- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Monday, 27 June 2016 11:28
- Hits: 1725
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ผันผวน-น้ำหนักไปทางลง เล็งกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯกดดันจากผล Brexit,ราคาน้ำมันลง
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะผันผวน ให้น้ำหนักไปทางแกว่งตัวในแดนลบแต่คงไม่แรง โดยหุ้นที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศจะกดดัน ไม่ว่าจะเป็นหุ้นในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มปิโตรเคมี เนื่องจากมีน้ำหนัก 20% ของมูลค่าตลาดโดยรวม คาดว่าจะปรับตัวลงต่อ และราคาน้ำมันก็ปรับตัวลงด้วย นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มส่งออก และกลุ่มท่องเที่ยวก็คงจะได้รับผลกระทบจากผล Brexit ที่อังกฤษลงประชามติออกจากการเป็นสมาชิกในสหภาพยุโรป (อียู)
ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะติดลบ มองว่านักลงทุนคงยังปรับพอร์ตอยู่ โดยมีการโยกการลงทุนจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ที่ปลอดภัย แต่คาดว่าคงจะไม่นานคงเป็นแค่ชั่วคราว เพราะมีความคาดหวังว่าทางธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะออกมาตรการมาทำให้เงินเยนอ่อนค่า
พร้อมให้แนวรับ 1,395 จุด ส่วนแนวต้าน 1,420 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (24 มิ.ย.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,400.75 จุด ร่วงลง 610.32 จุด (-3.39%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,707.98 จุด ลดลง 202.06 จุด (-4.12%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,037.41 จุด ลดลง 75.91 จุด (-3.59%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ เพิ่มขึ้น 201.06 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 13.73 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 276.47 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 70.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 23.39 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 13.23 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 6.36 จุด
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (24 มิ.ย.59) 1,413.19 จุด ลดลง 23.21 จุด (-1.62%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 784.90 ล้านบาท เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.59
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (24 มิ.ย.59) ปิดที่ 47.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2.47 ดอลลาร์ หรือ 4.9%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (24 มิ.ย.59) ที่ 4.93 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 35.37/38 แนวโน้มยังอ่อนค่าจากกรณี Brexit มองกรอบวันนี้ 35.30-35.52
- สภาองค์การนายจ้างชี้ธุรกิจครึ่งหลังรัดเข็มขัดหลังสัญญาณไม่ดีจาก ศก.จีนชะลอ-BREXIT ขณะที่ในประเทศแรงซื้อไม่กระเตื้องจากหนี้ครัวเรือนสูง ก.แรงงานสั่งเกาะติดเหตุไตรมาส 1 เลิกจ้างเพิ่ม 30.85%
- รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลกระทบเบื้องต้นจากการที่สหราชอาณาจักร (ยูเค) นำโดยอังกฤษ ลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือเบร็กซิต คาดผลจากค่าเงินปอนด์ของอังกฤษที่อ่อนค่าลง มีผลต่อการส่งออกกลุ่มอาหารไทยไปอังกฤษ ที่ปริมาณจะลด 10% แต่ยังไม่น่ากังวลมาก เพราะต้องใช้เวลากว่า 2 ปี การทำขั้นตอนถึงจะเสร็จ
- ผู้ว่าการ ธปท.ห่วงอังกฤษออกจากยุโรปกระทบการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกเปราะบางมากขึ้น ส่วนไทยได้รับผลกระทบระยะสั้นผ่านตลาดเงิน-ตลาดทุนพบเงินไหลออกตลาดหุ้นและบอนด์ของไทยบ้าง แต่ไม่รุนแรง ส่วนช่องทางการค้าและเชื่อมโยงสถาบันการเงินผลกระทบจำกัด
