WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

41ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งตัว ปัจจัยบวกกำไร บจ.เกินคาดหนุน-กระแสลบจากสหรัฐกดดัน

    นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัว โดยยังมีปัจจัยบวกในประเทศจากผลกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวดไตรมาส 1/60 โดยรวมออกมาสูงกว่าคาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจัยพื้นฐานยังดี

      ขณะที่มีปัจจัยลบมาจากฝั่งสหรัฐฯจากกระแสข่าวที่อาจกระทบสถานะของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯกรณีที่เคยสั่งให้นายเจมส์ โคมีย์ สมัยที่ยังเป็นผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ(FBI) ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐกับรัฐบาลรัสเซีย ส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐร่วงไปกว่า 372 จุดและตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในแดนลบ

พร้อมให้กรอบการแกว่งไว้ที่ 1,540-1,560 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (17 พ.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,606.93 จุด ร่วงลง 372.82 จุด (-1.78%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 6,011.24 จุด ร่วงลง 158.63 จุด (-2.57%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,357.03 จุด ลดลง 43.64 จุด (-1.82%)

     - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 257.89 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 22.11 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 259.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 61.03 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 21.81 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 31.31 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 10.27 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ ลดลง 29.01 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (17 พ.ค.60) 1,548.29 จุด เพิ่มขึ้น 1.94 จุด (+0.13%)

      - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,257.81 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 พ.ค.60

       - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (17 พ.ค.60) ปิดที่ 49.07 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 41 เซนต์ หรือ 0.8%

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (17 พ.ค.60) ที่ 6.04 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

       - เงินบาทเปิด 34.47 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค หลังความกังวลการเมืองสหรัฐฯกดดอลล์อ่อน

       - ยูเอ็นคาดเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวไปอีก 2 ปี แรงหนุนจากการขยายตัวที่แข็งแกร่งขึ้นในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาและการฟื้นตัวในระดับพอประมาณของการค้าและการลงทุน ขณะหอการค้าไทยเชื่อเศรษฐกิจไทยปีนี้ โต 3.5-4% เหตุส่งออกโตส่งสัญญาณเศรษฐกิจโลกฟื้น

      - ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (GSI) ประจำไตรมาสแรกปี 2560 อยู่ที่ระดับ 47.2 ลดลงจากไตรมาส 4 ปีก่อนที่อยู่ในระดับ 49.9 โดยประชาชนระดับฐานรากส่วนใหญ่รู้สึกว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมยังฟื้นตัวค่อนข้างล่าช้า ราคาสินค้าและค่าครองชีพสูง โอกาสในการหางานทำต่ำ

     - บล.เอเซีย พลัส สรุปงบการเงินไตรมาสแรกปี 2560 มีบริษัทจดทะเบียนรายงานแล้ว 529 บริษัท คิดเป็น 96% ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ทั้งตลาด ทำกำไรรวมกัน 2.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 42.9% จากไตรมาส 4 ปี 2559 ถือว่า ดีกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดที่ 2.3 แสนล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากการเติบโตที่ดีกว่าคาดของกลุ่มหลักที่มีสัดส่วนกำไรในตลาดอยู่ในระดับสูง ขณะที่กลุ่มที่กำไรแย่กว่าคาดแม้จะมีจำนวนมากกว่า แต่มาร์เก็ตแคปน้อยกว่า

      - ยอดการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือน เม.ย.2560 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจาก 8.04 หมื่นคัน มาอยู่ที่ 6.89 หมื่นคัน ลดลง 14.37% ต่ำสุดในรอบ 48 เดือน คิดเป็นมูลค่า 3.81 หมื่นล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 11.41% ซึ่ง การส่งออกดังกล่าวลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดเอเชียและออสเตรเลียเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลก

