลดหย่อนภาษี คาดเงินสะพัดหมื่นล้านบาท แลกรัฐสูญเสียรายได้ 2 พันล้านบาท ยันไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว ขณะเอกชนเสียงแตก หวั่นกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอหวังโปรโมชั่นจากมาตรการ
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวนต่อเนื่อง หากมองเฉพาะปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ แนวโน้มค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงจากการที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.นี้ อีก 1 ครั้ง และปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้าอีก 2 ครั้ง ดังนั้น ปีนี้คงไม่เห็นเงินบาทแข็งค่าหลุด 33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
- ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร.ประจำเดือน พ.ย. 2560 ว่า ที่ประชุมประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2561 จะขยายตัวใกล้เคียงกับปีนี้ โดยคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวอยู่ที่ ระดับ 3.5-4% ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะอยู่ในระดับ 3.5-6% โดยมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเฉพาะการลงทุนของเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการลงทุนของภาครัฐ แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นคือ ค่าเงินบาทและผลกระทบเรื่องเบร็กซิต หลังจากอังกฤษออกจากอียูและเริ่มส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ
- ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เผยว่าสัปดาห์นี้กกพ.จะประชุมพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) สำหรับการเรียกเก็บในงวด ม.ค.-เม.ย.2561 โดยมีแนวโน้มที่จะไม่ปรับราคาขึ้น เนื่องจากยังมีเงินลงทุนของ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.), การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ที่ไม่เป็นไปตามแผน จึงสามารถนำเงินดังกล่าวมาเกลี่ยอุดหนุนค่าไฟฟ้าได้ ประกอบกับพลังงานทดแทนบางส่วนไม่เข้าระบบตามแผนและค่าเงินบาทแข็งค่า จึงมีผลให้ต้นทุนต่ำลง แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มจะส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติปรับขึ้น จึงอาจจะส่งผลให้ค่าไฟงวดถัดไป(พ.ค.-ส.ค.2561) ขยับสูงขึ้นค่อนข้างมาก
*หุ้นเด่นวันนี้
- SPALI-W4 (ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบมจ.ศุภาลัย (SPALI)) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวน 429,135,954 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ : 1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาการใช้สิทธิ 4.00 บาทต่อหุ้น
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ปี นับจากวันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาทต่อหน่วย โดยกำหนดวันใช้สิทธิครั้งแรก 19 ม.ค. 2561 ส่วนวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 19 ต.ค. 2561
- PTTEP (ธนชาต) "ซื้อ" ปรับประมาณการกำไรขึ้น 5-22% ในปี 2560-2562 จากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบแข็งแกร่งกว่าคาด, ปริมาณการผลิตเพิ่ม และการต่ออายุสัมปทานในอนาคต แม้ราคาหุ้น outperform ตลาดในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ PE61 ที่ 9.9x ยังไม่แพง คาดปันผล 6.8% ปีหน้า
- SPALI (ไอร่า) เป้า 28.50 บาท คาดผลการดำเนินงาน Q3/60 โดดเด่น คาดกำไรสุทธิ 1,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130%YoY และ 47%QoQ โดยรวมกำไรพิเศษจากการขายอาคารสำนักงานที่ฟิลิปปินส์ ประมาณ 300 ล้านบาท และได้รับปัจจัยหนุนจากการส่งมอบโครงการคอนโดใหม่ Supalai Loft Changwattana และ Supalai Veranda Ratchavibha -Prachachuen มูลค่ารวม 5,640 ล่านบาท และมียอดขายเฉลี่ย 86% ขณะที่คาดอัตรากำไรขั้นต้น 38.3% (จาก 38.2%ใน Q2/60 และ 37.7% ใน Q3/59) แนวโน้มปี 60 – 60 ยังโตดีต่อเนื่อง ภายใต้ Backlog ที่มีอยู่ ประมาณ 6,700 ล้านบาท และแผนการเปิดโครงการแนวราบ 7 โครงการ (ในปี 61) คาดรายได้ เติบโต 13% และ 4% อยู่ที่ 26,283 ล้านบาท และ 27,353 ล้านบาท พร้อมคาดกำไรสุทธิ 5,650 ล้านบาท และ 6,088 ล้านบาท เติบโต 13% และ 4% ตามลำดับ
- ATP30 (เมย์แบงก์ กิมเอ็ง) "ซื้อ"เป้า 2.19 บาท พอใจกับผลการดำเนินงานใน Q3/60 อย่างมาก จากกำไรฟื้นตัวแรง +54.2% QoQ และ +5.2% YoY ได้ตามแผน ขณะที่เนื้อการทำงาน สามารถทำ All time high ได้ถึง 3 จุด ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพของกำไรที่ยอดเยี่ยมได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และ รายได้/คัน โดยคงมุมมองบวกต่อบริษัท พร้อมคาดว่าการเติบโตของกำไร YoY ในปี 2561 จะรุนแรงมาก
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ เหตุนักลงทุนวิตกแผนปฏิรูปภาษีสหรัฐ
   ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่าร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันจะผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐหรือไม่
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 22,849.91 จุด ลดลง 87.69 จุด, -0.38% ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,409.15 จุด ลดลง 4.43 จุด, -0.13% ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 28,950.50 จุด ลดลง 43.84 จุด, -0.15% ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 10,839.44 จุด ลดลง 0.90 จุด, -0.01% ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,534.48 จุด ลดลง 10.96 จุด, -0.43% ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,409.33 จุด ลดลง 3.77 จุด, -0.11% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,746.88 จุด ลดลง 4.06 จุด, -0.23% ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 8,525.04 จุด เพิ่มขึ้น 3.23 จุด, +0.04%
