- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Friday, 19 May 2017 14:28
- Hits: 1862
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งไซด์เวย์กรอบแคบ เหตุไร้ปัจจัยกระตุ้น-จับตาการเมืองสหรัฐ
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งไซด์เวย์ในกรอบแคบ โดยให้กรอบ 1,540-1,552 จุด เนื่องจากตลาดฯไม่มีปัจจัยใหม่ชัดเจนที่จะเข้ามากระตุ้นให้ราคาหุ้นขับเคลื่อนไปได้ อีกทั้งยังต้องรอดูพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐฯ
ด้านราคาน้ำมันก็รีบาวด์เล็กน้อย ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างก็เคลื่อนไหวทั้งในแดนบวก-ลบเล็กน้อยไม่ถึง 0.2% ซึ่งมองว่านักลงทุนยังอยู่ในภาวะของการระมัดระวังการลงทุนอยู่
สำหรับ สัปดาห์หน้าให้ติดตามการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และนอกโอเปกในวันที่ 25 พ.ค. และให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 24 พ.ค.นี้
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (18 พ.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,663.02 จุด เพิ่มขึ้น 56.09 จุด (+0.27%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 6,055.13 จุด เพิ่มขึ้น 43.89 จุด (+0.73%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,365.72 จุด เพิ่มขึ้น 8.69 จุด (+0.37%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 37.55 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 3.43 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 35.14 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 0.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 0.04 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 3.82 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.23 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 2.34 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (18 พ.ค.60) 1,545.88 จุด ลดลง 2.41 จุด (-0.16%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,055.36 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 พ.ค.60
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (18 พ.ค.60) ปิดที่ 49.35 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 28 เซนต์ หรือ 0.6%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (18 พ.ค.60) ที่ 5.93 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 34.53 อ่อนค่าหลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ หนุนดอลล์แข็ง มองกรอบวันนี้ 34.45-34.60
- สนช.เห็นชอบรายงานปฏิรูปภาษี เสนอเก็บภาษีลาภลอย พร้อม ขึ้น vat เพิ่มอีก 1% หวังได้ 7 หมื่นล้าน อ้างเพื่อพัฒนาการศึกษา-สาธารณสุข ขณะที่อนุกรรมาธิการร่วม "สนช.-สปท." ผ่าปฏิรูป ตร.ชง สตช.สังกัดยุติธรรม บูรณาการร่วมอัยการ-ศาล วางเกณฑ์ตั้ง ผบ.ตร.ต้องผ่าน งานสอบสวน 2 ปี
- การลงทุนภาคเอกชนในภาคธุรกิจอสังหาฯ ไม่ได้มีสัญญาณขยายตัวสูง จนเป็นความเสี่ยงว่าจะเกิดฟองสบู่แต่อย่างไร สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมที่ ธปท.รายงานในภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ติดลบ 2.2% เทียบกับระยะเดียวกัน และติดลบ 1.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ดี หากดูเฉพาะการนำเงินไปแสวงหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้น (Search for Yield) ของกลุ่มคนรวยในกองทุน อสังหาฯ ก็ยอมรับว่ามีอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ยังไม่ถึงขั้นน่ากังวล
- ก.ล.ต.หนุนจัดเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้ เพื่อความเป็นธรรม ย้ำไม่กระทบกองหุ้น
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยจากภาพรวมเศรษฐกิจของไทยไตรมาสแรกปีนี้ที่เติบโตได้น่าพอใจ ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกในเดือน มี.ค. เพิ่มสูงถึง 9.22% แต่เนื่องจากการส่งออกดังกล่าวมาจากแรงหนุนของราคาพืชผลทางการเกษตร เช่น ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางที่ปรับตัวสูงขึ้น ไม่ได้เกิดจากการเติบโตของอุปสงค์ภายนอกที่แท้จริง
- คมนาคมเล็งยืดเวลาก่อสร้างสายสีแดงออกไปอีกหลังเครนถล่มทำให้งานหยุดชะงัก 'อาคม' เผยไจก้าห่วงเรื่องความปลอดภัย ต้องรอผลวิเคราะห์จาก วสท.ก่อนเดินหน้าต่อ