       - ธปท.เผยเศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวเกินคาด ชี้ปัจจัยหนุนเกษตร-ส่งออก-ลงทุนภาครัฐขยายตัว จับตาลงทุนเอกชนไม่ฟื้น คาดครึ่งปีหลังโตจากโครงการพื้นฐานและอีอีซี ด้านหอการค้ามั่นใจจีพีดีโต 3.5-4% ยันเศรษฐกิจโลกฟื้น 'ทรัมป์' โทรชวนนายกฯเยือนสัญญาณบวก

*หุ้นเด่นวันนี้

      - MGT (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนงบ 1Q60 ที่ออกมาดี กำไรสุทธิ +59%Q-Q และ +11%Y-Y จากการเพิ่มทีมขายและบาทแข็งที่ทำให้ต้นทุนถูกลง แนวโน้มช่วงที่เหลือของปีกำไรจะโตแรงเท่าตัว Y-Y เพราะไม่มีค่าปรับโครงสร้างองค์กรเหมือนปีก่อน และมีการเพิ่มช่องทางขายรวมถึงเพิ่มเคมีภัณฑ์ในกลุ่มอุปโภคบริโภค ราคาปัจจุบันยัง Laggard กลุ่ม ตั้งแต่ต้นปี UKEM และ GIFT ขึ้น 54% และ 41% แต่ MGT ลง 11% จาก IPO ส่วน PE ปีนี้อยู่ที่ 17 เท่า และจะลดเหลือ 14 เท่าปีหน้า ต่ำกว่ากลุ่มที่ 20 เท่า

      - MC (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 21.50 บาท ยังคงมีมุมมองเป็นบวกต่อกลยุทธ์การเติบโตทั้งการเพิ่มสัดส่วนการขายสินค้าท่อนบนรวมถึงการออกผลิตใหม่ โดยเป็นการ Engage ลูกค้าเดิมและขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของทั้งรายได้และกำไร รวมถึงยังเป็นการใช้ประโยชน์จากหน้าร้านของตนเองที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนมากขึ้น คาดกำไรปกติปี 2560 โต 13.3% Y-Y  ขณะที่ Dividend Yield ยังน่าสนใจราว 5.4%

     - CBG (ไอร่า) "ซื้อ"เป้า 75 บาท คาดผลการดำเนินงานในระยะสั้นจะยังคงถูกกดดันจากค่าใช้จ่ายจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 2Q60 จะเริ่มรับรู้ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการแข่งขัน Carabao Cup เพิ่มเติม ประกอบกับผลการดำเนินงานในอังกฤษที่ต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ปรับประมาณการกำไรในปี 60 ลดลง 24% อย่างไรก็ตาม ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อการเติบโตของ CBG ในระยะยาว โดยเฉพาะยอดขายจากจีนที่คาดว่าจะมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดภายในระยะเวลาอันสั้น และจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันผลการดำเนินงานของ CBG ให้เติบโตในอนาคต โดยคาดการณ์กำไรเติบโตเฉลี่ย 3 ปีข้างหน้าที่ 21%

      - EASTW (ยูโอบี เคย์เฮียน) คาดผลการดำเนินงานปี 2560 ฟื้นตัวจากภัยแล้งที่ลดลง ทำให้ยอดจำหน่ายน้ำคาดจะฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผันน้ำลดลงจากปีก่อน

ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ เหตุวิตกการเมืองสหรัฐ

       ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจนำไปสู่การถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี

      ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,556.99 จุด ลดลง 257.89 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,082.33 จุด ลดลง 22.11 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,034.19 จุด ลดลง 259.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,952.64 จุด ลดลง 61.03 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,271.27 จุด ลดลง 21.81 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,192.79 จุด ลดลง 31.31 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,765.38 จุด ลดลง 10.27 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,797.52 จุด ลดลง 29.01 จุด

      ทั้งนี้ นักลงทุนวิตกว่าสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยความขัดแย้งในสหรัฐเวลานี้ อาจจะส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการปฏิรูปภาษีของปธน.ทรัมป์ต้องสะดุดลง และอาจนำไปสู่การถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง

