WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ภาวะตลาดหุ้นไทย : แนวโน้มดัชนีเช้ามีโอกาสลงมากกว่าหลังการเมืองยังผันผวน-ตลาดเทรด P/E สูง

            นายเทิดศักดิ์ ทวีธีรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เอเชียพลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสที่จะปรับตัวลงมากกว่า เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังมีความผันผวนค่อนข้างมาก ทำให้เห็นว่าได้เมื่อวานนี้มีแรงขายออกมา อีกทั้งตลาดฯก็เทรดใกล้ระดับ P/E 15 เท่าด้วย

            ทั้งนี้ วันนี้ให้ติดตามในเรื่องการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ที่อาจจะมีการชี้มูลความผิดในกรณีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่ง ป.ป.ช.จะมีการชี้มูลความผิดไปที่ใคร อย่างไรบ้าง อีกทั้งควรจะติดตามความเคลื่อนไหวของการชุมนุมทางการเมืองด้วย

            ด้านตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาคเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในแดนบวกกัน หลังดาวโจนส์เมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีการบวกกลับขึ้นไป ทำให้ Sentiment ตลาดต่างประเทศดีขึ้น

            พร้อมให้แนวรับ 1,380 จุด แนวต้าน 1,410 จุด โดยแนะ"เทรดดิ้ง"ตามประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นในหุ้นแต่ละตัว

ประเด็นของการพิจารณาการลงทุน :

            - ตลาดหุ้นนิวยอร์ควานนี้(7 พ.ค.)ดัชนีดาวโจนส์ปิดที่ 16,518.54 จุด เพิ่มขึ้น 117.52 จุด (+0.72%), ดัชนี S&P 500 ปิดที่ 1,878.21 จุด เพิ่มขึ้น 10.49 จุด(+0.56%),ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 4,067.67 จุด ลดลง 13.09 จุด(-0.32%)

            - ตลาดหุ้นเอเชียเปิดเช้านี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 102.96 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวัน เพิ่มขึ้น 31.99 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้น 6.06 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 11.65 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีน ลดลง 3.23 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เพิ่มขึ้น 2.48 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซีย เพิ่มขึ้น 1.23 จุด

            - ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด(7 พ.ค.) ที่ 1,402.61 จุด ลดลง 1.40 จุด(-0.10%)

            - นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,009.23 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 พ.ค.57

            - ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ในตลาดไนเม็กซ์ปิดทำการล่าสุด(7 พ.ค.)ที่ 100.77 ดอลลาร์/บาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.27 ดอลลาร์หรือ 1.3%

            - ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด(7 พ.ค.)ที่ 5.67 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล

            - เงินบาทเปิด 32.44/45 อ่อนค่าต่อเนื่องเหตุกังวลการเมือง-จับตาผลประชุม ECB

            - มติศาลรัฐธรรมนูญเอกฉันท์วินิจฉัย "ยิ่งลักษณ์-9 รัฐมนตรี" พ้นสถานภาพปมเด้ง "ถวิล" ขณะที่"ยิ่งลักษณ์"แถลงน้ำตาคลออำลาตำแหน่ง เผยภูมิใจนั่งนายกฯ 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ครม.ตั้ง"นิวัฒน์ธำรง" รักษาการนายกฯ เรียกประชุมแบ่งงานวันนี้ นัดหารือกกต.พรุ่งนี้ลุยเลือกตั้งมอบกฤษฎีกาสอบศาลรธน.ปม"ยุทธศักดิ์"เว้นช่วงรมต.

            - นักวิเคราะห์ประเมินตั้งรัฐบาลชุดใหม่ยาก ไทยเสี่ยงถูกปรับลดแนวโน้มเครดิต ด้านเอกชนประเมินสถานการณ์คลี่คลายลง เสนอเจรจา-เดินหน้าปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ขณะธุรกิจท่องเที่ยวยังกังวลความรุนแรง

            - วันที่ 8 พ.ค.ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) จะมีมติชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวหลังจากคณะอนุกรรมการไต่สวนทุจริตจำนำข้าวมีมติว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในการระบายข้าวแบบจีทูจีจนสร้างความเสียหายในวงกว้าง หลังจากนี้ ป.ป.ช.จะต้องดำเนินการเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะในคดีอาญาต่อไป

            - ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) เผยกรอบเวลาที่จะแจกคูปองเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านการรับชมสู่ทีวีดิจิทัลอาจไม่ทันเดือนก.ค.ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากต้องรอให้คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)ประชุมใน 27 พ.ค.

            - ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)เผยที่ประชุมบอร์ด กทค.มีมติสรุปราคาเริ่มต้นในการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 17.5 เมกะฮิรตซ์ รวม 19,705 ล้านบาท แบ่งเป็นราคา 11,262 ล้านบาท สำหรับใบละ 10 เมกะเฮิรตซ์ และราคา 8,445 ล้านบาท สำหรับใบละ 7.5 เมกะเฮิรตซ์

            - สมาคมโบรกเกอร์เตือนตลาดหุ้นยังผันผวน ยังไม่ใช่จังหวะโดดเข้าลงทุน แม้ไม่เกิดสุญญากาศทางการเมืองอย่างที่คาด แต่เป็นห่วงเสถียรภาพรัฐบาลรักษาการ ไม่สามารถดูแลเศรษฐกิจและจัดเลือกตั้งใหม่ได้อย่างราบรื่น เพราะโครงสร้างรัฐบาลอ่อนแอลง ไม่ว่าใครจะมาเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี

            - "แบงก์ชาติ" เปิดผลสำรวจภาวะธุรกิจไทยไตรมาส 2 ชี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มอง ภาคธุรกิจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ คาดยังทรงตัว โดยการเมืองยังเป็นปัจจัยบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค ประเมินความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ยังลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ด้านการส่งออกยังเชื่อ ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

            - มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประเมิน แนวโน้มระบบธนาคารไทย ยังคงมีเสถียรภาพแม้การเมืองกดดันเศรษฐกิจ สะท้อนถึงภาวะสภาพคล่อง และการระดมทุนที่มีเสถียรภาพรวมทั้งความสามารถของธนาคารต่างๆ ในการจัดการกับหนี้ที่ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นปานกลางในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า

*หุ้นเด่นวันนี้

            - SAWAD(บมจ.ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979)เริ่มเทรดวันแรก บล.ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินราคาเป้าหมาย 8.75 บาท อิง PE 12.5 เท่า ณ ราคาจอง 6.90 บาทคิดเป็น PE 9.8 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มที่อยู่ที่ 10-12 เท่า สำหรับปี 2014 คาดกำไรสุทธิโต 21% จากการขยายสินเชื่อและคุมรายจ่าย อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงคือคุณภาพหนี้ NPL ปี 2013 เพิ่มขึ้นเป็น 5.5% ของสินเชื่อรวม และมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพียง 58% ของลูกหนี้คงค้างที่มากกว่า 3 งวด ปัจจุบันภาระหนี้ครัวเรือนสูงอาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้

            บริษัทประกอบธุรกิจให้สินเชื่อทะเบียนรถ ภายใต้สโลแกน"มีบ้านมีรถ เงินสดทันใจ"เน้นตลาดต่างจังหวัด ซึ่งมีโอกาสเติบโตสูง เพราะเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ยาก กำไรสุทธิในปี 2010-13 โตเฉลี่ย 630% ต่อปี (กำไรสุทธิปี 2013 โต 42%) จากการขยายสินเชื่อ คุมรายจ่าย หนี้สูญลดลง และอัตราภาษีที่ลดลง

            - CPALL(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อลงทุน"เป้า 55 บาท กำไรตามคาดแต่ SSS Growth พลิกเป็นติดลบ CPALL รายงานกำไรสุทธิเพิ่ม 32% Q-Q แต่ลดลง 15% Y-Y ส่วนกำไรปกติเพิ่ม 15% Q-Q จากฐานต่ำในไตรมาสก่อนที่มีรายซื้อ MAKRO แต่ลดลง 21% Y-Y จากภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและยังมีค่าที่ปรึกษาดีลซื้อ MAKRO ที่ทยอยตัดจ่าย ชดเชยไม่ได้กับกำไรของ MAKRO ที่รวมเข้ามาเต็มไตรมาส ส่วน SSSG พลิกเป็นติดลบเป็นครั้งแรก -1.1% Y-Y กำไรใน 1Q14 คิดเป็น 22% ของกำไรทั้งปีคาดโต 20% Y-Y