- พาณิชย์มั่นใจเศรษฐกิจปีนี้โตตามที่สภาพัฒน์ประเมิน 3.3-3.8% หลังส่งออกขยายตัวดีขึ้น คาดทั้งปีบวก 3-4% ภาคบริการยังเติบโตสูง การลงทุนเพิ่มทั้งต่างชาติเข้ามาและไทยออกไป
*หุ้นเด่นวันนี้
- STANLY (ธนชาต) "ซื้อ" เป้า 280 บาท กำไร Q4/60 ที่ 332 ล้านบาท +1% q-q และ -21% y-y ใกล้กับที่คาดไว้ ยังมองการเติบโตกำไรในระยะยาว เป็นปัจจัยบวกต่อการเข้าซื้อ STANLY
- RS (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 10.80 บาท คาดผลประกอบการ Q2/60 ฟื้นตัวสูงทั้ง Q-Q และ Y-Y จากยอดขายธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์ H&B เป็นตัวหนุนหลัก ซึ่งทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น Q-Q และโตก้าวกระโดด Y-Y ขณะที่รายได้ทีวีดิจิตอลกระเตื้องขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงและกำลังซื้อโดยรวมไม่ฟื้นตัว Y-Y โดยได้ปรับประมาณการกำไรปกติปี 2560-2561 ขึ้น 8-9% จากการเติบโตสูงของธุรกิจ H&B ธุรกิจทีวีดิจิตอลกระเตื้องขึ้น และการควบคุมต้นทุนธุรกิจเพลง
- PDI (โกลเบล็ก) จุดเด่นฐานะการเงินแข็งแกร่งไม่มีภาระหนี้ทั้งสั้น-ยาว มีเงินสดพร้อมลงทุนในธุรกิจใหม่, D/E ต่ำ 0.29 เท่า PER 5.7 PBV 1.0 และกำไรปี 60 มีแนวโน้มดีกว่าปี 59 โดย 1Q60 กำไรสุทธิ 313 ลบ.+936% จากรายได้จากการขาย 1,517 ลบ.+25%YoY เป็นผลดีจากการเพิ่มขึ้นของราคาสังกะสีในตลาดโลกถึง 66% จาก 1,676 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันใน 1Q59 เป็น 2,781 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันใน 1Q60 และมาร์จิ้นดีขึ้นเป็น 22.8% จาก 10.3% ใน 1Q59 อีกทั้งยังมีรายได้ขายหุ่นบจ.แม่สอดพลังงานสะอาด 59 ลบ.รายได้หลักกว่า 95% ในปี 60 ยังมาจากธุรกิจสังกะสีที่คาดจะทยอยขายสต๊อกหมดที่เหลืออยู่ราว 3 หมื่นตันจนหมดภายในปีนี้
- PTT (ไอร่า) เป้า 450 บาท ผลดำเนินงาน 1Q/60 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง มีกำไรสุทธิ 46,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142% qoq และ 95% yoy แนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 60 ยังคงแข็งแกร่งจากกลุ่มธุรกิจก๊าซเป็นหลัก ประกอบกับแนวโน้มจากราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวขึ้น ภายใต้ความร่วมมือในการลดกำลังผลิตของกลุ่มโอเปก รวมถึงราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ 51 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล คาดส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของ PTTEP
ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ เหตุวิตกการเมืองสหรัฐ-บราซิล
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในสหรัฐและบราซิล
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,591.41 จุด เพิ่มขึ้น 37.55 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,086.71 จุด ลดลง 3.43 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,171.66 จุด เพิ่มขึ้น 35.14 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,970.40 จุด เพิ่มขึ้น 0.95 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,286.78 จุด ลดลง 0.04 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,217.84 จุด ลดลง 3.82 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,768.40 จุด เพิ่มขึ้น 1.23 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,755.35 จุด ลดลง 2.34 จุด
ทั้งนี้ ความวุ่นวายทางการเมืองในสหรัฐอาจส่งผลต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจนำไปสู่การถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่ง โดยเฉพาะเรื่องที่ทรัมป์ปลดนายเจมส์ โคมีย์ ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI)
ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์หัวใหญ่ของบราซิลรายงานว่า นายมีแชล เตเมร์ ประธานาธิบดีบราซิล ถูกอัดคลิปเสียงขณะที่กำลังยินยอมให้มีการติดสินบนเพื่อปิดปากพยานในการสืบสวนคดีรับสินบน รายงานข่าวดังกล่าวส่งผลให้การเมืองบราซิลเกิดความวุ่นวาย
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : เงินปอนด์แข็งค่า ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 67.05 จุด