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ภัยแล้งหนักสุดในรอบ 20 ปี เมื่อวัดจากปริมาณน้ำ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว โดยเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2559 ก็เริ่มมีสัญญาณบวกให้เห็น ทั้งปริมาณน้ำฝนสะสมที่ตกมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- ลุ้นคลังดันยกเครื่องร่าง พ.ร.บ.สลากฯ ใหม่ ให้ ครม.พิจารณาภายในกันยายนนี้ เปิดช่องออกหวยออนไลน์เพิ่มรายได้ สั่งเพิ่มโทษผู้ค้าขายเกินราคา 80 บาท พร้อมคลอดใบอนุญาตขายลอตเตอรี่อย่างเป็นทางการ
- อาเซียนชงเปิดตลาดสินค้ากรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เสนอ ลดภาษีทันที 92% ของรายการทั้งหมด ส่วนภาคบริการลงทุน ได้กำหนดกรอบเปิดเสรีแล้ว เตรียมรายงานรัฐมนตรี RCEP เคาะประเด็นติดขัด 5 ส.ค.นี้
*หุ้นเด่นวันนี้
- หุ้นกลุ่มรับเหมาฯ (ITD, UNIQ, CK, STEC, SEAFCO, PYLON) และวัสดุฯ (SCC, TASCO) ยังคงประเมินภาครัฐฯจะทยอยประมูลงาน เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ขายซองต้นเดือน ก.ค.นี้) และประเมินหุ้นกลุ่มรับเหมาฯ จะไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศ (เคจีไอ)
- KCE (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 93.6 บาท ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงหลังจากอังกฤษถอนตัวจาก EU ส่งผลให้เงิน EUR อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ประเมินผลกระทบกรณีเลวร้ายสุดที่รายได้สัดส่วน 60% จากยุโรปอยู่ในรูปสกุลเงิน EUR จะคิดเป็นผลกระทบต่อ EPS ที่ 0.226 หรือเท่ากับมูลค่าหุ้นประมาณ 4.47 บาท (อิง P/E ที่ 16.8 เท่า) ซึ่งราคาหุ้นเมื่อวันศุกร์ได้ปรับตัวลงมาเท่ากับระดับดังกล่าวแล้ว ในส่วนของกรณีฐานคำนวณผลกระทบต่อมูลค่าหุ้นเพียงแค่ 1 บาท เนื่องจากรายได้จากยุโรปส่วนหนึ่งอยู่ในรูปของสกุลเงิน USD และบริษัทได้มีการทำ Hedging ค่าเงินไว้แล้วส่วนหนึ่ง
- ARROW (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 16.70 บาท ราคาหุ้นที่ปรับลง 13% ตั้งแต่ต้นเม.ย. จากความกังวลเรื่องราคาเหล็กที่ปรับสูงขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว ARROW แทบไม่กระทบเพราะสต็อกวัตถุดิบล่วงหน้ากว่า 6 เดือน และสามารถปรับราคาขึ้นได้ระดับหนึ่ง ขณะที่ความต้องการท่ออ่อนของกลุ่มสื่อสารยังเต็มกำลังการผลิต และท่อร้อยสายไฟส่งสัญญาณฟื้นตัวเร็วจนยอดพุ่งสูงสุดในรอบ 6 เดือน ทำให้ 2Q59 ที่ปกติเป็น Low season อาจลดลงเพียง 3-5% Q-Q แต่โต 15-17% Y-Y แนวโน้ม 2H59 จะยิ่งดีเพราะบริษัทลูกมี backlog กว่า 250 ล้านบาท กำไรปีนี้ที่คาด +8% Y-Y มีโอกาสต่ำไป ราคาปัจจุบันคิดเป็น PE เพียง 13 เท่า และคาด Dividend yield 5% ต่อปี
- TACC (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 6 บาท คาดกำไร 2Q59 +17% Y-Y, +13% Q-Q เพราะ high season และได้เป็น Supplier เครื่องดื่มเย็นทั้ง 4 โถกดในร้าน 7-11 ส่วนเครื่องกดเครื่องดื่มอัตโนมัติแบบร้อนติดตั้งแล้ว 138 เครื่องจนถึงสิ้น พ.ค. คาดสิ้นปีนี้ติดได้ 750 เครื่อง ใน 2H59 จะมีรายได้เพิ่มจากการขายเครื่องเขียน เครื่องสำอาง สินค้าที่ไม่ใช่อาหารเป็นต้น โดยใช้ตัวการ์ตูน 5 ลายของ Sanrio ประเด็นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่กระทรวงการคลังจะสรุปสิ้นเดือนนี้ กระทบ TACC ไม่ถึง 1% ของยอดขาย
- MCS (ยูโอบี เคย์เฮียน) กลุ่มลูกค้าหลักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นจึงได้รับผลประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินเยนที่อยู่ที่ 0.35 บาท/เยน เทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนที่ 0.28 บาท/เยน โดยปัจจุบันมี backlog ประมาณ 200,000 ตัน ทยอยรับรู้เป็นเวลา 4 ปี นอกจากนี้ MCS เพิ่งลงทุนติดตั้งเครื่องจักรอัตโนมัติ คาดว่าจะทำให้บริษัทฯมีกำไรเพิ่มปีละประมาณ 150 ล้านบาท (ทยอยรับรู้รายได้ในช่วง 2H60) ทั้งนี้ MCS ซื้อขายที่ PE ปี59 เพียง 8 เท่า และคาดอัตราปันผลที่ประมาณ 6%