            - PTTGC(ฟินันเซีย ไซรัส)"ซื้อ"เป้า 80 บาท กำไรตามคาด กำไรสุทธิลดลง 15% Q-Q และ 48% Y-Y ส่วนกำไรปกติลดลง 11% Q-Q และ 42% Y-Y เพราะธุรกิจอะโรเมติกส์มีกำไรลดลง ส่วนกำไรจากธุรกิจโอเลฟินส์ก็ลดลงเพราะโรงงานปิดซ่อมบำรุง ชดเชยไม่ได้กับโรงกลั่นที่ดีขึ้น กำไรใน 1Q14 คิดเป็น 17% ของกำไรสุทธิทั้งปีที่คาดโต 10% Y-Y แต่แนวโน้มกำไรจะดีขึ้นในไตรมาสที่เหลือ ปัจจุบันมี PE เพียง 8.6 เท่าและ PBV 1.2 เท่า ต่ำกว่าภูมิภาคที่มี PE 9 เท่า PBV 1.5 เท่า

            - TTCL(เคเคเทรด)"ซื้อ"เป้า 39 บาท จากงานในมือปัจจุบันที่ 2.6 หมื่นล้านบาท และมีงานใหม่ที่อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญาในปี 2557 อีกราว 3 หมื่นล้านบาท ทำให้มองว่าผลการดำเนินงานในปี 2557-2558 ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นโดดเด่นที่สุดในกลุ่มฯ โดยที่เราประเมินรายได้ในปี 2557 และ 2558 จะเพิ่มขึ้น 30% และ 20% YoY รวมทั้งประเมินกำไรสุทธิในปี 2557 และ 2558 เพิ่มขึ้น 42% และ 36% YoY ตามลำดับ ขณะที่ประเด็นการก่อสร้าง และลงทุนในโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,000 MW ในพม่าที่คาดว่าจะได้ข้อสรุปใน มิ.ย.2557

            - KBANK(เคเคเทรด)"ซื้อเก็งกำไร"เป้า 204 บาท ต่างชาติซื้อสุทธิผ่าน NVDR สูงที่สุดวานนี้ราว 81.9 ล้านบาท ขณะที่ในเชิงพื้นฐานธนาคารมีนโยบายที่เน้นความระมัดระวังและควบคุมการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา มองความเสี่ยงด้านคุณภาพสินทรัพย์ค่อนข้างจำกัด จุดเด่นอยู่ที่ความสามารถทำกำไรบนระดับ ROE ที่คาดในปี 57 ที่ 18% เทียบกับค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 15% และมีสัดส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้รวมสูง ช่วยลดผลกระทบจากการชะลอตัวลงของสินเชื่อในภาพรวมได้

ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นเช้านี้ ขานรับถ้อยแถลงประธานเฟด

            ตลาดหุ้นเอเชียดีดตัวขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ขานรับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะเดินหน้าใช้นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป

            ดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.2% สู่ระดับ 137.10 จุด เมื่อเวลา 9.32 น.ตามเวลาโตเกียว

            ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,136.41 จุด เพิ่มขึ้น 102.96 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,925.21 จุด เพิ่มขึ้น 31.99 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 1,945.94 จุด เพิ่มขึ้น 6.06 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,248.08 จุด เพิ่มขึ้น 11.65 จุด และดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,861.66 จุด เพิ่มขึ้น 1.23 จุด

            นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนนุจากข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้วางแผนที่จะหารือในประเด็นยูเครนร่วมกับผู้นำระดับภูมิภาคในกรุงมอสโคในวันนี้ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวช่วยให้ตลาดคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ

ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน : หุ้นแบงก์ฉุดฟุตซี่ปิดลบ 2.12 จุด แม้คลายวิตกยูเครน

            ดัชนี FTSE 100 ที่ตลาดหุ้นลอนดอนปิดขยับลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียกล่าวว่า รัสเซียได้ถอนกำลังทหารออกจากพรมแดนที่ติดกับยูเครนแล้ว ซึ่งได้ช่วยชดเชยการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร

            ดัชนี FTSE 100 ปิดลดลง 2.12 จุด หรือ 0.03% ที่ 6,796.44 จุด

            ประธานาธิบดีรัสเซียได้กล่าวหลังการประชุมร่วมกับองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปว่ารัสเซียได้ถอนทหารออกจากบริเวณชายแดนที่ติดกับยูเครนแล้ว ซึ่งได้ช่วยสกัดช่วงลบของตลาดหุ้นลอนดอน

            อย่างไรก็ตาม ตลาดได้มีปัจจัยถ่วงจากการร่วงลงของหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยหุ้นเอชเอสบีซี ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของยุโรป รูดลง 1.3% หลังผลกำไรไตรมาสแรกหดตัว 20% ขณะที่หุ้นบาร์เคลย์สอ่อนแรงลง 0.7%

ภาวะตลาดหุ้นยุโรป : หุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัว ขณะตลาดคลายวิตกสถานการณ์ยูเครน

