WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

16ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งตัวลง กังวลทิศทางลงทุนต่างชาติ,ราคาน้ำมันปรับขึ้นแค่ช่วยประคองตลาด

     นายคณฆัส จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โนมูระ พัฒนสิน กล่าวว่า ดัชนีหุ้นไทยเช้านี้จะแกว่งตัวลง หลังจากตลาดหุ้นต่าง ๆ รับรู้ประด็นบวกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสไปแล้ว ขณะที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่ (Emerging Market) ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ต่างปรับตัวลง จากความกังวลทิศทาง Fund Flow ที่ยังไม่นิ่ง แม้เมื่อวานนี้จะมีแรงซื้อสุทธิเข้ามาในตลาดหุ้นไทย แต่ในตลาดอนุพันธ์ก็ทำ short กว่า 9 พันสัญญา

     นอกจากนี้ ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยถูกกดจากแรงขายหุ้นในกลุ่ม Commodity ซึ่งรวมถึงน้ำมันและถ่านหินด้วย รวมถึงกรณีที่บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ถูกฟ้องร้องเป็นคดี อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมาก็เชื่อว่าน่าจะทำได้แค่ประคองภาพรวมตลาดเท่านั้น

      พร้อมให้แนวรับ 1,545 และ 1,538 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,558 และ 1,564 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

       - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (11 พ.ค.60) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,919.42 จุด ลดลง 23.69 จุด (-0.11%),  ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 6,115.96 จุด ลดลง 13.18 จุด (-0.22%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,394.44 จุด ลดลง 5.19 จุด (-0.22%)

      - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 19.91 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 7.39 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง เพิ่มขึ้น 0.93 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 19.71 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 0.31 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 3.14 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.54 จุด

      - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (11 พ.ค.60) 1,550.27 จุด ลดลง 10.04 จุด (-0.64%)

     - นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 2,430.22 ล้านบาท เมื่อวันที่ 11 พ.ค.60

      - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (11 พ.ค.60) ปิดที่ 47.83 ดอลลาร์/บาร์เรล ปรับขึ้น 50 เซนต์ หรือ 1.1%

     - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (11 พ.ค.60) ที่ 6.32 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

     - เงินบาทเปิด 34.69/75 แกว่งแคบหลังดอลล์อ่อนตลาดกังวลการเมืองสหรัฐฯ หลังทรัมป์ปลดผอ. FBI

     - รมว.คลัง วอนแบงก์พาณิชย์ปรับลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างผู้ประกอบการรายย่อย-รายใหญ่ เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้รายย่อยสามารถแข่งขันได้ ด้านแบงก์ชาติ เตรียมแถลงมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างครบวงจร 17 พ.ค.นี้ หลังหนี้ครัวเรือนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศ ด้านกสิกรไทยตอบรับนโยบายคลังลดส่วนต่างดอกเบี้ยธุรกิจรายใหญ่-เอสเอ็มอี แต่ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เหตุกระทบรายได้แบงก์-ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น

       - สสว.ได้จัดสรรงบประมาณ 500 ล้านบาท จากกองทุนฟื้นฟูเอสเอ็มอีวงเงิน 2,000 ล้านบาท มาดำเนินการปล่อยกู้ให้แก่เอสเอ็มอีรายย่อย (ไมโครเอสเอ็มอี) และวิสาหกิจชุมชนรายละไม่เกิน 2 แสนบาท โดยไม่ต้องมีหลักประกันและไม่คิดดอกเบี้ยระยะ 10 ปี เพื่อให้เอสเอ็มอีรายย่อยนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนธุรกิจหรือปรับปรุงกิจการ

       - เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้แห่งชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลควรจะมีการจัดตั้งองค์กรกลาง หรือองค์กรอิสระ เป็นศูนย์รวมดูแลลูกหนี้และ ที่ปรึกษาลูกหนี้ (วันสต็อปเซอร์วิส) ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาลูกหนี้ตั้งแต่เริ่มจะเป็นหนี้ การเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตรวจสอบสัญญาเงินกู้ที่เป็นธรรม รวมไปถึงกรณีหากมีปัญหาเกี่ยวกับหนี้ และรับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาหนี้ เป็นต้น

       - ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณเงินไหลออก หลังจากที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีความชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐหลายตัวเริ่มออกมาดี อย่างไรก็ดี ธปท.ยังไม่วางใจ และรีบถอนมาตรการลดการออกพันธบัตร (บอนด์) ธปท.ที่ใช้อยู่ในขณะนี้

       - ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า วันที่ 17 พ.ค.นี้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสถาบันการเงิน จะร่วมกันแถลงออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนอย่างครบวงจร เนื่องจากพบว่าปัจจุบันปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนมีหนี้เกินตัว และมีเจ้าหนี้เงินกู้หลายราย ดังนั้น ธปท. และสถาบันการเงิน ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงการมีวินัยการใช้เงิน วินัยการชำระหนี้ ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินต้องมีความรับผิดชอบ ให้บริการสินเชื่อตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจุบันพบว่า สถาบันการเงินเน้นการขายของโดยไม่มองความเสี่ยง ทำให้ลูกค้าได้สินเชื่อมากเกินควรและเกินความจำเป็น

*หุ้นเด่นวันนี้

       - TKN (ไอร่า) แนะ"ซื้อ"ราคาเป้าหมาย 28.50 บาท หลังคาดว่า TKN ยังคงเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในปี 60 จากปัจจัยสำคัญ คือ ตลาดจีน ที่มีโอกาสในการขยายตลาดอีกมาก รวมถึงการเปิดใช้โรงงานแห่งใหม่ที่ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตรองรับการเติบโตของยอดขายที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามต้นทุนสาหร่ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ปรับลดประมาณการกำไรในปี 60 ลง 8% โดยประเมินราคาเหมาะสมที่ 28.50 บาท จากเดิม 30.00 บาท  ซึ่ง ณ ระดับราคาปัจจุบัน มี Upside ประมาณ 43%

       - CPALL (ทรีนีตี้) แนะ"ซื้อ"ราคาเป้าหมาย 71 บาท หลังประกาศกำไรสุทธิไตรมาส 1/60 จำนวน 4,765 ล้านบาท (+10.8% QoQ, +17.2%YoY) สูงกว่าที่คาดราว 2% นับว่ายังโตต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/60 และตลอดช่วงครึ่งหลังของปี 60 ทั้งร้านสะดวกซื้อและ MAKRO ดีกว่าอุตสาหกรรม ,เป้าการขยายสาขาต่อเนื่องและเป็นไปได้ ขณะที่ภาระดอกเบี้ยลดลง อัตราหนี้สินต่อทุนค่อย ๆ ลดลง คาดประกาศกำไรปี 60 จำนวน 18,873 ล้านบาท เติบโต 13.2%YoY อัตราเงินปันผลราว 1.9%

       - PTTGC (ไอร่า) แนะ"ซื้อ"ราคาเป้าหมาย 82 บาท หลังประกาศผลการดำเนินงานในช่วง 1Q/60 มีกำไรสุทธิสูงถึง 13,182 ล้านบาท ปัจจัยหลักมาจากกำไรจากธุรกิจปิโตรเคมี ในขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ฟื้นตัวขึ้นจากราคา HDPE ที่เพิ่มขึ้น ส่วนธุรกิจปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ฟื้นตัวขึ้นโดดเด่น จากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ค่าการกลั่นอ่อนตัวลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี นอกจากนี้ยังมีการรับรู้กำไรจากสต็อกน้ำมันจำนวน 508 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,529 ล้านบาท พร้อมคาดผลการดำเนินงานปี 60 จะฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง และได้รับประโยชน์จากการเข้าซื้อกิจการปิโตรเคมีที่เป็นบริษัทลูกของ PTT ในขณะที่ราคา HDPE คาดว่าจะสามารถยืนได้ที่ระดับ 1,100-1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ นลท.ผิดหวังผลประกอบการบริษัทค้าปลีกสหรัฐ

      ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืน หลังจากบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ ส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจสหรัฐ

      ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 19,941.64 จุด ลดลง 19.91 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,054.11 จุด ลดลง 7.39 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 25,126.48 จุด เพิ่มขึ้น 0.93 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,981.77 จุด ลดลง 19.71 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,296.06 จุด ลดลง 0.31 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,267.97 จุด ลดลง 3.14 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,776.93 จุด เพิ่มขึ้น 1.54 จุด

     นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยถ่วงหลังจากนายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟด สาขาบอสตัน ได้ออกมาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีนี้ และเรียกร้องให้เฟดเริ่มพิจารณาการปรับลดงบดุลบัญชีของเฟดหลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะที่ร้อนแรงเกินไป

     การแสดงความเห็นของนายโรเซนเกรนได้กระตุ้นกระแสคาดการณ์ในตลาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดอาจมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 83.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดบวก 1.39 จุด หลังแบงก์ชาติอังกฤษหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจ

     ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับขึ้นเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) ด้วยแรงหนุนจากหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวในกรอบจำกัด หลังธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจเหลือ 1.9% ในปีนี้

      ดัชนี FTSE 100 เพิ่มขึ้น 1.39 จุด หรือ +0.02% ปิดที่ 7,386.63 จุด

      ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นลอนดอนเมื่อวานนี้ ได้รับปัจจัยจากรายงานเงินเฟ้อรายไตรมาสของธนาคารกลางอังกฤษและรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ BoE ที่มีการเปิดเผยเมื่อวานนี้ โดย BoE ส่งสัญญาณว่าจะไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เกิดแรงเทขายในสกุลเงินปอนด์ ซึ่งฉุดค่าเงินดังกล่าวร่วงลง -0.0155% สู่ระดับต่ำกว่า 1.29 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้

     ทั้งนี้ BoE ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสหราชอาณาจักร สู่ระดับ 2.7% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนก.พ.ที่ระดับ 2.4% พร้อมกับคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับสูงสุดที่ 2.8% ในไตรมาสที่ 4 ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 2 ของปีหน้า

      นอกจากนี้ BoE ยังมีมติด้วยคะแนนเสียง 7-1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินเมื่อวานนี้

     หุ้นจดทะเบียนรายใหญ่ที่น่าจับตา หุ้นฮิคมา ฟาร์มาซูติคอลส์ ร่วงลง 8.2% หลังบริษัทเภสัชภัณฑ์รายใหญ่ดังกล่าวยอมรับว่า มีโอกาสน้อยที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐจะอนุมัติให้ทางบริษัทผลิตยาลักษณะเดียวกับ Advair (ยารักษาหอบหืด) ของแกล็กโซสมิธไคลน์สำหรับใช้ทั่วไปในปีนี้

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ หลังแบงก์ชาติอังกฤษปรับลดคาดการณ์ศก.

      ตลาดหุ้นยุโรปปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนบางแห่ง และการแข็งค่าของยูโร ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทส่งออกของยุโรป

      ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 394.03 จุด

      ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 5,383.42 จุด ลดลง 17.04 จุด หรือ -0.32% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 12,711.06 จุด ลดลง 46.40 จุด หรือ -0.36% และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,386.63 จุด เพิ่มขึ้น 1.39 จุด หรือ +0.02%

      ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรสู่ระดับ 1.9% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนก.พ.ที่ระดับ 2.0%

       นอกจากนี้ BoE ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในสหราชอาณาจักร สู่ระดับ 2.7% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนก.พ.ที่ระดับ 2.4% พร้อมกับคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะแตะระดับสูงสุดที่ 2.8% ในไตรมาสที่ 4 ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดในไตรมาส 2 ของปีหน้า

