WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SET27ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้าปรับลง หลัง Sentiment โดยรวมไม่ดี-หลักมาจากตปท.

    นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้คงจะปรับตัวขึ้นได้ยาก เนื่องจาก Sentiment โดยรวมไม่ดี โดยมาจากต่างประเทศเป็นหลัก หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบยังไม่สามารถยืนเหนือระดับ 30 เหรียญฯ/บาร์เรลได้ ก็จะมีผลกระทบต่อการลงทุนหุ้นกลุ่มน้ำมันทั่วโลก จึงเป็นปัจจัยลบให้กับตลาดฯ

     อีกทั้ง ยังสร้างความกังวลให้กับกลุ่มแบงก์ในยุโรปด้วย ในเรื่องหนี้เสียที่ปล่อยให้กับกลุ่มพลังงาน ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะเพิ่มทุนหรือตั้งสำรองฯเพิ่มได้ โดยในเดือนมี.ค.ทางประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาระบุว่าจะใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งก็อาจเป็นการซื้อพันธบัตรเพิ่ม หรือลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก นอกจากนี้มองว่าการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นปัจจัยลบ

    ส่วนตลาดหุ้นไทยยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันทรงตัวในระดับต่ำ  ซึ่งก็คงจะต้องไปพึ่งปัจจัยจากการลงทุนในโครงการต่างๆ ซึ่งอาจช่วยในแง่ Sentiment ได้ แต่ในส่วนเม็ดเงินคงจะยังไม่เห็น ดังนั้น นักลงทุนควรจะเลือกลงทุนหุ้นที่คาดการณ์ว่าผลประกอบการจะออกมาดี ภาพโดยรวมของตลาดฯจึงยังผันผวนสูง

    ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างก็ติดลบเฉลี่ย 1-2% พร้อมให้แนวรับ 1,300-1,290 จุด ส่วนแนวต้าน 1,315 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

   - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด (9 ก.พ.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,014.38 จุด ลดลง 12.67 จุด (-0.08%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,268.76 จุด ลดลง 14.99 จุด (-0.35%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,852.21 จุด ลดลง 1.23 จุด (-0.07%)

    - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 42.42 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ ลดลง 63.57 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 8.47 จุด

  ด้านตลาดหุ้นจีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลีใต้ ยังคงปิดทำการในวันนี้ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน

   - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (9 ก.พ.59)1,303.96 จุด ลดลง 3.61 จุด(-0.28%)

    - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,544.06 ล้านบาท เมื่อวันที่ 9 ก.พ.59

    - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด (9 ก.พ.59) ปิดที่ 27.94 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดร่วงลง 1.75 ดอลลาร์ หรือ 5.9%

    - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (9 ก.พ.59) ที่  6.75 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

   - เงินบาทเปิด 35.40/42 แนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาค คาดกรอบ 35.30-35.50

     - พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติทบทวน มติ ครม. เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2558 ที่เห็นชอบโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) จากเดิมที่คำขอได้สิ้นสุดไปเมื่อ วันที่ 31 ธ.ค. 2558 เป็นให้สิ้นสุดการ รับคำขอในวันที่ 30 มิ.ย. 2559 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงิน แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดจะถึงก่อน

    - นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.มีมติให้รัฐบาลไทยเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (ทีพีพี) โดยองค์กรสมาชิกเห็นว่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมของไทยกว่า 80-90% และจะหนุนให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้น

     - ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้สั่งการให้ สคร.เร่งจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์) วงเงิน 1 แสนล้านบาท และโครงการร่วมทุนรัฐและเอกชน หรือพีพีพี จำนวน 5 โครงการ โดยเร็วที่สุด

     - นายสุทธิรักษ์ เสถียรภาพอยุทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาสิริ กรุ๊ป เปิดเผยว่า เวลานี้กำลังซื้อของคนที่อยากซื้อที่อยู่อาศัยยังน่าเป็นห่วง เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง เห็นได้จากมาตรการ กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลออกมาปลายปีที่แล้วช่วยคนจองมากขึ้น แต่ถึงขั้นยื่นกู้จะกู้ไม่ผ่าน ทำให้ต้องให้ลูกค้าไปยื่นกู้ก่อนถึงให้จอง โดยบริษัทมียอดปฏิเสธเพียง 6% ส่วนภาพรวมมีถึงกว่า 10% ที่กู้ไม่ผ่าน

     - สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความกังวลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นหลัก ส่งผลให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงอยู่ในกรอบซบเซา (Bearish)

    - ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ในเดือน ม.ค.ปีนี้แย่ลงกว่าเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 48.5 จุด จากเดือนก่อนหน้า 49.9 จุด จากผลประกอบการ ปริมาณการผลิตสินค้า คำสั่งซื้อสินค้า และภาวะการส่งออกที่ลดลง แต่ต้นทุนการประกอบการเพิ่มขึ้น

*หุ้นเด่นวันนี้

   - TAKUNI-W ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ บมจ.ทาคูนิ กรุ๊ป (TAKUNI) เทรดวันนี้วันแรก มีจำนวน  399,999,874 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ :  1 หุ้นสามัญใหม่ ราคาการใช้สิทธิ 2.00 บาทต่อหุ้น อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ   5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (วันที่ 29 มกราคม 2559) ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ 0.00 บาทต่อหน่วย กำหนดวันใช้สิทธิครั้งแรก 30 ธ.ค. 2559 และวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย 28 ม.ค. 2564

    - BJCHI (เคจีไอ) "ซื้อสะสม"เป้า 10.4 บาท คาดกำไรไตรมาส 4/58 = 558 ล้านบาท (+60% YoY และ 32% QoQ) และคาดปันผลที่จะประกาศช่วงปลาย ก.พ. นี้ = 0.55 บาท/หุ้น Dividend yield สูง 8.2%, Backlog ตอนนี้ 3.2 พันล้านบาท และบริษัทฯเตรียมประมูลงานมูลค่า 6.5 พันล้านบาท ซึ่งมีโอกาสได้สูงเพราะเป็นงานต่อเนื่อง (คาดประมูล 1H59 ราว 5 พันล้านบาท ที่เหลืออีก 1.5 พันล้านบาทคาดประมูลใน 2H59)

     - SIRI (ไอร่า) เป้า 1.75 บาท คาดรายได้ปี 58 เติบโตโดดเด่นถึง 25% คาดอยู่ที่ 35,208 ล้านบาท จากการเร่งระบายสินค้าคงเหลือในสต๊อกและแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ในปี 59 ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 47% อยู่ที่ 42,000 ล้านบาท (คอนโด 65% และแนวราบ 35%) จากแผนการเปิดตัวโครงการใหม่ 21 โครงการ มูลค่ารวม 50,421 ล้านบาท (คอนโด 70% และ แนวราบ 30%) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เปิดเพียง 11 โครงการ มูลค่า 22,132 ล้านบาท ทั้งนี้ในปี 59 บริษัทยังเน้นการขายโครงการคอนโดฯ ระดับ Mid to High End

      - กลุ่มการบิน (ไอร่า) คาดราคามีโอกาสฟื้นตัว หลังสายการบินของไทยผ่านการประเมินของสำนักงานบริหารความปลอดภัยด้านการบินของสหภาพยุโรป (EASA) และสามารถบินได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ และช่วง High Season ของการท่องเที่ยว คาดส่งผลดีต่อ BA, AAV

    - TVT (โกลเบล็ก) เป้า Consensus เฉลี่ย 2.19 บาท คาด Q4/15 มีกำไรสูงสุดของปี (Consensus คาด 20 - 26 ล้านบาท +150% QoQ ) จากการรับรู้รายได้จากการรับจ้างผลิตละคร“ทางผ่านกามเทพ""สาวน้อยร้อยล้าน" และรายได้จัด Event เพิ่ม ส่งผลให้กำไรปี 2015 +ราว 10% เป็น 45 - 50 ล้านบาท พร้อมคาดกำไรปี 2016 ยังคงเติบโตจากจำนวนรายการที่รับจ้างผลิตออกอากาศเพิ่มขึ้น 6 รายการ  โดยคาด Q1/59 มีการปิดดีล M&A ธุรกิจผลิตรายการทีวี 1 ราย

ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงภาคบ่าย เหตุวิตกแบงก์ฝั่งยุโรป

     ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงในการซื้อขายภาคบ่ายวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับความผันผวนในตลาดหุ้นและความน่าเชื่อถือของธุรกิจธนาคารในฝั่งยุโรป ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวลงของราคาน้ำมัน

     ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียเปิดวันนี้ที่ 23,938.32 จุด ลดลง 82.66 จุด, -0.34% ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดภาคเช้าที่ 1,650.34 จุด ลดลง 12.12 จุด, -0.73%

     ตลาดหุ้นฮ่องกง จีน เวียดนาม และไต้หวัน ปิดทำการในวันนี้ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน

    ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานว่า ดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของเยอรมนีกำลังพิจารณาเรื่องการซื้อคืนตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ์ของธนาคาร หรือที่เรียกว่าตราสารหนี้ CoCos พร้อมกับระบุว่า ธนาคารอาจจะไม่แปลงสภาพตราสารหนี้ดังกล่าว

    โดยดอยช์แบงก์มีภาระต้องไถ่ถอนตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ์ มูลค่า 5.38 หมื่นล้านยูโร หรือ 6.08 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่นายจอห์น ไครอัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของธนาคารดอยช์แบงก์ระบุว่า ทางธนาคารยังคงมีสถานะที่แข็งแกร่ง และมีเงินทุนที่เพียงพอที่จะจ่ายให้กับนักลงทุนที่ถือตราสารหนี้ CoCos

   ในวันนี้ ดอลลาร์สหรัฐร่วงลงสู่กรอบบน 114 เยนในเช้าวันพุธ เนื่องจากยังคงมีกระแสวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วโลก อันส่งผลให้นักลงทุนเลี่ยงความเสี่ยงดดยการเข้าซื้อเงินเยนซึ่งเป็นทรัพย์สินปลอดภัย

     ดอลลาร์เคลื่อนไหวที่ 114.59-114.60 เยน เมื่อเปรียบเทียบกับ 115.11-115.21 เยนที่ตลาดนิวยอร์ก และ 115.30-115.31 เยนที่ตลาดโตเกียวเมื่อวานนี้เวลา 17.00 น.

   สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจที่ได้มีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่  ดัชนีราคาค้าส่งของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 3.1% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน และทำสถิติลดลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่สูงเกินไปอาจจะส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

    รายงานในเบื้องต้นของธนาคารกลางญี่ปุ่นระบุว่า ดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ที่ 100.1 เมื่อเทียบกับระดับฐานปี 2553 ที่ 100 หลังจากที่ร่วงลง 3.5% ในเดือนธ.ค.

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 57.17 จุด จากแรงเทขายหุ้นเหมืองแร่

            ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

                ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 57.17 จุด หรือ 1.00% ที่ 5,632.19 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555

                ตลาดหุ้นลอนดอนได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ โดยหุ้นแองโกล อเมริกัน หุ้นบีเอชพี บิลลิตัน และหุ้นเกลนคอร์ ต่างก็ปรับตัวลดลงมากกว่า 5.8%

                ส่วนหุ้นดับเบิลยูพีพี เพิ่มขึ้น 3.4% หลังจากบริษัทออมนิคอม กรุ๊ป อิงค์ ของสหรัฐ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันรายงานผลประกอบการที่สูงกว่าการคาดการณ์

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงหนัก ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดลบ

                ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยหุ้นดอยช์แบงก์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี แม้ว่าทางธนาคารได้ออกมายืนยันว่ามีเม็ดเงินสดเพียงพอที่จะชำระหนี้ก็ตาม นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ Stoxx Europe 600  ปิดตลาดในแดนลบติดต่อกัน 7 วันทำการ

                ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 309.39 จุด

                ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,997.54 จุด ลดลง 68.77 จุด หรือ -1.69% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,879.40 จุด ลดลง 99.96 จุด หรือ -1.11% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,632.19 จุด ลดลง 57.17 จุด หรือ -1.00%

                หุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงอย่างหนักและส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปอ่อนแรงลงด้วย โดยเฉพาะหุ้นดอยช์แบงก์ที่ร่วงลง 4.3% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี แม้นายจอห์น ไครอัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของธนาคารดอยช์แบงก์ ระบุว่า ทางธนาคารยังคงมีความแข็งแกร่ง เมื่อพิจารณาจากเงินทุนในระดับสูง และการกันสำรองความเสี่ยง