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ร่วงลงเช้านี้ หลังอังกฤษโหวต Brexit
ตลาดหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลหลังจากที่สหราชอาณาจักรลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นทะยานขึ้นหลังจากเงินเยนอ่อนค่าลง
ดัชนี MSCI Asia Pacific ไม่รวมญี่ปุ่น ปรับตัวลง 0.3%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 15,153.08 จุด เพิ่มขึ้น 201.06 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,840.56 จุด ลดลง 13.73 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 19,982.66 จุด ลดลง 276.47 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,406.29 จุด ลดลง 70.70 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,901.85 จุด ลดลง 23.39 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,722.16 จุด ลดลง 13.23 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,627.69 จุด ลดลง 6.36 จุด
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดร่วง 199.41 จุด หลังสหราชอาณาจักรโหวตออกจาก EU
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงเมื่อคืนนี้ (24 มิ.ย.) หลังจากผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรชี้ ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,138.69 จุด ลดลง 199.41 จุด หรือ -3.15%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงหลังจากปิดบวกต่อเนื่อง 5 วัน เนื่องจากนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับอนาคตของสหราชอาณาจักรต่อจากนี้ ขณะที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศลาออก หลังจากผลการลงประชามติชี้ประชาชนต้องการให้ประเทศออกจากการเป็นสมาชิก EU
ทางด้านธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศความพร้อมที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นทุกด้าน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศหลังจากนี้
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ แถลงว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ "AAA" ไม่สอดคล้องกับอังกฤษอีกต่อไป หลังจากที่มีการลงประชามติแยกตัวจาก EU
กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีเปิดเผยว่า เยอรมนีเตรียมจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของชาติผู้ก่อตั้ง EU ในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะหารือในประเด็นการเมืองใน EU หลังจากที่สหราชอาณาจักรได้ออกมติแยกตัวออกจาก EU
นางนิโคล่า สเตอร์เจียน ซึ่งเป็นผู้นำและมุขมนตรีของสก็อตแลนด์ กล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่สก็อตแลนด์จะจัดทำประชามติครั้งใหม่เพื่อตัดสินว่าจะอยู่ในสหราชอาณาจักรหรือไม่ หลังจากที่ผลการนับคะแนนการลงประชามติในสหราชอาณาจักรพบว่าอังกฤษต้องการที่จะแยกตัวออกจาก EU ขณะที่สก็อตแลนด์ลงประชามติให้อยู่ใน EU ต่อไป
ขณะที่นายโดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรป (EC) คาดการณ์ว่า การเจรจาในกระบวนการที่จะทำให้สหราชอาณาจักรแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (EU) อาจจะต้องใช้เวลานานถึง 7 ปี
อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงในกรอบจำกัด เนื่องจากหุ้นบริษัทส่งออกพุ่งขึ้นหลังจากเงินปอนด์อ่อนค่าในรอบกว่า 30 ปี โดยหุ้นเออาร์เอ็ม และแอสตราเซเนกา ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่จากนอกประเทศ พุ่งขึ้นอย่างน้อย 3.4%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดร่วง เหตุสหราชอาณาจักรโหวต Brexit
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงเมื่อคืนนี้ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของยุโรปต่อจากนี้ หลังสหราชอาณาจักรลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 7.03% ปิดที่ 321.98 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,557.16 จุด ลดลง 699.87 จุด หรือ -6.82% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,106.73 จุด ลดลง 359.17 จุด หรือ -8.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,138.69 จุด ลดลง 199.41 จุด หรือ -3.15%
ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงอย่างหนักเมื่อคืนนี้ หลังจากผลการนับคะแนนการลงประชามติของสหราชอาณาจักร สะท้อนว่า ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
ขณะที่นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศลาออก หลังจากผลการลงประชามติออกมา
ธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศความพร้อมที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นทุกด้าน เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินภายในประเทศหลังจากนี้
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ แถลงว่า อันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ "AAA" ไม่สอดคล้องกับอังกฤษอีกต่อไป หลังจากที่มีการลงประชามติแยกตัวจาก EU
กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีเปิดเผยว่า เยอรมนีเตรียมจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของชาติผู้ก่อตั้ง EU ในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะหารือในประเด็นการเมืองใน EU หลังจากที่สหราชอาณาจักรได้ออกมติแยกตัวออกจาก EU
ทั้งนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปมีทั้งสิ้น 6 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก
หุ้นจูเลียสแบร์ร่วง 9% หลังจากระบุว่า ความปั่นป่วนจาก Brexit อาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทชั่วคราว หุ้นเทเลโฟนิกา ซึ่งเป็นบริษัทสื่อสารรายใหญ่ของสเปน ร่วง 16% หลังบริษัทประกาศเลื่อนการนำหุ้นเสนอขายต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ของบริษัทในเครือออกไปก่อน เนื่องจากตลาดมีความผันผวน
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: ดาวโจนส์ปิดร่วง 610.32 จุด เหตุวิตกอังกฤษโหวตออกจาก EU
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) ขณะที่นักลงทุนตระหนกต่อการที่สหราชอาณาจักรลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,400.75 จุด ร่วงลง 610.32 จุด หรือ -3.39% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,707.98 จุด ลดลง 202.06 จุด หรือ -4.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,037.41 จุด ลดลง 75.91 จุด หรือ -3.59%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กร่วงหนักตามตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากผลการนับคะแนนการลงประชามติของสหราชอาณาจักร สะท้อนว่า ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
ขณะที่กระทรวงต่างประเทศเยอรมนีเปิดเผยว่า เยอรมนีได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของชาติผู้ก่อตั้ง EU เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายที่จะหารือในประเด็นการเมืองใน EU หลังจากที่สหราชอาณาจักรได้ออกมติแยกตัวออกจาก EU ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความกังวลว่า ประเทศสมาชิก EU รายอื่นๆอาจจะได้รับอิทธิพลจากผลการลงประชามติของอังกฤษ
ทั้งนี้ ประเทศที่เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปมีทั้งสิ้น 6 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก
ด้านนางนิโคล่า สเตอร์เจียน ซึ่งเป็นผู้นำและมุขมนตรีของสก็อตแลนด์ กล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่สก็อตแลนด์จะจัดทำประชามติครั้งใหม่เพื่อตัดสินว่าจะอยู่ในสหราชอาณาจักรหรือไม่ หลังจากที่ผลการนับคะแนนการลงประชามติในสหราชอาณาจักรพบว่าอังกฤษต้องการที่จะแยกตัวออกจาก EU ขณะที่สก็อตแลนด์ลงประชามติให้อยู่ใน EU ต่อไป
ในส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ดิ่งลงมากกว่าคาดในเดือนพ.ค. โดยร่วงลง 2.2% หลังจากเพิ่มขึ้น 3.3% ในเดือนเม.ย.