ดัชนี ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเมื่อคืนนี้ (18 พ.ค.) โดยเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย.เป็นต้นมา ด้วยปัจจัยลบจากการที่เงินสกุลปอนด์แข็งค่าขึ้นทะลุ 1.30 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 8 เดือนเมื่อคืนนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนเทขายดอลลาร์ก่อนหน้านี้
ดัชนี FTSE 100 ลดลง 67.05 จุด หรือ -0.89% ปิดที่ 7,436.42 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อวานนี้ ได้รับปัจจัยลบจากการแข็งค่าของเงินสกุลปอนด์เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) ในเวลานั้น ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งต่อมานายโตมีย์ถูกปลดออกจากตำแหน่งผอ. FBI รายงานข่าวดังกล่าวทำให้เกิดกระแสความวิตกเป็นวงกว้างว่า ปธน.ทรัมป์อาจถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หากมีการตรวจสอบพบว่าเขาแทรกแซงการดำเนินงานของ FBI จริง
นักวิเคราะห์ตลาดจากแฮนเทค มาร์เก็ตส์ กล่าวว่า "ความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งนั้น ได้สร้างความวิตกกังวลในตลาดเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ด้วยว่า จากนี้ไป ปธน.ทรัมป์จะประสบกับความยากลำบากมากขึ้นในการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายปฏิรูปอื่นๆ"
หุ้นจดทะเบียนรายใหญ่ที่น่าจับตา หุ้นไชร์ เพิ่มขึ้น 1.8% หลังบริษัทเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ดังกล่าวรายงานผลความคืบหน้าที่น่าพอใจในการทดลองยารักษาโรคแองจิโออีเดมาที่เกิดจากพันธุกรรม ในขั้นตอนสุดท้าย
หุ้นเบอร์เบอร์รี กรุ๊ป พุ่งขึ้น 4.7% หลังบริษัทค้าปลีกสินค้าหรูรายใหญ่ดังกล่าว เปิดเผยว่า บริษัทยังอยู่ในทิศทางการดำเนินงานตามเป้าหมายของโครงการประหยัดต้นทุน นอกจากนี้ บริษัทยังประกาศที่จะซื้อหุ้นกลับคืนในวงเงิน 300 ล้านปอนด์ (388.2 ล้านดอลลาร์)
หุ้นรอยัล เมล ขยับขึ้น 0.7% หลังบริษัทไปรษณีย์รายนี้ รายงานผลกำไรก่อนหักภาษีพุ่งขึ้น 25% ในปีงบการเงิน 2017
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุนักลงทุนยังวิตกการเมืองสหรัฐ
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (18 พ.ค.) โดยตลาดปิดลบติดต่อกัน 2 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายปฏิรูปอื่นๆของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์หลังจากนี้
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.5% ปิดที่ 389.19 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,590.06 จุด ลดลง 41.55 จุด หรือ -0.33% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,289.73 จุด ลดลง 28.16 จุด หรือ -0.53% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,436.42 จุด ลดลง 67.05 จุด หรือ -0.89%
ตลาดหุ้นยุโรปยังคงได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ หลังจากปธน.ทรัมป์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการแทรกแซงการดำเนินงานของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) หลังจากที่เขาสั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ อดีตผู้อำนวยการ FBI และยังได้สั่งการให้นายโคมีย์ยุติการสืบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย
ทั้งนี้ ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเกิดความวิตกในสถานการณ์ความไม่แน่นอนในสหรัฐ เนื่องจากปธน.ทรัมป์อาจเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้น อีกทั้งพบกับอุปสรรคในการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการปฏิรูปภาษีหลังจากนี้
หุ้นเฟียต ไคร์สเลอร์ ออโต้โมบิล ร่วงลง 3.1% หลังจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐประกาศว่ายื่นฟ้องคดีแพ่งต่อบริษัทเฟียต ไคร์สเลอร์ ในข้อหาใช้ซอฟต์แวร์เพื่อโกงการตรวจจับมลพิษ
สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศยุโรปที่ได้มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติ (ONS) ของอังกฤษ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนเม.ย. เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และหากเทียบเป็นรายปี ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 4% ในเดือนเม.ย.
