- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Wednesday, 04 May 2016 12:26
- Hits: 1387
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้ซึมลง เหตุกังวลเศรษฐกิจโลกหลังเงินเยนแข็งค่ามาก-ราคาน้ำมันร่วง
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้ซึมตัวลง จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเงินเยนแข็งค่ามาก โดยมาอยู่แถว 106 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแข็งค่าสุดในรอบ 19 เดือน ทำให้มีความกังวลเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกไปด้วย แต่ขณะนี้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงปิดทำการอยู่ ซึ่งจะเปิดทำการอีกทีในวันศุกร์นี้ ก็คาดว่าจะเปิดร่วงอันเนื่องมาจากเงินเยนแข็งค่า
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบก็ร่วงลงต่อเนื่อง อันเป็นผลจากอุปทานน้ำมันที่ล้น และทางกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ก็ยังเพิ่มกำลังการผลิตด้วย ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียต่างติดลบกันทั่วหน้า
สำหรับ ตลาดบ้านเราก็จะหยุดยาวในช่วงสุดสัปดาห์นี้ด้วย ทำให้มูลค่าการซื้อขายของตลาดโดยรวมอาจไม่มาก พร้อมให้แนวรับ 1,395 ถัดไป 1,380-1,385 จุด ส่วนแนวต้าน 1,410 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (3 พ.ค.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,750.91 จุด ร่วงลง 140.25 จุด (-0.78%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,763.22 จุด ลดลง 54.37 จุด (-1.13%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,063.37 จุด ลดลง 18.06 จุด (-0.87%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 9.61 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 120.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 11.60 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 8.17 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 24.85 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 6.67 จุด
ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันสีเขียว
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (3 พ.ค.59) 1,397.87 จุด ลดลง 6.74 จุด(-0.48%)
- นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 439.74 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 พ.ค.59
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน มิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (3 พ.ค.59) ปิดที่ 43.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 1.13 ดอลลาร์ หรือ 2.5%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (3 พ.ค.59) ที่ 4.64 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 35.12 อ่อนค่าตามภูมิภาคหลังดอลล์แข็ง แนวโน้มวันนี้แกว่งในกรอบ-ธุรกรรมเบาบาง
- นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท.ได้ติดตามการประกาศตัวเลขการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งพบว่าตัวเลขไม่สะท้อนความเป็นจริง จึงต้องการให้ดึงสินค้าทองคำออกไปจากการคำนวณตัวเลขการส่งออกในแต่ละเดือนออกมา เพื่อให้ทราบตัวเลขการส่งออกที่ชัดเจนมากขึ้น และต้องการให้เข้า ไปติดตามตลาดซีแอลเอ็มวี ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ว่าเหตุใดตัวเลขการส่งออกไตรมาสแรกจึงติดลบ 3.99% ทั้งๆ ที่ผ่านมาไทยส่งออกเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ดีมาตลอด
- น.ส.จริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกปีนี้ คาดจะเติบโตเหลือ 2.8% ลดลงจากเป้าเดิม ที่ต้นปีมองทั้งปีนี้จะโต 3% ทั้งนี้เพราะหลังจากไตรมาสแรกธุรกิจรวมค้าปลีกโตได้แค่ 2.6% ตามเศรษฐกิจและกำลังซื้อ โดยเฉพาะในระดับล่างที่ยังชะลอตัว นอกจากนี้แนวโน้มในอนาคตก็ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาชัดเจน โดยแนวโน้มดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาพรวมจีดีพีของประเทศ ที่ปรับเป้าเติบโตสิ้นปีนี้เหลือ 2%
- นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการ บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก เปิดเผยว่า คาดว่าราคาทองคำในตลาดโลกจะทะลุ 1,300 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์เดือน พ.ค. และไต่ขึ้นไปถึง 1,350 เหรียญสหรัฐ หรือบาทละ 21,700 บาท ภายในไตรมาส 2 ปีนี้ ภายใต้ค่าเงินบาทที่ 34.60-34.70 บาท/เหรียญสหรัฐ เพราะเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยอีกเพียงครั้งเดียวในปีนี้ หรือไม่ปรับขึ้นเลย เนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนตัวต่อไป และเป็นผลดีต่อราคาทองคำ
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ล่าสุดเดือน เม.ย.ปีนี้ ปรับลดลงมาอยู่ที่ 49.8 ต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่าเครื่องชี้ของผู้ประกอบการทั้งในภาคการผลิต การค้า บริการ และการเงิน แย่ลง สะท้อนการขาดความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ โดยเดือนก่อนหน้าดัชนีอยู่ที่ 51.5 อย่างไรก็ตาม ดัชนีเดือน เม.ย.ปีนี้ยังดีกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ 45.2 เนื่องจากเทศกาลหยุดยาวช่วงสงกรานต์และกำลังซื้อที่ลดลง
- หอค้าไทยเผยสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย.59 ดัชนีทุกรายการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 4 ต่ำสุดรอบ 7 เดือน ผลกระทบหลักจากภัยแล้ง-รายได้ไม่พอรายจ่าย ส่งสัญญาณอนาคตหดต่อเนื่องถึงครึ่งปีหลัง อาจไม่เห็นเศรษฐกิจโต 3%
*หุ้นเด่นวันนี้
- ERW (ยูโอบี เคย์เฮียน) คาดจะประกาศกำไรสุทธิในงวด 1Q59 ในวันที่ 12 พ.ค.59 จะใกล้เคียงกับกำไรปี 58 ทั้งปี และผลประกอบการ 2Q59 ยังได้รับผลบวกจากนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปีนี้มีวันหยุดยาวหลายวัน ทั้งนี้ปัจุบันราคาหุ้นยังขึ้นมาไม่มากหากเทียบกับหุ้นในกลุ่มโรงแรม
- BANPU (โกลเบล็ก) "ซื้อ"คาดจะขาดทุนในไตรมาส 1 ราว 267 ล้านบาท ลดลง 485% YoY แต่เพิ่มขึ้น 82%QoQ โดยถูกกดดันจากขาดทุนค่าเงินราว 300 ล้านบาท โดยธุรกิจถ่านหินที่อินโดนีเซียยังสร้างกำไร ขณะที่ธุรกิจถ่านหินที่ออสเตรเลียและจีนผลประกอบการทรงตัวในระดับต่ำจนเกือบขาดทุน ด้านธุรกิจโรงไฟฟ้ายังสร้างกำไรราว 700 ล้านบาท จากโรงไฟฟ้า BLCP ราว 500 ล้านบาทและจากโรงไฟฟ้าหงสาราว 200 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกำไรจากโรงไฟฟ้าหงสาต่ำกว่าที่คาดไว้เนื่องจากโรงไฟฟ้าเฟส 1 ยังคงเดินเครื่องได้ไม่เต็มประสิทธิภาพแม้ว่าอีก 2 เฟสจะเริ่มเดินเครื่องแล้วก็ตาม ด้านการลงทุนธุรกิจก๊าซธรรมชาติที่สหรัฐ คาดจะสร้างผลขาดทุนในช่วง 1-2 ปีแรก เนื่องจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสูง และราคาขายก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามทางบริษัทคาดว่าหากราคาก๊าซธรรมชาติปรับตัวขึ้นในอนาคตธุรกิจก๊าซธรรมชาติจะสร้างผลตอบแทนแก่บริษัทในระยะยาว
- HMPRO (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 10 บาท จากประชุมวานนี้พบว่า SSSG เดือนเม.ย. ปรับขึ้นแรง 5% Y-Y ส่วน 2Q59 คาดว่าจะบวกได้ 3-5% Y-Y ส่วนหนึ่งจากฐานต่ำในปีก่อนและสาขาในกทม.โตดี แต่สาขาต่างจังหวัดยังติดลบอยู่โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ กำไร 2Q59 น่าจะทำได้ 950-1,000 ล้านบาท โต 10-15% Q-Q และ 15-20% Y-Y ปัจจุบัน HMPRO อยู่ระหว่างแตกไลน์ร้านค้าใหม่ประเภท Living (เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ในบ้าน) คาดเปิดสาขาแรกเดือน ต.ค. จากที่ก่อนหน้านี้เพิ่งเปิดร้าน Bike Shop โดยยังคาดกำไรปีนี้ เติบโต 13.4% Y-Y
- TISCO (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ"เป้า 52 บาท แม้ว่าจะเพิ่งผ่านการขึ้นเครื่องหมาย XD ไปเมื่อ 27 เม.ย. ที่ผ่านมา (จ่ายปีละ 1 ครั้ง) แต่ที่ราคาหุ้นปัจจุบันก็เป็นระดับที่น่าซื้อลงทุนด้วยผลการดำเนินงานหลักที่มีแนวโน้มดี NPL เริ่มลดลง ความจำเป็นในการตั้งสำรองฯน้อยลง ราคารถมือสองในตลาดเริ่มฟื้นตัว โดยคาดกำไรสุทธิ 2Q59 จะโดดเด่นกว่ากลุ่ม เบื้องต้นคาด 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% Q-Q และเพิ่มขึ้น 29% Y-Y จาก Spread ที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ราคาหุ้นปัจจุบันคิดเป็น PE เพียง 7 เท่าและ PBV เพียง 1.1 เท่า
