- Details
- Category: หุ้นเด่นวันนี้
- Published: Monday, 18 April 2016 10:14
- Hits: 2126
ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้านี้แกว่งตัวลงตามตลาดภูมิภาค เหตุราคาน้ำมันร่วง-กังวลศก.โลก
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะแกว่งตัวลง ในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียที่เช้านี้ต่างปรับตัวลงกัน ภายหลังจากที่ผลการประชุมระหว่างกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องกำลังการผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลง ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นปรับตัวลงหลังจากที่เงินเยนกลับมาแข็งค่า
นอกจากนี้ ตลาดฯ ยังมีความกังวลเศรษฐกิจโลกจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลง รวมทั้งวันนี้จะมีการขึ้นเครื่องหมาย XD เพื่อจ่ายปันผลในหุ้นขนาดใหญ่ อย่างหุ้น SCCC และ SCB ซึ่งจะมีผลต่อดัชนีฯให้ปรับตัวลง 1.6 จุด
พร้อมให้แนวรับ 1,375-1,380 จุด ส่วนแนวต้าน 1,390-1,400 จุด
ประเด็นการพิจารณาการลงทุน
- ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (15 เม.ย.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 17,897.46 จุด ลดลง 28.97 จุด (-0.16%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,938.22 จุด ลดลง 7.67 จุด (-0.16%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,080.73 จุด ลดลง 2.05 จุด (-0.10%)
- ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ลดลง 326.78 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 19.66 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกง ลดลง 186.79 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน ลดลง 18.59 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ลดลง 13.36 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 22.54 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย ลดลง 8.20 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ลดลง 7.72 จุด ส่วนตลาดหุ้นเวียดนามปิดทำการวันนี้เนื่องในวันบูชาบรรพกษัตริย์
- ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (12 เม.ย.59) 1,385.42 จุด เพิ่มขึ้น 15.58 จุด (+1.14%)
- นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 560.92 ล้านบาท เมื่อวันที่ 12 เม.ย.59
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (15 เม.ย.59) ปิดที่ 40.36 ดอลลาร์/บาร์เรล ลดลง 1.14 ดอลลาร์ หรือ 2.75%
- ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (15 เม.ย.59) ที่ 4.57 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล
- เงินบาทเปิด 35.09 แนวโน้มอ่อนค่าตามภูมิภาค รอปัจจัยใหม่ๆ มองกรอบ 35.00-35.15
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เดือน ต.ค.58 เช่น อังกฤษจะออกจากสมาชิกอียู สร้างความเสี่ยงให้เศรษฐกิจโลกชะลอ การลงทุนชะงัก โดยเศรษฐกิจโลกยังต้องพึ่งพานโยบายการเงินและการคลังมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการขยายตัวและสร้างเสถียรภาพ
- สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย รายงานว่า ระหว่างวันที่ 4-8 เม.ย. 2559 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลลดลงเกือบทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะรุ่นอายุ 30 ปี ลดลง ถึง 0.16% จากระดับ 2.56% ในสัปดาห์ก่อนหน้าเป็น 2.40% เป็นผลจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลรุ่น Benchmark 30 ปี (LB446A) ในวันอังคารที่ผ่านมา จำนวน 1 หมื่นล้านบาทที่อัตราผลตอบแทน 2.1682% แม้จะมีความต้องการมากกว่าวงเงินประมูล 1.4 เท่า แต่ช่วงห่างของอัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้ห่างกันมากถึง 0.15% (2.08-2.23%) แสดงถึงราคาของความต้องการอย่างมากในตราสารระยะยาวของผู้เข้าร่วมประมูล
- ธปท.เผยต่างชาติมีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 1 แสนล้านบาทในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เข้าซื้อบอนด์ระยะสั้น ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันทั้งภูมิภาคเอเชีย ชี้อนาคตยังไม่มีความไม่แน่นอนสูงและความผันผวนเป็นระยะๆ ย้ำจะทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพทั้งตลาดการเงินและเศรษฐกิจไทย
- ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนเดือนมีนาคมและในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังลดลงต่อเนื่อง ระบุสะท้อนความเป็นห่วงในด้านรายได้ในอนาคต ส่งผลให้การใช้จ่ายของครัวเรือนยังซบเซาไปอีกระยะ หวังโครงการรัฐเกิดช่วยพยุงเศรษฐกิจ
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยขณะนี้มีค่ายรถยนต์ 4-5 ราย สนใจที่จะเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เบื้องต้นขอเป็นรถปลั๊กอินไฮบริดหรือรถที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้าสามารถชาร์จไฟฟ้าที่บ้านก่อน ลงทุนรายละ 20,000 ล้านบาท หรือมีเม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท คาดยื่นขอสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในปลายปีนี้ เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์การเร่งรัดส่งเสริมการลงทุน เชื่อจะทยอยผลิตรถยนต์ในเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562
*หุ้นเด่นวันนี้
