- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Tuesday, 02 August 2016 15:52
- Hits: 1641
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้มีโอกาสอ่อนตัวลง เหตุราคาน้ำมันร่วงกดดันกลุ่มพลังงาน-เงินทุนต่างชาติชะลอ
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะอ่อนตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ส่วนใหญ่จะติดลบเล็กน้อยราว 0.1-0.3% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงค่อนข้างหนักเกือบ 4% ทำให้น่าจะไปกดดันหุ้นในกลุ่มพลังงานได้
นอกจากนี้ เงินทุนต่างชาติมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง อาจจะเพื่อรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค.นี้ อีกทั้งต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 3 ส.ค.นี้ ตลาดฯคาดคงอัตราดอกเบี้ย และในวันที่ 4 ส.ค.ให้ติดตามการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ตลาดคาดจะลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% รวมทั้งในวันที่ 5 ส.ค.ก็ให้ติดตามตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯด้วย
พร้อมให้แนวรับ 1,495-1,500 จุด ส่วนแนวต้าน 1,520-1,525 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (1 ส.ค.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 18,404.51 จุด ลดลง 27.73 จุด (-0.15%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,184.20 จุด เพิ่มขึ้น 22.07 จุด (+0.43%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,170.84 จุด ลดลง 2.76 จุด (-0.13%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 166.09 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 3.31 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 0.35 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 6.06 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 22.58 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 0.92 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 5.32 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (1 ส.ค.59) 1,512.62 จุด ลดลง 11.45 จุด (-0.75%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 772.79 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 ส.ค.59
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ก.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (1 ส.ค.59) ปิดที่ 40.06 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.54 ดอลลาร์ หรือ 3.7%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (1 ส.ค.59) ที่ 3.52 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 34.78/80 แนวโน้มยังแข็งค่า คาดยังเคลื่อนไหวในกรอบ 34.75-34.85
- กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (เงินเฟ้อ) เดือน ก.ค. 2559 เท่ากับ 106.68 เพิ่มขึ้น 0.10% เทียบกับเดือน ก.ค.58 สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แต่ถ้าเทียบกับเดือน มิ.ย.59 เงินเฟ้อลดลง 0.35% เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ลดลง 0.07%
- สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ประเด็นที่น่ากังวลสำหรับสถานการณ์ส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง คือ กระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแตะ 34.8 บาท/เหรียญสหรัฐ ถ้าถึงระดับ 34.5 บาท/เหรียญสหรัฐ เอกชนจะขอหารือกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้เข้ามาดูแลค่าเงินบาทไม่ให้กระทบต่อการส่งออก
- ธปท.เผยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการแผ่ว 49.4 ในเดือน ก.ค. 59 แต่ดัชนีฯ อนาคตดีขึ้นมั่นใจแนวโน้มฟื้นตัวเศรษฐกิจ ซึ่งข้อจำกัดความต้องการตลาดในประเทศต่ำเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่เม็ดเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนเศรษฐกิจจริงในไทยลดลงเกือบ 1.3 แสนล้านบาท เทียบกับครึ่งแรกปีนี้เทียบกับปีก่อน ต่ำสุดในรอบ 10 ปี
- ธปท.รายงานยอดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ล่าสุดใน 6 เดือนแรกของปีนี้มีวงเงินเพียง 347 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.21 หมื่นล้านบาท หากคิดอัตราแลกเปลี่ยนเปิดตลาด เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 34.79 บาท/เหรียญสหรัฐ ลดลงค่อนข้างมากประมาณ 91% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 4,203 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.46 แสนล้านบาท
*หุ้นเด่นวันนี้
- HMPRO (โกลเบล็ก) เ ราคาปิด 9.95 บาท แนวโน้มกำไรครึ่งปีหลังมีแนวโน้มดีกว่าช่วงครึ่งปีแรกเนื่องจากมีช่วงไฮซีซั่นในไตรมาสสุดท้าย มีการเปิดไลน์สินค้าใหม่ home living เจาะกลุ่มลูกค้าหนุ่มสาว และทำรายการทีวี homepro makeover“ปรับบ้านเปลี่ยนชีวิต"จะช่วยเพิ่มรายได้ค่าบริการ โดย 1H59 มีกำไรสุทธิ 1,857 ลบ. +20% และการเปิดสาขาใหม่ยังทำได้ตามแผน ครึ่งหลังปีนี้โฮมโปรจะเปิดใหม่สาขาชลบุรี-บางเสร่ในเดือน ก.ย.อีก 2 สาขาจะเปิดใน Q4 เมกาโฮมเปิดแล้ว 1 สาขาที่หาดใหญ่ Q4 จะเปิดอีก 1-2 สาขา และราวเดือน ธ.ค.จะเปิดสาขาที่ 2 ในมาเลเซีย เป็นปัจจัยหนุนรายได้