            ตลาดหุ้นยุโรปปิดเกือบทรงตัวเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน หลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียกล่าวว่า เขาจะถอนกองกำลังทหารรัสเซียจากจากพื้นที่แนวชายแดน

            ดัชนี Stoxx Europe 600 ปิดที่ระดับ 336.03 จุด ซึ่งเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากระดับของวันอังคาร

            ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมันปิดที่ 9,521.30 จุด เพิ่มขึ้น 53.77 จุด หรือ +0.57% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,446.44 จุด เพิ่มขึ้น 18.37 จุด หรือ +0.41% ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 6,796.44 จุด ลดลง 2.12 จุด หรือ -0.03%

            ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนเริ่มคลี่คลายลงหลังจากประธานาธิบดีปูตินได้เรียกร้องให้กลุ่มที่แยกตัวออกจากยูเครนให้เลื่อนการลงประชามติ และกล่าวว่าเขาจะถอนกำลังทหารรัสเซียออกจากพื้นที่แนวชายแดน

            นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนุนหลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่า เฟดจะเดินหน้าใช้นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป พร้อมกับกล่าวว่าเฟดจะเดินหน้าปรับลดวงเงินการซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะจบโครงการในฤดูใบไม้ร่วงนี้ หากเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวตามเป้าหมาย

            หุ้นเฟี๊ยตร่วงลง 12% หลังจากบริษัทเปิดเผยรายได้ก่อนหักภาษีลดลงสู่ระดับ 622 ล้านยูโรในไตรมาสแรก ขณะที่หุ้นโซซิเอเต เจนเนอราล (ซอคเจน) ปรับลง 0.8% ส่วนหุ้นเอชเอสบีซี โฮลดิงส์ ร่วงลง 1.3% หลังจากบริษัทเปิดเผยว่าผลกำไรก่อนหักภาษีลดลง 20% สู่ระดับ 6.79 พันล้านดอลลาร์

            หุ้นเฮงเคล ซึ่งเป็นบริษัทเคมีภัณฑ์ของเยอรมนี พุ่งขึ้น 5.4% ขณะที่หุ้นซีเมนต์ส ทะยานขึ้น 2.1% หลังจากมีรายงานว่าซีเมนต์สอาจจะซื้อทรัพย์สินด้านพลังงานบางส่วนจากโรลส์ รอยซ์ มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์

ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก : ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 117.52 จุดหลังปธ.เฟดส่งสัญญาณหนุนศก.

            ดัชนี ดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (7 พ.ค.) ขานรับถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่า เฟดจะเดินหน้าใช้นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจต่อไป

            ดัชนี เฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 16,518.54 จุด เพิ่มขึ้น 117.52 จุด หรือ +0.72% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,067.67 จุด ลดลง 13.09 จุด หรือ -0.32% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,878.21 จุด เพิ่มขึ้น 10.49 จุด หรือ +0.56%

            ดัชนี ดาวโจนส์ดีดตัวขึ้นหลังจากนางเยลเลนแถลงต่อรัฐสภาสหรัฐเมื่อช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย โดยนางเยลเลนได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังคงใช้นโยบายสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐต่อไป

            นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงหนนุจากข่าวที่ว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้วางแผนที่จะหารือในประเด็นยูเครนร่วมกับผู้นำระดับภูมิภาคในกรุงมอสโคในวันนี้ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวช่วยให้ตลาดคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ

            อย่างไรก็ตาม ดัชนี NASDAQ ร่วงลงสวนทางกับดัชนีอื่นๆในตลาด เนื่องจากนักลงทุนกระหน่ำขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี นำโดยหุ้นทวิตเตอร์ที่ร่วงลงอย่างหนัก 3.74% ขณะที่หุ้นยาฮูร่วงลง 6.6% และหุ้น AOL ดิ่งลง 21%

            นักลงทุนติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทอาลีบาบา ซึ่งยาฮูถือหุ้นอยู่ด้วยนั้น ได้ยื่นเอกสารสำหรับการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (IPO) ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) แล้ว โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุนเป็นเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ แต่นักวิเคราะห์คาดว่าอาลีบาบาอาจจะระดมทุนได้สูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ผ่านทางการออกหุ้น IPO

            ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันในระหว่างวัน หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรในช่วงไตรมาส 1 ปี 2557 ปรับตัวลดลง ขณะที่ต้นทุนแรงงานพุ่งสูง สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นรุนแรง

            โดยประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตร หดตัวลง 1.7% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 1.1%

            อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!