                ทั้งนี้ หุ้นดอยช์แบงก์ร่วงลงอย่างหนักนับตั้งแต่ธนาคารรายงานผลประกอบการที่ย่ำแย่ในวันที่ 28 ม.ค. โดยดอยช์แบงก์เปิดเผยว่า ธนาคารประสบภาวะขาดทุน 6.8 พันล้านยูโร (7.5 พันล้านดอลลาร์) ในปีที่แล้ว

                ส่วนหุ้นธนาคารอื่นๆนั้น หุ้นเครดิตสวิส ร่วงลง 8.4% หุ้นยูนิเครดิต เอสพีเอ ดิ่งลง 7.9% หุ้นยูบีเอส กรุ๊ป ร่วงลง 5.6% หุ้นสเวดแบงก์ เอบี ซึ่งเป็นธนาคารปล่อยกู้จำนองรายใหญ่ของสวีเดน ร่วงลง 5.7% และหุ้นคอมเมิร์ซแบงก์ ดิ่งลง 4.4%

                หุ้นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นอาร์เซลอร์ มิททัล ดิ่งลง 11% และหุ้นแองโกล อเมริกัน ร่วงลง 11% เช่นเดียวกัน

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : วิตกราคาน้ำมันร่วง ฉุดดาวโจนส์ปิดลบ 12.67 จุด

   ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน ซึ่งฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานอ่อนแรงลงด้วย ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพและกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบได้ช่วยสกัดแรงลบของตลาดในระหว่างวัน

      ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,014.38 จุด ลดลง 12.67 จุด หรือ -0.08% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,268.76 จุด ลดลง 14.99 จุด หรือ -0.35% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,852.21 จุด ลดลง 1.23 จุด หรือ -0.07%

     ตลาดหุ้นนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อคืนนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงหลุดจากระดับ 28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากมีรายงานว่า ประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ยังไม่สามารถทำข้อตกลงกันได้ในเรื่องการปรับลดกำลังการผลิต

    หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบ นำโดยหุ้นเชฟรอน ดิ่งลง 3.6% หุ้นเซาท์เวสเทิร์น เอนเนอร์จี และหุ้นคอนโซล เอนเนอร์จี ต่างก็ร่วงลงอย่างน้อย 10% ขณะที่หุ้น Oneok Inc ดิ่งลง 11%

     หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลง โดยหุ้นอินเตอร์เนชันแนล บิสิเนส แมชีนส์ คอร์ป (IBM) ร่วงลง 2.3% หุ้นออราเคิล คอร์ป ปรับลง 1.5% ส่วนหุ้นเฟซบุ๊ก และหุ้นอัลฟาเบท ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล ปิดตลาดเกือบทรงตัว

   หุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพและกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบดีดตัวขึ้น ซึ่งช่วยหนุนตลาดให้สามารถลดแรงลบในระหว่างวันได้ โดยหุ้นมาร์ติน มาเรียตต้า มาเทเรียลส์ พุ่งขึ้น 9.4% หลังจากบริษัทคาดการณ์ว่ายอดขายวัตถุดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 7% ขณะที่หุ้นดูปองท์ ดีดตัวขึ้น 1.6%

   ส่วนหุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพปรับตัวขึ้น โดยหุ้นจิเลียด ซายส์ พุ่งขึ้น 2.3% หุ้นไฟเซอร์ ปรับขึ้น 1.9% หุ้นบอสตัน ไซแอนทิฟิค ทะยานขึ้น 5%

     สำหรับ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยล่าสุดนั้น สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมร่วงลงสู่ระดับ 93.9 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2014 จากระดับ 95.2 ในเดือนธ.ค.

    นักลงทุนจับตานางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันนี้ และจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันพรุ่งนี้ โดยนักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างรอดูว่า นางเยลเลนจะส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้าหรือไม่ หลังจากที่เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกรอบเกือบ 10 ปีในการประชุมเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว

     นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอการเปิดเผยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงสต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนธ.ค.,  ดุลงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐเดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., ราคาส่งออกและนำเข้าเดือนม.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนก.พ.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนธ.ค.

