WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดัชนีเช้าปรับลงตามตลาดตปท. ปัจจัยลบหลักมาจากจีน-ราคาน้ำมันถ่วง

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มSET81

     นายเกษม พันธ์รัตนมาลา กรรมการและหัวหน้าส่วนงานวิจัย บล.ซีไอเอ็มบี(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้คาดว่าจะปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ต่างร่วงกันทั่วหน้า โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนที่ติดลบหนัก จนขณะนี้ได้ปิดทำการเทรดทั้งวันในวันนี้ไปแล้ว เนื่องจากติดเซอร์กิต เบรกเกอร์ อันเป็นผลจากมีความกลัวเศรษฐกิจจีนที่แย่ และผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกิน 5% ซึ่งมีทั้งเจ้าของ และนักลงทุนรายสถาบัน ก็เตรียมที่จะหมดระยะเวลาการห้ามขายหุ้น 6 เดือนในวันที่ 8 ม.ค.นี้ และจะขายหุ้นได้ในวันจันทร์หน้า ขณะที่ยังไม่เห็นมาตรการอะไรออกมาจึงทำให้นักลงทุนกังวลต่อแรงขายที่จะเกิดขึ้นก็เลยมีบางส่วนที่ชิงขายออกมาก่อน

        นอกจากนี้ ดาวโจนส์เมื่อคืนที่ผ่านมาก็ปรับตัวลง และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงก็ยังถ่วงตลาดฯด้วย พร้อมให้แนวรับ 1,250-1,230 จุด ส่วนแนวต้าน 1,270 จุด

ประเด็นการพิจารณาการลงทุน

      - ตลาดหุ้นนิวยอร์กล่าสุด(6 ม.ค.59) ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,906.51 จุด ร่วงลง 252.15 จุด(-1.47%), ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,835.77 จุด ลดลง 55.66 จุด(-1.14%), ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,990.26 จุด ลดลง 26.45 จุด(-1.31%)

        - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้าวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ ลดลง 51.55 จุด, ดัชนี , ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ ลดลง 208.21 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ ลดลง 27.15 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ ลดลง 9.72 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ ลดลง 7.09 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ ลดลง 4.61 จุด

       - SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ ลดลง 52.18 จุด แต่ล่าสุดตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้และตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้นประกาศระงับการซื้อขายทั้งวันในวันนี้ หลังจากดัชนีตลาดหุ้นร่วงลงไปกว่า 7% ซึ่งรวมถึงดัชนี CSI 300 ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ในสัปดาห์นี้ที่จีนประกาศใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของตลาด โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นร่วงลงอย่างหนักนั้น มาจากการที่ธนาคารกลางจีนปรับลดค่ากลางเงินหยวนลงสู่ระดับระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีในวันนี้

         - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(6 ม.ค.59)1,260.04 จุด เพิ่มขึ้น 6.70 จุด (+0.53%)

      - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,803.62 ล้านบาท เมื่อวันที่ 6 ม.ค.59

        - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(6 ม.ค.59) ปิดที่ 33.97 ดอลลาร์/บาร์เรล ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 5.6%

        - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(6 ม.ค.59)ที่ 10.43 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

       - เงินบาทเช้านี้อ่อนค่ามาที่ 36.35 จากเปิด 36.27 จากความกังวลเศรษฐกิจจีน

      - พลังงานคาดเปิดให้เอกชนยื่นขอสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21 ได้ภายในไตรมาส 3 ปีนี้ ล่าช้ากว่าแผนเดิม เผยขณะนี้ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2 ฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา ก่อนส่งให้สนช.ชี้ขาดและต้องนำไปใช้ได้จริง ระบุจะเพิ่มจำนวนกรรมาธิการพิจารณา 30-35 คน เปิดให้ทุกฝ่ายส่งตัวแทนมาหารือ

   - "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจปี 2559 มีแนวโน้มจะไม่ดีเท่าที่ได้คาดการณ์เอาไว้ แม้แต่กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ยังใช้คำว่า น่าผิดหวัง ไม่ดีเท่าที่คาด

   - นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่า ในปีนี้จะยังคงยืนบัญชีสินค้าควบคุมตามประกาศของ กกร.เดิมไว้ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 25 ม.ค.นี้ แต่อาจจะมีการประกาศเพิ่มเติมในสินค้ากลุ่มที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะมีทั้งสินค้าเกี่ยวกับเกษตร สินค้าอุปโภคและบริโภค เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือกับราคาสินค้าที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน

   - นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน แล้วพบว่า ขณะนี้มีผลการศึกษาของโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรถไฟไทย-จีน โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น รถไฟฟ้าสาย สีแดง บางซื่อ-รังสิต ว่ายังติดปัญหาเรื่องของระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณที่ต้องใช้ร่วมกัน ในบางจุด เช่น ในพื้นที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี และสถานีกลางบางซื่อ เพราะพบว่าระบบรางที่มีอยู่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะหากเป็นกรณีที่ต้องแยกรางของแต่ละโครงการออกจากกัน

      - ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 35 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปีครึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.47 โดยอยู่ที่บาร์เรลละ 34.83 เหรียญสหรัฐ เมื่อเวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นกรีนวิช เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นกลับไปเหนือบาร์เรลละ 35 เหรียญสหรัฐระหว่างการซื้อขาย

        - นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความน่าเป็นห่วงเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปีว่าจะมีแรงขับเคลื่อนเพียงพอหรือไม่ ในขณะที่ครึ่งปีหลังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ดีจากการเม็ดเงินลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จะเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก

*หุ้นเด่นวันนี้

    - BA(เคทีบี)"ซื้อ"เป้า 27.50 บาท แนวโน้มผลการดำเนินงาน 4Q58 จะเติบโตโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ประกอบกับจะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่ต่ำลงมากขึ้น เพราะต้นทุนราคาน้ำมันที่เคย Hedging ไว้ที่ราคาสูงเริ่มหมดลงตั้งแต่เดือนต.ค. โดยประเมินกำไรสุทธิปี 2558 ที่ 2,394 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 582% YoY สำหรับปี 2559 BA ประเมินจำนวนผู้โดยสารจะเติบโตดีต่อเนื่องอีก 10% - 15% โดยจะได้รับผลบวกจากการเปิด AEC และการขยายฐานลูกค้าไปยังชาวจีนมากขึ้นจากปัจจุบันที่ยังมีสัดส่วนน้อย นอกจากนั้น จะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ลดลงจากปีก่อนมากขึ้น ส่งผลให้คาดว่ากำไรปี 2559 ยังเติบโตได้โดดเด่นต่อเนื่อง

        - BBL(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 195 บาท คาดกำไรสุทธิ 4Q58 ลดลงทั้ง Q-Q และ Y-Y เป็น 7.6 พันล้านบาท (-16% Q-Q, -13% Y-Y) เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่ม การตั้งสำรองที่สูงกว่าคาดทำให้ปรับกำไรปี 58 ลง 3% เป็น 3.41 หมื่นล้านบาท -6% Y-Y (ดีกว่าแบงก์ใหญ่ที่ลดลงเฉลี่ย 11% Y-Y) สิ่งที่ดีคือ NPL ที่เริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอ (เช่นเดียวกับ KBANK) สำหรับกำไรปี 59 ยังคงคาด 3.59 หมื่นล้านบาท +5% Y-Y สำหรับความเสี่ยงจากการเป็นแบงก์การันตีให้ทีวีพูล 1.6 พันล้านบาทและ JAS กว่า 6 หมื่นล้านบาทนั้น ประเมินว่าความเสี่ยงจากทั้งสองใบอนุญาตจะกระทบ Book value ราว 32 บาท/หุ้น ทำให้ปี 59  Prospective BV เหลือ 163 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคาหุ้นปัจจุบัน จึงเชื่อว่าตลาดกังวลเกินไป