- SAPPE (ซีไอเอ็มบี) "ซื้อ"เป้า 21.9 บาท คาดจะมีกำไรลดลง 37% yoy แต่เพิ่มขึ้น 38% qoq ใน 1Q59 โดยมองว่าการเติบโตส่วนใหญ่มาจากการส่งออก ขณะที่ยอดขายในประเทศทรงตัว ด้านอัตรากำไรขั้นต้นจะเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับการเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตของโรงงานแห่งใหม่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าค่าใช้จ่ายในการขายจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ yoy เพราะแคมเปญโฆษณาผ่าน สื่อโทรทัศน์สำหรับผลิตภัณฑ์เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์และเพรียวคอฟฟี่
ตลาดหุ้นเอเชียอ่อนตัวลงเช้านี้ หลังราคาน้ำมันร่วง, วิตกเศรษฐกิจโลก
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปิดร่วงลงเมื่อคืน หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.5% อันเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด จากรายงานที่ว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่าน ผลิตและส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,983.03 จุด ลดลง 9.61 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,556.50 จุด ลดลง 120.44 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,282.52 จุด ลดลง 11.60 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,978.24 จุด ลดลง 8.17 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,786.35 จุด ลดลง 24.85 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,644.77 จุด ลดลง 6.67 จุด ส่วนตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดทำการวันนี้ เนื่องในวันสีเขียว
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันเนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากที่มาร์กิตและไฉซินระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนปรับตัวลงแตะระดับ 49.4 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 49.7 ในเดือนมี.ค.
ขณะเดียวกัน มาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 49.2 ร่วงลงจากระดับ 50.7 ในเดือนมี.ค. โดยหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแตะ 51.2
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 56.30 จุด วิตก PMI ภาคการผลิตอังกฤษหดตัว
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) จากการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาคการผลิตอังกฤษ
ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 56.30 จุด หรือ 0.90% แตะที่ 6,185.59 จุด
ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหราชอาณาจักรอยู่ที่ระดับ 49.2 ในเดือนเม.ย. ร่วงลงจาก 50.7 ในเดือนมี.ค. โดยหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี สวนทางการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแตะ 51.2
ดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่า ภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า แต่หากดัชนีต่ำกว่า 50 จะแสดงให้เห็นถึงภาวะหดตัว
มาร์กิต เปิดเผยว่า บริษัทในภาคการผลิตได้มีการปรับลดจำนวนพนักงานราว 20,000 ตำแหน่งในไตรมาสที่ผ่านมา
หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นแองโกล อเมริกัน และหุ้นริโอ ทินโต ในขณะที่หุ้นเอเบอดีน แอสเสท แมเนจเมนท์ ลดลง 4.6% หลังเปิดเผยว่าบริษัทยังคงมีกระแสเงินสดไหลออกอย่างต่อเนื่อง
หุ้นเอสเอชบีซี โฮลดิ้งส์ เพิ่มขึ้น 1.2% แม้ว่าเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ เปิดเผยกำไรก่อนหักภาษีในไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 18% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดร่วง วิตกผลประกอบการบริษัทรายใหญ่
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในยุโรป ซึ่งรวมถึงเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษอ่อนแรงลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.7% ปิดที่ 335.56 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย.