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 9 ก.พ.2558

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,014.38 จุด                         ลดลง 12.67 จุด     -0.08%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,268.76 จุด                     ลดลง 14.99 จุด     -0.35%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,852.21 จุด                       ลดลง 1.23 จุด      -0.07%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,632.19 จุด                   ลดลง 57.17 จุด     -1.00%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,879.40 จุด                             ลดลง 99.96 จุด     -1.11%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,997.54 จุด                         ลดลง 68.77 จุด     -1.69%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 4,882.60 จุด      ลดลง 139.50 จุด    -2.78%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 4,832.10 จุด            ลดลง 143.30 จุด    -2.88%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 16,085.44 จุด                     ลดลง 918.86 จุด    -5.40%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,637.43 จุด            ลดลง 127.70 จุด    -1.89%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,768.63 จุด     ลดลง 30.32 จุด     -0.63%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 24,020.98 จุด                        ลดลง 266.44 จุด    -1.10%

 

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดลบเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) โดยตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน ซึ่งฉุดหุ้นกลุ่มพลังงานอ่อนแรงลงด้วย ขณะที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพและกลุ่มผู้ผลิตวัตถุดิบได้ช่วยสกัดแรงลบของตลาดในระหว่างวัน

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,014.38 จุด ลดลง 12.67 จุด หรือ -0.08% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,268.76 จุด ลดลง 14.99 จุด หรือ -0.35% ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,852.21 จุด ลดลง 1.23 จุด หรือ -0.07%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร อันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยหุ้นดอยช์แบงก์ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี แม้ว่าทางธนาคารได้ออกมายืนยันว่ามีเม็ดเงินสดเพียงพอที่จะชำระหนี้ก็ตาม นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ Stoxx Europe 600  ปิดตลาดในแดนลบติดต่อกัน 7 วันทำการ 

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.6% ปิดที่ 309.39 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 3,997.54 จุด ลดลง 68.77 จุด หรือ -1.69% ดัชนีDAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 8,879.40 จุด ลดลง 99.96 จุด หรือ -1.11% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,632.19 จุด ลดลง 57.17 จุด หรือ -1.00%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดร่วงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2555 เมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มเหมืองแร่ และความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

          ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 57.17 จุด หรือ 1.00% ที่ 5,632.19 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2555

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI และน้ำมันดิบเบรนท์ในปีนี้ นอกจากนี้ IEA ระบุว่า ภาวะน้ำมันล้นตลาดจะยังคงอยู่ต่อไปในปีนี้ ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตร่วมกับผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม

         สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดร่วงลง 1.75 ดอลลาร์ หรือ 5.9% แตะที่ระดับ 27.94 ดอลลาร์/บาร์เรล

         ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนเม.ย.ที่ตลาดลอนดอน ปิดร่วงลง 2.56 ดอลลาร์ หรือ 7.8% แตะที่ระดับ 30.32 ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงเดินหน้าซื้อทองคำเพื่อความปลอดภัย หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกและราคาน้ำมันร่วงลง นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ   

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดบวก 70 เซนต์ หรือ 0.06% แตะที่ระดับ 1,198.60 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดบวก 2.30 เซนต์ หรือ 0.15% แตะที่ระดับ 15.449 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ปิดพุ่งขึ้น 10.7 ดอลลาร์ หรือ 1.15% แตะที่ระดับ 939.40 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดลบ 1.25 ดอลลาร์ แตะที่ระดับ 516.85 ดอลลาร์/ออนซ์

 

สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ก.พ.) เนื่องจากราคาน้ำมันที่ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ซึ่งรวมถึงสกุลเงินเยน

          ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 114.90 เยน จากระดับ 115.34 เยน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9722 ฟรังค์ จากระดับ 0.9861 ฟรังค์

          ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.1289 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1198 ดอลลาร์สหรัฐ เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ  1.4457ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4425 ดอลลาร์สหรัฐ และดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงแตะระดับ 0.7058 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7080ดอลลาร์สหรัฐ

 

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 291.00 จุด ลดลง 2.00 จุด, -0.68%

 

อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!