- KTB (เคจีไอ) "ซื้อ"เป้า 18.4 บาท ประเมินราคาหุ้น Laggard หุ้นกลุ่มที่ได้อานิสงส์โครงการภาครัฐฯ เช่นกลุ่ม รับเหมาฯ และวัสดุฯ โดย KTB เป็นแบงก์รัฐฯที่คาดจะได้อานิสงส์การปล่อยสินเชื่อโครงการภาครัฐฯ โดย Valuation ถูกด้วย PBV 0.92 เท่า ขณะที่ประมาณการฯคาด ROE ปี 2559-60 ที่ 12-13%
- BEM (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ" วันนี้บอร์ด รฟม.จะประชุมวันนี้เรื่องการแก้สัญญารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายกับสายสีน้ำเงินเดิมให้จบพร้อมกัน ซึ่งอาจใช้เวลา 15-30 วัน คาดว่าประมาณต้นเดือน ก.ย. รฟม.จะสรุปได้และเริ่มเจรจากับ BEM โดยยังคงราคาพื้นฐานที่ 12 บาทบนสมมติฐานว่า BEM ได้ต่อสัญญาสายสีน้ำเงินเดิมอีก 15 ปี เพื่อให้จบพร้อมกับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่คาดว่า BEM จะได้สัญญา 25 ปี โดยคาดว่าสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะเริ่มดำเนินการในเชิงพาณิชย์ปี 62
- PTT (เคทีบี) "ซื้อ"เป้า 380 บาท คาดกำไร 2Q16 แข็งแกร่ง ธุรกิจหลักได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันขาขึ้น และมองกำไรครึ่งปีหลังยังเด่น คาดฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ ได้แรงหนุนปริมาณขาย ต้นทุนลงแถมขาดทุน NGV ลดลง พร้อมปรับประมาณการขึ้นจากกำไรที่ดีเหนือคาด ลุ้นปันผล 5-6 บาท สะท้อนกำไรผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปีก่อน
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงเช้านี้ หลังราคาน้ำมันร่วง
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ ตามทิศทางของตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยได้รับปัจจัยถ่วงหลังราคาน้ำมันร่วงลง อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด
ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วงลง 0.4% สู่ระดับ 136.85 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.00 น.ตามเวลาโตเกียว
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,469.68 จุด ลดลง 166.09 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,950.08 จุด ลดลง 3.31 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 9,081.06 จุด เพิ่มขึ้น 0.35 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,023.55 จุด ลดลง 6.06 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,869.94 จุด ลดลง 22.58 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,664.31 จุด ลดลง 0.92 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 8,075.13 จุด เพิ่มขึ้น 5.32 จุด
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบ เหตุตลาดไม่มั่นใจผลทดสอบภาวะวิกฤตภาคธนาคาร
ตลาดหุ้นยุโรปปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) โดยหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจต่อผลการสำรวจภาวะวิกฤต (stress test) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.6% ปิดที่ 339.86 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,330.52 จุด ลดลง 6.98 จุด หรือ -0.07% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,409.17 จุด ลดลง 30.64 จุด หรือ -0.69% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,693.95 จุด ลดลง 30.48 จุด หรือ -0.45%
หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นยูนิเครดิต หุ้นดอยช์แบงก์ และหุ้นบาร์เคลย์ส ต่างก็ร่วงลงกว่า 1.5%
สาเหตุที่ทำให้นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มธนาคารนั้น มาจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับผลการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ โดยมองว่าไม่มีการทดสอบที่เข้มงวดเหมือนกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และไม่ได้ทดสอบสถานการณ์การที่สหราชอาณาจักรแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หรือภาวะที่มีการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นเวลานาน รวมทั้งธนาคารที่เข้าร่วมในการทดสอบก็มีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน 123 แห่งที่เข้าทดสอบในปี 2014 โดยธนาคารจากกรีซและโปรตุเกสไม่ได้เข้าร่วมในการทดสอบครั้งนี้
ทั้งนี้ แม้ ECB ระบุว่า ธนาคารส่วนใหญ่มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะสามารถต้านทานการทรุดตัวของเศรษฐกิจ และภาวะผันผวนในตลาดการเงิน แต่ ECB ก็ได้แสดงความกังวลต่อธนาคารในอิตาลีที่มีหนี้เสียจำนวนมาก
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาคการผลิตในยูโรโซน โดยผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 52.0 ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 52.8 ในเดือนมิ.ย. และอยู่เหนือระดับ 51.9 ในรายงานเบื้องต้นเดือนก.ค.เพียงเล็กน้อย