ตลาดได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันอาจจะเผชิญกับความยากลำบากในการผ่านมติสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และอาจถูกขัดขวางจากกลุ่มผู้ที่เสียผลประโยชน์ เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะยกเลิกการลดย่อนภาษีหลายรายการ
คณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ของสภาผู้แทนราษฎร (Committee on Ways and Means) กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน โดยร่างกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงสู่ระดับ 20% จากปัจจุบันที่ระดับ 35% และการลดจำนวนขั้นบันไดในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 7 ขั้น เหลือเพียง 4 ขั้น คือ 12%, 25%, 35% และ 39.6%
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษียังระบุว่า จะจัดเก็บภาษี 10% สำหรับสาขาในต่างประเทศที่ทำกำไรได้มาก เพื่อสกัดพฤติกรรมการโอนกำไรไปยังต่างประเทศ และจำกัดเพดานการหักลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ และท้องถิ่นที่ระดับ 10,000 ดอลลาร์
ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: หุ้นค้าปลีกร่วง ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 49.17 จุด
       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ (7 พ.ย.) ด้วยแรงฉุดของหุ้นกลุ่มค้าปลีกซึ่งร่วงลงจากแรงกดดันของตัวเลขค้าปลีกที่อ่อนแอของอังกฤษ
ดัชนี FTSE 100 ลดลง 49.17 จุด หรือ -0.65% ปิดที่ 7,513.11 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้ ได้รับปัจจัยลบจากรายงานของสมาคมผู้ค้าปลีกอังกฤษ (British Retail Consortium) ซึ่งระบุว่า ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรขยายตัวเพียง 0.2% ในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นอัตราการชะลอตัวมากสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ขณะที่ KPMG ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยการค้าปลีกชั้นนำของโลก ออกรายงานเตือนเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยรายงานดังกล่าวได้สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับยอดขายในช่วงเทศกาลชอปปิงก่อนวันหยุดคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึง
หุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงจากตัวเลขค้าปลีกที่อ่อนแอของอังกฤษและรายงานเตือนของ KPMG โดยหุ้นมาร์คส์ แอนด์ สเปนเวอร์ ลดลง 1% หุ้นเน็กซ์ ร่วง 1.1% และหุ้นคิงฟิชเชอร์ ดิ่งลง 2.9%
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวขึ้นตามทิศทางของราคาน้ำมันเมื่อคืนนี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ตลาดลอนดอน พุ่งขึ้นกว่า 3% ในระหว่างวัน โดยหุ้นบีพี ขยับขึ้น 0.7%
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของอังกฤษที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ แฮลิแฟกซ์ รายงานว่า ราคาที่อยู่อาศัยในสหราชอาณาจักรพุ่งขึ้น 4.5% ในเดือนต.ค.เมื่อเทียบรายปี ด้วยราคาเฉลี่ยที่ 225,826 ปอนด์ ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: หุ้นยุโรปปิดลบ หลังบริษัทจดทะเบียนเผยผลประกอบการซบเซา
       ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (7 พ.ย.) หลังจากบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งเปิดเผยผลประกอบการที่ซบเซา รวมถึงเอ.พี.โมลเลอร์-เมอส์ก ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งทางเรือรายใหญ่ของเดนมาร์ก ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในสเปนอย่างใกล้ชิด หลังจากสภาหอการค้าสเปนได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลข GDP ในปีนี้และปีหน้า อันเนื่องมาจากวิกฤตแคว้นกาตาลุญญา
ดัชนี The Stoxx Europe 600 ปรับตัวลง 0.5% ปิดที่ 394.65 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 13,379.27 จุด ลดลง 89.52 จุด หรือ -0.66% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,480.64 จุด ลดลง 26.61 จุด หรือ -0.48% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,513.11 จุด ลดลง 49.17 จุด หรือ -0.65%
หุ้นเอ.พี.โมลเลอร์-เมอส์ก ดิ่งลง 7.1% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขขาดทุนในไตรมาส 3 ขณะที่หุ้นซีเมนส์ กาเมซา รีนิวเอเบิล เอนเนอร์จี ซึ่งเป็นผู้ผลิตกังหันลมรายใหญ่ของยุโรป ร่วงลง 6.8% หลังจากบริษัทได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2560
หุ้น G4S ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านความลปอดภัยรายใหญ่ระดับโลก ร่วงลง 4.7% หลังจากบริษัทได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการในปีงบการเงิน 2560
ส่วนหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลง โดยหุ้นมาร์คส์ แอนด์ สเปนเวอร์ ลดลง 1% หุ้นเน็กซ์ ร่วง 1.1% และหุ้นคิงฟิชเชอร์ ดิ่งลง 2.9%
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากสภาหอการค้าสเปนได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสเปนในปีนี้ และปีหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในแคว้นกาตาลุญญา
ทั้งนี้ สภาหอการค้าระบุว่า เศรษฐกิจสเปนจะมีการขยายตัว 3.0% ในปีนี้ โดยลดลง 0.1% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ในเดือนมิ.ย. และจะขยายตัว 2.4% ในปีหน้า โดยลดลง 0.4% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สมาคมผู้ค้าปลีกอังกฤษ (British Retail Consortium) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักรขยายตัวเพียง 0.2% ในเดือนต.ค. ขณะที่กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนีเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเดือนก.ย.ปรับตัวขึ้น 1% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่ายอดสั่งซื้อจะลดลง 1.5% ในเดือนก.ย.