- EPG (ยูโอบี เคย์เฮียน) เป้า 16 บาท แนวโน้มงบปี 59 (เม.ย.58-มี.ค.59) เติบโตต่อเนื่องและไตรมาสล่าสุด (ม.ค.59-มี.ค.59) คาดจะออกมาดีมาก กำไรคาดจะโตกว่า 30%qoq และ 150%yoy ธุรกิจผ่านช่วง low season ไปแล้ว และลุ้นคว้างานฉนวนกันความร้อนสุวรรณภูมิ-ดอนเมืองที่จะเปิดประมูลเร็ว ๆ นี้ นอกจากนี้ แผนเปิดตลาดเพิ่มในเออีซีจะช่วยเพิ่มยอดขายจากอาเซียนจาก 5% เป็น 10% ในปีนี้ และไม่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายการปิดโรงงานของ TJM ในจีน ทำให้ธุรกิจ ARK สดใสขึ้น
- BEM (โกลเบล็ก) เป้า 5.70 บาท คาดกำไรปี 59-60 เติบโตเฉลี่ย 26% จากการเปิดใช้ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอก รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่งผลให้กำไรปี 59 และ 60 อยู่ที่ 3,302 และ 4,184 ล้านบาท +25% และ +27% ตามลำดับ และยังมีศักยภาพประมูลงานภาครัฐแบบ PPP ล่าสุดครม.อนุมัติเอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีชมพู-สีเหลืองแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐลงทุนค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ในระยะเวลา 33 ปี
- TMB (ทรีนีตี้) "ซื้อ"เป้า 2.8 บาท คาดกำไร 1Q59 ที่ 2,373 ล้านบาท หดตัว 9%QoQ แต่เติบโต 45%YoY โดยคาดรายได้ดอกเบี้ยสุทธิยังทรงตัว แต่รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงตามฤดูกาล แรงกดดันหลักๆ อาจมาจากสำรองหนี้สูญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับธนาคารอื่น แต่เป็นปัจจัยที่คาดไว้แล้ว ทั้งนี้ ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมาสะท้อนปัจจัยลบทำให้ Upside เริ่มกลับมาน่าสนใจ
ตลาดหุ้นเอเชียร่วงลงเช้านี้ หลังหุ้นญี่ปุ่นดิ่ง, ราคาน้ำมันทรุด
ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้ โดยได้รับปัจจัยถ่วงจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงลง รวมถึงราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก
ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วง 1.1% สู่ระดับ 130.75 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.05 น.ตามเวลาโตเกียว
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 16,521.25 จุด ลดลง 326.78 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,058.46 จุด ลดลง 19.66 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,129.68 จุด ลดลง 186.79 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,681.80 จุด ลดลง 18.59 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,001.35 จุด ลดลง 13.36 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,901.40 จุด ลดลง 22.54 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,719.79 จุด ลดลง 8.20 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 7,313.58 จุด ลดลง 7.72 จุด
ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นโตเกียวร่วงลง 505.83 จุด หรือ 3.00% แตะที่ 16,342.20 จุด หลังจากตลาดเปิดทำการได้เพียง 15 นาทีในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น
ด้านสัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ร่วงลง 6.7% ในช่วงเช้าวันนี้ หลังจากที่ประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศนอกกลุ่มโอเปก ไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : ฟุตซี่ปิดลบ 21.35 จุด หลังจีนเผยข้อมูลศก.อ่อนแอ, จับตาการประชุมที่โดฮา
ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากจีนเผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/2559 ที่ขยายตัวในอัตราที่ช้าที่สุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนการประชุมนัดสำคัญของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน สุดสัปดาห์นี้
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ลดลง 21.35 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 6,343.75 จุด สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีพุ่งขึ้น 2.3% โดยเป็นการปรับตัวขึ้น 3 สัปดาห์ติดต่อกันแล้ว
ตัวเลขทางการเผยให้เห็นว่า เศรษฐกิจจีนขยายตัว 6.7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งต่ำกว่าอัตราขยายตัวที่ 6.8% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยหุ้นบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์มีความอ่อนไหวต่อข้อมูลเศรษฐกิจจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศรายใหญ่ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตาการประชุมของบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันในสุดสัปดาห์นี้ โดยวาระการประชุมสำคัญของกลุ่มโอเปกและกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปก ที่กรุงโดฮา ในวันอาทิตย์นี้ คือการจำกัดการผลิตโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันราคาน้ำมันที่ดิ่งลงไปถึงราว 70% นับตั้งแต่เดือนก.ค.2557
นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับการทำประชามติในเรื่องที่ว่าอังกฤษควรอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่
สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์ ได้แก่ ผลผลิตภาคการก่อสร้างเดือนก.พ. ซึ่งปรับตัวลง 0.3% เมื่อเทียบรายเดือน นับเป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแรงกระตุ้นเศรษฐกิจอังกฤษในช่วงไตรมาสแรกได้อ่อนแรงลง ก่อนการลงประชามติ Brexit ในเดือนมิ.ย.