หุ้นธนาคารร่วงลงอย่างหนัก โดยหุ้นซิตี้กรุ๊ปร่วง 9.4% ขณะที่หุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค และโกลด์แมน แซคส์ ต่างร่วงลงกว่า 6.9%
หุ้นผู้ผลิตรถยนต์ปรับตัวลงอย่างหนักเช่นกัน โดยหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ ปรับตัวลง 6.6% หุ้นเจเนอรัล มอเตอร์ลดลง 4.9%
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 24 มิ.ย.2559
ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,400.75 จุด ลดลง 610.32 จุด, -3.39%
ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,707.98 จุด ลดลง 202.06 จุด, -4.12%
ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,037.41 จุด ลดลง 75.91 จุด, -3.59%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,106.73 จุด ลดลง 359.17 จุด, -8.04%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,557.16 จุด ลดลง 699.87 จุด, -6.82%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,138.69 จุด ลดลง 199.41 จุด, -3.15%
ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 26,397.71 จุด ลดลง 604.51 จุด, -2.24%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,735.39 จุด ลดลง 58.46 จุด, -2.09%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,634.05 จุด ลดลง 5.93 จุด, -0.36%
ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,834.57 จุด ลดลง 39.74 จุด, -0.82%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 20,259.13 จุด ลดลง 609.21 จุด, -2.92%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,629.72 จุด ลดลง 100.06 จุด, -1.29%
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,854.29 จุด ลดลง 37.67 จุด, -1.30%
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,113.20 จุด ลดลง 167.50 จุด, -3.17%
ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,192.80 จุด ลดลง 165.80 จุด, -3.09%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,925.24 จุด ลดลง 61.47 จุด, -3.09%
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 14,952.02 จุด ลดลง 1,286.33 จุด, -7.92%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,476.99 จุด ลดลง 199.69 จุด, -2.30%
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงอย่างหนักเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) ขณะที่นักลงทุนตระหนกต่อการที่สหราชอาณาจักรลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป หรือ Brexit
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,400.75 จุด ลดลง 610.32 จุด หรือ -3.39% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,707.98 จุด ลดลง 202.06 จุด หรือ -4.12% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,037.41 จุด ลดลง 75.91 จุด หรือ -3.59%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ของยุโรปต่อจากนี้ หลังสหราชอาณาจักรลงประชามติถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit)
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 7.03% ปิดที่ 321.98 จุด
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,557.16 จุด ลดลง 699.87 จุด หรือ -6.82% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,106.73 จุด ลดลง 359.17 จุด หรือ -8.04% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,138.69 จุด ลดลง 199.41 จุด หรือ -3.15%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) หลังจากผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรชี้ ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
ดัชนี FTSE 100 ปิดที่ 6,138.69 จุด ลดลง 199.41 จุด หรือ -3.15%
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย หลังจากผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรชี้ ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. พุ่งขึ้น 59.30 ดอลลาร์ หรือ 4.69% ปิดที่ 1,322.40 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ปรับตัวขึ้น 43.60 เซนต์ หรือ 2.51% ปิดที่ 17.789 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 20.80 ดอลลาร์ หรือ 2.15% ปิดที่ 987.10 ดอลล์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนก.ย. ปรับตัวลง 19.45 ดอลลาร์ หรือ 3.4% ปิดที่ 546.45 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การที่สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป จะส่งกระทบเศรษฐกิจโลกและกระทบอุปสงค์น้ำมันอีกทอดหนึ่ง
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 2.47 ดอลลาร์ หรือ 4.9% ปิดที่ 47.64 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วง 2.5 ดอลลาร์ หรือ 5.164% ปิดที่ 48.41 ดอลลาร์/บาร์เรล
สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์เมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) หลังจากผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรสะท้อนว่า ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1144 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1355 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.3696 ดอลลาร์ จากระดับ 1.4803 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7508 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7598 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนที่ระดับ 102.24 เยน จากระดับ 105.82 เยน แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9724 ฟรังก์ จากระดับ 0.9574 ฟรังก์ และแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2936 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2785 ดอลลาร์แคนาดา
ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 609.00 จุด เพิ่มขึ้น 13.00 จุด, +2.18%
อินโฟเควสท์