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดบวก 8.81 จุด แต่การซื้อขายซบเซาเหตุนลท.กังวลแผนปฏิรูปภาษี
        ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดขยับขึ้นเมื่อคืนนี้ (7 พ.ย.) โดยดาวโจนส์ปิดทำนิวไฮติดต่อกันเป็นวันที่ 4 อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P500 และดัชนี Nasdaq ต่างก็ปิดในแดนลบ อันเนื่องมาจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่นักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจว่า ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันจะผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐหรือไม่
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,557.23 จุด เพิ่มขึ้น 8.81 จุด หรือ +0.04% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,590.64 จุด ลดลง 0.49 จุด หรือ -0.02% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,767.78 จุด ลดลง 18.65 จุด หรือ -0.27%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างผันผวน เนื่องจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 1.5% ส่วนหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และหุ้นเวลส์ ฟาร์โก ต่างก็ร่วงลง 2% ขณะที่หุ้นซิตี้กรุ๊ป ดิ่งลง 1.5% หุ้นเรเจียนส์ ไฟแนนเชียล ร่วงลง 2.6% หุ้นไซออนส์ แบงคอร์ป ดิ่งลง 3.4%
หุ้นไพรซ์ไลน์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวทางออนไลน์ ทรุดฮวบลง 13.52% ขณะที่หุ้นทริปแอดไวเซอร์ ดิ่งลง 23.22% หลังจากทั้งสองบริษัทเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่น้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์
หุ้น Snap ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Snapchat ดิ่งลง 16% หลังจากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่น้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์เช่นกัน
ส่วนหุ้นที่สามารถต้านทานวัฏจักรทางเศรษฐกิจ (defensive stocks) เช่นหุ้นกลุ่มสินค้าเพื่อผู้บริโภค ดีดตัวขึ้น โดยหุ้นพร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (P&G) ปรับตัวขึ้น 1.08% หุ้นแวเลียนท์ ฟาร์มาซูติคัล ทะยานขึ้น 17.11% ขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาดของบริษัท
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันอาจจะเผชิญกับความยากลำบากในการผ่านมติสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ และอาจถูกขัดขวางจากกลุ่มผู้ที่เสียผลประโยชน์ เนื่องจากร่างกฎหมายฉบับนี้มีแนวโน้มที่จะยกเลิกการลดย่อนภาษีหลายรายการ
คณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ของสภาผู้แทนราษฎร (Committee on Ways and Means) กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน โดยร่างกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงสู่ระดับ 20% จากปัจจุบันที่ระดับ 35% และการลดจำนวนขั้นบันไดในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 7 ขั้น เหลือเพียง 4 ขั้น คือ 12%, 25%, 35% และ 39.6%
นอกจากนี้ ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษียังระบุว่า จะจัดเก็บภาษี 10% สำหรับสาขาในต่างประเทศที่ทำกำไรได้มาก เพื่อสกัดพฤติกรรมการโอนกำไรไปยังต่างประเทศ และจำกัดเพดานการหักลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ และท้องถิ่นที่ระดับ 10,000 ดอลลาร์
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ สำนักงานสถิติของกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน (JOLTS) รายเดือน พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน อยู่ที่ระดับ 6.09 ล้านตำแหน่งในเดือนก.ย. ซึ่งใกล้เคียงกับระดับในเดือนส.ค. และไม่ไกลจากตัวเลข 6.14 ล้านตำแหน่งในเดือนก.ค. โดยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานที่ค่อนข้างทรงตัวในเดือนก.ย. เกิดจากการที่พายุเฮอร์ริเคนได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในโรงแรม และร้านอาหาร
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนก.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
--อินโฟเควสท์
OO2088

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!