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,371.98 จุด ลดลง 70.77 จุด หรือ -1.59% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,926.77 จุด ลดลง 196.50 จุด หรือ -1.94% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,185.59 จุด ลดลง 56.30 จุด หรือ -0.90%
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างซบเซา หลังจากผลสำรวจองมาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 49.2 ร่วงลงจากระดับ 50.7 ในเดือนมี.ค. โดยหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแตะ 51.2
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่ย่ำแย่ของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ โดยเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ ธนาคารรายใหญ่ของยุโรป เปิดเผยว่า กำไรก่อนหักภาษีในไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 5.4 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 18% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปีที่แล้ว
ขณะที่สายการบินลุฟท์ฮันซา เปิดเผยอดขาดทุนก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีในไตรมาสแรกปีนี้ อยู่ที่ 53 ล้านยูโร (61 ล้านดอลลาร์) และรายได้ปรับตัวลดลง 0.8% สู่ระดับ 6.9 พันล้านยูโร
ด้านธนาคารยูบีเอส รายงานว่า กำไรสุทธิในไตรมาสแรกปีนี้อยู่ที่ 707 ล้านฟรังก์สวิส (741 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 64% จาก 1.98 พันล้านฟรังก์ในช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
หุ้นดอยช์ ลุฟท์ฮันซา ดิ่งลง 5.1% หุ้นธนาคารยูบีเอส ร่วงลง 7.5% ส่วนหุ้นบีเอ็มดับเบิลยู ร่วงลง 3.8% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรจากการดำเนินงานปรับตัวลดลง
นักลงทุนจับตาดูการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนเม.ย.ของหลายประเทศในยุโรปในวันนี้ รวมถึงอิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ และกลุ่มอียู
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 140.25 จุด เหตุราคาน้ำมันดิ่งฉุดหุ้นพลังงาน
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) หลังจากราคาน้ำมัน WTI ร่วงลงกว่า 2% ซึ่งได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนและอังกฤษอ่อนแรงลง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,750.91 จุด ร่วงลง 140.25 จุด หรือ -0.78% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,763.22 จุด ลดลง 54.37 จุด หรือ -1.13% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,063.37 จุด ลดลง 18.06 จุด หรือ -0.87%
ตลาดหุ้นนิวยอร์กปรับตัวลงตั้งแต่ตลาดเปิดทำการ ท่ามกลางภาวะการซื้อขายที่ซบเซา หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 2.5% เมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่าน ผลิตและส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น
การร่วงลงของราคาน้ำมันได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย โดยหุ้นเชซาพีค เอนเนอร์จี ร่วงลง 6.8% หุ้นเซาท์เวสต์ เอนเนอร์จี ดิ่งลง 6.7% หุ้นมาราธอน ออยล์ ร่วงลง 5.6% ส่วนหุ้นฮัลลิเบอร์ตันดิ่งลงหนักสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากมีรายงานว่า ฮัลลิเบอร์ตัน และเบเกอร์ ฮิวจ์ อิงค์ สองบริษัทผู้ให้บริการขุดเจาะแหล่งน้ำมัน ประกาศยกเลิกแผนการควบรวมกิจการ หลังจากที่แผนกันดังกล่าวถูกคัดค้านจากทางการสหรัฐและยุโรป
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากข้อมูลภาคการผลิตที่อ่อนแรงลงของจีนและอังกฤษ โดยเมื่อวานนี้ มาร์กิตและไฉซินระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนปรับตัวลงแตะระดับ 49.4 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 49.7 ในเดือนมี.ค.
ขณะเดียวกัน มาร์กิตระบุว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือนเม.ย.อยู่ที่ระดับ 49.2 ร่วงลงจากระดับ 50.7 ในเดือนมี.ค. โดยหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และสวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวแตะ 51.2
หุ้นกลุ่มการเงินปรับตัวลง โดยหุ้นเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ดิ่งลง 1.9% หุ้นเลกก์ เมสัน ซึ่งเป็นบริษัทจัดการสินทรัพย์รายใหญ่ของสหรัฐ และหุ้นแอฟฟิลิเอทเต็ด เมเนเจอร์ กรุ๊ป ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 3.2%
หุ้นกลุ่มรถยนต์ร่วงลงเช่นกัน นำโดยหุ้นเจนเนอรัล มอเตอร์ และหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ ซึ่งต่างก็ปรับตัวลงกว่า 1.4% หลังจากบริษัทเปิดเผยยอดขายรถยนต์ในเดือนเม.ย.ที่น้อยกว่าการคาดการณ์ ส่วนหุ้นกู๊ดเยียร์ ไทร์ แอนด์ รับเบอร์ ร่วงลง 1.2%
อย่างไรก็ตาม หุ้นไฟเซอร์พุ่งขึ้น 2.7% หลังจากไฟเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐ เปิดเผยกำไรสุทธิพุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.02 พันล้านดอลลาร์ หรือ 49 เซนต์/หุ้นในไตรมาสแรก จากระดับ 2.38 พันล้านดอลลาร์ หรือ 38 เซนต์/หุ้น จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในวันนี้ ซึ่งได้แก่ตัวเลขจ้างงานเดือนเม.ย.จาก ADP, ยอดส่งออก ยอดนำเข้า และดุลการค้าเดือนมี.ค., ประสิทธิภาพการผลิต-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเบื้องต้นไตรมาส 1/2559, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนเม.ย.โดยมาร์กิต, ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย.โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมี.ค.