      หุ้นเทเลโฟนิกา ร่วงลง 4% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรสุทธิไตรมาสแรกร่วงลง 42%

      หุ้นเครดิต อากริโคล ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของฝรั่งเศสเมื่อประเมินจากมูลค่าสินทรัพย์ ปิดขยับลง 0.3% หลังจากที่พุ่งขึ้นในระหว่างวัน ภายหลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2560 พุ่งขึ้น 3 เท่า สู่ระดับ 845 ล้านยูโร (918 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากระดับ 227 ล้านยูโรในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

       หุ้นยูนิเครดิต ดีดตัวขึ้น 3.7% หลังจากธนาคารเปิดเผยกำไรไตรมาสแรก 907 ล้านยูโร ซึ่งเป็นการพลิกกลับมาทำกำไรหลังจากที่ขาดทุนกว่า 1.3 หมื่นล้านยูโรในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 23.69 จุด นลท.ผิดหวังผลประกอบการบริษัทค้าปลีก

      ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (11 พ.ค.) หลังจากบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอ ซึ่งได้ฉุดหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับปัจจัยกดดันจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

     ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 20,919.42 จุด ลดลง 23.69 จุด หรือ -0.11% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 2,394.44 จุด ลดลง 5.19 จุด หรือ -0.22% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 6,115.96 จุด ลดลง 13.18 จุด หรือ -0.22%

       ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากบริษัทค้าปลีกรายใหญ่เปิดเผยผลประกอบการที่ย่ำแย่ โดยบริษัท Snap เปิดเผยรายได้ไตรมาสแรกอยู่ที่ 149.65 ล้านดอลลาร์ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 158 ล้านดอลลาร์ ขณะที่บริษัทเมซีส์เปิดเผยกำไรต่อหุ้นในไตรมาสแรกอยู่ที่ 23 เซนต์ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ระดับ 37 เซนต์

       ทั้งนี้ ผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทค้าปลีกทั้ง 2 แห่งนี้ ได้ฉุดหุ้นกลุ่มค้าปลีกร่วงลงด้วย โดยหุ้นโคล์ท คอร์ป ดิ่งลง 7.8% หุ้นนอร์ดสตรอม ร่วงลง 7.6% หุ้นเมซีส์ ดิ่งลง 17% หุ้นโฮม ดีโปท์ ร่วงลงกว่า 1% หุ้น Snap ทรุดฮวบลง 21.45% และหุ้นเจซี เพนนี ร่วงลงกว่า 7%

      ส่วนหุ้นสเตรท แพธ คอมมูนิเคชันส์ ร่วงลงอย่างหนักถึง 20% หลังจากสเตรท แพท คอมมูนิเคชันส์ ตกลงขายกิจการให้กับเวอไรซอน คอมมูนิเคชันส์

      นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากนายเอริค โรเซนเกรน ประธานเฟด สาขาบอสตัน ได้ออกมาสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีนี้ และเรียกร้องให้เฟดเริ่มพิจารณาการปรับลดงบดุลบัญชีของเฟดหลังจากที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะที่ร้อนแรงเกินไป

       การแสดงความเห็นของนายโรเซนเกรนได้กระตุ้นกระแสคาดการณ์ในตลาดว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดอาจมีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า โดย CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสสูงถึง 83.1% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า

      นักวิเคราะห์จากเลเดนเบิร์ก ทัลแมน แอสเซท เมเนจเมนท์ กล่าวว่า ผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทค้าปลีกรายใหญ่อย่างเมซีส์ และ Snap ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้จ่ายผู้บริโภคซึ่งถือเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนหลักของระบบเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนต่างพากันจับตารายงานยอดค้าปลีกของสหรัฐอย่างใกล้ชิด โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีกประจำเดือนเม.ย.ในวันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย

      นอกเหนือจากยอดค้าปลีกแล้ว นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนพ.ค.โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!