     การที่ปธน.ทรัมป์สั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) ทำให้มีการมองกันว่าปธน.ทรัมป์กำลังแทรกแซงการทำงานของ FBI

      นอกจากนี้ สื่อยังรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายโคมีย์ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย ก่อนที่นายโคมีย์จะถูกปลดจากตำแหน่ง

      ล่าสุด นายเจสัน แชฟเฟตซ์ ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายตรวจสอบประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้แจ้งให้ FBI ส่งมอบเอกสาร และบันทึกการติดต่อสนทนาระหว่างปธน.ทรัมป์ และนายโคมีย์

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 18.56 จุด จากความวิตกสถานการณ์การเมืองในสหรัฐ

       ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเป็นครั้งแรกในรอบ 10 วันทำการเมื่อคืนนี้ (17 พ.ค.) ตามทิศทางของตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปที่ปรับตัวลงจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและนโยบายปฏิรูปอื่นๆของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์หลังจากนี้

     ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อคืนนี้ มีแรงเทขายของนักลงทุนภายหลังจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายเจมส์ โคมีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) ในเวลานั้น ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย ซึ่งต่อมานายโตมีย์ถูกปลดออกจากตำแหน่งผอ. FBI โดยที่นักวิเคราะห์มองว่า ปธน.ทรัมป์กำลังแทรกแซงการทำงานของ FBI

      ล่าสุด นายเจสัน แชฟเฟตซ์ ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายตรวจสอบประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้แจ้งให้ FBI ส่งมอบเอกสาร และบันทึกการติดต่อสนทนาระหว่างปธน.ทรัมป์ และนายโคมีย์

     ข่าวดังกล่าวทำให้นักลงทุนเกิดความวิตกในสถานการณ์ความไม่แน่นอนในสหรัฐ เนื่องจากปธน.อาจเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้น อีกทั้งพบกับอุปสรรคในการผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการปฏิรูปภาษีหลังจากนี้ นอกจากนี้ ปธน.ทรัมป์อาจถูกยื่นถอดถอนออกจากตำแหน่งอีกด้วย

    หุ้นกลุ่มธนาคารที่น่าจับตา หุ้นลอยด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป เพิ่มขึ้น 2% หลังรัฐบาลอังกฤษได้ขายหุ้นที่เหลืออยู่ทั้งหมดในธนาคารลอยด์ ส่งผลให้ธนาคารดังกล่าวถือหุ้นโดยเอกชนทั้งหมด

       หุ้นบริติช แลนด์ ร่วง 3.3% หลังบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของอังกฤษดังกล่าวเปิดเผยว่า มูลค่าหุ้นในสินทรัพย์ของบริษัทปรับตัวลงจากแรงกดดันของราคาที่อยู่อาศัยที่ร่วงลงอย่างมาก

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกการเมืองสหรัฐ ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (17 พ.ค.) จากความวิตกกังวลที่ว่าแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและการปฏิรูปภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมปแห่งสหรัฐ อาจต้องสะดุดลง อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐ

     ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.2% ปิดที่ 391.14 จุด

     ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,631.61 จุด ร่วงลง 172.92 จุด หรือ -1.35% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,317.89 จุด ลดลง 88.21 จุด หรือ -1.63% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,503.47 จุด ลดลง 18.56 จุด หรือ -0.25%

      ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงอย่างหนักเช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยความขัดแย้งในสหรัฐเวลานี้ อาจจะส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการปฏิรูปภาษีของปธน.ทรัมป์ต้องสะดุดลง และอาจนำไปสู่การถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง

      ทั้งนี้ การที่ปธน.ทรัมป์สั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) ทำให้มีการมองกันว่าปธน.ทรัมป์กำลังแทรกแซงการทำงานของ FBI

       ขณะที่สื่อรายงานเพิ่มเติมว่า ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายโคมีย์ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย ก่อนที่นายโคมีย์จะถูกปลดจากตำแหน่ง

      หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นดอยซ์ แบงก์ ร่วงลง 3.5% หุ้นธนาคารบังคา ป๊อปปูเลร์ เอสพานอล ร่วงลง 4.2% และหุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ดิ่งลง 3.1%

      นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ โดยสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 1.9% ในเดือนเม.ย. ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้น

       ด้านสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า รายได้ของภาคครัวเรือนของสหราชอาณาจักรได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้อัตราการว่างงานจะดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 42 ปีก็ตาม

       ทั้งนี้ ค่าแรงในสหราชอาณาจักร ซึ่งไม่นับรวมเงินโบนัส เพิ่มขึ้นเพียง 2.1% ในไตรมาสแรก เมื่อเทียบรายปี โดยต่ำกว่าระดับ 2.2% ที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ โดยระดับค่าแรง หรือรายได้ดังกล่าว ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2016

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 372.82 จุด วิตกการเมืองสหรัฐป่วนกระทบแผนศก.

     ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (17 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในสหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อการผลักดันนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และอาจนำไปสู่การถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี

      ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,606.93 จุด ร่วงลง 372.82 จุด หรือ -1.78% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,357.03 จุด ลดลง 43.64 จุด หรือ -1.82% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,011.24 จุด ร่วงลง 158.63 จุด หรือ -2.57%

     ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลที่ว่า สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนและเต็มไปด้วยความขัดแย้งในสหรัฐเวลานี้ อาจจะส่งผลให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการปฏิรูปภาษีของปธน.ทรัมป์ต้องสะดุดลง และอาจนำไปสู่การถอดถอนปธน.ทรัมป์ออกจากตำแหน่ง

      ทั้งนี้ การที่ปธน.ทรัมป์สั่งปลดนายเจมส์ โคมีย์ พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ (FBI) ทำให้มีการมองกันว่าปธน.ทรัมป์กำลังแทรกแซงการทำงานของ FBI

      นอกจากนี้ สื่อยังรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ได้สั่งการให้นายโคมีย์ยุติการสอบสวนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างนายไมเคิล ฟลินน์ อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐ กับรัฐบาลรัสเซีย ก่อนที่นายโคมีย์จะถูกปลดจากตำแหน่ง

      ล่าสุด นายเจสัน แชฟเฟตซ์ ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายตรวจสอบประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้แจ้งให้ FBI ส่งมอบเอกสาร และบันทึกการติดต่อสนทนาระหว่างปธน.ทรัมป์ และนายโคมีย์

       ผลการสำรวจของ Public Policy Polling พบว่า ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงชาวสหรัฐเกือบครึ่งหนึ่งต้องการให้ปธน.ทรัมป์ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง โดยผู้ถูกสำรวจ 48% สนับสนุนให้ปธน.ทรัมป์ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ขณะที่ 41% คัดค้านการดำเนินการดังกล่าว

      ด้านผลสำรวจของ Gallup ระลุงาส ปธน.ทรัมป์ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประธานาธิบดีใหม่ทุกคน นับตั้งแต่ที่มีการทำการสำรวจในปี 1953

       หุ้นกลุ่มการเงินร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นโกลด์แมน แซคส์ ร่วงลง 5.3% หุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ดิ่งลง 3.8% หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา ร่วงลง 5.9%

     หุ้นแอดวานซ์ ไมโคร ดิไวซ์ ดิ่งลงกว่า 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ผลประกอบการที่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

    อย่างไรก็ตาม หุ้นทาร์เก็ต ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐ ปรับตัวขึ้น 0.9% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรต่อหุ้นที่ระดับ 1.21 ดอลลาร์ในไตรมาส 1 ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 91 เซนต์ ส่วนรายได้อยู่ที่ระดับ 1.602 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 1.562 หมื่นล้านดอลลาร์

                นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ค.โดยเฟดฟิลาเดลเฟีย

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!