ทางด้านสำนักงานสถิติฝรั่งเศส (Insee) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปีนี้ ลดลงแตะระดับ 9.6% จากระดับ 10% ในไตรมาส 1 ปีที่แล้ว
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดบวก 56.09 จุด รับข้อมูลศก.สดใส,หุ้นเทคโนโลยีพุ่ง
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ และการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ รวมทั้งความสามารถของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,663.02 จุด เพิ่มขึ้น 56.09 จุด หรือ +0.27% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,365.72 จุด เพิ่มขึ้น 8.69 จุด หรือ +0.37% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,055.13 จุด เพิ่มขึ้น 43.89 จุด หรือ +0.73%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ หลังจากที่ร่วงลงอย่างหนักในวันพุธ โดยปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดฟื้นตัวขึ้นนั้น มาจากรายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 4,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 232,000 ราย สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 240,000 ราย
ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังคงอยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 115 ติดต่อกัน ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1970
ส่วนตัวเลขค่าเฉลี่ย 4 สัปดาห์ของจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ซึ่งถือเป็นมาตรวัดตลาดแรงงานที่ดีกว่า เนื่องจากขจัดความผันผวนรายสัปดาห์นั้น ลดลง 2,750 ราย สู่ระดับ 240,750 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดในแดนบวกเมื่อคืนนี้ โดยหุ้นแอปเปิล หุ้นอเมซอน และหุ้นเฟซบุ๊ก ต่างก็ปิดตลาดปรับตัวขึ้นกว่า 1.5%
หุ้นเฟซบุ๊กได้รับแรงซื้อส่งเข้าหนุน แม้มีรายงานว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแข่งขันของสหภาพยุโรปได้สั่งปรับเฟซบุ๊ก อิงค์ ของสหรัฐ เป็นจำนวนเงินกว่า 110 ล้านยูโร หรือ 122 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังตรวจสอบพบว่าเฟซบุ๊กได้แจ้งข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในระหว่างการตรวจสอบกรณีที่เฟซบุ๊กเข้าซื้อกิจการของ Whatsapp เมื่อปี 2557
หุ้นวอล-มาร์ท ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทะยานขึ้น 3.2% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้น 1.00 ดอลลาร์ในไตรมาส 1 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 96 เซนต์ และสูงกว่าระดับ 98 เซนต์ที่ทำไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ส่วนหุ้นซิสโก ซิสเต็มส์ ปิดร่วงลง 7.2% หลังจากบริษัทประกาศปรับลดจำนวนพนักงานลงอีก 1,100 ตำแหน่ง ตามแผนปรับโครงสร้างองค์กร
นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ หลังจากที่ปธน.ทรัมป์ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการแทรกแซงการดำเนินงานของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) หลังจากที่เขาสั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ อดีตผู้อำนวยการ FBI และยังได้สั่งการให้นายโคมีย์ยุติการสืบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม นายไมเคิล โชล ประธานบริษัทมาร์เก็ตฟิลด์ แอสเซ็ท แมเนจเมนต์ กล่าวว่า เขาไม่คิดว่าความเสี่ยงจากการที่ปธน.ทรัมป์จะถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง จะส่งผลให้มีการเปลี่ยนมุมมองต่อตลาด โดยเขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะไม่กระทบต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือภาวะกระทิงในขณะนี้
ด้านสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักวิเคราะห์หลายรายได้คาดการณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสหรัฐขณะนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มที่แข็งแกร่งในระยะยาวของตลาดหุ้นนิวยอร์ก
อินโฟเควสท์