หุ้นเอสเอบีมิลเลอร์พุ่งขึ้น 1.6% เป็นแกนนำหุ้นบวก หลังเอบี อินเบฟ เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อการอนุมัติข้อตกลงเทคโอเวอร์มูลค่า 7.1 หมื่นล้านปอนด์
หุ้นแมน กรุ๊ป บวก 7.2% หลังบริษัทรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกแข็งแกร่ง
ด้านทราวิส เพอร์กินส์ เป็นแกนนำหุ้นลบ โดยหุ้นร่วงลง 4.62% ขณะที่หุ้นบาร์รัตต์ ดีเวลอปเมนท์ ลดลง 4.6% เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับ Brexit ได้สร้างแรงกดดันต่อบรรดาบริษัทรับสร้างบ้าน
หุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงเช่นกัน เพราะได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน หุ้นแองโกล อเมริกัน ร่วงลง 1.7% หุ้นริโอ ทินโต ลบ 0.72%
ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดลบครั้งแรกในรอบ 6 วัน ขณะนลท.จับตาประชุมน้ำมันที่โดฮา
ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (15 เม.ย.) หลังจากที่เดินหน้าขึ้นมา 5 วันติดต่อกัน โดยนักลงทุนต่างระมัดระวังการซื้อขาย ก่อนที่การประชุมของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่กรุงโดฮา จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้
ดัชนี Stoxx 600 ปรับตัวลง 1.20 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 342.79 จุด สำหรับตลอดสัปดาห์ ดัชนีพุ่งขึ้น 3.3% ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่เดือนช่วงต้นเดือนมี.ค.
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสลดลง 16.34 จุด หรือ 0.36% ปิดวันทำการล่าสุดที่ 4,495.17 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันลดลง 42.08 จุด หรือ 0.42% ปิดที่ 10,051.57 จุด ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอน ลดลง 21.35 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 6,343.75 จุด
นักลงทุนจับตาการประชุมของบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันในสุดสัปดาห์นี้ โดยวาระการประชุมสำคัญของกลุ่มโอเปกและกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปก ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ในวันอาทิตย์นี้ คือการจำกัดการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันราคาน้ำมันที่ดิ่งลงไปถึงราว 70% นับตั้งแต่เดือนก.ค. 2557
สำหรับ ความเคลื่อนไหวล่าสุดก่อนการประชุม มีรายงานว่ารัฐมนตรีน้ำมันของอิหร่านจะไม่เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม แต่จะส่งผู้ว่าการโอเปกของอิหร่านไปเป็นตัวแทน ซึ่งข่าวดังกล่าวฉุดให้ราคาน้ำมันร่วงทันทีกว่า 2% ลงไปเคลื่อนไหวที่ระดับต่ำกว่า 41 ดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ภาวะการซื้อขายในวันศุกร์ยังได้รับแรงกดดันส่วนหนึ่งจากข้อมูลเศรษฐกิจจีน โดยทางการจีนเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไตรมาส 1/2559 ที่ขยายตัว 6.7% ซึ่งนับเป็นอัตราที่ชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่ช่วงพีคของวิกฤตการเงินในปี 2552
หุ้นทุลโลว์ ออยล์ ร่วง 5.6% หุ้นเอนิ ลดลง 1.3% หุ้นโททาล ลบ 0.6%
หุ้นเครดิตสวิส ลดลง 0.8% หลังหน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นขอให้สำนักงานบริการการเงินลงโทษธนาคารเครดิตสวิสในโตเกียว โทษฐานให้ข้อมูลที่ไม่ควรเผยแพร่เกี่ยวกับบริษัทแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นแก่ลูกค้าของธนาคาร
หุ้นแมน กรุ๊ป พุ่ง 7.2% หลังบริษัทผู้จัดการกองทุนรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกแข็งแกร่ง
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดลบ 28.97 จุด หลังราคาน้ำมันร่วง
ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ (15 เม.ย.) หลังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงได้ถ่วงหุ้นกลุ่มพลังงาน ก่อนที่การประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้
ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลง 28.97 จุด หรือ 0.16% ปิดที่ 17,897.46 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 2.05 จุด หรือ 0.10% ปิดที่ 2,080.73 จุด ดัชนี Nasdaq ลดลง 7.67 จุด หรือ 0.16% ปิดที่ 4,938.22 จุด
อย่างไรก็ดี ตลอดสัปดาห์ ทั้ง 3 ดัชนีปรับตัวขึ้น โดยดาวโจนส์บวก 1.8% S&P 500 บวก 1.6% และ Nasdaq บวก 1.8% เพราะได้รับแรงหนุนจากการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ออกมาดีเกินคาด
ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอีกในวันศุกร์ ทั้ง WTI และ Brent ซึ่งเป็นการปรับตัวลง 3 วันติดต่อกัน ขณะที่เทรดเดอร์ระมัดระวังการซื้อขายก่อนการประชุมผู้ผลิตน้ำมันจะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้ ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
บรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ทั้งกลุ่มโอเปก นำโดยซาอุดิอาระเบีย และนอกกลุ่มโอเปก นำโดยรัสเซีย จะประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการตรึงการผลิตที่ระดับปัจจุบัน
ความเคลื่อนไหวล่าสุดก่อนการประชุม มีรายงานว่ารัฐมนตรีน้ำมันของอิหร่านจะไม่เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม แต่จะส่งผู้ว่าการโอเปกของอิหร่านไปเป็นตัวแทน ซึ่งข่าวดังกล่าวฉุดให้ราคาน้ำมันร่วงทันทีกว่า 2% ลงไปเคลื่อนไหวที่ระดับต่ำกว่า 41 ดอลลาร์
สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยในวันศุกร์ ได้แก่ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค. โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง 0.6% ในเดือนมี.ค. เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
ขณะที่เฟด นิวยอร์ก รายงานว่า ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) พุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. 2558 หรือในรอบกว่า 1 ปี โดยได้รับแรงหนุนจากอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับคำสั่งซื้อใหม่และการขนส่งสินค้าปรับตัวขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 9.6 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 0.6 ในเดือนมี.ค.
ส่วนผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 0.3% ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 7 เดือน ซึ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความอ่อนแอในภาคการผลิตของสหรัฐ ขณะที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนเม.ย. ลดลงที่ระดับ 89.7
ด้านทางการจีนได้เปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของประเทศยังคงชะลอตัวในไตรมาสแรกของปี 2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของจีนในไตรมาสแรกขยายตัว 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ระดับ 15.9 ล้านล้านหยวน (2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ตัวเลขจีดีพีของจีนสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่า ข้อมูลล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่า มาตรการกระตุ้นของรัฐบาลจีนเริ่มเห็นผลแล้ว
ในส่วนของข่าวคราวความเคลื่อนไหวในภาคธุรกิจ ซิตี้กรุ๊ปรายงานกำไรสุทธิไตรมาสแรกที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.10 ดอลลาร์ต่อหุ้นปรับลด จากรายได้ 1.76 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งกำไรและรายได้ของธนาคารออกมาสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด อย่างไรก็ตาม หุ้นซิตี้กลับปรับตัวลดลง 0.13%
หุ้นแอปเปิล อิงค์ ร่วงลงราว 2% หลังมีรายงานว่าบริษัทมีแผนลดการผลิตไอโฟน ภายหลังยอดขาย iPhone 6S และ 6S Plus ออกมาต่ำกว่าคาด
ขณะที่หุ้นแทรเวลเลอร์ส คอมพานีส์ อิงค์ ปรับตัวขึ้น 0.8% เป็นแกนนำหุ้นบวก
อินโฟเควสท์