     - CENTEL(เออีซี)"ซื้อ"เป้า 47 บาท ช่วง 4Q58 คาดแนวโน้มยังสดใสจากสัญญาณบวกต่อเนื่องในธุรกิจโรงแรมและการรับรู้ยอดขายร้านอาหารใหม่ บวกกับได้รับอนิสงส์จากช้อปเที่ยวลดหย่อนภาษี หนุนปี 58 คาดกำไรปกติโต 69%YoY และโตต่อ 11%YoY ในปี 59

ตลาดหุ้นเอเชียลดลงเช้านี้ หลังนักลงทุนยังวิตกเศรษฐกิจจีนชะลอตัว

    ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงในเช้าวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากเงินหยวนอ่อนค่าลงอีกเมื่อวานนี้

     ดัชนี MSCI Asia Pacific ลดลง 0.1% สู่ระดับ 126.87 จุด เมื่อเวลาประมาณ 9.10 น.ตามเวลาโตเกียว

     ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 18,139.77 จุด ลดลง 51.55 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,309.66 จุด ลดลง 52.18 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 20,772.60 จุด ลดลง 208.21 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,963.24 จุด ลดลง 27.15 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,915.71 จุด ลดลง 9.72 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,797.18 จุด ลดลง 7.09 จุด, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,663.36 จุด ลดลง 4.61 จุด

     ทั้งนี้ ตลาดยังคงได้รับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเมื่อวานนี้ เงินหยวนอ่อนค่าลงอีก 1.45% สู่ระดับ 6.5314 หยวนต่อดอลลาร์ ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกในตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่ว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวลง

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน :ฟุตซี่ปิดลบ 63.86 จุด เหตุวิตกศก.จีน,นิวเคลียร์เกาหลีเหนือ

    ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

     ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 63.86 จุด หรือ 1.04% ที่ 6,073.38 จุด เช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรปหลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนธ.ค. ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน ลดลงแตะ 50.2 จากระดับ 51.2 ในเดือนพ.ย.

    ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง เช่นเดียวกับภาคการผลิตของจีน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซินในเดือนธ.ค. ลดลงสู่ระดับ 48.2 จาก 48.6 ในเดือนพ.ย.

      นอกจากนี้ ตลาดหุ้นลอนดอนยังได้รับแรงกดดันหลังจากเกาหลีเหนือเผยทดสอบระเบิดไฮโดนเจนในวันนี้ ซึ่งถือเป็นการทดสอบด้านนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ของประเทศ ก่อนหน้าที่จะถึงวันเกิดของนายคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือในสัปดาห์นี้

     หุ้นกลุ่มเหมืองแร่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจากข้อมูลเศรษฐกิจจีน โดยหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน ลดลง 4.9% หุ้นอันโตฟากัสตาลดลง 3% หุ้นริโอ ทินโต ลดลง 4.8% และหุ้นเกลนคอร์ลดลง 2.7%

     หุ้นคิงฟิชเชอร์เพิ่มขึ้น 3.1% หลังจากบริษัทเจฟเฟอรีย์ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในห้างค้าปลีกรายใหญ่ของอังกฤษ

    หุ้นอะเบอร์ดีน แอสเสท แมเนจเมนท์ ลดลง 1.9% หลังจากบริษัทบาร์เคลย์ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นของบริษัท

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป: วิตกเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ฉุดตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วง

     ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ภาคบริการของจีนชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่อ่อนแรงของเศรษฐกิจจีน

ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.3% ปิดที่ 354.35 จุด

        ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,480.47 จุด ลดลง 57.16 จุด หรือ -1.26% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,214.02 จุด ลดลง 96.08 จุด หรือ -0.93% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,073.38 จุด ลดลง 63.86 จุด หรือ -1.04%

      ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนธ.ค. ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน ลดลงแตะ 50.2 จากระดับ 51.2 ในเดือนพ.ย.

     ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง เช่นเดียวกับภาคการผลิตของจีน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซินในเดือนธ.ค. ลดลงสู่ระดับ 48.2 จาก 48.6 ในเดือนพ.ย.

      หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลง หลังจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี โดยหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ และหุ้นบีจี กรุ๊ป ต่างก็ร่วงลงกว่า 2%

        หุ้นบริษัทที่เป็นซัพพลายเออร์อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัทแอปเปิล อิงค์ ร่วงลงถ้วนหน้า หลังจากนิตยสารนิกเกอิ เอเชีย รีวิว เปิดเผยว่า แอปเปิลเล็งลดการผลิต iPhone รุ่นล่าสุด ได้แก่ iPhone 6s และ 6s Plus ลง 30% ในไตรมาสแรกของปีนี้

      ทั้งนี้ หุ้นไดอะล็อก เซมิคอนดัคเตอร์ ร่วงลง 5.6% หุ้นเอเอ็มเอส เอจี และหุ้นเออาร์เอ็ม โฮลดิงส์ ต่างก็ปรับตัวลงอย่างน้อย 3%

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดร่วง 252.15 จุด วิตกศก.จีนซบ,ราคาน้ำมันร่วง

        ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากเงินหยวนอ่อนค่าลงอีกเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน และสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองทั้งในตะวันออกกลางและคาบสมุทรเกาหลี

     ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,906.51 จุด ร่วงลง 252.15 จุด หรือ -1.47% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,835.77 จุด ลดลง 55.66 จุด หรือ -1.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,990.26 จุด ลดลง 26.45 จุด หรือ -1.31%

       นักลงทุนเทขายหุ้นอย่างหนัก เนื่องจากตลาดยังคงได้รับปัจจัยลบจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน โดยเมื่อวานนี้ เงินหยวนอ่อนค่าลงอีก 1.45% สู่ระดับ 6.5314 หยวนต่อดอลลาร์ ซึ่งสร้างความหวั่นวิตกในตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับแรงกดดันจากข้อมูลที่ว่า ภาคการผลิตของจีนหดตัวลง

   ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมันดิบ หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย

      นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในต่างประเทศยังคงเป็นปัจจัยกดดันต่อบรรยากาศการซื้อขาย รวมถึงความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่าน จนเป็นเหตุบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งทางการทูตของหลายประเทศในตะวันออกกลาง และล่าสุดคือการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นเอเชียร่วงหนักเมื่อวานนี้

    ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดเช่นกัน โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 0.2% ในเดือนพ.ย. บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงในไตรมาส 4 โดยมีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของสหรัฐในไตรมาส 4 สู่ระดับ 0.5%

  หุ้นเชฟรอน ร่วงลง 4% ขณะที่หุ้นฟรีพอร์ท-แมคมอร์แรน ดิ่งลง 8.1%

   ส่วนหุ้นกลุ่มรถยนต์ร่วงลงเช่นกัน โดยหุ้นฟอร์ด มอเตอร์ และหุ้นเจนเนอรัล มอเตอร์ ต่างก็ปรับลง 3.5% หลังจากบริษัทรถยนต์ทั้งสองแห่งเปิดเผยยอดขายที่น่าผิดหวัง

    นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค. และสต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนพ.ย.

    สำหรับ ข้อมูลแรงงานล่าสุดที่เปิดเผยเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 257,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 1 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 195,000 ตำแหน่ง

World Markets: สรุปภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ

 

ดัชนีและภาวะตลาดหุ้น น้ำมัน ทองคำ และตลาดเงินต่างประเทศ ประจำวันที่ 6 ม.ค.2559

          ดัชนี DJIA ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 16,906.51 จุด                         ลดลง 252.15 จุด     -1.47%

          ดัชนี NASDAQ ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 4,835.76 จุด                      ลดลง 55.67 จุด      -1.14%

          ดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดที่ 1,990.26 จุด                        ลดลง 26.45 จุด      -1.31%

          ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,073.38 จุด                    ลดลง 63.86 จุด      -1.04%

          ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,214.02 จุด                           ลดลง 96.08 จุด      -0.93%

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,480.47 จุด                        ลดลง 57.16 จุด      -1.26%

          ดัชนี ALL ORDINARIES ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,178.30 จุด     ลดลง 60.90 จุด      -1.16%

          ดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียปิดที่ 5,123.10 จุด           ลดลง 61.30 จุด      -1.18%

          ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันปิดที่ 7,990.39 จุด                           ลดลง 84.72 จุด      -1.05%

          ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดที่ 18,191.32 จุด                    ลดลง 182.68 จุด     -0.99%

          ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปิดที่ 1,925.43 จุด                        ลดลง 5.10 จุด       -0.26%

          ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนปิดที่ 3,361.84 จุด                    เพิ่มขึ้น 74.13 จุด     +2.25%

          ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปิดที่ 6,813.90 จุด            ลดลง 21.23 จุด      -0.31%

          ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงปิดที่ 20,980.81 จุด                             ลดลง 207.91 จุด     -0.98%

          ดัชนี Jakarta Composite ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปิดที่ 4,608.98 จุด    เพิ่มขึ้น 51.16 จุด     +1.12%

          ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียปิดที่ 1,667.97 จุด                     เพิ่มขึ้น 2.27 จุด      +0.14%

          ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ปิดที่ 2,804.27 จุด                      ลดลง 29.96 จุด      -1.06%

          ดัชนี SENSEX ตลาดหุ้นอินเดียปิดที่ 25,406.33 จุด                        ลดลง 174.01 จุด     -0.68%

 

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน หลังจากเงินหยวนอ่อนค่าลงอีกเมื่อวานนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของราคาน้ำมัน และสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองทั้งในตะวันออกกลางและคาบสมุทรเกาหลี

          ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,906.51 จุด ร่วงลง 252.15 จุด หรือ -1.47% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,835.77 จุด ลดลง 55.66 จุด หรือ -1.14% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,990.26 จุด ลดลง 26.45 จุด หรือ -1.31%

 

ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากมีรายงานว่า ภาคบริการของจีนชะลอตัวลงในเดือนธ.ค. ซึ่งข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มที่อ่อนแรงของเศรษฐกิจจีน 

          ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 1.3% ปิดที่ 354.35 จุด

          ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,480.47 จุด ลดลง 57.16 จุด หรือ -1.26% ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 10,214.02 จุด ลดลง 96.08 จุด หรือ -0.93% ดัชนี FTSE100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,073.38 จุด ลดลง 63.86 จุด หรือ -1.04%

 

ตลาดหุ้นลอนดอนปิดปรับตัวลดลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ

          ดัชนี FTSE 100 ปิดปรับตัวลง 63.86 จุด หรือ 1.04% ที่ 6,073.38 จุด

 

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย

          สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.ร่วงลง 2 ดอลลาร์ หรือ 5.6% ปิดที่ 33.97 ดอลลาร์/บาร์เรล

          สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนก.พ.ที่ตลาดลอนดอน ร่วงลง 2.19 ดอลลาร์ หรือ 6% ปิดที่ 34.23  ดอลลาร์/บาร์เรล

 

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 13 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดทั้งในตะวันออกกลางและคาบสมุทรเกาหลี ยังคงเป็นแรงกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

          สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 13.5 ดอลลาร์ หรือ 1.25% ปิดที่ระดับ 1,091.90 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 0.5 เซนต์ หรือ 0.04% ปิดที่ 13.976 ดอลลาร์/ออนซ์

          สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย.ร่วงลง 15 ดอลลาร์ หรือ 1.69% ปิดที่ 875.00 ดอลลาร์/ออนซ์

 

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรและเงินเยนเมื่อคืนนี้ (6 ม.ค.) หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เดือนธ.ค.ที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่ระดับต่ำ และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป

          ค่าเงินยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.0793 ดอลลาร์สหรัฐ จาก 1.0751 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ลดลงที่ 1.4630 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.4671 ดอลลาร์สหรัฐ

         ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเทียบกับสกุลเงินเยนที่ 118.43 เยน จาก 119.04 เยน และลดลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิสที่ระดับ 1.0064 ฟรังก์ จาก 1.0089 ฟรังก์

          ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียปรับลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7059 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7163 ดอลลาร์

           

ดัชนี ค่าระวางเรือ BDI ปิดวันทำการล่าสุดที่ 467.00 จุด ลดลง 1.00 จุด, -0.21%

อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!