มาร์กิตระบุว่า เยอรมนี ออสเตรีย และเนเธอร์แลนด์มีการขยายตัวในภาคการผลิตมากที่สุด ขณะที่ฝรั่งเศสและกรีซอยู่ในภาวะหดตัว
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 30.48 จุด เหตุตลาดไม่มั่นใจผลทดสอบภาวะวิกฤตภาคธนาคาร
ตลาดหุ้นลอนดอนปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) จากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร เนื่องจากนักลงทุนไม่มั่นใจต่อผลการสำรวจภาวะวิกฤต (stress test) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 30.48 จุด หรือ 0.45% แตะที่ 6,693.95 จุด
ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยหุ้นบาร์เคลย์ และหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิ้งส์ ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 1.2% ในขณะที่หุ้นรอยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ลดลง 1.7%
สาเหตุที่ทำให้นักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มธนาคารนั้น มาจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับผลการทดสอบภาวะวิกฤตในครั้งนี้ โดยมองว่าไม่มีการทดสอบที่เข้มงวดเหมือนกับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และไม่ได้ทดสอบสถานการณ์การที่สหราชอาณาจักรแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) หรือภาวะที่มีการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบเป็นเวลานาน รวมทั้งธนาคารที่เข้าร่วมในการทดสอบก็มีจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน 123 แห่งที่เข้าทดสอบในปี 2014 โดยธนาคารจากกรีซและโปรตุเกสไม่ได้เข้าร่วมในการทดสอบครั้งนี้
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาโลหะดีดตัวขึ้น โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตันเพิ่มขึ้น 2% และหุ้นริโอมินโตเพิ่มจึ้น 1%
หุ้นบริติช แอร์เวย์ส ลดลง 1.3% หลังจากฟิทช์ เรทติ้งส ระบุว่า บริติช แอร์เวย์ส เป็นบริษัทที่ได้รับผลกระมากที่สุดจาก Brexit
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 27.73 จุด วิตกราคาน้ำมันร่วง,ข้อมูลศก.ซบเซา
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากราคาน้ำมัน WTI ร่วงลงกว่า 3% ซึ่งได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ รวมถึงการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างซึ่งร่วงลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และดัชนีภาคการผลิตที่ขยายตัวต่ำกว่าการคาดการณ์
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 18,404.51 จุด ลดลง 27.73 จุด หรือ -0.15% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,170.84 จุด ลดลง 2.76 จุด หรือ -0.13% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,184.20 จุด เพิ่มขึ้น 22.07 จุด หรือ +0.43%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างซบเซา เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตราคาพลังงาน โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.7% เมื่อคืนนี้ ซึ่งส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย โดยหุ้นเอ็กซอนโมบิล และหุ้นเชฟรอน ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 3.2% ส่วนหุ้นทรานส์โอเชียน หุ้นไดมอนด์ ออฟชอร์ ดริลลิ่ง และหุ้นเมอร์ฟีย์ ออยล์ ต่างก็ร่วงลงกว่า 2%
ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐ โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐร่วงลงเป็นเดือนที่ 3 โดยปรับตัวลง 0.6% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน แตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2015 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมิ.ย.
ขณะที่ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ระดับ 52.6 ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับ 53.2 ในเดือนมิ.ย.
ทั้งนี้ แม้ว่าดัชนีที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวในภาคการผลิต แต่ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 53
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาส่งสัญญาณเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ โดยนายวิลเลียม ดัดลีย์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์กกล่าวว่า ยังคงมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกยังคงไม่แน่นอนก็ตาม
ด้านโกลด์แมน แซคส์ออกรายงานคาดการณ์เมื่อวานนี้ว่า เฟดมีแนวโน้ม 65% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งในปีนี้ ขณะที่มีโอกาส 20% ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. และ 45% ในเดือนธ.ค. หลังจากที่เฟดออกแถลงการณ์หลังการประชุมในเดือนที่แล้วว่า ความเสี่ยงในระยะใกล้ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐได้ลดน้อยลงแล้ว
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ รวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิ.ย., การใช้จ่าย-รายได้ส่วนบุคคลเดือนมิ.ย. และดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)
อินโฟเควสท์