World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ
ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 3 พ.ค. 2559
ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 17,750.91 จุด ลดลง 140.25 จุด, -0.78%
ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,763.22 จุด ลดลง 54.37 จุด, -1.13%
ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 2,063.37 จุด ลดลง 18.06 จุด, -0.87%
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,371.98 จุด ลดลง 70.77 จุด, -1.59%
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,926.77 จุด ลดลง 196.50 จุด, -1.94%
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,185.59 จุด ลดลง 56.30 จุด, -0.90%
ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 25,229.70 จุด ลดลง 207.27 จุด, -0.81%
ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,651.44 จุด ลดลง 21.28 จุด, -1.27%
ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,811.20 จุด ลดลง 27.32 จุด, -0.96%
ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,812.26 จุด เพิ่มขึ้น 3.94 จุด, +0.08%
ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 20,676.94 จุด ลดลง 390.11 จุด, -1.85%
ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 7,046.57 จุด ลดลง 7.31 จุด, -0.10%
ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 2,992.64 จุด เพิ่มขึ้น 54.32 จุด, +1.85%
ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,353.80 จุด เพิ่มขึ้น 110.80 จุด, +2.11%
ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,415.00 จุด เพิ่มขึ้น 103.00 จุด, +1.94%
ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,986.41 จุด เพิ่มขึ้น 8.26 จุด, +0.42%
ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 8,294.12 จุด ลดลง 83.78 จุด, -1.00%
** ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปิดทำการวันนี้ (3 พ.ค.) เนื่องในวันที่ระลึกรัฐธรรมนูญ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) หลังจากราคาน้ำมัน WTI ร่วงลงกว่า 2% ซึ่งได้ฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานดิ่งลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนและอังกฤษอ่อนแรงลง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 17,750.91 จุด ร่วงลง 140.25 จุด หรือ -0.78% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,763.22 จุด ลดลง 54.37 จุด หรือ -1.13% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,063.37 จุด ลดลง 18.06 จุด หรือ -0.87%
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ในยุโรป ซึ่งรวมถึงเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันหลังจากมีรายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของอังกฤษอ่อนแรงลง
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.7% ปิดที่ 335.56 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย.
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,371.98 จุด ลดลง 70.77 จุด หรือ -1.59% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,926.77 จุด ลดลง 196.50 จุด หรือ -1.94% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,185.59 จุด ลดลง 56.30 จุด หรือ -0.90%
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) จากการปรับตัวลดลงของหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาคการผลิตอังกฤษ
ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 56.30 จุด หรือ 0.90% แตะที่ 6,185.59 จุด
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากมีรายงานว่าประเทศตะวันออกกลาง รวมถึงอิหร่านและอิรัก ได้เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐจะปรับตัวสูงขึ้นอีก
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.13 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 43.65 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 86 เซนต์ หรือ 1.9% ปิดที่ 44.97 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากสัญญาทองคำพุ่งขึ้นติดต่อกัน 6 วันทำการก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่นายเดนนิส ล็อคฮาร์ท ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา แสดงความเห็นว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.ลดลง 4 ดอลลาร์ หรือ 0.31% ปิดที่ระดับ 1,291.80 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 18.30 เซนต์ หรือ 1.03% ปิดที่ 17.499 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 14.80 ดอลลาร์ หรือ 1.36% ปิดที่ 1,071.60 ดอลลาร์/ออนซ์
สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย.ดิ่งลง 15.90 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 608.85 ดอลลาร์/ออนซ์
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (3 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าช้อนซื้อสกุลเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไร หลังจากที่ดอลลาร์ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงในวันจันทร์ อันเนื่องมาจากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของสหรัฐ
เงินยูโรปรับตัวลดลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1514 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1523 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินปอนด์ลดลงแตะระดับ 1.4542 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4670 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียลดลงแตะระดับ 0.7487 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7657 ดอลลาร์สหรัฐ
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงเมื่อเทียบเยนที่ระดับ 106.40 เยน จากระดับ 106.47 เยน และลดลงเมื่อเทียบฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9533 ฟรังก์ จากระดับ 0.9550 ฟรังก์ ในขณะที่ขยับขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์แคนาดาที่ระดับ 1.2724 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2529 ดอลลาร์แคนาดา
ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 682.00 จุด ลดลง 21.00 จุด, -2.99%
อินโฟเควสท์